สวัสดี “วันไพ” (π Day) – วันสำคัญของคนรักตัวเลข


สวัสดี “วันไพ” (π Day) – วันสำคัญของคนรักตัวเลข

ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/Dr.NoomMathLover/posts/1698834350143302:0
-------

ใครที่หลงรักตัวเลขมักจะหลงใหลในเสน่ห์ของ π ทั้งนี้ถ้าอยากให้คนอื่นรักตัวเลข เราก็นำเรื่อง π ไปเล่าให้เขาในวันไพให้เช่นกัน

วันนี้อยากให้คนที่รักคณิตศาสตร์ช่วยกันแชร์เรื่องราววันไพให้คนรู้จักให้มากที่สุด เพื่อคนไทยจะได้รักคณิตศาสตร์กันมากขึ้นทั่วประเทศ โดยท่านอาจจะเขียนเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องวันไพเอง หรือจะนำบทความสั้นๆ นี้ไปแชร์ต่อ และเล่าให้นักเรียน ลูกหลาน หรือคนทั่วไปฟังก็ได้

** มารู้จักเรื่องราวของ π

π ถือได้ว่าเป็นค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์ที่คนทั่วโลกรู้จักกันมากที่สุดเลยทีเดียว

ไม่ว่าจะพิจารณาวงกลมขนาดใหญ่หรือเล็กแค่ไหน อัตราส่วนของความยาวเส้นรอบรูปต่อความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมนั้นจะมีค่าเท่ากับค่าไพเสมอ

มนุษย์มีการนำไพมาใช้งานนานมากเกือบ 4,000 ปี นักคณิตศาสตร์ทั่วโลกสนใจคำนวณค่าของ π มากมาย อาทิ ชาวบาลิโลน ชาวอียิปต์โบราณ ชาวกรีก ชาวจีน และชาวอินเดีย

ค่า π เป็นตัวเลขที่อยู่ในรูปทศนิยมไม่รู้จบไม่ซ้ำ นั่นคือ ไม่ว่าจะเขียนทศนิยมที่เขียนไปได้เรื่อยๆ และไม่พบแบบรูปที่ซ้ำเดิมเลย (ในทางคณิตศาสตร์จะเรียกจำนวนลักษณะนี้ว่า จำนวนอตรรกยะ หรือจำนวนที่ไม่สามารถเขียนในรูปอัตราส่วนของจำนวนเต็มสองจำนวนได้)

เนื่องจาก π เป็นทศนิยมไม่รู้จบไม่ซ้ำ จึงมีคนพยายามแข่งขันกันคำนวณค่า π ให้ได้ตำแหน่งทศนิยมมากที่สุด สถิติโลกในเรื่องนี้มีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

สถิติโลกล่าสุดเป็นของ Peter Trueb โดยเผยแพร่ข้อมูลในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งคำนวณจำนวนทศนิยมของ π ได้ถึง 22,459,157,718,361 ตำแหน่ง (ประมาณ 22 ล้านล้านตำแหน่ง) โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คำนวณรวม 105 วัน

** π กับ Pi Day

ค่า π ที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน เมื่อเขียนเป็นทศนิยมจะใช้ค่าประมาณที่ทศนิยมสองตำแหน่ง นั่นคือ 3.14

ทั้งนี้ได้มีการนำ 3.14 มากำหนดเป็นวันไพ (Pi Day) โดยมองว่า 3 คือ เดือนมีนาคม และ 14 คือ วันที่ 14 ดังนั้นวันไพจะตรงกับวันที่ 14 มีนาคม

** คุณจำทศนิยมของ π ได้มากที่สุดกี่ตำแหน่ง?

ขณะนี้สถิติสูงสุดในการจำค่า π ของมนุษย์ คือ มากกว่า 70,000 ตำแหน่ง

** π กับทศนิยม 1,000 ตำแหน่งแรก

ด้านล่างนี้ผมแสดงทศนิยม 1,000 ตำแหน่งแรกของค่า π ให้ดู

3.1415926535897932384626433832795028841971693993751058209749445923078164062862089986280348253421170679821480865132823066470938446095505822317253594081284811174502841027019385211055596446229489549303819644288109756659334461284756482337867831652712019091456485669234603486104543266482133936072602491412737245870066063155881748815209209628292540917153643678925903600113305305488204665213841469519415116094330572703657595919530921861173819326117931051185480744623799627495673518857527248912279381830119491298336733624406566430860213949463952247371907021798609437027705392171762931767523846748184676694051320005681271452635608277857713427577896091736371787214684409012249534301465495853710507922796892589235420199561121290219608640344181598136297747713099605187072113499999983729780499510597317328160963185950244594553469083026425223082533446850352619311881710100031378387528865875332083814206171776691473035982534904287554687311595628638823537875937519577818577805321712268066130019278766111959092164201989…

ขอบคุณครับ

ดร.หนุ่ม Math Lover ยิ้ม
ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์
อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Article Code: #DrNoom20170314, #DrNoomPiDay

* หากต้องการเห็นทุกโพสต์ของผมผ่าน facebook.com/Dr.NoomMathLover โปรดกด Like +  See First (เห็นโพสต์ก่อน)

** ท่านที่สนใจรับข่าวสารจากผมผ่านทาง Line สามารถสมัครมาที่ http://line.me/ti/p/%40pxo7429c ซึ่งจะไม่มีข้อจำกัดจำนวนคนเห็นข้อความ

*** เอกสารอ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/Pi
https://en.wikipedia.org/wiki/Chronology_of_computation_of_%CF%80
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่