The Salesman (Asghar Farhadi, 2016) คะแนน A
By Form Corleone
" เรื่องราวทั้งหมดนั้นเต็มไปด้วยความตึงเครียดที่เราไม่สามารถคาดเดาจุดจบได้เลย " ตัวหนังเล่นประเด็นปมปัญหาความสัมพันธ์พื้นฐานของมนุษย์ หนังเล่าเรื่องราวของสามีภรรยาที่ต้องย้ายที่พักเพราะตึกที่อาศัยอยู่กำลังจะพังลงมา ทั้งสองเป็นนักแสดงละครเวทีด้วยกันทั้งคู่ แต่ตัวสามีเป็นครูสอนหนังสือด้วย เมื่อย้ายมาอยู่ที่พักใหม่พวกเขากลับพบว่าห้องที่เขาย้ายเข้ามาอยู่นั้นนั้นมีผู้เช่าคนก่อนเป็นผู้หญิงกลางคืนและไม่ยอมย้ายของออกจากห้อง อยู่มาคืนหนึ่งเมื่อ 'Rana' เปิดประตูทิ้งไว้เพื่อให้สามีเข้าห้องเพราะเธอนึกว่าเป็น ‘Emad’ สามีของเธอ ขณะที่ ‘Rana’ กำลังอาบน้ำอยู่ก็มีชายคนหนึ่งเข้ามาทำร้ายเธอในสภาพที่เธอนั้นเปลือยเปล่าทั้งตัว เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนจุดพลิกผันของเรื่องราวทั้งหมด แน่นอนว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นสะเทือนใจต่อทั้ง 'Emad' และ 'Rana' ทั้งสองคนจึงต้องหาวิธีในการหลุดพ้นเหตุการณ์นั้นไปให้ได้ หนังถ่ายทอดความคิดของชาวมุสลิมแบบตรงไปตรงมาทำให้เราเข้าใจได้ง่ายและไม่ซับซ้อนมากมายนัก เมื่อ 'Rana' ถูกกระทำดังกล่าวทำให้ 'Emad' รู้สึกถูกกระทำทางด้านจิตใจไปด้วย เขาจึงออกตามหาผู้ชายที่เข้ามาทำร้ายเธอเพื่อแก้แค้นหรือเอาคืนให้เท่ากับที่เขาโดนกับตัวเอง
'The Salesman' เล่าเรื่องอย่างช้าๆ เพื่อทิ้งเวลาให้เราซึมซับพฤติกรรมของตัวละครรวมถึงดำเนินเรื่องเป็นเส้นตรง ไม่ได้ดูยากแต่เชื่อว่าเมื่อดูแล้วจะรู้สึกไม่สบายอารมณ์แน่นอน สิ่งที่เราชอบคือตัวหนังไม่ได้พยายามยัดเยียดความหม่นหมองความเศร้างรู้สึกผิดของตัวละครหรืออารมณ์โกรธเกลียดในระดับที่เยอะจนเกินไป เรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั้งหมดดูเป็นธรรมชาติแม้รอยแผลของผู้ถูกกระทำจะใหญ่โตมากมายก็ตาม ฉะนั้นแล้วเราจะไม่ต้องห่วงว่าจะโดนหนังบิ้วอารมณ์เพราะตัวหนังแทบจะไม่ได้ใช้ดนตรีประกอบในการช่วยส่งอารมณ์เลย หนังเพียงทำหน้าที่ขับเคลื่อนเรื่องราวให้เดินไปข้างหน้าจนทำให้เรารู้สึกกดดัน+ตึงเครียดได้เอง ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถสร้างองค์ประกอบแวดล้อมต่างๆให้เราครุ่นคิดต่อไปหลังดูจบ เปิดคำถามถึงการกระทำของตัวละคร ตั้งคำถามถึงสังคมสภาพแวดล้อม โดยให้เราเป็นคนเลือกว่าสิ่งที่พวกเขาทำนั้นถูกต้องหรือผิดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มากกว่านั้นคือหนังไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ตัดสินสังคมหรือวัฒนธรรมมุสลิมด้วยตัวของมันเอง 'The Salesman’ เพียงทำหน้าที่สะท้อนสังคมและวัฒนธรรมให้เราที่เป็นคนดูเป็นผู้ตัดสินถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและจบลงด้วยคำถามปลายเปิดได้น่าสนใจมาก
