ใช้เป็นข้อมูล For Your Infromation : FYI
... สรายุทธ เสาร์ 4 มี.ค. 60 #SKunlong
04032560 อ่านต้นฉบับตัวจริง ที่ปู่จิ๊บ ได้มากับมือ จาก อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี
03032560 วิเคราะห์อนาคตการเมืองและการปฏิรูปประเทศไทย วิพากษ์ แนะนำ วิธีคิด คสช และรัฐบาลพลเอกประยุทธ์
โดย ธีรยุทธ บุญมี
https://ppantip.com/topic/36175919
• 1 ทิศทางอนาคตการเมืองไทย
การเมืองไทยทุกสมัยเป็นการแย่งชิงอำนาจครอบงำหรือครอบนำ (hegemony) อำนาจรัฏฐาธิปัตย์
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คือการที่กลุ่มพลเรือนทหารแย่งชิงอำนาจมากจากราชวงศ์ การเมืองในช่วงถัดจากนั้นก็คือความขัดแย้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายประชาธิปไตยและสังคม-ประชาชนนิยมของปรีดี พนมยงค์
และฝ่ายอนุรักษ์และจารีตนิยมของพรรคประชาธิปัตย์ของควง อภัยวงศ์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และ
ฝ่ายเผด็จการของคณะทหาร
จนถึง “ยุคพัฒนา” ของจอมพลสฤษดิ์ เกิดพลังประชาธิปไตยของนักศึกษา ปัญญาชน ชนชั้นกลาง และกลุ่มทุนย่อยขึ้นมาเพิ่มเติม
ทำให้ช่วง 14 ตุลาคม 2516 ถึงก่อนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญปี 2540 ทหารกับพรรคการเมืองต้องร่วมกันแบ่งปันอำนาจ
ประชาธิปัตย์ยังเป็นตัวแทนพลังอนุรักษ์
ชาติไทย ชาติพัฒนา ความหวังใหม่ เป็นเพียงตัวแทนกลุ่มทุนเจ้าพ่อท้องถิ่น เป้าหมายเพียงเข้ายึดกุมอำนาจบริหารเท่านั้น
แต่เมื่อทุนนิยมไทยได้พัฒนาเข้าสู่ยุคตลาดเงินตลาดทุนเสรีแบบโลกาภิวัตน์ เกิดกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาด ทุนการเงิน ทุนสื่อสารสัมปทาน ขึ้นหลายกลุ่ม เกิดพรรคเพื่อไทย มีพฤติกรรมบ่งชี้ว่าจะเข้าครอบงำอำนาจรัฏฐาธิปัตย์เบ็ดเสร็จ โดยอาศัยการใช้อำนาจไม่ชอบ คอร์รัปชั่น ฉ้อฉลผ่านทางนโยบาย ออก พ.ร.บ. การทำสัญญาให้รัฐเสียเปรียบ การโกงค่าคอมมิสชั่น การจัดซื้อจัดจ้าง การให้สัมปทาน ขายผลประโยชน์ของรัฐ หลีกเลี่ยงภาษี โดยอาศัยนโยบายประชานิยมดึงดูดประชาชน ให้เป็นฐานคะแนนเสียง ซื้อหานักการเมือง เทคโนแครต ตำรวจ ทหาร เข้าเป็นพวกพ้องทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มฝ่ายแก่งแย่งกันหาผลประโยชน์ จึงถูกต่อต้านจากปัญญาชน ชนชั้นกลาง กลุ่มทุนกลาง-ทุนชาติที่ต้องการระบบคุณธรรมที่ดีที่โปร่งใส พลังอนุรักษ์และจารีตนิยมซึ่งเกรงกลัวกลุ่มใหม่นี้จะเข้ามารวบอำนาจอธิปัตย์ที่ตนเองเคยควบคุมได้บางส่วน จึงกระโดดเข้าร่วมด้วย กลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
ประเทศไทยในอนาคตอันใกล้จะวิ่งเข้าสู่วิถีอนุรักษ์และจารีตนิยมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความหวังในการปฏิรูปในระดับโครงสร้างอำนาจมีน้อยมาก เพราะผู้อยู่ในอำนาจทั้งหมดเป็นข้าราชการซึ่งจะสูญเสียอำนาจเมื่อมีการปฏิรูป เพราะถ้าไม่พิจารณาวาทกรรมของ คสช.
