“วุฒินันท์ วัน” เด็กหนุ่มชาวไทยที่ถูกศาลญี่ปุ่นสั่งเนรเทศออกนอกประเทศ เพราะแม่ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย เปิดใจว่าเขาไม่ต้องการจากประเทศญี่ปุ่น เพราะคิดว่าญี่ปุ่นเป็นบ้านแห่งเดียวของเขา และหวังจะมาเมืองไทยในฐานะนักท่องเที่ยวเพื่อพบกับแม่เท่านั้น
เว็บไซต์เจแปนไทม์ได้สัมภาษณ์ “วุฒินันท์ วัน” หนุ่มวัย 17 ปี หลังจากศาลสูงกรุงโตเกียวพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เนรเทศเขาออกนอกประเทศญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าจะเขาจะเกิดและใช้ชีวิตในชีวิตมาตลอดก็ตาม เนื่องจากนางรณเสน พาภักดี แม่ของเขาลักลอบพำนักในญี่ปุ่นอย่างผิดกฎหมายมานานกว่า 20ปี และถูกเนรเทศกลับประเทศไทยไปก่อนหน้านี้
ขณะนี้ วุฒินันท์อยู่ในระหว่างการประกันตัวเพื่อต่อสู้คดี แต่เขาตัดสินใจที่จะไม่ยื่นฎีกา แต่เลือกใช้วิธียื่นคำร้องให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทบทวนคำสั่งเนรเทศ และให้สิทธิพำนักเป็นกรณีพิเศษ
เด็กหนุ่มให้เหตุผลในการตัดสินใจเช่นนี้ว่า “ทนายความบอกว่า ในศาลฎีกาก็จะบอกแค่ว่าแพ้หรือชนะคดี โดยไม่ให้เหตุผลหรือแม้แต่ได้พบหน้ากับผู้พิพากษาที่ตัดสินคดี ผมจึงไม่มีโอกาสรู้ได้เลยว่าทำไมถึงแพ้คดี และไม่มีสิทธิ์อยู่ในประเทศญี่ปุ่น”
นอกจากนี้ การพิจารณาคดีชั้นฎีกาอาจใช้เวลา 2-3ปี ถึงตอนนั้นวุฒินันท์จะอายุ 20 ปี และเขาไม่ต้องการเสียเวลาเพื่อรอคอยคำพิพากษา
“ญี่ปุ่นคือบ้าน ไม่เคยไปเมืองไทย”
นางรณเสน พาภักดี แม่ของวุฒินันท์ถูกนายหน้าชักชวนมาทำงานที่ญี่ปุ่นในปี 1995 และลักลอบอยู่ในญี่ปุ่นอย่างผิดกฎหมายเรื่อยมาจนให้กำเนิดเขาในปี 2000 พ่อของเขาเป็นคนไทยที่เข้าเมืองผิดกฎหมายเช่นเดียวกัน และได้แยกทางกับแม่ตั้งแต่เขายังเด็ก
วุฒินันท์ใช้ชีวิตตามแม่เร่ร่อนไปในชุมชนคนไทยในญี่ปุ่นเพื่อหลบหนีการถูกจับกุม เขาไม่ได้เข้าโรงเรียนประถม โดยเรียนภาษาญี่ปุ่นกับกลุ่มชาวเหลือชาวต่างชาติเมื่ออายุ 11 ขวบ และเพิ่งได้เข้าโรงเรียนช่วงมัธยมต้น
“ผมไม่เคยครุ่นคิดเรื่องสัญชาติ แต่ผมคิดว่าผมเป็นชาวญี่ปุ่นเพราะเกิดและเติบโตในญี่ปุ่น และอยู่กับคนญี่ปุ่นมาตลอด”