เมื่อตัวละครทั้งสองคนเป็นนักแสดงละครเวที นั้นเปรียบเสมือนกระจกส่องชีวิตจริงกับชีวิตในละครซึ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจนแต่ก็แฝงไปด้วยความสัมพันธ์ที่คล้ายๆกัน บนเวทีเมื่อ 'Rana' แสดงต่อไปไม่ไหว 'Emad' ก็เพียงแค่กล่าวขอโทษผู้ชมแล้วยกเลิกการแสดง แต่สำหรับชีวิตจริงที่ทั้งสองคนต้องเผชิญนั้นไม่สามารถกล่าวคำว่าขอโทษแล้วจะจบเรื่องลงได้ เพราะแผลเป็นที่ถูกกระทำทางใจนั้นไม่สามารถลบออกไปจากความรู้สึกได้เลยหรือแม้ตัวละครจะแก้แค้นได้สำเร็จก็ตาม เราก็ยังเชื่อเลยว่าความรู้สึกจะยังคงตามติดตัวละครนั้นต่อไปเสมอ ในส่วนของการกำกับนั้น 'Asghar Farhadi' ยังคงแสดงฝีมือได้ดีเยี่ยม ทั้งการควบคุมจังหวะของหนัง รอยผูกเส้นเรื่องที่แยบยล วิธีสะกดให้เราจดจ่ออยู่กับเหตุการณ์ในหนังล้วนแล้วแต่เป็นอะไรที่ยอดเยี่ยม
สุดท้าย 'The Salesman' คือหนังที่เราไม่สามารถดูแล้วรู้สึกผ่อนคลายหรือช่วยให้บันเทิงอารมณ์ หนังเต็มไปด้วยความตึงเครียดแบบไม่ยัดเยียด วิธีเล่าเรื่องฉลาดทั้งข้อความที่ต้องการจะสื่อผนวกกับบทภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยม รอยแผลทางใจที่ตัวละครได้รับสะท้อนถึงวิธีคิดของชาวมุสลิมที่ค่อนข้างสากล อยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่เปราะบาง กระทบกระเทือนต่อความรู้สึกในตอนท้ายสุด หนังอาจไม่เหมาะสำหรับดูเพื่อพักผ่อน ถึงกระนั้นแง่มุมทั้งหมดหรือความรุนแรงต่อความรู้สึกที่ 'The Salesman' กระทำต่อเรานั้นมีพลังอย่างมากและสามารถตราตรึงสะกดความรู้สึกได้อย่างถึงสุด
ขอให้มีความสุขกับการดูหนังครับ
ตัวอย่างหนัง
ฝากกด like page ด้วยนะครับ
Page:
https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog:
http://moviesdelightclub.blogspot.com/
Review: The Salesman (Asghar Farhadi, 2016) เขียนโดย Form Corleone
By Form Corleone
" เรื่องราวทั้งหมดนั้นเต็มไปด้วยความตึงเครียดที่เราไม่สามารถคาดเดาจุดจบได้เลย " ตัวหนังเล่นประเด็นปมปัญหาความสัมพันธ์พื้นฐานของมนุษย์ หนังเล่าเรื่องราวของสามีภรรยาที่ต้องย้ายที่พักเพราะตึกที่อาศัยอยู่กำลังจะพังลงมา ทั้งสองเป็นนักแสดงละครเวทีด้วยกันทั้งคู่ แต่ตัวสามีเป็นครูสอนหนังสือด้วย เมื่อย้ายมาอยู่ที่พักใหม่พวกเขากลับพบว่าห้องที่เขาย้ายเข้ามาอยู่นั้นนั้นมีผู้เช่าคนก่อนเป็นผู้หญิงกลางคืนและไม่ยอมย้ายของออกจากห้อง อยู่มาคืนหนึ่งเมื่อ 'Rana' เปิดประตูทิ้งไว้เพื่อให้สามีเข้าห้องเพราะเธอนึกว่าเป็น ‘Emad’ สามีของเธอ ขณะที่ ‘Rana’ กำลังอาบน้ำอยู่ก็มีชายคนหนึ่งเข้ามาทำร้ายเธอในสภาพที่เธอนั้นเปลือยเปล่าทั้งตัว เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนจุดพลิกผันของเรื่องราวทั้งหมด แน่นอนว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นสะเทือนใจต่อทั้ง 'Emad' และ 'Rana' ทั้งสองคนจึงต้องหาวิธีในการหลุดพ้นเหตุการณ์นั้นไปให้ได้ หนังถ่ายทอดความคิดของชาวมุสลิมแบบตรงไปตรงมาทำให้เราเข้าใจได้ง่ายและไม่ซับซ้อนมากมายนัก เมื่อ 'Rana' ถูกกระทำดังกล่าวทำให้ 'Emad' รู้สึกถูกกระทำทางด้านจิตใจไปด้วย เขาจึงออกตามหาผู้ชายที่เข้ามาทำร้ายเธอเพื่อแก้แค้นหรือเอาคืนให้เท่ากับที่เขาโดนกับตัวเอง