ความเป็นจริงที่เกิดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คือ
(ก) การดำเนินงานของ คสช. อาศัยข้าราชการ มหาดไทย ทหาร ตำรวจทุกเหล่าเป็นหลัก
(ข) นโยบายต่าง ๆ เป็นการเพิ่มอำนาจแก่ข้าราชการและศูนย์กลางมากกว่ากระจายอำนาจ
(ค) บุคลากรซึ่งถูกแต่งตั้งไปเป็นประธานกรรมการรัฐวิสาหกิจ เป็นนายทหารเหล่าทัพต่าง ๆ จำนวนมาก โดยไม่มีผลงานปฏิรูปใด ๆ ทั้งที่มีการตั้งซูเปอร์บอร์ดศึกษาการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจมาแต่ต้น การเปลี่ยนผู้ว่ากทม. ผู้ว่าและบอร์ดรถไฟแทนที่จะตั้งเป้าปฏิรูปองค์กร ก็เพียงแต่รับงานตามประสงค์ของ คสช. ต่อ
(ง) บุคลากรในแม่น้ำ 5 สาย เกือบทั้งหมดมีความคิดแบบอนุรักษ์และจารีตนิยม มีผลงานที่ดีบ้างแต่ยังไม่มีที่ให้ความหวังเรื่องการปฏิรูป แต่แสดงออกชัดเจนที่จะผลักให้พลเอกประยุทธ์อยู่ในอำนาจต่อไป เพื่อตัวเองจะได้อยู่ในอำนาจต่อด้วย ดังนั้น จากเรือแป๊ะกับแม่น้ำ 5 สาย จึงเริ่มกลายเป็นยุทธ์เรือโยง ป้อมเรือพ่วง ลากจูงกันไป ทุลักทุเลมากขึ้น จนอาจจะเกยหาดหรือติดเกาะแก่งได้ถ้าฝืนอยู่ในอำนาจเกินโรดแมป
03032560 วิเคราะห์อนาคตการเมืองและการปฏิรูปประเทศไทย โดย ธีรยุทธ บุญมี
... สรายุทธ เสาร์ 4 มี.ค. 60 #SKunlong
04032560 อ่านต้นฉบับตัวจริง ที่ปู่จิ๊บ ได้มากับมือ จาก อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี
03032560 วิเคราะห์อนาคตการเมืองและการปฏิรูปประเทศไทย วิพากษ์ แนะนำ วิธีคิด คสช และรัฐบาลพลเอกประยุทธ์
โดย ธีรยุทธ บุญมี
https://ppantip.com/topic/36175919
• 1 ทิศทางอนาคตการเมืองไทย
การเมืองไทยทุกสมัยเป็นการแย่งชิงอำนาจครอบงำหรือครอบนำ (hegemony) อำนาจรัฏฐาธิปัตย์
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คือการที่กลุ่มพลเรือนทหารแย่งชิงอำนาจมากจากราชวงศ์ การเมืองในช่วงถัดจากนั้นก็คือความขัดแย้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายประชาธิปไตยและสังคม-ประชาชนนิยมของปรีดี พนมยงค์
และฝ่ายอนุรักษ์และจารีตนิยมของพรรคประชาธิปัตย์ของควง อภัยวงศ์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และ
ฝ่ายเผด็จการของคณะทหาร
จนถึง “ยุคพัฒนา” ของจอมพลสฤษดิ์ เกิดพลังประชาธิปไตยของนักศึกษา ปัญญาชน ชนชั้นกลาง และกลุ่มทุนย่อยขึ้นมาเพิ่มเติม
ทำให้ช่วง 14 ตุลาคม 2516 ถึงก่อนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญปี 2540 ทหารกับพรรคการเมืองต้องร่วมกันแบ่งปันอำนาจ
ประชาธิปัตย์ยังเป็นตัวแทนพลังอนุรักษ์
ชาติไทย ชาติพัฒนา ความหวังใหม่ เป็นเพียงตัวแทนกลุ่มทุนเจ้าพ่อท้องถิ่น เป้าหมายเพียงเข้ายึดกุมอำนาจบริหารเท่านั้น