ชีวิตของเด็กหนุ่มถึงจุดเปลี่ยนเมื่อผู้เป็นแม่ยอมมอบตัวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเมื่อปี 2013 และถูกส่งตัวกลับประเทศไทย ด้วยความหวังว่าจะแลกโอกาสให้ลูกชายอยู่ต่อในญี่ปุ่นอย่างถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินให้วุฒินันท์ต้องถูกเนรเทศกลับประเทศไทยด้วยเช่นเดียวกัน โดยศาลอุทธรณ์ได้ใช้เวลาอ่านคำพิพากษาเพียง 3 นาทีเท่านั้น
“ประเทศไทยไม้ใช่ที่ซึ่งผมจะกลับไป ไม่ใช่ว่าผมไม่ชอบประเทศไทย เพราะเป็นบ้านเกิดของแม่ของผม แต่สำหรับผมแล้วญี่ปุ่นเป็นบ้านเพียงแห่งเดียวของผม”
“ตัดแม่ตัดลูก” แลกสิทธิ์อยู่ญี่ปุ่นต่อ
นักกฎหมายของญี่ปุ่นอธิบายว่า กฎหมายของญี่ปุ่นถือสัญชาติตามการสืบสายเลือด ไม่เหมือนกับสหรัฐอเมริกาที่ให้สัญชาติตามสถานที่เกิด ดังนั้นวุฒินันท์จึงไม่มีสิทธิ์พำนักในญี่ปุ่นตามกฎหมาย เนื่องจากเขาถือเป็นคนไทยที่กำเนิดจากพ่อแม่ที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย
พื้นฐานของกฎหมายญี่ปุ่น คือ พิทักษ์สิทธิเด็กและไม่พรากลูกพรากแม่ ดังนั้นเมื่อแม่ของวุฒินันท์ถูกเนรเทศกลับประเทศไทย เขาจึงสมควรกลับไปอยู่กับแม่
ทีมทนายความได้พลิกกลยุทธ์ ใช้หลักกฎหมายนี้เพื่อขอให้เด็กหนุ่มอยู่ในญี่ปุ่น เพราะถ้าพิสูจน์ว่าแม่ได้ทอดทิ้งเขาไปแล้ว เด็กหนุ่มผู้นี้จึงไม่มีที่พึ่งอื่นใด และจะได้สิทธิ์อยู่ในญี่ปุ่นต่อไปได้
นอกจากนี้ วุฒินันท์ยังต้องพิสูจน์ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเห็นว่า เขาสามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมญี่ปุ่น และใช้ชีวิตเอาตัวรอดได้ที่นี่
เพื่อนๆของวุฒินันท์ บอกว่า เขาไม่แตกต่างจากวัยรุ่นชาวญี่ปุ่นทั่วไป สามารถพูดคุยและเข้ากับเพื่อนฝูงได้อย่างดี โดยหลังจากศาลมีคำสั่งเนรเทศ บรรดาเพื่อนๆและผู้ปกครองได้ร่วมกันรณรงค์ระดมทุน และร่วมลงชื่อเขียนหนังสือถึงทางการเพื่ออนุญาตให้เด็กหนุ่มผู้นี้อยู่ร่วมในสังคมที่ญี่ปุ่นได้ต่อไป
วุฒินันท์ได้ขอบคุณครูและเพื่อนร่วมชั้นที่สนับสนุน กำลังใจเหล่านี้ทำให้เขาเข้มแข็งและยืนหยัดต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิ์พำนักในญี่ปุ่น เขาบอกว่าถึงแม้คำพิพากษาจะไม่เป็นใจกับเขา แต่ก็เข้าใจได้เพราะกฎหมายของญี่ปุ่นมุ่งพิทักษ์สิทธิ์ของชาวญี่ปุ่นเป็นหลัก
เด็กหนุ่มชาวไทยรู้ดีว่าเขาต้องเข้มแข็ง เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายที่จะได้อยู่ในญี่ปุ่นอย่างถูกกฎหมาย และหากวันนั้นมาถึง เขาหวังจะทำงานจะสะสมเงินเพื่อเดินทางไปเยี่ยมแม่ที่ประเทศไทย...ในฐานะนักท่องเที่ยว.
