http://www.adaymagazine.com/interviews/dialogue-6
สำหรับบางคน ศิลปะอาจเป็นแค่วิชาเรียน เป็นเรื่องของศิลปิน แต่สำหรับสองสาวอย่าง วี-วรภาดา วรธนัญชัย และ ปิงปอง-กชกร คุณาลังการ ศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้ปลูกปั้นโปรเจกต์ศิลปะบำบัด 'Is an Artist' ศิลปะคือเครื่องเยียวยารักษาจิตใจ และคนทุกคนเป็นศิลปินได้
การนำศิลปะมาบำบัดผู้คนเริ่มต้นจากวี ด้วยความที่เรียนเกี่ยวข้องกับศิลปะอยู่แล้วและมีประสบการณ์ทำงานศิลปะซึ่งนำจิตใต้สำนึกออกมาใช้ วันหนึ่งเมื่อเจอเรื่องทุกข์ เธอลองบำบัดตัวเองโดยวาดภาพเพื่อดึงส่วนลึกของตัวเองออกมา จึงพบว่าศิลปะช่วยให้จิตใจดีขึ้นได้จริงผ่านการยอมรับและเข้าใจตนเอง เมื่อศึกษาเรื่องนี้อยู่กว่า 3 ปี เธออยากนำศิลปะไปช่วยเหลือคนอื่นด้วย โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ 'เจ็บป่วย' ในในด้านต่างๆ เช่นเด็กพิการ เด็กออทิสติก เด็กติดเชื้อ HIV และเด็กที่ถูกทำร้ายทางจิตใจ
ที่แรกที่เธออาสาเข้าไปทำงานบำบัดด้วยตัวเองคือเด็กๆ ในบ้านคามิลเลียนเพื่อเด็กพิการ วีทำหน้าที่เป็นเหมือนครูสอนให้เด็กๆ วาดรูป และภาพที่เด็กๆ วาดออกมานี่เองจะบอกว่าในจิตใจพวกเขามีอะไรบกพร่องหรือขาดหาย
“ศิลปะเป็นสื่อกลางเพื่อพูดคุย” เธอเล่ากระบวนการ “โจทย์วาดภาพส่วนมากคือการเข้าไปสำรวจตัวเอง ว่าเรามีอะไรผิดพลาดหรือตกค้างหรือเปล่า อะไรที่อยากทำแล้วลืมไป เรื่องที่เคยทำผิดแล้วไม่ให้อภัยตัวเอง ถ้าเป็นเด็กเล็กก็จะพูดอ้อมๆ เช่น ให้วาดเพื่อนในจินตนาการ บ้านในฝัน ถ้าเด็กๆ เขาเจอและเปิดใจ เขาก็จะได้รับคำแนะนำว่าควรทำอย่างไร ด้วยความเป็นเด็ก เขาก็จะใส พูดกับเราตรงๆ ว่าเขามีเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ถ้าไม่เปิดก็ไม่เป็นไร มันคือ self-awareness อย่างน้อยเราได้รู้แล้วว่าเรามีตรงนี้อยู่”
“เราไม่ได้สอนให้วาดรูปสวย เพราะกระบวนการคือการบำบัด ไม่ใช่ตัวงาน เราต้องอยู่คอยไกด์เขา เช่น เห็นเด็กวาดรูปคนยิงกัน เราต้องจับให้ได้ว่าเขาไปเห็นซีนนี้มาจากไหน ต้องสอนว่าจริงๆ แล้วมันไม่ใช่อย่างที่เขาเข้าใจนะ เขาเป็นเด็กดี ดูแลคนอื่นได้ ปกป้องคนอื่นได้ ถ้าเป็นเด็กที่ถูกข่มขืนก็จะคุยกันตรงๆ เลยถ้าเขาเปิดใจ เช่น ครูรู้ว่านี่คือปัญหาของหนู แต่ครูเห็นว่างานของหนูยังดูเหงาๆ อยู่ ลองคิดแบบนี้แทนไหมว่าเรามีวิธีไหนที่จะช่วยให้คนที่เจอแบบเราก้าวผ่านปัญหาได้ เขาก็จะเริ่มเปิดใจว่าเขาวาดเพื่อระบายสิ่งไม่ดีออกไป”
