พอดีไปเจอข่าวนี้มา เลยเอามาเล่าต่อค่ะ
เนื้อหาจาก
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1479735363
3 หน่วยงานผนึก "Alibaba" หนุน SMEs ไทย ก้าวสู่ตลาดสากล
ในโลกยุคปัจจุบัน ไม่ได้แข่งขันกันในรูปแบบปลาใหญ่กินปลาเล็กเช่นแต่ก่อน แต่หากเป็นการแข่งขันกันในเรื่องของความไวเท่านั้นถึงจะอยู่รอด ผลเช่นนี้จึงทำให้เกิดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ก้าวสู่ตลาด E-Commerce ระดับสากล
โดยมี "สมชาย หาญหิรัญ" ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และในฐานะประธานกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) พร้อม 3 หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษา ร่วมลงนาม MOU ในการผลักดันโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK), กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ Country Manager of Alibaba.com Thailand เป็นพยานความร่วมมือครั้งนี้
เอสเอ็มอีผงาดตลาดโลก
"พสุ โลหารชุน" อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าจากข้อมูลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในปี 2559 จะอยู่ที่ 2.52 ล้านล้านบาท เติบโตขึ้น 12.42% จากปี 2558 โดยเป็นรูปแบบการค้าแบบ B2B มากกว่า 50% หรือคิดเป็นมูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท
ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้รับการสนับสนุนจะทำให้มีโอกาสสร้างยอดขายมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา กสอ.มีการอบรมเกี่ยวกับการค้าออนไลน์ แต่ยังถือว่าทำได้ในปริมาณที่ไม่มากนัก การร่วมมือกับหน่วยงาน ซึ่งเป็นสถานศึกษาคือม.หอการค้าไทย และหน่วยงานพันธมิตรกับอาลีบาบา อันจะนำข้อมูลทั้งด้านสถิติการซื้อสินค้า รูปแบบการจัดดิสเพลย์หน้าร้านบนเว็บไซต์ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการที่จะทำการค้าบนอาลีบาบาถูกทางมากขึ้น
ขณะที่ "มงคล ลีลาธรรม" กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าทาง ธพว.จะคัดเลือกผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าในเบื้องต้นจำนวน 10 ราย โดยจะคัดเอสเอ็มอีที่ค้าขายมานาน มีมาตรฐานครบ แต่อยู่ในพื้นที่ไกลปืนเที่ยง เพื่อสนับสนุนให้ได้รับโอกาสก่อน กลุ่มที่เล็งไว้ขณะนี้คือ บจก.ประชารัฐรักสามัคคีพะเยา จ.พะเยา ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรข้าวออร์แกนิกมากว่า 10 ปี เพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าให้กว้างขึ้น นอกจากนี้ ยังมองว่าผู้ประกอบการที่มีสินค้ามาตรฐานครบถ้วน และสินค้าที่มีนวัตกรรม ก็สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้เช่นกัน
การร่วมมือกันครั้งนี้นอกจากมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กมีพื้นที่จำหน่ายสินค้าไปยังตลาดใหม่ๆ โดยมิจำกัดให้มีเฉพาะรายที่เคยส่งออกมาแล้วเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่เคยส่งออกมาก่อนด้วย
สำหรับเรื่องนี้ "พิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา" กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวว่า การร่วมมือกับอาลีบาบาครั้งนี้เป็นการนำร่องสำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซ หากไปได้ดี ทางธนาคารจะมีโครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนอย่างแน่นอน