ข่าวจาก : MGR Online
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9600000017292
เจาะใจหนุ่มไทยผู้ถูกสั่งเนรเทศจากญี่ปุ่น... “ที่นี่คือบ้านของผม”
“วุฒินันท์ วัน” เด็กหนุ่มชาวไทยที่ถูกศาลญี่ปุ่นสั่งเนรเทศออกนอกประเทศ เพราะแม่ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย เปิดใจว่าเขาไม่ต้องการจากประเทศญี่ปุ่น เพราะคิดว่าญี่ปุ่นเป็นบ้านแห่งเดียวของเขา และหวังจะมาเมืองไทยในฐานะนักท่องเที่ยวเพื่อพบกับแม่เท่านั้น
เว็บไซต์เจแปนไทม์ได้สัมภาษณ์ “วุฒินันท์ วัน” หนุ่มวัย 17 ปี หลังจากศาลสูงกรุงโตเกียวพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เนรเทศเขาออกนอกประเทศญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าจะเขาจะเกิดและใช้ชีวิตในชีวิตมาตลอดก็ตาม เนื่องจากนางรณเสน พาภักดี แม่ของเขาลักลอบพำนักในญี่ปุ่นอย่างผิดกฎหมายมานานกว่า 20ปี และถูกเนรเทศกลับประเทศไทยไปก่อนหน้านี้
ขณะนี้ วุฒินันท์อยู่ในระหว่างการประกันตัวเพื่อต่อสู้คดี แต่เขาตัดสินใจที่จะไม่ยื่นฎีกา แต่เลือกใช้วิธียื่นคำร้องให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทบทวนคำสั่งเนรเทศ และให้สิทธิพำนักเป็นกรณีพิเศษ
เด็กหนุ่มให้เหตุผลในการตัดสินใจเช่นนี้ว่า “ทนายความบอกว่า ในศาลฎีกาก็จะบอกแค่ว่าแพ้หรือชนะคดี โดยไม่ให้เหตุผลหรือแม้แต่ได้พบหน้ากับผู้พิพากษาที่ตัดสินคดี ผมจึงไม่มีโอกาสรู้ได้เลยว่าทำไมถึงแพ้คดี และไม่มีสิทธิ์อยู่ในประเทศญี่ปุ่น”
นอกจากนี้ การพิจารณาคดีชั้นฎีกาอาจใช้เวลา 2-3ปี ถึงตอนนั้นวุฒินันท์จะอายุ 20 ปี และเขาไม่ต้องการเสียเวลาเพื่อรอคอยคำพิพากษา
“ญี่ปุ่นคือบ้าน ไม่เคยไปเมืองไทย”
นางรณเสน พาภักดี แม่ของวุฒินันท์ถูกนายหน้าชักชวนมาทำงานที่ญี่ปุ่นในปี 1995 และลักลอบอยู่ในญี่ปุ่นอย่างผิดกฎหมายเรื่อยมาจนให้กำเนิดเขาในปี 2000 พ่อของเขาเป็นคนไทยที่เข้าเมืองผิดกฎหมายเช่นเดียวกัน และได้แยกทางกับแม่ตั้งแต่เขายังเด็ก
วุฒินันท์ใช้ชีวิตตามแม่เร่ร่อนไปในชุมชนคนไทยในญี่ปุ่นเพื่อหลบหนีการถูกจับกุม เขาไม่ได้เข้าโรงเรียนประถม โดยเรียนภาษาญี่ปุ่นกับกลุ่มชาวเหลือชาวต่างชาติเมื่ออายุ 11 ขวบ และเพิ่งได้เข้าโรงเรียนช่วงมัธยมต้น
“ผมไม่เคยครุ่นคิดเรื่องสัญชาติ แต่ผมคิดว่าผมเป็นชาวญี่ปุ่นเพราะเกิดและเติบโตในญี่ปุ่น และอยู่กับคนญี่ปุ่นมาตลอด”
