ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เผยสรุปใช้ ม.61 ให้กรมสรรพากรเก็บภาษี “ทักษิณ” ขู่ยื่น ม.157 ฟันแน่หากปล่อยจนเลยสิ้นเดือนนี้ ส่วน “แม้ว” ถ้าไม่จ่ายก็ต้องขึ้นศาลภาษีอากร ระบุส่งชื่อ 60 นักการเมืองให้จัดการต่อแล้ว เน้นรายได้เพิ่มหรือหนี้ลด 5 ล้าน ใครยังไม่ได้จ่ายให้รีบไปเสีย ยันไม่ใช่เรื่องการเมือง โบ้ยไม่ได้เปิดชื่อ 4 รมต.โดนหางเลข
วันนี้ (20 มี.ค.) นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวถึงการดำเนินการให้กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีการขายหุ้นชินคอร์ปอเรชั่นให้แก่กลุ่มทุนเทมาเส็กว่า เรื่องนี้มีมติในการใช้ช่องทางกฎหมายมาตรา 61 ตามประมวลรัษฎากร เพื่อให้กรมสรรพากรดำเนินการเรียกเก็บภาษี ตอนนี้ต้องให้เวลากรมสรรพากรทำงาน แต่ก็ต้องอยู่ในห้วงเวลาไม่เกินวันที่ 31 มีนาคมนี้ ที่การจัดเก็บภาษีจะหมดอายุความ แต่หลังพ้นกรอบเวลาหากกรมสรรพากรไม่ทำหน้าที่ ก็จะยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ดำเนินการฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 ของประมวลกฎหมายอาญา
นายพิศิษฐ์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้หากผู้ได้รับแจ้งการประเมินภาษีเห็นว่ายังไม่มีความเป็นธรรม สามารถอุทธรณ์ตามกระบวนการได้ หรือหากไม่ชำระภาษีหรือเหตุผลในการอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น ก็ต้องขึ้นสู่กระบวนการทางศาล ให้ศาลภาษีอากรเป็นผู้ตัดสินให้ได้ข้อยุติ ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีจะตีความว่ากฎหมายไม่สามารถดำเนินการอะไรได้
ส่วนการดำเนินการเก็บภาษีนักการเมืองในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินกล่าวว่า ได้มีการส่งรายชื่อให้กรมสรรพากรดำเนินการตรวจสอบแล้ว ซึ่งกลั่นกรองจากหนึ่งร้อยกว่าคนเหลือ 60 คน โดยพิจารณาจากนักการเมืองที่มีรายได้เพิ่มขึ้นหรือหนี้สินลดลงเกินกว่า 5 ถึง 6 ล้านบาท
นายพิสิษฐ์กล่าวต่อว่า ในครั้งแรกเมื่อส่งรายชื่อนักการเมืองทั้ง 60 คน กรมสรรพากรก็แจ้งว่าได้ตรวจสอบกับทาง ป.ป.ช.แล้ว ไม่พบว่ามีการแสดงทรัพย์สินเป็นเท็จหรือร่ำรวยผิดปกติ แต่ทาง สตง.ก็ยืนยันว่ากรมสรรพากรต้องดำเนินการตรวจสอบและจัดเก็บภาษี แม้จะมีสถานะเป็นปกติเพื่อดูว่ามีการจัดเก็บภาษีครบถ้วนหรือไม่ พร้อมฝากถึงบุคคลที่รู้ตัวว่ายังเสียภาษีไม่ครบถ้วนให้รีบไปดำเนินการเสียภาษีจะได้ไม่เสียเงินเพิ่มหากมีการจัดเก็บจากการเรียกประเมิน แต่เสียแค่เบี้ยปรับตามเวลา
