เมกกะโปรเจ็ค กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เครือเบียร์ช้าง (Master Plan Development) บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด บนเนื้อที่ กว่าหมื่นไร่ ในสามภูมิภาค ที่มีแนวโน้มการเป็น แหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ ทำเลที่ไม่ไกลจากกรุงเทพ ขับรถเพียง สองชั่วโมง โครงการมาสเตอร์แพลน ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี บนเนื้อที่ กว่า 12800 ไร่ ตั้งแต่เมาท์เท่นวิวถ้ำค้างคาวนายาง จดชายหาดบางเก่า บนพื้นที่ตำบลนายาง ตำบลบางเก่า ตำบลหนองศาลา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
อ่านต่อมาสเตอร์ แพลน ได้ที่
http://www.tcc-land.co.th/masterplan-chaam.html
จะเห็นได้ว่านักลงทุนธุรกิจการท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์ ได้เข้ามาลงทุนในพื้นที่ ต่อเนื่อง หัวหินชะอำ จำนวนมากในระยะสามปีมานี้ หัวหินมีท่าเรือเฟอรี่เชื่องการเดินทางพัททยา เพียงหนึ่งชั่วโมง ทำให้การเดินทางจากพัธยา ชลบุรีมาสู่หัวหินชะอำสะดวกที่สุดและไม่มีปัญหาอุปสรรคการเดินทางอีกต่อไป เรือเฟอร์รี่รับส่งนักท่องเที่ยวข้ามฟากทะเลอ่าวไทยจากพัทยาไปหัวหิน พร้อมเปิดให้ทดลองใช้บริการฟรี ตั้งแต่วันที่ 1- 15 ม.ค. นี้ ทั้งนี้ ได้ประกาศยกเลิกเที่ยวปฐมฤกษ์ เนื่องจากมีมรสุมกำลังแรงทำให้มีคลื่นสูงถึง 4 เมตร เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย
หลังจาก นายสรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า พร้อมคณะ ได้เดินทางมาที่ท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย พัทยาใต้ จ.ชลบุรี เพื่อดูความพร้อมทั้งในเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัยและสภาพของตัวเรือที่จะให้บริการ รวมถึงเครื่องสแกนร่างกายและสัมภาระของนักท่องเที่ยว หรือ CTX ซึ่งมีการติดตั้งไว้จำนวน 2 จุด โดยใช้ระบบแบบเดียวกันกับสนามบิน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว
ผู้สื่อข่าวได้ไปตรวจสอบที่บริเวณท่าซี ภายในท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย ซึ่งเป็นสถานที่จอดเรือ Royal 1 ที่จะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรีในวันที่ 1 ม.ค. 60 เป็นเที่ยวปฐมฤกษ์ จากการตรวจสอบพบว่าสถานที่และระบบการให้บริการทุกอย่างพร้อมแล้ว 100 เปอร์เซ็นต์ โดยในวันนี้เวลา 09.00 น. ทางอธิบดีกรมเจ้าท่าจะพาสื่อมวลชนและประชาชนที่ลงทะเบียนไว้ นั่งเรือจากเมืองพัทยา ข้ามอ่าวไปยังหัวหิน ก่อนเดินทางกลับในเวลา 17.00 น. ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนใช้บริการฟรีจนถึงวันที่ 15 ม.ค.2560
ที่มา
http://news.mthai.com/general-news/541656.html
และที่สำคัญแผนระดับชาติ มอเตอร์เวย์ กรุงเทพ-นครปฐม-ชะอำ กรมทางหลวงเร่งดึงเอกชนลงทุน 6.3 หมื่นล้าน สร้างมอเตอร์เวย์ ‘นครปฐม-ชะอำ’ ตอกเข็มปี’60 เชื่อมบางใหญ่-กาญจน์ เปิดหน้าดิน 3 จังหวัด ราคาที่ดินแพงหูฉี่ดันค่าเวนคืนพุ่งเท่าตัวจาก 9.4 พันล้านทะลุ 1.8 หมื่นล้าน นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการมอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 109 กม. วงเงินลงทุน 63,998 ล้านบาท ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติการเร่งด่วนปี 2560 และเป็นโครงการที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) หรือคณะกรรมการ PPP จะเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนทั้งโครงการ
