สวัสดีค่ะ
วันนี้เราจะขอมาแชร์ประสบการณ์ในการใช้ชีวิต ร่วมกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ถึงจะเป็นเวลาไม่กี่วันแต่ก็ทรมานน่าดูเลยทีเดียว...
แน่นอน!! บางคนบอกว่า โรคนี้คนเป็นกันเยอะ พบปัญหากันบ่อย ไม่เห็นจะแปลก โอเคนั่นอาจจะใช่ที่ใคร ๆ ก็เป็น แต่การใช้ชีวิตจะเปลี่ยนไปจากเดิมจริง ๆ ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันดีกว่า
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบบ่อยในสตรี โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-50 ปี ทั้งนี้เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชายและอยู่ใกล้กับทวารหนัก เชื้อแบคทีเรียบริเวณทวารหนัก (ซึ่งปกติมีอยู่จำนวนมาก) จึงมีโอกาสสูงที่เคลื่อนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการฟักตัวและอักเสบได้ในสตรีเจริญพันธุ์
อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
การอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการดังนี้
1.ปัสสาวะบ่อย แต่ละครั้งจำนวนน้อย และกลั้นไม่ได้ ต้องรีบเข้าห้องน้ำ
2.แสบในท่อปัสสาวะ ปวดเสียดตอยถ่ายสุด
3.ตึง ปวดถ่วง บริเวณท้องน้อย
4.ปัสสาวะมีกลิ่นผิดปกติ
5.ปัสสาวะมีเลือดปน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้รูปภาพจาก www.rnrnewlife.com
นี่แหละค่ะอาการเหล่านี้ เราเป็นทั้งหมดจริง ๆ ส่งผลให้การใช้ชีวิตยากลำบากขึ้น เมื่อต้องขึ้นรถประจำทาง การพบลูกค้า กระประชุม หรือแม้แต่การนอน! จะต้องปวดฉี่อยู่ตลอด กลั้นแทบไม่ไหว ปวดทุกๆ 15-30 นาที เข้าห้องน้ำทีก็น๊านนนนนนนนนนนนนานนนนนนนนนนนนน จนเพื่อร่วมงานเห็นแล้วถึงกับต้องรีบกระดกน้ำตามเพราะกลัวจะเป็นบ้าง
หลังจากที่สังเกต ศึกษาอาการ และเดาว่าตัวเองเป็นโรคนี้อยู่ 4 วัน ก็รีบไปหาหมอ เพราะเริ่มมีอาการวิตกกังวลและรับกับสภาพร่างกายที่เป็นอยู่ไม่ได้ ด้วยรูปแบบการทำงานที่ไม่ได้อำนวยต่อการเข้าห้องน้ำได้ตลอดเวลา และหมอสรุปได้ว่า เราเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจริงๆ
แต่ทว่าา การรักษากลับง่ายดายและรวดเร็ว ไม่เห็นจะทรมานเหมือนตอนเป็นเล้ยยยย
การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
1.รับประทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการมาก ต้องรับประทานยาในระยะเวลาที่นานขึ้น คือประมาณ 7-10 วัน
2.ผู้ที่มีอาการอักเสบได้ง่าย เช่น หลังมีเพศสัมพันธ์ อาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการอักเสบ
และหมอย้ำว่า ดื่มน้ำสะอาดเยอะ ๆ นะคะ ห้ามกลั้นปัสสาวะเด็ดขาดอีกด้วย
ซึ่งวิธีการป้องกันก็ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยอีกเช่นกัน
การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
1.หมั่น
รักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด ท่อปัสสาวะและทวารหนัก
2.บางครั้งแบคทีเรียเมื่อหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแล้ว ต้องใช้เวลาในการฟักตัวของเชื้อ ซึ่ง
การดื่มน้ำมากขึ้นจะสามารถขับแบคทีเรียออกมาได้
3.
ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้เป็ยระยะเวลานานๆ เพราะการกลั้นปัสสาวะนานเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้เชื้อแบคทีเรียมีระยะฟักตัวในกระเพาะปัสสาวะนานขึ้นยิ่งทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย
4.
ผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบบ่อยๆ เรื้อรัง ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุแอบแฝงอื่นๆ เช่น นิ่ว กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากระบบประสาทควบคุม หรือมีอาการอุดตันในกระเพาะปัสสาวะ
เราต้องยอมรับความผิดพลาดของตัวเองเลยว่า เป็นคนที่ดื่มน้ำน้อยถึงน้อยมาก ประมาณว่าน้ำขวดเล็ก 5 บาท ให้ดื่มสามวันก็อยู่ได้ ส่วนกลั้นฉี่ก็มีบ้างตามโอกาส จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองไปในทิศทางที่ถูกต้องและดีขึ้น และอยากจะเตือนทุกคนโดยเฉพาะสาว ๆ ไม่ว่าจะสาวออฟฟิศ นักเรียน นิสิตนักศึกษา ใครก็ตามแต่ พยายามดูแลตัวเองนิสสสนึง อย่ามองข้ามเรื่องเล็ก ๆ ให้มันเกิดเป็นเรื่องใหญ่ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้หนักหนาสาหัสอะไร แต่มันก็สามารถเรื้อรังไปเป็นโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่าได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจาก
http://www.phyathai.com/medicalcenterdetail_article/14/253/PYT3/th
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ ถ้ามีอะไรดี ๆ หรือเป็นประโยชน์ เดี๋ยวจะเอามาฝากอีกค่ะ
ถึงสาวๆทุกคน!! เมื่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบมาเยือน!