จิตใจของเด็กๆ ที่แข็งแรงขึ้นเห็นได้ผ่านภาพวาดซึ่งมีมุมมองที่ดีขึ้น ในบรรดาผลงานนับร้อยๆ ชิ้น บางชิ้นทำให้วี (รวมทั้งเราที่ได้เห็น) ถึงกับทึ่งในฝีมือ เธอขบคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อต่อยอดงานเหล่านี้ จึงชักชวนปิงปองซึ่งเป็นกราฟิกดีไซเนอร์มาร่วมงานกัน หลังเสร็จสิ้นการบำบัดในแต่ละที่ พวกเธอจะนำภาพผลงานมาจัดนิทรรศการเล็กๆ ให้เด็กๆ ชม และนำภาพผลงานมาออกแบบเป็นสินค้าต่างๆ โดยอยู่ในเงื่อนไขที่เด็กๆ ให้อนุญาต และเป็นคนเสนอเองว่าอยากให้งานตัวเองไปอยู่ในรูปแบบไหน แน่นอนว่าเด็กๆ ตื่นเต้นที่ได้เห็นผลงานตัวเองกลายเป็นสิ่งต่างๆ ที่ฝันไว้
ที่ผ่านมาปิงปองได้ออกแบบสินค้าหลายแบบ เช่น ผ้าพันคอ แก้วน้ำ สมุด ล่าสุดยังร่วมมือกับแบรนด์เฟอร์นิเจอร์เพื่อผลิตของตกแต่งบ้านที่ดูอบอุ่นและมีชีวิตชีวา เงินจากการขายจะนำกลับไปช่วยเหลือเด็กๆ อีกส่วนแบ่งไว้สำหรับบริหารการทำงานของ Is an Artist ต่อไป เพราะทั้งคู่อยากให้โมเดลโปรเจกต์นี้อยู่ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต นอกจากนี้ยังเปิดเวิร์กช็อปศิลปะบำบัดแบบมีค่าใช้จ่ายสำหรับคนทั่วไปเพื่อนำเงินมาหมุนในโปรเจกต์ด้วย
“สิ่งที่เราตั้งใจจะทำจริงๆ คือ ทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้เป็นที่ยอมรับในสังคม ไม่ได้ยอมรับตรงที่เป็นคนพิการหรือผู้ป่วย แต่ยอมรับ Is an Artist ในฐานะศิลปิน แทนที่เราจะแนะนำว่านี่เป็นงานจากคนพิการหรือผู้ด้อยโอกาส คนที่มาเห็นเขาจะรู้สึกเองว่าสวยจังเลย อยากซื้อจังเลย เป็นการเพิ่มคุณค่าในตัวเด็กๆ กลายเป็นความภาคภูมิใจของเขาเอง” ปิงปองอธิบาย
“นอกจากตัวงานจะสะท้อนความงามแบบ pure art ของเด็กๆ แล้ว มันต้องเล่าด้วยว่ามันเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นได้อย่างไร ปี 2016 ยังมีเด็กถูกทารุณ ถูกทำร้าย เป็นเอดส์ หรือพ่อแม่ทิ้ง บ้านสังคมสงเคราะห์ยังผุดขึ้นเหมือนดอกเห็ด คำถามคือหลังเขาออกจากบ้านพวกนี้เขาไปที่ไหน เขาจะทำอะไร พอเราบำบัดไปเรื่อยๆ เราก็เห็นว่าจริงๆ แล้วอาชญากรรมต่างๆ เกิดจากพื้นฐานของเด็กที่ถูกละเลย เลยรู้สึกว่าถ้าเราช่วยให้เขาก้าวข้ามผ่านตรงนี้แล้วกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มันก็คือภาพรวมสังคมที่จะสวยขึ้นจริงๆ นะ” วีช่วยเสริม
ทุกวันนี้ทั้งคู่ยังออกเดินสายไปหาผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือ เพื่อใช้งานศิลปะนำความมั่นใจ สุขภาพที่ดีขึ้น และเงินทุน กลับไปยังที่เหล่านั้น แน่นอนว่ามันไม่ง่าย แต่ทั้งสองยืนยันว่าขณะที่ทำงานบำบัด สิ่งที่เด็กๆ มอบกลับมาก็คือความรู้สึกดีที่วัดค่าไม่ได้ ทำให้ตั้งใจจะทำต่อไป
“มันเหมือนเราไปทำให้เขา แต่จริงๆ เราก็เป็นผู้รับเหมือนกัน ความรู้สึกดีๆ ก็บำบัดเราด้วย อิ่มทั้งสองฝ่าย เราไม่ได้อิ่มว่าฉันได้เงินจากเธอนะ แต่มันอิ่มอกอิ่มใจ” ปิงปองย้ำหลายครั้ง ก่อนที่เพื่อนคนข้างๆ จะตอบรับ
“สิ่งสำคัญที่เจอมันคือชีวิต ทั้งหมดคือการใช้ชีวิต เหมือนวีสอน art of living ให้เด็กๆ แล้วมันก็ส่งกลับมาที่ตัวเรา พัฒนาชีวิตและจิตใจเราด้วย”
ที่มา : a day online