"โดยบทบาทของธนาคารจะเข้าไปช่วยเหลือการรับประกันการส่งออกแก่ผู้ประกอบการเนื่องจากการส่งออกมีขั้นตอนมากมาย ผู้ประกอบการต้องเข้าใจรูปแบบ รู้การจัดการในการส่งออกสินค้า และจะต้องรู้ถึงความเสี่ยง โดยเบื้องต้นเราจะให้สินเชื่อสำหรับการขนส่งในวงเงิน 5 แสนบาท/ราย ทั้งนั้นจะทำการคัดเลือกจากลูกค้าของ EXIM BANK จำนวน 10 ราย"
ส่วนเรื่องการให้ความรู้พื้นฐาน และความรู้เชิงลึกจะเป็นบทบาทของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้ด้านผู้ประกอบการ และ E-Commerce ที่โดดเด่น เนื่องจากมีเครือข่าย และความร่วมมือที่เข้มแข็งกับ Alibaba.com ที่จะช่วยอบรมผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาบ่มเพาะเชื่อมต่อกับการทำธุรกิจ E-Commerce ผ่าน Alibaba.com
โดยแบ่งออกเป็นหลักสูตร 3 วัน ด้วยการนำ Big-Data ด้านกลุ่มสินค้าที่ต้องการ พฤติกรรมผู้บริโภค มาสรุปให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ทั้งนั้นตั้งเป้ามีผู้ประกอบการผ่านการอบรม 1 แสนรายภายใน 5 ปี และเริ่มอบรมรุ่นแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 11-13 พ.ย. ผ่านมา ทั้งยังมีแผนอบรมอย่างต่อเนื่องประมาณเดือนละ 3-4 ครั้ง
ธุรกิจ SMEs พร้อมลุย
"ณัฐวุฒิ เผ่าปรีชา" กรรมการผู้จัดการ บริษัท โจ-ลี่ แฟมิลี่ จำกัด ผู้ผลิตผลไม้อบแห้ง และสแน็คจากผลไม้เพื่อสุขภาพ กล่าวว่าที่ผ่านมาทางแบรนด์ได้นำผลิตภัณฑ์ เวลบีไปจำหน่ายยังเว็บไซต์ เช่น ลาซาด้า, วีเลิฟช้อปปิ้ง เป็นต้น แต่ยังไม่ได้มีทีมงานดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพราะเราเน้นการจำหน่ายผ่านหน้าร้าน, งานแฟร์ และคิง เพาเวอร์
"แต่กระนั้นทางแบรนด์ก็ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ ทั้งยังเห็นความจำเป็นต่อการเปิดหน้าร้านออนไลน์ เนื่องจากมีลูกค้าหลักคือกลุ่มยุโรป, ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, จีน และญี่ปุ่นสนใจสินค้าของเราค่อนข้างมาก"
"เพียงแต่ช่วงผ่านมา สินค้าของเราได้รับผลกระทบจากการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญ จึงทำให้ลูกค้าบางกลุ่มหายไป จึงมานั่งคิดว่าหากสินค้าของเราเข้าไปจำหน่ายให้กับลูกค้าทั่วทุกมุมโลกแทนจะดีกว่าไหม โดยเฉพาะการขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ เพราะจะทำให้เราหลุดพ้นจากปัญหาลูกค้ากลุ่มทัวร์ที่ค่อนข้างอ่อนไหวง่าย อีกอย่างสินค้าของเราก็เป็นสินค้าสุขภาพ ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกที่ตลาดมีความต้องการอยู่แล้ว"
"อนุโรจน์ ตันติยาพงษ์" หจก.อนุโรจน์ แฮนด์ เพ้นท์ ผู้ผลิตผ้าบาติก จาก จ.นราธิวาส กล่าวเสริมว่า แบรนด์ของเราเริ่มต้นจากการรับจ้างผลิต ใช้เวลากว่า 10 ปี ถึงจะทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และปัจจุบันมีลูกค้าจากต่างประเทศให้ความสนใจสินค้าของเราจำนวนมาก เพราะเคยผ่านการออกงานแฟร์ การแสดงแฟชั่นโชว์ และเคยร่วมแสดงในงานของกรมส่งเสริมการส่งออก
