สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ก็คล้ายๆ กับที่มีคนวิจารณ์หลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศสเหมือนกัน แต่การวิเคราะห์แบบนี้เป็นการมองย้อนกลับจากปัจจุบันไปอดีตครับ จะมองแบบนี้ก็ได้แต่ผมว่ามันไม่แฟร์กับผู้ถูกวิจารณ์เท่าไหร่ เพราะบางเรื่องที่เราคิดว่าถ้าเขาทำแบบนี้ก็จะได้ผลอีกแบบที่ดีกว่าเยอะ แต่ในสถานการณ์นั้นมันอาจมีเหตุปัจจัยไม่พอที่จะทำให้เขาคิดทำแบบที่เราคิดตอนนี้ (เพราะเขาคนที่อยู่ในยุคนั้นไม่รู้อนาคต) จะวิเคราะห์ให้แฟร์ๆ ผมว่าเราต้องศึกษากระบวนการคิดของคนยุคนั้นด้วย ว่าส่งผลทำให้เขาตัดสินใจแบบนั้นเพราะอะไร และเขาสามารถตัดสินใจเป็นอีกแบบได้ไหมตามเหตุปัจจัยตอนนั้น ถ้าได้แต่ไม่ทำเพราะอะไร (อาจเพราะนิสัยส่วนตัว)
ตัวอย่างง่ายๆ เช่นเรื่องการเปิดรับแนวคิดตะวันตกน่ะครับ คือ..มีประเทศไหนในเอเซียที่เปิดรับอย่างเต็มใจเพราะเห็นว่าตะวันตกมีแนวคิดที่เหนือกว่าบ้าง ที่เห็นอย่างไทยหรือญี่ปุ่นเปิดรับก็เพราะเห็น"พลังอำนาจ"ของชาติตะวันตกต่างหาก และการแสดงพลังอำนาจของชาติตะวันตกนั้นก็มาเห็นชัดยุคล่าอาณานิคมกลางๆ ศตวรรษที่ 19 แล้ว ตอนเฉียนหลงครองราชย์นั่นคือศตวรรษที่ 18 นะครับ ตอนนั้นอังกฤษยังยึดอินเดียไม่ได้เลย ถ้าเฉียนหลงเห็นว่าเทคโนโลยีความก้าวหน้าของตะวันตกจะกล้าแกร่งอย่างมากในศตวรรษที่ 19 แล้วรีบเปิดประเทศตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 นี่...ต้องเรียกว่าสุดๆ ของอัจริยภาพแล้วครับ อีกประเด็นคือการเปิดรับตะวันตกนั้นมันเป็นไปได้ในบริบทของแนวคิดจีนแบบเดิมหรือเปล่า ที่จีนคิดว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของโลกน่ะครับ จีนเป็นเบอร์หนึ่งในเอเซียตะวันออก ปราบรัฐอื่นได้หมด แค่ตะวันตกส่งทูตมาเจรจาการค้านี่จะทำให้จีนคิดใหม่ทำใหม่เปิดรับเทคโนโลยีตะวันตกเลยได้หรือเปล่า
อีกเรื่องคือที่บอกว่าจีนเมินอังกฤษ...ก็จริง แต่จีนไม่ได้เมินเนเธอร์แลนด์นะครับ ติดต่อค้าขายกันปกติ ความแตกต่างอยู่ที่ไหน อยู่ที่ตอนทูตอังกฤษมาจีนนั้นไม่ยอมคุกเข่าถวายคำนับฮ่องเต้หรือเปล่าในขณะที่ดัชต์ทำ คือคุณเข้าพบผู้นำของชาติที่อยากจะทำการค้าด้วยแต่ไม่ยอมทำตามธรรมเนียมเขา ผมก็ไม่แน่ใจว่าใครกันแน่ที่เย่อหยิ่งล่ะนะ (อังกฤษก็ใช่ย่อยนะเรื่องนี้)