“การดำเนินการจัดเก็บภาษีนักการเมือง เป็นเรื่องที่ต้องติดตามเร่งรัด เพราะหากปล่อยเวลาใกล้หมดอายุความ ก็จะคล้ายกับกรณีภาษีหุ้นชินคอร์ปว่าประเมินภาษีไม่ได้ ขยายเวลาไม่ได้ จนต้องใช้กฎหมายอื่นมาช่วยในการจัดเก็บ ซึ่งเรื่องนี้กรมสรรพากรต้องนำมาเป็นบทเรียน พร้อมย้ำการดำเนินการเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องทางการเมือง แต่เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่ต้องการใช้การจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรม” นายพิสิษฐ์กล่าว
ส่วนการดำเนินการติดตามภาษีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในปัจจุบัน ขณะนี้ยังไม่มีการดำเนินการเพราะยังไม่พ้นจากตำแหน่ง ส่วนกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยจะยื่นหนังสือร้องอธิบดีกรมสรรพากรตรวจสอบ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกรณีเช็ค 1 ล้านบาทที่เข้าข่ายควรตรวจสอบภาษีด้วยนั้น นายพิศิษฐ์กล่าวว่า เป็นเรื่องของนายเรืองไกร ในส่วนของ สตง.จะติดตามเรื่องปกติ โดยจะสุ่มบุคคลที่มีประโยชน์ คือบุคคลคนที่มีรายได้เกินจากความเหมาะสมจำเป็น เราจะมุ่งจัดเก็บรายใหญ่ที่ทรัพย์สินเพิ่มจำนวนมากๆเป็นเกณฑ์เช่นเดียวกับที่กรมสรรพากรใช้ตรวจอยู่แล้ว
เมื่อถามถึงกรณีที่มีการเปิดเผยรายชื่ออดีตรัฐมนตรี 4 รายที่จะถูกสอบภาษี นายพิศิษฐ์กล่าวว่า สตง.ไม่ได้เป็นคนเปิดเผยและไม่ได้รับรู้อะไรทั้งนั้นเพราะไม่ได้มีเจตนาให้มีผลกระทบในเรื่องใดๆ ต้องการเพียงว่าให้กรมสรรพากรไปดูว่าบุคคลใดที่จะต้องเสียภาษีก็ให้ไปเสียให้ครบแต่ถ้าประเมินแล้วรวยเป็นปกติและรายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีให้แจ้งมายัง สตง.
http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9600000028423
ชีวิต ดี้ดี ผู้ว่าฯ สตง.ขู่สรรพากรปล่อยภาษี “แม้ว” หลุดเจอ ม.157 ฟันแน่ ปัดปูด 4 รมต.โดนหางเลขสอบ
วันนี้ (20 มี.ค.) นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวถึงการดำเนินการให้กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีการขายหุ้นชินคอร์ปอเรชั่นให้แก่กลุ่มทุนเทมาเส็กว่า เรื่องนี้มีมติในการใช้ช่องทางกฎหมายมาตรา 61 ตามประมวลรัษฎากร เพื่อให้กรมสรรพากรดำเนินการเรียกเก็บภาษี ตอนนี้ต้องให้เวลากรมสรรพากรทำงาน แต่ก็ต้องอยู่ในห้วงเวลาไม่เกินวันที่ 31 มีนาคมนี้ ที่การจัดเก็บภาษีจะหมดอายุความ แต่หลังพ้นกรอบเวลาหากกรมสรรพากรไม่ทำหน้าที่ ก็จะยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ดำเนินการฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 ของประมวลกฎหมายอาญา
นายพิศิษฐ์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้หากผู้ได้รับแจ้งการประเมินภาษีเห็นว่ายังไม่มีความเป็นธรรม สามารถอุทธรณ์ตามกระบวนการได้ หรือหากไม่ชำระภาษีหรือเหตุผลในการอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น ก็ต้องขึ้นสู่กระบวนการทางศาล ให้ศาลภาษีอากรเป็นผู้ตัดสินให้ได้ข้อยุติ ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีจะตีความว่ากฎหมายไม่สามารถดำเนินการอะไรได้