"เราเชื่อว่าระบบอีคอมเมิร์ซจะเป็นตัวช่วยในการขยายฐานลูกค้าจากเดิมออกไปกว้างขึ้น เพราะมีซัพพลายเออร์ช่วยนำสินค้าไปจำหน่ายยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยที่ทางแบรนด์ไม่ต้องลงทุนเองด้วย เพราะฉะนั้น ตรงนี้จึงน่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้สินค้าของเราได้รับการตอบรับจากลูกค้ากว้างขึ้น"
ทั้งนั้นเพราะ Alibaba.com ได้ชื่อว่าเป็นธุรกิจ E-Commerce รายใหญ่ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในระดับโลก ทั้งยังมีความหลากหลายของสินค้า รวมถึงยังเป็นแหล่งหาสินค้าจากลูกค้าทั่วทุกมุมโลก ดังนั้น ถ้าผู้ประกอบการไทยจะใช้หน้าต่างบานใหญ่ของ Alibaba.com เพื่อเปิดสินค้าไทยไปในระดับสากล ก็เชื่อแน่ว่าถูกต้องที่สุดแล้ว
ส่วนตัวตอนนี้รู้สึกได้เลยว่าตลาดออนไลน์เป็นที่จับตามองสุด ๆ สังเกตจากผู้ประกอบการทั้งเล็กและใหญ่ หันมาให้ความสำคัญกับการเปิดตลาดออนไลน์กันมาก ในส่วนของ Alibaba.com ค่อยข้างน่าสนใจสำหรับคนทำธุรกิจรายใหญ่ ๆ มีการขายแบบ B2B
อย่าง Alibaba.com ถือว่าเป็นเว็บไซต์ขายส่งที่มีขนาดใหญ่มากเลยนะคะ คนที่ใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นคนจีนเยอะมาก (ก็เจ้าของเขาก็คนจีนนี่เนอะ) ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าประเทศจีนมีจำนวนประชากรสูงมาก ถ้าเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้ ก็นอนคิดถึงเม็ดเงินมหาสารที่จะเข้ากระเป๋าได้เลย
แต่ว่าในส่วนข่าวที่เอามาแอบเสียดายนิดหน่อย เพราะเป็นเหมือนโครงการนำร่อง เขาเลยสนับสนุนในส่วนลูกค้าของธนาคาร SME Development Bank ให้เขาตลาดก่อน แต่ไม่แน่ในอนาคตอาจจะขยายเพิ่มขึ้นเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการไทย ซึ่งก็ต้องจับตาดูกันต่อไปแหละค่ะ
บอกต่อข่าวSME Development Bank พาบุกตลาด Alibaba.com
เนื้อหาจาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1479735363
3 หน่วยงานผนึก "Alibaba" หนุน SMEs ไทย ก้าวสู่ตลาดสากล
ในโลกยุคปัจจุบัน ไม่ได้แข่งขันกันในรูปแบบปลาใหญ่กินปลาเล็กเช่นแต่ก่อน แต่หากเป็นการแข่งขันกันในเรื่องของความไวเท่านั้นถึงจะอยู่รอด ผลเช่นนี้จึงทำให้เกิดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ก้าวสู่ตลาด E-Commerce ระดับสากล
โดยมี "สมชาย หาญหิรัญ" ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และในฐานะประธานกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) พร้อม 3 หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษา ร่วมลงนาม MOU ในการผลักดันโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK), กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ Country Manager of Alibaba.com Thailand เป็นพยานความร่วมมือครั้งนี้
เอสเอ็มอีผงาดตลาดโลก
"พสุ โลหารชุน" อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าจากข้อมูลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในปี 2559 จะอยู่ที่ 2.52 ล้านล้านบาท เติบโตขึ้น 12.42% จากปี 2558 โดยเป็นรูปแบบการค้าแบบ B2B มากกว่า 50% หรือคิดเป็นมูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท
ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้รับการสนับสนุนจะทำให้มีโอกาสสร้างยอดขายมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา กสอ.มีการอบรมเกี่ยวกับการค้าออนไลน์ แต่ยังถือว่าทำได้ในปริมาณที่ไม่มากนัก การร่วมมือกับหน่วยงาน ซึ่งเป็นสถานศึกษาคือม.หอการค้าไทย และหน่วยงานพันธมิตรกับอาลีบาบา อันจะนำข้อมูลทั้งด้านสถิติการซื้อสินค้า รูปแบบการจัดดิสเพลย์หน้าร้านบนเว็บไซต์ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการที่จะทำการค้าบนอาลีบาบาถูกทางมากขึ้น
ขณะที่ "มงคล ลีลาธรรม" กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าทาง ธพว.จะคัดเลือกผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าในเบื้องต้นจำนวน 10 ราย โดยจะคัดเอสเอ็มอีที่ค้าขายมานาน มีมาตรฐานครบ แต่อยู่ในพื้นที่ไกลปืนเที่ยง เพื่อสนับสนุนให้ได้รับโอกาสก่อน กลุ่มที่เล็งไว้ขณะนี้คือ บจก.ประชารัฐรักสามัคคีพะเยา จ.พะเยา ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรข้าวออร์แกนิกมากว่า 10 ปี เพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าให้กว้างขึ้น นอกจากนี้ ยังมองว่าผู้ประกอบการที่มีสินค้ามาตรฐานครบถ้วน และสินค้าที่มีนวัตกรรม ก็สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้เช่นกัน
การร่วมมือกันครั้งนี้นอกจากมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กมีพื้นที่จำหน่ายสินค้าไปยังตลาดใหม่ๆ โดยมิจำกัดให้มีเฉพาะรายที่เคยส่งออกมาแล้วเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่เคยส่งออกมาก่อนด้วย
สำหรับเรื่องนี้ "พิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา" กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวว่า การร่วมมือกับอาลีบาบาครั้งนี้เป็นการนำร่องสำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซ หากไปได้ดี ทางธนาคารจะมีโครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนอย่างแน่นอน
"โดยบทบาทของธนาคารจะเข้าไปช่วยเหลือการรับประกันการส่งออกแก่ผู้ประกอบการเนื่องจากการส่งออกมีขั้นตอนมากมาย ผู้ประกอบการต้องเข้าใจรูปแบบ รู้การจัดการในการส่งออกสินค้า และจะต้องรู้ถึงความเสี่ยง โดยเบื้องต้นเราจะให้สินเชื่อสำหรับการขนส่งในวงเงิน 5 แสนบาท/ราย ทั้งนั้นจะทำการคัดเลือกจากลูกค้าของ EXIM BANK จำนวน 10 ราย"
ส่วนเรื่องการให้ความรู้พื้นฐาน และความรู้เชิงลึกจะเป็นบทบาทของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้ด้านผู้ประกอบการ และ E-Commerce ที่โดดเด่น เนื่องจากมีเครือข่าย และความร่วมมือที่เข้มแข็งกับ Alibaba.com ที่จะช่วยอบรมผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาบ่มเพาะเชื่อมต่อกับการทำธุรกิจ E-Commerce ผ่าน Alibaba.com
โดยแบ่งออกเป็นหลักสูตร 3 วัน ด้วยการนำ Big-Data ด้านกลุ่มสินค้าที่ต้องการ พฤติกรรมผู้บริโภค มาสรุปให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ทั้งนั้นตั้งเป้ามีผู้ประกอบการผ่านการอบรม 1 แสนรายภายใน 5 ปี และเริ่มอบรมรุ่นแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 11-13 พ.ย. ผ่านมา ทั้งยังมีแผนอบรมอย่างต่อเนื่องประมาณเดือนละ 3-4 ครั้ง
ธุรกิจ SMEs พร้อมลุย
"ณัฐวุฒิ เผ่าปรีชา" กรรมการผู้จัดการ บริษัท โจ-ลี่ แฟมิลี่ จำกัด ผู้ผลิตผลไม้อบแห้ง และสแน็คจากผลไม้เพื่อสุขภาพ กล่าวว่าที่ผ่านมาทางแบรนด์ได้นำผลิตภัณฑ์ เวลบีไปจำหน่ายยังเว็บไซต์ เช่น ลาซาด้า, วีเลิฟช้อปปิ้ง เป็นต้น แต่ยังไม่ได้มีทีมงานดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพราะเราเน้นการจำหน่ายผ่านหน้าร้าน, งานแฟร์ และคิง เพาเวอร์
