นักวิทยาศาสตร์คิดค้น/ค้นพบ/นิยาม ...โมเมนตัม... ได้อย่างไรครับ?

คือผมต้องเกริ่นนำไว้ก่อนนะครับว่า ขอความหลังขากนี้เกิดจากความเพ้อของผมแต่เพียงผู้เดียว5555

ถ้าตามนิยามของ โมเมนตัม คือ ความสามารถ/ความพยายาม/สภาพในการเคลื่อนที่ของวัตถุ
โดยสามารถหาได้จาก m คูณ v  ----> P = mv

คือผมรู้สึกว่ามันค่อนข้างที่จะไม่ makesense ถ้าเกิดอยู่ๆเอา m มาคูณกับ v แล้วมานิยามว่าเป็นโมเมนตัม
(ซึ่งผมอาจจคิดไปเอง)

ซึ่งในปัญหาที่วัตถุหลายๆชิ้นมาชนกัน หากเราใช้ " กฏของนิวตัน งานพลังงาน การเคลื่อนที่ " ตามปกติ (แทนการใช้โมเมนตัม)
จะทำให้การคำนวนจะทำให้การแก้ไขปัญหามันยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น

ถ้าตัดภาพไปมองที่ " การดล แรงดล กฏการอนุรักษ์โมเมนตัม " ก่อนนิยามโมเมนตัม
เช่น จากกฏข้อที่สองของNewton F = ma = m(v-u)/t

จะได้   การดลในรูปแรงดลกับเวลา  --->  Ft = mv - mu  <--- ยังไม่นิยามว่า mv คือโมเมนตัม

จากกฏข้อที่3ของNewton  F1 = -F2
คูณ t เข้าไป   F1t = -F2t    (อาจจะตีความได้ว่า การดลของวัตถุ2ชิ้นมีขนาดเท่ากันแต่ทิศทางตรงข้าม )

m1v1 - m1u1  =  m2v2 - m2u2

m1v1 + m2v2  =  m1u1 + m2u2  -----> กลายมาเป็นกฏอนุรักษ์โมเมนตัมในปัจจุบัน

แล้วหลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ถึง นิยามย้อนกลับว่า mv ให้เป็นปริมาณที่เรียกว่าโมเมนตัม แล้วเรียกสมการนี้ให้เป็นกฏการอนุรักษ์โมเมนตัม

---------------------------------------------------

ก็จบการเพ้อของผมครับแต่เอาจริงคือ ผมอยากรู้ว่าจริงๆแล้ว ประวัติศาสตร์การนิยามโมเมนตัมมันเป็นมาอย่างไร
เพราะผมรู้สึกว่ามันค่อนข้างที่จะไม่ makesense ถ้าเกิดอยู่ๆเอา m มาคูณกับ v แล้วมานิยามว่าเป็นโมเมนตัมอย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้แหละครับ
หรือว่าอยู่ๆเขาก็นิยามขึ้นมาแบบนั้นเองจริงๆ ฮาาาา

ขอบคุณผู้เข้ามาตอบกระทู้ล่วงหน้านะครับ ยิ้ม
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
โมเมนตัม ถูกพัฒนามาก่อนกฎของนิวตันครับ
ก่อนอื่น กลศาสตร์คือการพยายามอธิบายการเคลื่อนที่

แนวคิดในการศึกษาวิชากลศาสตร์ก่อนยุคนิวตัน มักจะพยายามศึกษา"ความเร็ว"ครับ เพราะมันเป็นสิ่งที่เห็นได้ง่ายของการเคลื่อนที่(ง่ายกว่าความเร่งแน่นอนเพราะความเร่งต้องเอาความเร็วที่เปลี่ยนแปลงมาหารเวลาอีกที หมายความว่าต้องศึกษาความเร็วก่อน ถึงศึกษาความเร่งได้)

มายุค กาลิเลโอ ก็ยังคงยึดติดกับความเร็วอยู่ กาลิเลโอ พัฒนาความรู้เกี่ยวกับกลศาสตร์เยอะมาก กระทั่งรู้ว่าวัตถุสองชิ้นตกลงพื้นพร้อมกันโดยไม่ขึ้นกับมวล ถือว่าใกล้มากที่จะอธิบายกฎการเคลื่อนที่ได้เพราะเริ่มเห็นผลของแรงโน้มถ่วงแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้เพราะไม่สามารถอธิบายสาเหตุการเคลื่อนที่ได้(ยังไม่ค้นพบแรงนั่นเอง)

กระทั่งยุคนิวตัน ต้องค่อยๆพัฒนาวิชาแคลคูลัสมาก่อน(โดยหยาบๆ แคลคูลัส ศึกษาการเปลี่ยนแปลง สาเหตุการเปลี่ยนแปลง อัตราการเปลี่ยนแปลง อนุพันธ์ุ ฯลฯ) แล้วใช้แคลคูลัสเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษากลศาสตร์(ยุคก่อนๆไม่มีแคลคูลัสก็เข้าไม่ถึงจุดนี้) ในที่สุดก็จับความสัมพันธ์ได้ว่า "อัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมเท่าคือแรง" หรือ                            F  =   dP/dt    
                                        F  =  m(dv/dt)
                         หรือก็คือ    F =   ma

ถ้าชอบเรื่องพวกนี้แนะนำว่าอ่าน Eng เรื่องพวกนี้น่าสนใจ แต่ไม่ค่อยถูกแปลเป็นภาษาไทยเท่าใหร่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่