ประติมากรรมเนื่องในศาสนาพุทธมหายานในสมัยทวารวดี ถ้ำยายจูงหลาน

“ถ้ำยายจูงหลาน” เป็นถ้ำขนาดเล็ก ๆ ลึกไม่กี่เมตร ความสูงเพดานถ้ำประมาณ 5 เมตร ดินทับถมปากถ้ำลาดลงไปในถ้ำ พื้นลื้นเพราะมีใบไม้ทับถมกันเยอะ มีลักษณะเป็นหลืบถ้ำทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หนึ่งในหลายร้อยหลืบถ้ำของ “เขาน้อย หรือเขาสรรพยา” ใกล้กับสำนักสงฆ์เขาน้อย บ้านไร่สะท้อน ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

         ด้านในถ้ำมีภาพปูนปั้นที่บริเวณผนังถ้ำ เป็นภาพของพระพุทธเจ้าในประภามณฑล ที่มีเปลวเพลิงรัศมีล้อมรอบ ทรงยืนอยู่ในท่าเอียงสะโพกหรือ “ตริภังค์” พระพาหาซ้ายแนบตัว คว่ำพระหัตถ์ปล่อยลง พระพาหาขวา ถือไม้เท้า หรือ “ขักขระ” แนบติดกับพระวรกาย พิจารณาจากรูปแบบของพระพักตร์จะมีลักษณะเป็นแบบศิลปะทวารวดี

        ถัดจากภาพปูนปั้นพระพุทธเจ้าเป็นภาพปูนปั้นบุคคล 2 คน กำลังจูงมือกัน เมื่อชาวบ้านมาพบเห็นบุคคลทางขวายื่นเอียงสะโพก คล้ายผู้หญิง ส่วนทางด้านซ้าย เป็นภาพอีกบุคคล ตัวค่อนข้างเตี้ยกว่า และถูกจับมือ ภาพปูนปั้นบุคคลดังกล่าวอาจเป็นที่ของชื่อถ้ำ “ยายจูงหลาน” ก็เป็นได้


        ถัดขึ้นไปด้านบน พบภาพปูนปั้นของ ”วิทยาธร” เหาะอยู่บนฟ้า คล้องสายธุรำที่ไหล่ขวา นุ่งผ้ายาวโธตี นุ่งสั้นเหนือเข่านุ่งแบบชักชายเป็นขอบหนา ชายพกเป็นจีบซ้อนชั้น มีสายคาดเหนือเอว สวมศิราภรณ์และเครื่องประดับ แสดงท่า “อัญชลี”


การตีความทางประติมานวิทยา
ทฤษฎีพระกษิติครรภ์โพธิ์สัตว์ : เชื่อว่าอาจจะเป็นพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในศาสนาพุทธมหายาน ด้วยเหตุผลดังนี้
1. จากที่ทำการตรวจสอบพระสูตร และพระไตรปิฏกในฝ่ายเถรวาท ไม่มีปรากฏการระบุเรื่อง พระพุทธทรงถือไม้เท้าขักขระ แต้ไม้เท้าขักขระนั้นจะพบเฉพาะกับภิกษุจีน

แต่ถ้าหากเป็นเช่นดังเช่นทฤษฎีแรกว่า เหตุใดพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ซึ่งตามปกติจะปรากฏเป็นภาพภิกษุจีนโกนผม ถือไม้เท้าขักขระ และอีกมือถือลูกแก้ว
แต่ในภาพประติมากรรมกลับมีอุษณีศะอย่างชัดเจน ซึ่งอุษณีศะนี้ถือเป็นมหาปุรุษลักษณะประการหนึ่ง ตามคัมภีร์พุทธวงศ์ ดังนั้นอาจจะไม่ใช่พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ก็เป็นได้

อย่างไรก็ตามแม้จะไม่สามารถตีความทางประติมานวิทยาได้อย่างชัดเจน แต่รูปแบบของประติมากรรมนั้นอาจกล่าวได้ว่า เป็นประติมากรรมเนื่องในศาสนาพุทธมหายานในสมัยทวารวดี ด้วยเหตุผลดังนี้
1. พระพุทธองค์ทรงถือไม้เท้าขักขระอย่างภิกษุมหายาน
2. ประภามณฑลที่ล้อมรอบพระวรกายนั้น เป็นประภามณฑลที่มีเปลวไฟล้อมรอบ ซึ่งลักษณะประภามณฑลแบบนี้จะตรงกับประภามณฑลในศิลปะปาละ ซึ่งศิลปะของอินเดียภาคเหนือ และในช่วงเวลาดังกล่าวอินเดียเหนือจะปกคลุมด้วยศาสนาพุทธแบบมหายาน และศาสนาอื่นๆ ส่วนศาสนาพุทธแบบเถรวาทนั้นมาตั้ง และเจริญในศรีลังกาแทน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่