ตามรอยเหตุความพินาศโบราณสถาน "ถ้ำถมอรัตน์" แหล่งอารยธรรมกว่าพันปีที่ถูกทำลาย ที่ถูกลืม

กระทู้สนทนา
เขาถมอรัตน์โดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ของเมืองมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์

แหล่งอารยธรรมกว่าพันปีที่ถูกหลงลืม  แหล่งอารยธรรมกว่าพันปีที่ถูกทำลายโดยความโลภของคนรุ่นหลัง




(อธิบายรูป รูปจำหลักอารยะธรรมทวารวดีอายุกว่าพันปีทั้งหมด 11 รูป ถูกทำลายจนหมดสิ้น โดยฝีมือนาย จิม ทอมสัน ราชาไหมไทยผู้โด่งดัง)

เขาถมอรัตน์เป็นภูเขาขนาดใหญ่บนที่ราบ ห่างจากเมืองโบราณศรีเทพไปทางทิศตะวันตกประมาณ 15 กิโลเมตร ภายในถ้ำบนเขาแห่งนี้มีภาพสลักนูนต่ำบนผนังถ้ำเกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนามหายาน เป็นภาพพระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรมบนฐานดอกบัว พระโพธิสัตว์สี่กร สถูป และธรรมจักร ลักษณะของศิลปะทวารวดีกำหนดอายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ 14

ข้อความจากสมาชิกพันทิพย์ท่านหนึ่งกล่าวใว้

“ถ้ำพระเขาถมอรัตน์” ซึ่งตั้งอยู่กลางหุบเขา ทางทิศตะวันตกของเมืองศรีเทพ ถ้ำแห่งนี้มีร่องรอยมนุษย์ใจบาป บุกทำลาย พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ ที่ถูกแกะสลักไว้ในถ้ำนับสิบองค์

บางองค์ถูกตัดเศียร บางองค์ถูกตัดพระหัตถ์ผนังถ้ำถูกคนมือบอนขีดเขียน น่าเสียดายที่เรื่องราวเหล่านี้แทบไม่เคยเผยแพร่สู่สาธารณะชนมาก่อน มีเพียงบทบันทึกในวารสารเฉพาะกลุ่มของกรมศิลปากรเท่านั้น!!!

ถ้ำพระเขาถมอรัตน์ เป็นโบราณสถานซึ่งดัดแปลงจากคูหาธรรมชาติ หันปากถ้ำไปทางทิศเหนือ พื้นที่บริเวณถ้ำประมาณ 1.5 ไร่ ภายในถ้ำมีหินย้อยขนาดมหึมาเชื่อมจากพื้นถ้ำไปถึงเพดานถ้ำ ลักษณะคล้ายเสาหินธรรชาติ สามารถเดินวนได้โดยรอบ และมีภาพสลักบนแท่งหินทั้งหมด 11 องค์ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการสำรวจของกรมศิลปากร เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

นายสมศักดิ์ ฤทธิ์ภักดี ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เล่าว่า “เศียรและหัตถ์ของพระพุทธรูปสลักบางส่วนได้ถูกสกัดทำลาย นำไปขายในราว พ.ศ. 2505 ซึ่งเศียรและหัตถ์ทั้งหมดได้ตกไปอยู่ในความครอบครองของนาย เจมส์ ทอมสัน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชาไหมไทย ต่อมากรมศิลปากรติดตามจนได้คืนของทั้งหมดถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร”

เขาถมอรัตน์ (ต.โคกสะอาด อ.ศรีเทพ.) มีสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ จากการที่มีถ้ำอยู่บนยอดเขา ภายในถ้ำเป็นศาสนสถาน ที่มีอายุตั้งแต่สมัยทวารวดี พบพระพุทธรูปประทับยืน แบบทวารวดีสลักนูนสูง บนโขดหินตรงหน้าถ้ำ และผนังถ้ำก็มีภาพสลัก ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระเมตไตรยโพธิสัตว์ รวมทั้งลวดลายปูนปั้น ประดับมากมาย จากรูปแบบทางศิลปกรรม อาจคาดคะเนได้ว่า โบราณสถานวัตถุภายในถ้ำ ที่น่าจะมีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ลงมา อันเป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนามหายาน แพร่หลายจากอาณาจักรศรีวิชัย เข้ามาผสมผสานกับพุทธศาสนา ของบ้านเมืองในวัฒนธรรมทวารวดี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒

หากพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ที่ทรงคุณค่าในถ้ำพระเขาถมอรัตน์ไม่ถูกทำลายไปเพราะความเห็นแก่ตัวของคนบางกลุ่มแล้ว คูหาศิลปกรรมแห่งนี้จะต้องเป็นศิลปกรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

อ้างอิงจากบทความเชิงวิชาการ
หนังสือพิมพ์มติชน
วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11093
โดย จุฬาลักษณ์ ภู่เกิด
http://www.en.mahidol.ac.th/thai/news/2008/07/24_09.html

ประวัติความเป็นมาของเมืองประวัติศาสตร์ศรีเทพ แยกไม่ออกจากความสำคัญของภูเขาลูกหนึ่งซึ่งตั้งโดดเด่นเป็นสง่าด้วยรูปทรงคล้ายพีระมิดที่ถือเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของเมืองมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ เขาถมอรัตน์ ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเม่น้ำป่าสัก
เพราะภายในถ้ำมีภาพจำหลักแบบนูนต่ำเป็นรูปพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ปางต่างๆ รวมทั้งสิ้น 11 องค์ ซึ่งเป็นการสร้างขึ้นตามคติในพระพุทธศาสนาแบบมหายานผสมหินยาน สมัยทวารวดี ซึ่งมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 หรือในยุคที่ศรีเทพรุ่งเรืองที่สุดนั่นเอง จึงนับว่าเป็นคูหาศิลปกรรมที่ยิ่งใหญ่อันควรค่าแก่การดูแลรักษา