วันนี้เราจะขอมาแชร์ประสบการณ์ในการใช้ชีวิต ร่วมกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ถึงจะเป็นเวลาไม่กี่วันแต่ก็ทรมานน่าดูเลยทีเดียว...
แน่นอน!! บางคนบอกว่า โรคนี้คนเป็นกันเยอะ พบปัญหากันบ่อย ไม่เห็นจะแปลก โอเคนั่นอาจจะใช่ที่ใคร ๆ ก็เป็น แต่การใช้ชีวิตจะเปลี่ยนไปจากเดิมจริง ๆ ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันดีกว่า
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบบ่อยในสตรี โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-50 ปี ทั้งนี้เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชายและอยู่ใกล้กับทวารหนัก เชื้อแบคทีเรียบริเวณทวารหนัก (ซึ่งปกติมีอยู่จำนวนมาก) จึงมีโอกาสสูงที่เคลื่อนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการฟักตัวและอักเสบได้ในสตรีเจริญพันธุ์
อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
การอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการดังนี้
1.ปัสสาวะบ่อย แต่ละครั้งจำนวนน้อย และกลั้นไม่ได้ ต้องรีบเข้าห้องน้ำ
2.แสบในท่อปัสสาวะ ปวดเสียดตอยถ่ายสุด
3.ตึง ปวดถ่วง บริเวณท้องน้อย
4.ปัสสาวะมีกลิ่นผิดปกติ
5.ปัสสาวะมีเลือดปน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นี่แหละค่ะอาการเหล่านี้ เราเป็นทั้งหมดจริง ๆ ส่งผลให้การใช้ชีวิตยากลำบากขึ้น เมื่อต้องขึ้นรถประจำทาง การพบลูกค้า กระประชุม หรือแม้แต่การนอน! จะต้องปวดฉี่อยู่ตลอด กลั้นแทบไม่ไหว ปวดทุกๆ 15-30 นาที เข้าห้องน้ำทีก็น๊านนนนนนนนนนนนนานนนนนนนนนนนนน จนเพื่อร่วมงานเห็นแล้วถึงกับต้องรีบกระดกน้ำตามเพราะกลัวจะเป็นบ้าง
หลังจากที่สังเกต ศึกษาอาการ และเดาว่าตัวเองเป็นโรคนี้อยู่ 4 วัน ก็รีบไปหาหมอ เพราะเริ่มมีอาการวิตกกังวลและรับกับสภาพร่างกายที่เป็นอยู่ไม่ได้ ด้วยรูปแบบการทำงานที่ไม่ได้อำนวยต่อการเข้าห้องน้ำได้ตลอดเวลา และหมอสรุปได้ว่า เราเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจริงๆ
แต่ทว่าา การรักษากลับง่ายดายและรวดเร็ว ไม่เห็นจะทรมานเหมือนตอนเป็นเล้ยยยย
การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
1.รับประทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการมาก ต้องรับประทานยาในระยะเวลาที่นานขึ้น คือประมาณ 7-10 วัน
2.ผู้ที่มีอาการอักเสบได้ง่าย เช่น หลังมีเพศสัมพันธ์ อาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการอักเสบ
และหมอย้ำว่า ดื่มน้ำสะอาดเยอะ ๆ นะคะ ห้ามกลั้นปัสสาวะเด็ดขาดอีกด้วย
ซึ่งวิธีการป้องกันก็ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยอีกเช่นกัน
การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
1.หมั่นรักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด ท่อปัสสาวะและทวารหนัก
2.บางครั้งแบคทีเรียเมื่อหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแล้ว ต้องใช้เวลาในการฟักตัวของเชื้อ ซึ่งการดื่มน้ำมากขึ้นจะสามารถขับแบคทีเรียออกมาได้
3.ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้เป็ยระยะเวลานานๆ เพราะการกลั้นปัสสาวะนานเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้เชื้อแบคทีเรียมีระยะฟักตัวในกระเพาะปัสสาวะนานขึ้นยิ่งทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย
4.ผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบบ่อยๆ เรื้อรัง ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุแอบแฝงอื่นๆ เช่น นิ่ว กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากระบบประสาทควบคุม หรือมีอาการอุดตันในกระเพาะปัสสาวะ
เราต้องยอมรับความผิดพลาดของตัวเองเลยว่า เป็นคนที่ดื่มน้ำน้อยถึงน้อยมาก ประมาณว่าน้ำขวดเล็ก 5 บาท ให้ดื่มสามวันก็อยู่ได้ ส่วนกลั้นฉี่ก็มีบ้างตามโอกาส จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองไปในทิศทางที่ถูกต้องและดีขึ้น และอยากจะเตือนทุกคนโดยเฉพาะสาว ๆ ไม่ว่าจะสาวออฟฟิศ นักเรียน นิสิตนักศึกษา ใครก็ตามแต่ พยายามดูแลตัวเองนิสสสนึง อย่ามองข้ามเรื่องเล็ก ๆ ให้มันเกิดเป็นเรื่องใหญ่ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้หนักหนาสาหัสอะไร แต่มันก็สามารถเรื้อรังไปเป็นโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่าได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจาก http://www.phyathai.com/medicalcenterdetail_article/14/253/PYT3/th
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ ถ้ามีอะไรดี ๆ หรือเป็นประโยชน์ เดี๋ยวจะเอามาฝากอีกค่ะ