ส่วนการดำเนินการเก็บภาษีนักการเมืองในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินกล่าวว่า ได้มีการส่งรายชื่อให้กรมสรรพากรดำเนินการตรวจสอบแล้ว ซึ่งกลั่นกรองจากหนึ่งร้อยกว่าคนเหลือ 60 คน โดยพิจารณาจากนักการเมืองที่มีรายได้เพิ่มขึ้นหรือหนี้สินลดลงเกินกว่า 5 ถึง 6 ล้านบาท
นายพิสิษฐ์กล่าวต่อว่า ในครั้งแรกเมื่อส่งรายชื่อนักการเมืองทั้ง 60 คน กรมสรรพากรก็แจ้งว่าได้ตรวจสอบกับทาง ป.ป.ช.แล้ว ไม่พบว่ามีการแสดงทรัพย์สินเป็นเท็จหรือร่ำรวยผิดปกติ แต่ทาง สตง.ก็ยืนยันว่ากรมสรรพากรต้องดำเนินการตรวจสอบและจัดเก็บภาษี แม้จะมีสถานะเป็นปกติเพื่อดูว่ามีการจัดเก็บภาษีครบถ้วนหรือไม่ พร้อมฝากถึงบุคคลที่รู้ตัวว่ายังเสียภาษีไม่ครบถ้วนให้รีบไปดำเนินการเสียภาษีจะได้ไม่เสียเงินเพิ่มหากมีการจัดเก็บจากการเรียกประเมิน แต่เสียแค่เบี้ยปรับตามเวลา
“การดำเนินการจัดเก็บภาษีนักการเมือง เป็นเรื่องที่ต้องติดตามเร่งรัด เพราะหากปล่อยเวลาใกล้หมดอายุความ ก็จะคล้ายกับกรณีภาษีหุ้นชินคอร์ปว่าประเมินภาษีไม่ได้ ขยายเวลาไม่ได้ จนต้องใช้กฎหมายอื่นมาช่วยในการจัดเก็บ ซึ่งเรื่องนี้กรมสรรพากรต้องนำมาเป็นบทเรียน พร้อมย้ำการดำเนินการเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องทางการเมือง แต่เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่ต้องการใช้การจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรม” นายพิสิษฐ์กล่าว
ส่วนการดำเนินการติดตามภาษีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในปัจจุบัน ขณะนี้ยังไม่มีการดำเนินการเพราะยังไม่พ้นจากตำแหน่ง ส่วนกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยจะยื่นหนังสือร้องอธิบดีกรมสรรพากรตรวจสอบ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกรณีเช็ค 1 ล้านบาทที่เข้าข่ายควรตรวจสอบภาษีด้วยนั้น นายพิศิษฐ์กล่าวว่า เป็นเรื่องของนายเรืองไกร ในส่วนของ สตง.จะติดตามเรื่องปกติ โดยจะสุ่มบุคคลที่มีประโยชน์ คือบุคคลคนที่มีรายได้เกินจากความเหมาะสมจำเป็น เราจะมุ่งจัดเก็บรายใหญ่ที่ทรัพย์สินเพิ่มจำนวนมากๆเป็นเกณฑ์เช่นเดียวกับที่กรมสรรพากรใช้ตรวจอยู่แล้ว
เมื่อถามถึงกรณีที่มีการเปิดเผยรายชื่ออดีตรัฐมนตรี 4 รายที่จะถูกสอบภาษี นายพิศิษฐ์กล่าวว่า สตง.ไม่ได้เป็นคนเปิดเผยและไม่ได้รับรู้อะไรทั้งนั้นเพราะไม่ได้มีเจตนาให้มีผลกระทบในเรื่องใดๆ ต้องการเพียงว่าให้กรมสรรพากรไปดูว่าบุคคลใดที่จะต้องเสียภาษีก็ให้ไปเสียให้ครบแต่ถ้าประเมินแล้วรวยเป็นปกติและรายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีให้แจ้งมายัง สตง.
http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9600000028423