ทั้งนี้ผมไม่ได้หมายความว่าเฉียนหลงไม่ผิดพลาดเลยนะครับ ประเด็นผมคือเราต้องแยกว่าส่วนไหนที่พระองค์ทำผิดพลาดด้วยตัวเอง ส่วนไหนที่เป็นธรรมเนียมจีนแต่โบราณมาแล้วที่จักรพรรดิองค์ไหนก็คงทำเหมือนๆ กันแหละ คงไม่คิดเป็นอื่น สิ่งที่พระองค์ทำนั้นมีผลต่อการตกต่ำของจีนแน่นอนแต่คำถามที่เราควรจะถามคือสิ่งไหนที่พระองค์เลือกทำเป็นอย่างอื่นได้บ้าง นอกจากนี้จีนคงไม่ได้บริหารโดยจักรพรรดิพระองค์เดียวก็ต้องมีตำแหน่งผู้ช่วยต่างๆ คนเหล่านี้มีผลต่อเส้นสายประวัติศาสตร์แค่ไหน บางคนอาจมีผลมากกว่าตัวฮ่องเต้ซะอีก
ตัวอย่างง่ายๆ เช่นเรื่องการเปิดรับแนวคิดตะวันตกน่ะครับ คือ..มีประเทศไหนในเอเซียที่เปิดรับอย่างเต็มใจเพราะเห็นว่าตะวันตกมีแนวคิดที่เหนือกว่าบ้าง ที่เห็นอย่างไทยหรือญี่ปุ่นเปิดรับก็เพราะเห็น"พลังอำนาจ"ของชาติตะวันตกต่างหาก และการแสดงพลังอำนาจของชาติตะวันตกนั้นก็มาเห็นชัดยุคล่าอาณานิคมกลางๆ ศตวรรษที่ 19 แล้ว ตอนเฉียนหลงครองราชย์นั่นคือศตวรรษที่ 18 นะครับ ตอนนั้นอังกฤษยังยึดอินเดียไม่ได้เลย ถ้าเฉียนหลงเห็นว่าเทคโนโลยีความก้าวหน้าของตะวันตกจะกล้าแกร่งอย่างมากในศตวรรษที่ 19 แล้วรีบเปิดประเทศตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 นี่...ต้องเรียกว่าสุดๆ ของอัจริยภาพแล้วครับ อีกประเด็นคือการเปิดรับตะวันตกนั้นมันเป็นไปได้ในบริบทของแนวคิดจีนแบบเดิมหรือเปล่า ที่จีนคิดว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของโลกน่ะครับ จีนเป็นเบอร์หนึ่งในเอเซียตะวันออก ปราบรัฐอื่นได้หมด แค่ตะวันตกส่งทูตมาเจรจาการค้านี่จะทำให้จีนคิดใหม่ทำใหม่เปิดรับเทคโนโลยีตะวันตกเลยได้หรือเปล่า
อีกเรื่องคือที่บอกว่าจีนเมินอังกฤษ...ก็จริง แต่จีนไม่ได้เมินเนเธอร์แลนด์นะครับ ติดต่อค้าขายกันปกติ ความแตกต่างอยู่ที่ไหน อยู่ที่ตอนทูตอังกฤษมาจีนนั้นไม่ยอมคุกเข่าถวายคำนับฮ่องเต้หรือเปล่าในขณะที่ดัชต์ทำ คือคุณเข้าพบผู้นำของชาติที่อยากจะทำการค้าด้วยแต่ไม่ยอมทำตามธรรมเนียมเขา ผมก็ไม่แน่ใจว่าใครกันแน่ที่เย่อหยิ่งล่ะนะ (อังกฤษก็ใช่ย่อยนะเรื่องนี้)
ทั้งนี้ผมไม่ได้หมายความว่าเฉียนหลงไม่ผิดพลาดเลยนะครับ ประเด็นผมคือเราต้องแยกว่าส่วนไหนที่พระองค์ทำผิดพลาดด้วยตัวเอง ส่วนไหนที่เป็นธรรมเนียมจีนแต่โบราณมาแล้วที่จักรพรรดิองค์ไหนก็คงทำเหมือนๆ กันแหละ คงไม่คิดเป็นอื่น สิ่งที่พระองค์ทำนั้นมีผลต่อการตกต่ำของจีนแน่นอนแต่คำถามที่เราควรจะถามคือสิ่งไหนที่พระองค์เลือกทำเป็นอย่างอื่นได้บ้าง นอกจากนี้จีนคงไม่ได้บริหารโดยจักรพรรดิพระองค์เดียวก็ต้องมีตำแหน่งผู้ช่วยต่างๆ คนเหล่านี้มีผลต่อเส้นสายประวัติศาสตร์แค่ไหน บางคนอาจมีผลมากกว่าตัวฮ่องเต้ซะอีก
แสดงความคิดเห็น
ฮ่องเต้เฉียนหลงคือบ่อเกิดความหายนะของต้าชิงหรอครับ?