คือผมมีเพจ Facebook ที่เกี่ยวข้องกับการทำข่าว แต่เป็นเพจเล็กๆ ทำเรื่องทั่วๆไป ผมทำเรื่องราวในจังหวัดของตัวเอง ก็คือ จังหวัดแพร่ ทำมาได้แล้ว 2 ปี บางครั้งก็ทำข่าวบ้าง ทำเรื่องทั่วๆไปบ้าง ซึ่งก็ทำข่าวแบบไม่มีการนำเสนอความรุนแรง ไม่ได้นำเสนอเรื่องการเมือง หรือ ไม่ได้นำเสนอเรื่องแง่ลบ มีแต่นำข่าวและเรื่องราวด้านบวก หนักไปทางทำเรื่องกิจกรรมในจังหวัดแพร่มากกว่า ทำให้ผมได้รู้ว่า ที่เราทำเป็นสื่อใหม่
แต่ตอนนี้ ผมกำลังสับสนมากๆเลยครับ ถึงเรื่องของ พ.ร.บ.ควบคุมสื่อมวลชน ซึ่งรวมไปถึงสื่อใหม่ๆ ผมพยายามอ่านให้เข้าใจมากที่สุดว่า ตกลง เราจะต้องไปขึ้นทะเบียนหรือเปล่า โดยที่ข่าววันนี้ออกมาว่า
---------------------------------------
พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน แถลงผลการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ... แถลงผลการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเนื้อหาเกือบเสร็จสิ้นแล้ว โดยจะพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 6 มี.ค.จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (วิป สปท.)ในวันที่ 9 มี.ค. เพื่อสรุปว่าจะนำเข้าสู่วาระการประชุม สปท.ได้เมื่อไหร่ ทั้งนี้ได้มีสมาชิกเสนอว่าจะต้องแจกร่างดังกล่าวให้ศึกษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อน ซึ่งที่ประชุมได้มีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาหลายแห่งได้แก่ มาตรา 3 คำจำกัดความผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนและผู้ประกอบการ ซึ่งในปี 2020 เทคโนโลยีจะก้าวเข้าสู่ยุค 5 จี ซึ่งจะต้องมีการปรับคำนิยามให้ครอบคลุมไปถึงในช่วงนั้น ส่วนผู้ที่เขียนบทความที่ไม่ประจำจะไม่อยู่ในขอบข่ายนี้ ส่วนในมาตรา 36 ได้แก้ไขจากเดิมที่ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงินเป็นผู้ตรวจบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตแทน
พล.อ.อ.คณิตกล่าวว่า ส่วนคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติเดิมจาก 13 คนเป็น 15 โดยได้เพิ่มสัดส่วนของผู้แทนสมาชิกวิชาชีพจาก 5 เป็น 7 คน เนื่องจากพิจารณาให้สื่อภูมิภาคเข้ามามีส่วนร่วมด้วย สำหรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในบทเฉพาะกาลกำหนดให้สื่อมวลชนที่ประกอบวิชาชีพก่อนที่กฎหมายฉบับนี้จะบังคับใช้ให้ถือมีใบอนุญาตโดยอัตโนมัติ แต่จะต้องไปแจ้งที่กับสภาวิชาชีพฯภายใน 2 ปี แต่สำหรับผู้ที่จะประกอบวิชาชีพสื่อรายใหม่จะต้องเข้ารับการอบรม ทดสอบ ประเมินผล (KPI) ซึ่งรายละเอียดหรือหลักเกณฑ์จะต้องเป็นไปตามที่สภาวิชาชีพฯ กำหนด
ด้าน พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองประธานฯ กล่าวว่า การขึ้นทะเบียนของสื่อมวลชนหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้เจ้าของสื่อหรือต้นสังกัดจะเป็นผู้ออกใบรับรองว่าเป็นสื่อจริง เพื่อขอขึ้นทะเบียนเอง ส่วนคนที่ทำสื่อออนไลน์ต้องดูเจตนาว่าต้องการเผยแพร่ข่าวสารสู่สาธารณะหรือไม่ และมีรายได้ประจำไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม ก็ถือว่าเข้าข่ายตามกฎหมายนี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดห้ามคณะทำงานสรรหาสมาชิกสภาวิชาชีพสื่อมวลชนให้มารับตำแหน่งในสภาวิชาชีพ เพราะถือว่าเป็นเรื่องมารยาท แต่เมื่อมีเสียงทักท้วงก็จะนำประเด็นนี้เข้าสู่การหารือในที่ประชุมครั้งหน้าต่อไป
-----------------------------------------------
คือผมยังไม่เข้าใจจรงที่ว่า สื่อออนไลน์ ที่บอกว่า ต้องการเผยแพร่ข่าวสารสู่สาธารณะหรือไม่ และมีรายได้ประจำไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม กรณีผม ข้อแรก อันนี้แน่นอน เพราะเผยแพร่สาธารณะ แต่ข้อ 2 ผมต้องบอกว่า ทำสื่อใหม่ ไม่มีรายได้ประจำ มีแต่ รายได้เป็นครั้งคราว เช่น ไปงานกิจกรรมต่างๆ บางงานก็ไปแบบฟรีๆ ก็ไม่ได้เงิน แต่บางงาน ทางเจ้าของงานเขาต้องการนำภาพหรือวิดีโอที่เราถ่าย ไปเป็นภาพกิจกรรมของงานนั้นๆ แล้วก็ได้เงินค่าทำนั้นมา ไม่ทราบว่าจะเข้าข่ายหรือเปล่าครับ เพราะกังวลมากๆสำหรับสื่อออนไลน์ใหม่ๆอ่ะครับ แล้วอีกอย่าง ถ้าไปขึ้นทะเบียนสื่อมวลชน แล้วเกิดไม่ผ่านขึ้นมา ผมจะไม่มีสิทธิ์ทำข่าวได้เลยหรือเปล่าครับ ผมสงสัยมากเลยครับ
ถ้ามี พ.ร.บ.ควบคุมสื่อมวลชนออกมา คนทำเพจใน Facebook ต้องไปขึ้นทะเบียนเหมือนสื่อมวลชนทั่วๆไปหรือเปล่า?
