ภาษาเซอร์เบียเป็นที่นิยมมากไหมครับ ถ้าพูดภาษานี้ได้ถือว่าดีหรือเปล่า?

ภาษาเซอร์เบียมีคุณสมบัติเฉพาะที่ภาษาอื่นส่วนใหญ่ไม่มี คือ ทุกคำสะกดตามที่อ่านตรง ๆ และทุกตัวอักษรแทนหนึ่งเสียง หลักการนี้เป็นไปตามสุภาษิตที่ว่า "เขียนตามที่พูดและอ่านตามที่เขียน" ("Write as you speak and read as it is written") ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้โดย วุก สเตฟานอวิช คาราดจิช (Vuk Stefanović Karadžić) ตอนที่ปฏิรูปการสะกดภาษาเซอร์เบียด้วยอักษรซีริลลิกในคริสต์ศตวรรษที่ 19


ส่วนตัวคิดว่า ภาษาเซอร์เบียไม่ค่อยมีความสำคัญมากนัก โอกาสใช้แทบจะไม่มีเลย ภาษาโครเอเชียกับเซอร์เบียคล้ายกันขนาดเข้าใจได้เลยโดยไม่ต้องเรียนหรือเปล่าครับ?ดอกไม้ ผมคิดว่าถ้ารู้รัสเซียอาจเข้าใจ เบลารุส ยูเครน ได้
เหมือนโรมาเนียกับมอลโดวาที่แตกต่างกันในเรื่องสำเนียงแต่อาจมีคำศัพท์ที่ต่างกันเล็กน้อย

นอกเรื่อง: คนเซอร์เบียรู้จักไทยแค่ไหน?

ผมเคยเรียนภาษาเซอร์เบียบนYoutube รู้สึกว่ามันไม่ได้ยากมาก แต่หาโอกาสใช้ได้ยากจริง ๆ
พาพันขอบคุณเพี้ยนแช๊ะเพี้ยนแว๊น
คนไทยคนไหนพูดภาษานี้ได้บ้างครับอมยิ้ม19
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เรียนไปไม่มีประโยชน์เท่าไหร่ค่ะ ประเทศไม่ใช่มหาอำนาจ คนในประเทศเค้ายังออกมาดิ้นรนในยุโรปตะวันตก ตัวประเทศเอง ยังจน คนเงินเดือนน้อย เราเคยทำงานร่วมกับคนจากออฟฟิตสาขาที่เซอร์เบีย เคยคุยตอนเค้ามาเทรนงานในออฟฟิตเรา เงินเดือนคนทำงานไอทีคือประมาณ 500€ คือน้อยมาก ไม่ถึง25% ของคนที่ทำงานเหมือนกันในประเทศยุโรปตะวันตก คนในออฟฟิตฝั่งเราที่ต้องเข้าไปทำงานในเบลเกรด ไม่มีใครอยากไป ที่ไปมาก็กลับมาบอกไม่มีอะไรเท่าไหร่ เมืองไม่น่าอยู่

ภาษาเค้ารากเดียวกันหมดกับ โคโซโว, บอสเนียฯ, โครเอเชีย คุยกันได้รู้เรื่องหมด น่าจะใกล้เคียงกันมากกว่าไทยลาว

ปล.ภาษาเยอรมันก็ออกเสียงเหมือนที่เขียนนะคะ ยกเว้นคำยืมจากภาษาฝรั่งเศส/อังกฤษ แตพอคนมาพูดจริงๆมันจะมีสำเนียงมาเกี่ยวข้อง ทำให้ไม่เหมือน ทุกภาษาก็น่าจะเป็นเหมือนกันแหละค่ะ

โรมาเนียกับ มัลโดวาเป็นอย่างที่คุณว่า เพราะมัลโดวาเคยเป็นส่วนนึงของโรมาเนีย แต่โดนรัสเซียแย่งไปแล้วเกณฑ์คนมัลโดวาเข้าไปอยู่รัสเซีย แล้วเอาคนรัสเซียย้ายเข้ามา บังคับคนใช้ภาษารัสเซีย ทำให้ภาษาปนไปและเพี้ยนไป

ภาษาโรมาเนียรากเดียวกับอิตาลีและเสปน เดากันได้ค่ะ ถ้าอ่านๆประโยค แต่ถ้าพูดเจอเรื่องสำเนียงปน จะเข้าใจยากหน่อย อารมณ์ไทยเจอกับลาวแท้ๆที่พูดไทยไม่ได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่