แต่เมื่อทุนนิยมไทยได้พัฒนาเข้าสู่ยุคตลาดเงินตลาดทุนเสรีแบบโลกาภิวัตน์ เกิดกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาด ทุนการเงิน ทุนสื่อสารสัมปทาน ขึ้นหลายกลุ่ม เกิดพรรคเพื่อไทย มีพฤติกรรมบ่งชี้ว่าจะเข้าครอบงำอำนาจรัฏฐาธิปัตย์เบ็ดเสร็จ โดยอาศัยการใช้อำนาจไม่ชอบ คอร์รัปชั่น ฉ้อฉลผ่านทางนโยบาย ออก พ.ร.บ. การทำสัญญาให้รัฐเสียเปรียบ การโกงค่าคอมมิสชั่น การจัดซื้อจัดจ้าง การให้สัมปทาน ขายผลประโยชน์ของรัฐ หลีกเลี่ยงภาษี โดยอาศัยนโยบายประชานิยมดึงดูดประชาชน ให้เป็นฐานคะแนนเสียง ซื้อหานักการเมือง เทคโนแครต ตำรวจ ทหาร เข้าเป็นพวกพ้องทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มฝ่ายแก่งแย่งกันหาผลประโยชน์ จึงถูกต่อต้านจากปัญญาชน ชนชั้นกลาง กลุ่มทุนกลาง-ทุนชาติที่ต้องการระบบคุณธรรมที่ดีที่โปร่งใส พลังอนุรักษ์และจารีตนิยมซึ่งเกรงกลัวกลุ่มใหม่นี้จะเข้ามารวบอำนาจอธิปัตย์ที่ตนเองเคยควบคุมได้บางส่วน จึงกระโดดเข้าร่วมด้วย กลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
ประเทศไทยในอนาคตอันใกล้จะวิ่งเข้าสู่วิถีอนุรักษ์และจารีตนิยมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความหวังในการปฏิรูปในระดับโครงสร้างอำนาจมีน้อยมาก เพราะผู้อยู่ในอำนาจทั้งหมดเป็นข้าราชการซึ่งจะสูญเสียอำนาจเมื่อมีการปฏิรูป เพราะถ้าไม่พิจารณาวาทกรรมของ คสช.
ความเป็นจริงที่เกิดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คือ
(ก) การดำเนินงานของ คสช. อาศัยข้าราชการ มหาดไทย ทหาร ตำรวจทุกเหล่าเป็นหลัก
(ข) นโยบายต่าง ๆ เป็นการเพิ่มอำนาจแก่ข้าราชการและศูนย์กลางมากกว่ากระจายอำนาจ
(ค) บุคลากรซึ่งถูกแต่งตั้งไปเป็นประธานกรรมการรัฐวิสาหกิจ เป็นนายทหารเหล่าทัพต่าง ๆ จำนวนมาก โดยไม่มีผลงานปฏิรูปใด ๆ ทั้งที่มีการตั้งซูเปอร์บอร์ดศึกษาการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจมาแต่ต้น การเปลี่ยนผู้ว่ากทม. ผู้ว่าและบอร์ดรถไฟแทนที่จะตั้งเป้าปฏิรูปองค์กร ก็เพียงแต่รับงานตามประสงค์ของ คสช. ต่อ
(ง) บุคลากรในแม่น้ำ 5 สาย เกือบทั้งหมดมีความคิดแบบอนุรักษ์และจารีตนิยม มีผลงานที่ดีบ้างแต่ยังไม่มีที่ให้ความหวังเรื่องการปฏิรูป แต่แสดงออกชัดเจนที่จะผลักให้พลเอกประยุทธ์อยู่ในอำนาจต่อไป เพื่อตัวเองจะได้อยู่ในอำนาจต่อด้วย ดังนั้น จากเรือแป๊ะกับแม่น้ำ 5 สาย จึงเริ่มกลายเป็นยุทธ์เรือโยง ป้อมเรือพ่วง ลากจูงกันไป ทุลักทุเลมากขึ้น จนอาจจะเกยหาดหรือติดเกาะแก่งได้ถ้าฝืนอยู่ในอำนาจเกินโรดแมป