รูปแบบการลงทุนเป็นแบบ PPP Net Cost คือรัฐเวนคืนที่ดิน เอกชนลงทุนงานก่อสร้าง ดำเนินการ บำรุงรักษาและที่พักริมทางหลวง มูลค่าลงทุน 54,510 ล้านบาท โดยเอกชนจะได้สัมปทาน 30 ปี มีรายได้จากค่าผ่านทางและรายได้จากที่พักริมทาง
คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมนี้ จากนั้นต้นปี 2560 เสนอคณะกรรมการ PPP อนุมัติ คาดว่าจะได้ตัวเอกชนปลายปี 2560 เซ็นสัญญาก่อสร้างปี 2561 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2565
เมื่อแล้วเสร็จจะเพิ่มทางเลือกความสะดวกสบายให้กับประชาชนในการเดินทาง ลดการจราจรแออัดบนถนนเพชรเกษม และเพิ่มศักยภาพในการขนส่งโลจิสติกส์ ในปีแรกเปิดให้บริการคาดว่าจะมีปริมาณจราจรอยู่ที่ 43,000 คัน/วัน จากนั้นปี 2594 จะเพิ่มขึ้นเป็น 122,108 คัน/วัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3.5%
“วิธีการคัดเลือกเอกชนคือ เอกชนที่ให้รัฐอุดหนุนน้อยที่สุดก็จะเป็นผู้ได้งานคล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูกับสีเหลือง” นายชาติชายกล่าว
แหล่งข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เบื้องต้นคาดว่าจะมีค่าเวนคืนที่ดินประมาณ 18,000 ล้านบาท แยกเป็นที่ดิน 3,416 แปลง วงเงิน 16,000 ล้านบาท สิ่งปลูกสร้าง 1,700 หลัง วงเงิน 1,361 ล้านบาท ต้นไม้ 735 ต้น วงเงิน 611 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่บริษัทที่ปรึกษาประเมินไว้อยู่ที่ 9,488 ล้านบาท เนื่องจากราคาซื้อขายที่ดินในตลาดตลอดแนวเส้นทางมีราคาสูงขึ้น หากโครงการได้รับอนุมัติคาดว่าจะเริ่มเวนคืนได้ในปีงบประมาณ 2561 ที่มา
http://www.matichon.co.th/news/358395
[br]
เมกกะโปรเจ็ค กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เครือเบียร์ช้าง บนเนื้อที่ กว่าหมื่นไร่ มาสเตอร์แพลน ชะอำ เพชรบุรี
อ่านต่อมาสเตอร์ แพลน ได้ที่ http://www.tcc-land.co.th/masterplan-chaam.html
จะเห็นได้ว่านักลงทุนธุรกิจการท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์ ได้เข้ามาลงทุนในพื้นที่ ต่อเนื่อง หัวหินชะอำ จำนวนมากในระยะสามปีมานี้ หัวหินมีท่าเรือเฟอรี่เชื่องการเดินทางพัททยา เพียงหนึ่งชั่วโมง ทำให้การเดินทางจากพัธยา ชลบุรีมาสู่หัวหินชะอำสะดวกที่สุดและไม่มีปัญหาอุปสรรคการเดินทางอีกต่อไป เรือเฟอร์รี่รับส่งนักท่องเที่ยวข้ามฟากทะเลอ่าวไทยจากพัทยาไปหัวหิน พร้อมเปิดให้ทดลองใช้บริการฟรี ตั้งแต่วันที่ 1- 15 ม.ค. นี้ ทั้งนี้ ได้ประกาศยกเลิกเที่ยวปฐมฤกษ์ เนื่องจากมีมรสุมกำลังแรงทำให้มีคลื่นสูงถึง 4 เมตร เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย
หลังจาก นายสรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า พร้อมคณะ ได้เดินทางมาที่ท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย พัทยาใต้ จ.ชลบุรี เพื่อดูความพร้อมทั้งในเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัยและสภาพของตัวเรือที่จะให้บริการ รวมถึงเครื่องสแกนร่างกายและสัมภาระของนักท่องเที่ยว หรือ CTX ซึ่งมีการติดตั้งไว้จำนวน 2 จุด โดยใช้ระบบแบบเดียวกันกับสนามบิน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว
ผู้สื่อข่าวได้ไปตรวจสอบที่บริเวณท่าซี ภายในท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย ซึ่งเป็นสถานที่จอดเรือ Royal 1 ที่จะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรีในวันที่ 1 ม.ค. 60 เป็นเที่ยวปฐมฤกษ์ จากการตรวจสอบพบว่าสถานที่และระบบการให้บริการทุกอย่างพร้อมแล้ว 100 เปอร์เซ็นต์ โดยในวันนี้เวลา 09.00 น. ทางอธิบดีกรมเจ้าท่าจะพาสื่อมวลชนและประชาชนที่ลงทะเบียนไว้ นั่งเรือจากเมืองพัทยา ข้ามอ่าวไปยังหัวหิน ก่อนเดินทางกลับในเวลา 17.00 น. ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนใช้บริการฟรีจนถึงวันที่ 15 ม.ค.2560
ที่มา http://news.mthai.com/general-news/541656.html
และที่สำคัญแผนระดับชาติ มอเตอร์เวย์ กรุงเทพ-นครปฐม-ชะอำ กรมทางหลวงเร่งดึงเอกชนลงทุน 6.3 หมื่นล้าน สร้างมอเตอร์เวย์ ‘นครปฐม-ชะอำ’ ตอกเข็มปี’60 เชื่อมบางใหญ่-กาญจน์ เปิดหน้าดิน 3 จังหวัด ราคาที่ดินแพงหูฉี่ดันค่าเวนคืนพุ่งเท่าตัวจาก 9.4 พันล้านทะลุ 1.8 หมื่นล้าน นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการมอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 109 กม. วงเงินลงทุน 63,998 ล้านบาท ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติการเร่งด่วนปี 2560 และเป็นโครงการที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) หรือคณะกรรมการ PPP จะเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนทั้งโครงการ
รูปแบบการลงทุนเป็นแบบ PPP Net Cost คือรัฐเวนคืนที่ดิน เอกชนลงทุนงานก่อสร้าง ดำเนินการ บำรุงรักษาและที่พักริมทางหลวง มูลค่าลงทุน 54,510 ล้านบาท โดยเอกชนจะได้สัมปทาน 30 ปี มีรายได้จากค่าผ่านทางและรายได้จากที่พักริมทาง
คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมนี้ จากนั้นต้นปี 2560 เสนอคณะกรรมการ PPP อนุมัติ คาดว่าจะได้ตัวเอกชนปลายปี 2560 เซ็นสัญญาก่อสร้างปี 2561 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2565
เมื่อแล้วเสร็จจะเพิ่มทางเลือกความสะดวกสบายให้กับประชาชนในการเดินทาง ลดการจราจรแออัดบนถนนเพชรเกษม และเพิ่มศักยภาพในการขนส่งโลจิสติกส์ ในปีแรกเปิดให้บริการคาดว่าจะมีปริมาณจราจรอยู่ที่ 43,000 คัน/วัน จากนั้นปี 2594 จะเพิ่มขึ้นเป็น 122,108 คัน/วัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3.5%
“วิธีการคัดเลือกเอกชนคือ เอกชนที่ให้รัฐอุดหนุนน้อยที่สุดก็จะเป็นผู้ได้งานคล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูกับสีเหลือง” นายชาติชายกล่าว
แหล่งข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เบื้องต้นคาดว่าจะมีค่าเวนคืนที่ดินประมาณ 18,000 ล้านบาท แยกเป็นที่ดิน 3,416 แปลง วงเงิน 16,000 ล้านบาท สิ่งปลูกสร้าง 1,700 หลัง วงเงิน 1,361 ล้านบาท ต้นไม้ 735 ต้น วงเงิน 611 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่บริษัทที่ปรึกษาประเมินไว้อยู่ที่ 9,488 ล้านบาท เนื่องจากราคาซื้อขายที่ดินในตลาดตลอดแนวเส้นทางมีราคาสูงขึ้น หากโครงการได้รับอนุมัติคาดว่าจะเริ่มเวนคืนได้ในปีงบประมาณ 2561 ที่มา http://www.matichon.co.th/news/358395
[br]