ญี่ปุ่นช็อค ชาวโตเกียว 20% สุดยากจน อดมื้อกินมื้อ ไม่มีเงินจ่ายค่าน้ำค่าไฟ
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9600000020040
หลายคนอาจคิดว่าชาวญี่ปุ่นล้วนมีฐานะดี ไม่ลำบากในชีวิต แต่ความจริงแล้วชาวญี่ปุ่นในเขตเมืองหลวงมากถึงร้อยละ 20 อยู่ในสภาวะยากจน ไม่มีอาหารรับประทานครบ 3 มื้อ และไม่สามารถเลี้ยงดูลูกหลานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
เทศบาลมหานครโตเกียวสำรวจพบว่า ครอบครัวที่มีลูกอยู่ในวัยเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในพื้นที่กรุงโตเกียวร้อยละ 20 มีความเป็นอยู่ในระดับ “ยากจน” คือ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 1,350,000 เยนต่อปี , ติดค้างค่าน้ำค่าไฟ ค่าแก๊ส, ไม่มีอาหารรับประทานครบสามมื้อ และไม่สามารถส่งซื้อของเล่นและอุปกรณ์การเรียนต่างๆให้ลูก หรือพาลูกไปเที่ยวเล่นได้
ครอบครัวที่มีลูกในวัย 16-17 ปีประสบปัญหาความยากลำบากมากที่สุด มีสภาพชีวิตตกอยู่ในเกณฑ์ “ยากจน” ข้างต้น 2 ข้อขึ้นไป และส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้งในแง่สุขภาพและการศึกษา โดยเด็กจากครอบครัวยากจน 51.5% บอกว่าเรียนหนังสือไม่เข้าใจ และเด็ก 16.8% บอกว่าไม่มีพื้นที่อ่านหนังสือทำการบ้านที่บ้าน
ผลการสำรวจยังพบว่า ครอบครัวที่มีลูกในกรุงโตเกียว 10 %ไม่มีเงินเพียงพอซื้ออาหารวันละ 3มื้อ ส่งผลให้เด็ก 20% ไม่ได้ทานอาหารที่มีคุณค่า และครอบครัว 3% ไม่มีเงินจ่ายค่าสาธารณูปโภค
มหาวิทยาลัยมหานครโตเกียว ซึ่งเป็นผู้จัดทำการสำรวจนี้ระบุว่า รัฐบาลควรเร่งหาวิธีช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจนเหล่านี้ ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นจนถึงร้อยละ 20 แล้ว นอกจากนี้ยังควรประชาสัมพันธ์ให้ครอบครัวยากจนรู้ว่า มีความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชนต่างๆและชุมชน ทั้งในด้านการศึกษาและอาหาร เช่น จัดการสอนเสริมให้เด็กในเวลาค่ำ หรือจัดโรงอาหารราคาประหยัดสำหรับเด็กๆ เป็นต้น.
เอ ไหนใครว่าคนยี่ปุ่น ไม่มีคนจนไง สรุปว่าไงกันแน่
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9600000020040
หลายคนอาจคิดว่าชาวญี่ปุ่นล้วนมีฐานะดี ไม่ลำบากในชีวิต แต่ความจริงแล้วชาวญี่ปุ่นในเขตเมืองหลวงมากถึงร้อยละ 20 อยู่ในสภาวะยากจน ไม่มีอาหารรับประทานครบ 3 มื้อ และไม่สามารถเลี้ยงดูลูกหลานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
เทศบาลมหานครโตเกียวสำรวจพบว่า ครอบครัวที่มีลูกอยู่ในวัยเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในพื้นที่กรุงโตเกียวร้อยละ 20 มีความเป็นอยู่ในระดับ “ยากจน” คือ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 1,350,000 เยนต่อปี , ติดค้างค่าน้ำค่าไฟ ค่าแก๊ส, ไม่มีอาหารรับประทานครบสามมื้อ และไม่สามารถส่งซื้อของเล่นและอุปกรณ์การเรียนต่างๆให้ลูก หรือพาลูกไปเที่ยวเล่นได้
ครอบครัวที่มีลูกในวัย 16-17 ปีประสบปัญหาความยากลำบากมากที่สุด มีสภาพชีวิตตกอยู่ในเกณฑ์ “ยากจน” ข้างต้น 2 ข้อขึ้นไป และส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้งในแง่สุขภาพและการศึกษา โดยเด็กจากครอบครัวยากจน 51.5% บอกว่าเรียนหนังสือไม่เข้าใจ และเด็ก 16.8% บอกว่าไม่มีพื้นที่อ่านหนังสือทำการบ้านที่บ้าน
ผลการสำรวจยังพบว่า ครอบครัวที่มีลูกในกรุงโตเกียว 10 %ไม่มีเงินเพียงพอซื้ออาหารวันละ 3มื้อ ส่งผลให้เด็ก 20% ไม่ได้ทานอาหารที่มีคุณค่า และครอบครัว 3% ไม่มีเงินจ่ายค่าสาธารณูปโภค
มหาวิทยาลัยมหานครโตเกียว ซึ่งเป็นผู้จัดทำการสำรวจนี้ระบุว่า รัฐบาลควรเร่งหาวิธีช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจนเหล่านี้ ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นจนถึงร้อยละ 20 แล้ว นอกจากนี้ยังควรประชาสัมพันธ์ให้ครอบครัวยากจนรู้ว่า มีความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชนต่างๆและชุมชน ทั้งในด้านการศึกษาและอาหาร เช่น จัดการสอนเสริมให้เด็กในเวลาค่ำ หรือจัดโรงอาหารราคาประหยัดสำหรับเด็กๆ เป็นต้น.