Is an Artist ศิลปินสาวผู้ใช้ศิลปะเยียวยาผู้อื่น
สำหรับบางคน ศิลปะอาจเป็นแค่วิชาเรียน เป็นเรื่องของศิลปิน แต่สำหรับสองสาวอย่าง วี-วรภาดา วรธนัญชัย และ ปิงปอง-กชกร คุณาลังการ ศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้ปลูกปั้นโปรเจกต์ศิลปะบำบัด 'Is an Artist' ศิลปะคือเครื่องเยียวยารักษาจิตใจ และคนทุกคนเป็นศิลปินได้
การนำศิลปะมาบำบัดผู้คนเริ่มต้นจากวี ด้วยความที่เรียนเกี่ยวข้องกับศิลปะอยู่แล้วและมีประสบการณ์ทำงานศิลปะซึ่งนำจิตใต้สำนึกออกมาใช้ วันหนึ่งเมื่อเจอเรื่องทุกข์ เธอลองบำบัดตัวเองโดยวาดภาพเพื่อดึงส่วนลึกของตัวเองออกมา จึงพบว่าศิลปะช่วยให้จิตใจดีขึ้นได้จริงผ่านการยอมรับและเข้าใจตนเอง เมื่อศึกษาเรื่องนี้อยู่กว่า 3 ปี เธออยากนำศิลปะไปช่วยเหลือคนอื่นด้วย โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ 'เจ็บป่วย' ในในด้านต่างๆ เช่นเด็กพิการ เด็กออทิสติก เด็กติดเชื้อ HIV และเด็กที่ถูกทำร้ายทางจิตใจ
ที่แรกที่เธออาสาเข้าไปทำงานบำบัดด้วยตัวเองคือเด็กๆ ในบ้านคามิลเลียนเพื่อเด็กพิการ วีทำหน้าที่เป็นเหมือนครูสอนให้เด็กๆ วาดรูป และภาพที่เด็กๆ วาดออกมานี่เองจะบอกว่าในจิตใจพวกเขามีอะไรบกพร่องหรือขาดหาย
“ศิลปะเป็นสื่อกลางเพื่อพูดคุย” เธอเล่ากระบวนการ “โจทย์วาดภาพส่วนมากคือการเข้าไปสำรวจตัวเอง ว่าเรามีอะไรผิดพลาดหรือตกค้างหรือเปล่า อะไรที่อยากทำแล้วลืมไป เรื่องที่เคยทำผิดแล้วไม่ให้อภัยตัวเอง ถ้าเป็นเด็กเล็กก็จะพูดอ้อมๆ เช่น ให้วาดเพื่อนในจินตนาการ บ้านในฝัน ถ้าเด็กๆ เขาเจอและเปิดใจ เขาก็จะได้รับคำแนะนำว่าควรทำอย่างไร ด้วยความเป็นเด็ก เขาก็จะใส พูดกับเราตรงๆ ว่าเขามีเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ถ้าไม่เปิดก็ไม่เป็นไร มันคือ self-awareness อย่างน้อยเราได้รู้แล้วว่าเรามีตรงนี้อยู่”
“เราไม่ได้สอนให้วาดรูปสวย เพราะกระบวนการคือการบำบัด ไม่ใช่ตัวงาน เราต้องอยู่คอยไกด์เขา เช่น เห็นเด็กวาดรูปคนยิงกัน เราต้องจับให้ได้ว่าเขาไปเห็นซีนนี้มาจากไหน ต้องสอนว่าจริงๆ แล้วมันไม่ใช่อย่างที่เขาเข้าใจนะ เขาเป็นเด็กดี ดูแลคนอื่นได้ ปกป้องคนอื่นได้ ถ้าเป็นเด็กที่ถูกข่มขืนก็จะคุยกันตรงๆ เลยถ้าเขาเปิดใจ เช่น ครูรู้ว่านี่คือปัญหาของหนู แต่ครูเห็นว่างานของหนูยังดูเหงาๆ อยู่ ลองคิดแบบนี้แทนไหมว่าเรามีวิธีไหนที่จะช่วยให้คนที่เจอแบบเราก้าวผ่านปัญหาได้ เขาก็จะเริ่มเปิดใจว่าเขาวาดเพื่อระบายสิ่งไม่ดีออกไป”