"แต่กระนั้นทางแบรนด์ก็ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ ทั้งยังเห็นความจำเป็นต่อการเปิดหน้าร้านออนไลน์ เนื่องจากมีลูกค้าหลักคือกลุ่มยุโรป, ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, จีน และญี่ปุ่นสนใจสินค้าของเราค่อนข้างมาก"
"เพียงแต่ช่วงผ่านมา สินค้าของเราได้รับผลกระทบจากการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญ จึงทำให้ลูกค้าบางกลุ่มหายไป จึงมานั่งคิดว่าหากสินค้าของเราเข้าไปจำหน่ายให้กับลูกค้าทั่วทุกมุมโลกแทนจะดีกว่าไหม โดยเฉพาะการขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ เพราะจะทำให้เราหลุดพ้นจากปัญหาลูกค้ากลุ่มทัวร์ที่ค่อนข้างอ่อนไหวง่าย อีกอย่างสินค้าของเราก็เป็นสินค้าสุขภาพ ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกที่ตลาดมีความต้องการอยู่แล้ว"
"อนุโรจน์ ตันติยาพงษ์" หจก.อนุโรจน์ แฮนด์ เพ้นท์ ผู้ผลิตผ้าบาติก จาก จ.นราธิวาส กล่าวเสริมว่า แบรนด์ของเราเริ่มต้นจากการรับจ้างผลิต ใช้เวลากว่า 10 ปี ถึงจะทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และปัจจุบันมีลูกค้าจากต่างประเทศให้ความสนใจสินค้าของเราจำนวนมาก เพราะเคยผ่านการออกงานแฟร์ การแสดงแฟชั่นโชว์ และเคยร่วมแสดงในงานของกรมส่งเสริมการส่งออก
"เราเชื่อว่าระบบอีคอมเมิร์ซจะเป็นตัวช่วยในการขยายฐานลูกค้าจากเดิมออกไปกว้างขึ้น เพราะมีซัพพลายเออร์ช่วยนำสินค้าไปจำหน่ายยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยที่ทางแบรนด์ไม่ต้องลงทุนเองด้วย เพราะฉะนั้น ตรงนี้จึงน่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้สินค้าของเราได้รับการตอบรับจากลูกค้ากว้างขึ้น"
ทั้งนั้นเพราะ Alibaba.com ได้ชื่อว่าเป็นธุรกิจ E-Commerce รายใหญ่ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในระดับโลก ทั้งยังมีความหลากหลายของสินค้า รวมถึงยังเป็นแหล่งหาสินค้าจากลูกค้าทั่วทุกมุมโลก ดังนั้น ถ้าผู้ประกอบการไทยจะใช้หน้าต่างบานใหญ่ของ Alibaba.com เพื่อเปิดสินค้าไทยไปในระดับสากล ก็เชื่อแน่ว่าถูกต้องที่สุดแล้ว
ส่วนตัวตอนนี้รู้สึกได้เลยว่าตลาดออนไลน์เป็นที่จับตามองสุด ๆ สังเกตจากผู้ประกอบการทั้งเล็กและใหญ่ หันมาให้ความสำคัญกับการเปิดตลาดออนไลน์กันมาก ในส่วนของ Alibaba.com ค่อยข้างน่าสนใจสำหรับคนทำธุรกิจรายใหญ่ ๆ มีการขายแบบ B2B
อย่าง Alibaba.com ถือว่าเป็นเว็บไซต์ขายส่งที่มีขนาดใหญ่มากเลยนะคะ คนที่ใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นคนจีนเยอะมาก (ก็เจ้าของเขาก็คนจีนนี่เนอะ) ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าประเทศจีนมีจำนวนประชากรสูงมาก ถ้าเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้ ก็นอนคิดถึงเม็ดเงินมหาสารที่จะเข้ากระเป๋าได้เลย
แต่ว่าในส่วนข่าวที่เอามาแอบเสียดายนิดหน่อย เพราะเป็นเหมือนโครงการนำร่อง เขาเลยสนับสนุนในส่วนลูกค้าของธนาคาร SME Development Bank ให้เขาตลาดก่อน แต่ไม่แน่ในอนาคตอาจจะขยายเพิ่มขึ้นเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการไทย ซึ่งก็ต้องจับตาดูกันต่อไปแหละค่ะ