แต่น่าเสียดายว่ามันไม่เป็นเช่นนั้น
จากข้อเขียนของ อาจารย์นิคม มูสิกะคามะ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ที่เขียนไว้ในวารสารศิลปากร เดือนกันยายน 2511 เรื่อง "ความพินาศของภาพจำหลักที่ถ้ำถมอรัตน์" นอกจากทำให้ทราบถึงที่มาของพระพุทธรูปจำหลักนี้แล้ว ยิ่งประหลาดใจเมื่อรู้ว่าในที่สุดภาพจำหลักนี้พินาศไปเพราะฝีมือใคร

ข้อมูลระบุชัดเจนว่าราวเดือนพฤษภาคม 2505 มีผู้มาแจ้งกรมศิลปากรว่าเห็นฝรั่งเดินวนเวียนอยู่บริเวณหมู่บ้านรอบๆเขาลูกนี้อยู่บ่อยๆ ทั้งที่ในยุคนั้นการเดินทางไปเขาถมอรัตน์ทั้งยากลำบากและทุรกันดาร
เมื่อเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรดั้นด้นไปตรวจสอบก็พบว่าพระพุทธรูปจำหลักที่มีอยู่ถูกสกัดเอาเศียรและมือไปจนหาที่สมบูรณ์ไม่ได้ จึงเข้าแจ้งความต่อนายอำเภอวิเชียรบุรี

ต่อมากรมศิลปากรตรวจสอบพบว่าพระเศียรและพระหัตถ์ที่ถูกตัดตกอยู่ในความครอบครองของนายเจมส์ ทอมสัน "ราชาไหมไทย" ในขณะนั้น
เจ้าหน้าที่จึงไปพบและขอคืน แต่เจมส์ ทอมสัน ก็อ้างว่าได้ซื้อชิ้นส่วนเหล่านี้มาโดยชอบจากตำรวจ และยืนยันว่าไม่ได้คิดจะนำออกนอกประเทศ แต่พร้อมจะจำลองไปซ่อมแซมให้ แต่ขอเอาชิ้นส่วนจริงไว้ครอบครองตามเดิม

พร้อมทั้งมีจดหมายถึงอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นอ้างว่าได้ไปเห็นสภาพพระพุทธรูปภายในถ้ำเชื่อว่าเศียรพระที่ซื้อไว้ตั้งแต่ปี 2503 ไม่ได้มาจากแหล่งนี้ แต่ก็มีความตั้งใจจะบูรณะให้โดยการ "จำลองด้วยปูนปลาสเตอร์ไปติดแทน ซึ่งเป็นงานใหญ่และใช้เวลานาน"
แต่ตำรวจก็ไม่เชื่อ เพราะพบว่าเนื้อวัตถุที่นายเจมส์ครอบครองกับเนื้อหินที่เหลือที่ถ้ำเป็นชิ้นเดียวกันแน่นอน จึงประสานสถานีตำรวจปทุมวันบุกตรวจค้นบ้านและขอยึดของกลาง

แต่นายเจมส์ก็ไม่ยินยอมโดยอ้างความเป็นชาวต่างประเทศมาประวิงเวลารอทนาย เรื่องจึงยังค้างคา กรมศิลปากรเกรงจะมีการโยกย้ายจึงประสานให้ตำรวจกองปราบปรามดำเนินการ

ปรากฏว่าวันเดียวกันนายเจมส์มีจดหมายถึง ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ซึ่งขณะนั้นเป็นภัณฑารักษ์เอก กองโบราณคดี กรมศิลปากร...
อ้างว่านัดเวลาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมารับแล้ว แต่ไม่มาจึงจะให้คนขับรถนำไปมอบให้ ทั้งยังทำทีว่าหากจะมีการนำโบราณวัตถุเหล่านี้แสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ก็ไม่ประสงค์ออกนามความเป็นเจ้าของ

แถมยังแสดงความจำนงจะคืนชิ้นส่วนพระพุทธรูปปางนาคปรกอีก 28 ชิ้น ที่อ้างว่ามาจากแหล่งเดียวกัน ซึ่งอาจมีผู้ทิ้งตกมาจากหน้าผาคืนให้ด้วย ถ้าทางพิพิธภัณฑ์สถานสนใจ !!

ต่อมาเมื่อกรมศิลปากรรายงานไปยังกระทรวงศึกษาธิการโดยมีสำเนาจดหมายของนายเจมส์ที่มีถึง ม.จ.สุภัทรดิศ "ขอระงับเรื่อง" แนบไปด้วย โดยเสนอขอให้ ครม.กำชับทุกหน่วยงานร่วมมือในการสกัดกั้นการทำลายโบราณวัตถุ

ซึ่งเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในยุคนั้นมีหนังสือถึงเลขาธิการ ครม.แจ้งที่ประชุม ทุกอย่างก็จบลงดื้อๆ
อารยธรรมอันยิ่งใหญ่จึงต้องพ่ายความศิวิไลซ์ของนายทุนด้วยประการฉะนี้

และไม่แปลกที่ความพินาศของโบราณสถาน โบราณวัตถุ จะพัฒนามาจนเข้าขั้นวิกฤตในปัจจุบัน !!







เศียรพระโพธิสัตว์ศรีอารยเมตไตรย  ถูกโจรกรรมจากถ้ำเขาถมอรัตน์ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานพระนคร
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่