จิตใจของเด็กๆ ที่แข็งแรงขึ้นเห็นได้ผ่านภาพวาดซึ่งมีมุมมองที่ดีขึ้น ในบรรดาผลงานนับร้อยๆ ชิ้น บางชิ้นทำให้วี (รวมทั้งเราที่ได้เห็น) ถึงกับทึ่งในฝีมือ เธอขบคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อต่อยอดงานเหล่านี้ จึงชักชวนปิงปองซึ่งเป็นกราฟิกดีไซเนอร์มาร่วมงานกัน หลังเสร็จสิ้นการบำบัดในแต่ละที่ พวกเธอจะนำภาพผลงานมาจัดนิทรรศการเล็กๆ ให้เด็กๆ ชม และนำภาพผลงานมาออกแบบเป็นสินค้าต่างๆ โดยอยู่ในเงื่อนไขที่เด็กๆ ให้อนุญาต และเป็นคนเสนอเองว่าอยากให้งานตัวเองไปอยู่ในรูปแบบไหน แน่นอนว่าเด็กๆ ตื่นเต้นที่ได้เห็นผลงานตัวเองกลายเป็นสิ่งต่างๆ ที่ฝันไว้
ที่ผ่านมาปิงปองได้ออกแบบสินค้าหลายแบบ เช่น ผ้าพันคอ แก้วน้ำ สมุด ล่าสุดยังร่วมมือกับแบรนด์เฟอร์นิเจอร์เพื่อผลิตของตกแต่งบ้านที่ดูอบอุ่นและมีชีวิตชีวา เงินจากการขายจะนำกลับไปช่วยเหลือเด็กๆ อีกส่วนแบ่งไว้สำหรับบริหารการทำงานของ Is an Artist ต่อไป เพราะทั้งคู่อยากให้โมเดลโปรเจกต์นี้อยู่ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต นอกจากนี้ยังเปิดเวิร์กช็อปศิลปะบำบัดแบบมีค่าใช้จ่ายสำหรับคนทั่วไปเพื่อนำเงินมาหมุนในโปรเจกต์ด้วย
“สิ่งที่เราตั้งใจจะทำจริงๆ คือ ทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้เป็นที่ยอมรับในสังคม ไม่ได้ยอมรับตรงที่เป็นคนพิการหรือผู้ป่วย แต่ยอมรับ Is an Artist ในฐานะศิลปิน แทนที่เราจะแนะนำว่านี่เป็นงานจากคนพิการหรือผู้ด้อยโอกาส คนที่มาเห็นเขาจะรู้สึกเองว่าสวยจังเลย อยากซื้อจังเลย เป็นการเพิ่มคุณค่าในตัวเด็กๆ กลายเป็นความภาคภูมิใจของเขาเอง” ปิงปองอธิบาย
“นอกจากตัวงานจะสะท้อนความงามแบบ pure art ของเด็กๆ แล้ว มันต้องเล่าด้วยว่ามันเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นได้อย่างไร ปี 2016 ยังมีเด็กถูกทารุณ ถูกทำร้าย เป็นเอดส์ หรือพ่อแม่ทิ้ง บ้านสังคมสงเคราะห์ยังผุดขึ้นเหมือนดอกเห็ด คำถามคือหลังเขาออกจากบ้านพวกนี้เขาไปที่ไหน เขาจะทำอะไร พอเราบำบัดไปเรื่อยๆ เราก็เห็นว่าจริงๆ แล้วอาชญากรรมต่างๆ เกิดจากพื้นฐานของเด็กที่ถูกละเลย เลยรู้สึกว่าถ้าเราช่วยให้เขาก้าวข้ามผ่านตรงนี้แล้วกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มันก็คือภาพรวมสังคมที่จะสวยขึ้นจริงๆ นะ” วีช่วยเสริม
ทุกวันนี้ทั้งคู่ยังออกเดินสายไปหาผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือ เพื่อใช้งานศิลปะนำความมั่นใจ สุขภาพที่ดีขึ้น และเงินทุน กลับไปยังที่เหล่านั้น แน่นอนว่ามันไม่ง่าย แต่ทั้งสองยืนยันว่าขณะที่ทำงานบำบัด สิ่งที่เด็กๆ มอบกลับมาก็คือความรู้สึกดีที่วัดค่าไม่ได้ ทำให้ตั้งใจจะทำต่อไป
“มันเหมือนเราไปทำให้เขา แต่จริงๆ เราก็เป็นผู้รับเหมือนกัน ความรู้สึกดีๆ ก็บำบัดเราด้วย อิ่มทั้งสองฝ่าย เราไม่ได้อิ่มว่าฉันได้เงินจากเธอนะ แต่มันอิ่มอกอิ่มใจ” ปิงปองย้ำหลายครั้ง ก่อนที่เพื่อนคนข้างๆ จะตอบรับ
“สิ่งสำคัญที่เจอมันคือชีวิต ทั้งหมดคือการใช้ชีวิต เหมือนวีสอน art of living ให้เด็กๆ แล้วมันก็ส่งกลับมาที่ตัวเรา พัฒนาชีวิตและจิตใจเราด้วย”
ที่มา : a day online