'The Salesman' เล่าเรื่องอย่างช้าๆ เพื่อทิ้งเวลาให้เราซึมซับพฤติกรรมของตัวละครรวมถึงดำเนินเรื่องเป็นเส้นตรง ไม่ได้ดูยากแต่เชื่อว่าเมื่อดูแล้วจะรู้สึกไม่สบายอารมณ์แน่นอน สิ่งที่เราชอบคือตัวหนังไม่ได้พยายามยัดเยียดความหม่นหมองความเศร้างรู้สึกผิดของตัวละครหรืออารมณ์โกรธเกลียดในระดับที่เยอะจนเกินไป เรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั้งหมดดูเป็นธรรมชาติแม้รอยแผลของผู้ถูกกระทำจะใหญ่โตมากมายก็ตาม ฉะนั้นแล้วเราจะไม่ต้องห่วงว่าจะโดนหนังบิ้วอารมณ์เพราะตัวหนังแทบจะไม่ได้ใช้ดนตรีประกอบในการช่วยส่งอารมณ์เลย หนังเพียงทำหน้าที่ขับเคลื่อนเรื่องราวให้เดินไปข้างหน้าจนทำให้เรารู้สึกกดดัน+ตึงเครียดได้เอง ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถสร้างองค์ประกอบแวดล้อมต่างๆให้เราครุ่นคิดต่อไปหลังดูจบ เปิดคำถามถึงการกระทำของตัวละคร ตั้งคำถามถึงสังคมสภาพแวดล้อม โดยให้เราเป็นคนเลือกว่าสิ่งที่พวกเขาทำนั้นถูกต้องหรือผิดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มากกว่านั้นคือหนังไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ตัดสินสังคมหรือวัฒนธรรมมุสลิมด้วยตัวของมันเอง 'The Salesman’ เพียงทำหน้าที่สะท้อนสังคมและวัฒนธรรมให้เราที่เป็นคนดูเป็นผู้ตัดสินถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและจบลงด้วยคำถามปลายเปิดได้น่าสนใจมาก
เมื่อตัวละครทั้งสองคนเป็นนักแสดงละครเวที นั้นเปรียบเสมือนกระจกส่องชีวิตจริงกับชีวิตในละครซึ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจนแต่ก็แฝงไปด้วยความสัมพันธ์ที่คล้ายๆกัน บนเวทีเมื่อ 'Rana' แสดงต่อไปไม่ไหว 'Emad' ก็เพียงแค่กล่าวขอโทษผู้ชมแล้วยกเลิกการแสดง แต่สำหรับชีวิตจริงที่ทั้งสองคนต้องเผชิญนั้นไม่สามารถกล่าวคำว่าขอโทษแล้วจะจบเรื่องลงได้ เพราะแผลเป็นที่ถูกกระทำทางใจนั้นไม่สามารถลบออกไปจากความรู้สึกได้เลยหรือแม้ตัวละครจะแก้แค้นได้สำเร็จก็ตาม เราก็ยังเชื่อเลยว่าความรู้สึกจะยังคงตามติดตัวละครนั้นต่อไปเสมอ ในส่วนของการกำกับนั้น 'Asghar Farhadi' ยังคงแสดงฝีมือได้ดีเยี่ยม ทั้งการควบคุมจังหวะของหนัง รอยผูกเส้นเรื่องที่แยบยล วิธีสะกดให้เราจดจ่ออยู่กับเหตุการณ์ในหนังล้วนแล้วแต่เป็นอะไรที่ยอดเยี่ยม
สุดท้าย 'The Salesman' คือหนังที่เราไม่สามารถดูแล้วรู้สึกผ่อนคลายหรือช่วยให้บันเทิงอารมณ์ หนังเต็มไปด้วยความตึงเครียดแบบไม่ยัดเยียด วิธีเล่าเรื่องฉลาดทั้งข้อความที่ต้องการจะสื่อผนวกกับบทภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยม รอยแผลทางใจที่ตัวละครได้รับสะท้อนถึงวิธีคิดของชาวมุสลิมที่ค่อนข้างสากล อยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่เปราะบาง กระทบกระเทือนต่อความรู้สึกในตอนท้ายสุด หนังอาจไม่เหมาะสำหรับดูเพื่อพักผ่อน ถึงกระนั้นแง่มุมทั้งหมดหรือความรุนแรงต่อความรู้สึกที่ 'The Salesman' กระทำต่อเรานั้นมีพลังอย่างมากและสามารถตราตรึงสะกดความรู้สึกได้อย่างถึงสุด
ขอให้มีความสุขกับการดูหนังครับ
ตัวอย่างหนัง
ฝากกด like page ด้วยนะครับ
Page: https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog: http://moviesdelightclub.blogspot.com/