ความรู้ ล้วนๆ การส่งเสริม สิทธิมนุษยชน ในภาคธุรกิจ Human Rights

คำถามที่สำคัญ ทำธุรกิจยังไงให้เคารพมนุษยชน??

คุณสฤณี อาชวานันทกุล: "สิทธิมนุษยชนมีหลายด้าน ไม่ใช่แค่เรื่องดูแลพนักงาน แต่จริงๆ มันมีพัฒนาการแนวคิด จริงๆ ไม่ใช่แค่ ปัจจัย 4 แต่บริการสาธารณะ หรือ การศึกษา แม้กระทั่งการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตก็ถือว่าเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย"

แล้วใครควรเป็นผู้ขับเคลื่อนมนุษยชน? แน่นอนว่า ไม่ใช่แค่ภาครัฐอย่างเดียวแล้ว ภาคเอกชน ก็ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะองค์กรระดับโลกเช่น ซีพี ที่จะต้องพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าใน Supply chain ยกระดับบริษัทอื่นๆด้วย ไม่ใช่แค่ในบริษัท แต่ความยากคือ บริษัทเองมีแนวทาง และการรายงานยกระดับได้แล้ว แต่ทำอย่างไร จะยกระดับคู่ค้าทั้งห่วงโซ่ได้ หากตลอดห่วงโซ่มีบริษัทคู่ค้าไปละเมิด ก็จะกระทบทั้งสาย แต่พอบริษัทใหญ่จะไปควบคุม ก็จะเจอเรื่องของการเข้าไปกินรวบ เข้าไปผูกขาด ทำให้การยกระดับทั้งห่วงโซ่ในประเทศไทย ทำได้ไม่ง่าย!! แต่ไม่ทำก็ไม่ได้ ทำอย่างไรจึงจะตรวจสอบรอบด้านได้ และพัฒนาทุกคนที่เกี่ยวข้อง (Supply Chain Transparency)

ตัวอย่างเช่น TUF พยายามเข้ามาตรฐานระดับโลก เช่น GRI แต่ในทางปฏิบัติ ก็ยังเอจปัญหาเรื่องแรงงานทาส จากเรือประมง หากยกระดับทั้งสายห่วงโซ่ไม่ได้ ก็จะกระทบทั้งอุตสาหกรรมเป็นต้น ดังนั้นเรื่องสิทธิมนุษยชนจึงเป็นเรื่องใหญ่


วัตถุดิบ ของวัตถุดิบ ของวัตถุดิบ???

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ใครละเมิดสิทธิมนุษยชน ถ้าปัญหาเกิดขึ้นต้นน้ำ บริษัทใหญ่ไปควบคุม ก็กลายเป็นกินรวบ ดังนั้นก็ยาก แต่ก็ต้องทำ
และหาว่าความเสี่ยงอยู่ที่ไหน

คุณนัท วานิชยางกูร พูดได้น่าสนใจว่า "ความท้าทายของบริษัทใหญ่ๆ ทำได้ดีคือเรื่องของ Safety" ความปลอดภัย อย่างซีพี ทำมาตั้งแต่ปี 2005 ใช้เวลาและใช้ความอดทนทำต่อเนื่อง ซึ่งทำได้ดีมาก  ตอนนี้ ซีพี มี operation ใน 20 ประเทศ ทำให้ทุกอย่างต้องมั่นใจเรื่องกระบวนการ และมาวันนี้ท้าทายขึ้นไปอีก คือเรื่อง Human Rights บริษัทขนาดใหญ่ก็ต้องให้ความสำคัญ"


สิ่งสำคัญที่สุดของไทย คือ เรื่องความยากจน ซึ่งจะนำมาซึ่งปัญหา Human Rights ในทุกประเทศที่มีความยากจน ดังนั้นในประเทศไทยนั้นหนีไม่พ้นเรื่อง Human righr!!! หมายความว่า ถึงบริษัทไม่ได้ละเมิดแรงงาน แต่ถ้าคนอื่นละเมิด แล้วบริษัทได้ประโยชน์  ก็ถือว่า บริษัทก็ผิด ดังนั้นภาคธุรกิจจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมทั้ง Supply Chain จากต้นน้ำ สู่ปลายน้ำ


ดังนั้น การจะยกระดับเรื่อง Human rights บริษัทต้องเข้าไปทำตั้งแต่ต้นน้ำ จน ถึง ปลายน้ำ เพื่อรักษามาตรฐาน และที่สำคัญคือลดความเสี่ยงด้าน Human Rights

ทั้งนี้ องค์กรระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับ Human Rights เยอะมาก เช่น UN Universal Declaration of Human Rights, ILO 1998 เป็นต้น

Coca cola โดนเรื่องไปใช้น้ำใต้ดิน
Nestle โดนเรื่อง ingredient ในอาหาร
Kellogg's ก็โดนปัญหาเรื่องแรงงานทาส

แต่ทั้งหมดแก้ได้เรื่องการมีส่วนร่วม Inclusive.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่