แต่ตอนนี้ ผมกำลังสับสนมากๆเลยครับ ถึงเรื่องของ พ.ร.บ.ควบคุมสื่อมวลชน ซึ่งรวมไปถึงสื่อใหม่ๆ ผมพยายามอ่านให้เข้าใจมากที่สุดว่า ตกลง เราจะต้องไปขึ้นทะเบียนหรือเปล่า โดยที่ข่าววันนี้ออกมาว่า
---------------------------------------
พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน แถลงผลการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ... แถลงผลการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเนื้อหาเกือบเสร็จสิ้นแล้ว โดยจะพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 6 มี.ค.จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (วิป สปท.)ในวันที่ 9 มี.ค. เพื่อสรุปว่าจะนำเข้าสู่วาระการประชุม สปท.ได้เมื่อไหร่ ทั้งนี้ได้มีสมาชิกเสนอว่าจะต้องแจกร่างดังกล่าวให้ศึกษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อน ซึ่งที่ประชุมได้มีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาหลายแห่งได้แก่ มาตรา 3 คำจำกัดความผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนและผู้ประกอบการ ซึ่งในปี 2020 เทคโนโลยีจะก้าวเข้าสู่ยุค 5 จี ซึ่งจะต้องมีการปรับคำนิยามให้ครอบคลุมไปถึงในช่วงนั้น ส่วนผู้ที่เขียนบทความที่ไม่ประจำจะไม่อยู่ในขอบข่ายนี้ ส่วนในมาตรา 36 ได้แก้ไขจากเดิมที่ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงินเป็นผู้ตรวจบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตแทน
พล.อ.อ.คณิตกล่าวว่า ส่วนคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติเดิมจาก 13 คนเป็น 15 โดยได้เพิ่มสัดส่วนของผู้แทนสมาชิกวิชาชีพจาก 5 เป็น 7 คน เนื่องจากพิจารณาให้สื่อภูมิภาคเข้ามามีส่วนร่วมด้วย สำหรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในบทเฉพาะกาลกำหนดให้สื่อมวลชนที่ประกอบวิชาชีพก่อนที่กฎหมายฉบับนี้จะบังคับใช้ให้ถือมีใบอนุญาตโดยอัตโนมัติ แต่จะต้องไปแจ้งที่กับสภาวิชาชีพฯภายใน 2 ปี แต่สำหรับผู้ที่จะประกอบวิชาชีพสื่อรายใหม่จะต้องเข้ารับการอบรม ทดสอบ ประเมินผล (KPI) ซึ่งรายละเอียดหรือหลักเกณฑ์จะต้องเป็นไปตามที่สภาวิชาชีพฯ กำหนด
ด้าน พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองประธานฯ กล่าวว่า การขึ้นทะเบียนของสื่อมวลชนหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้เจ้าของสื่อหรือต้นสังกัดจะเป็นผู้ออกใบรับรองว่าเป็นสื่อจริง เพื่อขอขึ้นทะเบียนเอง ส่วนคนที่ทำสื่อออนไลน์ต้องดูเจตนาว่าต้องการเผยแพร่ข่าวสารสู่สาธารณะหรือไม่ และมีรายได้ประจำไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม ก็ถือว่าเข้าข่ายตามกฎหมายนี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดห้ามคณะทำงานสรรหาสมาชิกสภาวิชาชีพสื่อมวลชนให้มารับตำแหน่งในสภาวิชาชีพ เพราะถือว่าเป็นเรื่องมารยาท แต่เมื่อมีเสียงทักท้วงก็จะนำประเด็นนี้เข้าสู่การหารือในที่ประชุมครั้งหน้าต่อไป
-----------------------------------------------
คือผมยังไม่เข้าใจจรงที่ว่า สื่อออนไลน์ ที่บอกว่า ต้องการเผยแพร่ข่าวสารสู่สาธารณะหรือไม่ และมีรายได้ประจำไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม กรณีผม ข้อแรก อันนี้แน่นอน เพราะเผยแพร่สาธารณะ แต่ข้อ 2 ผมต้องบอกว่า ทำสื่อใหม่ ไม่มีรายได้ประจำ มีแต่ รายได้เป็นครั้งคราว เช่น ไปงานกิจกรรมต่างๆ บางงานก็ไปแบบฟรีๆ ก็ไม่ได้เงิน แต่บางงาน ทางเจ้าของงานเขาต้องการนำภาพหรือวิดีโอที่เราถ่าย ไปเป็นภาพกิจกรรมของงานนั้นๆ แล้วก็ได้เงินค่าทำนั้นมา ไม่ทราบว่าจะเข้าข่ายหรือเปล่าครับ เพราะกังวลมากๆสำหรับสื่อออนไลน์ใหม่ๆอ่ะครับ แล้วอีกอย่าง ถ้าไปขึ้นทะเบียนสื่อมวลชน แล้วเกิดไม่ผ่านขึ้นมา ผมจะไม่มีสิทธิ์ทำข่าวได้เลยหรือเปล่าครับ ผมสงสัยมากเลยครับ