ชีวิตของเด็กหนุ่มถึงจุดเปลี่ยนเมื่อผู้เป็นแม่ยอมมอบตัวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเมื่อปี 2013 และถูกส่งตัวกลับประเทศไทย ด้วยความหวังว่าจะแลกโอกาสให้ลูกชายอยู่ต่อในญี่ปุ่นอย่างถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินให้วุฒินันท์ต้องถูกเนรเทศกลับประเทศไทยด้วยเช่นเดียวกัน โดยศาลอุทธรณ์ได้ใช้เวลาอ่านคำพิพากษาเพียง 3 นาทีเท่านั้น
“ประเทศไทยไม้ใช่ที่ซึ่งผมจะกลับไป ไม่ใช่ว่าผมไม่ชอบประเทศไทย เพราะเป็นบ้านเกิดของแม่ของผม แต่สำหรับผมแล้วญี่ปุ่นเป็นบ้านเพียงแห่งเดียวของผม”
“ตัดแม่ตัดลูก” แลกสิทธิ์อยู่ญี่ปุ่นต่อ
นักกฎหมายของญี่ปุ่นอธิบายว่า กฎหมายของญี่ปุ่นถือสัญชาติตามการสืบสายเลือด ไม่เหมือนกับสหรัฐอเมริกาที่ให้สัญชาติตามสถานที่เกิด ดังนั้นวุฒินันท์จึงไม่มีสิทธิ์พำนักในญี่ปุ่นตามกฎหมาย เนื่องจากเขาถือเป็นคนไทยที่กำเนิดจากพ่อแม่ที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย
พื้นฐานของกฎหมายญี่ปุ่น คือ พิทักษ์สิทธิเด็กและไม่พรากลูกพรากแม่ ดังนั้นเมื่อแม่ของวุฒินันท์ถูกเนรเทศกลับประเทศไทย เขาจึงสมควรกลับไปอยู่กับแม่
ทีมทนายความได้พลิกกลยุทธ์ ใช้หลักกฎหมายนี้เพื่อขอให้เด็กหนุ่มอยู่ในญี่ปุ่น เพราะถ้าพิสูจน์ว่าแม่ได้ทอดทิ้งเขาไปแล้ว เด็กหนุ่มผู้นี้จึงไม่มีที่พึ่งอื่นใด และจะได้สิทธิ์อยู่ในญี่ปุ่นต่อไปได้
นอกจากนี้ วุฒินันท์ยังต้องพิสูจน์ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเห็นว่า เขาสามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมญี่ปุ่น และใช้ชีวิตเอาตัวรอดได้ที่นี่
เพื่อนๆของวุฒินันท์ บอกว่า เขาไม่แตกต่างจากวัยรุ่นชาวญี่ปุ่นทั่วไป สามารถพูดคุยและเข้ากับเพื่อนฝูงได้อย่างดี โดยหลังจากศาลมีคำสั่งเนรเทศ บรรดาเพื่อนๆและผู้ปกครองได้ร่วมกันรณรงค์ระดมทุน และร่วมลงชื่อเขียนหนังสือถึงทางการเพื่ออนุญาตให้เด็กหนุ่มผู้นี้อยู่ร่วมในสังคมที่ญี่ปุ่นได้ต่อไป
วุฒินันท์ได้ขอบคุณครูและเพื่อนร่วมชั้นที่สนับสนุน กำลังใจเหล่านี้ทำให้เขาเข้มแข็งและยืนหยัดต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิ์พำนักในญี่ปุ่น เขาบอกว่าถึงแม้คำพิพากษาจะไม่เป็นใจกับเขา แต่ก็เข้าใจได้เพราะกฎหมายของญี่ปุ่นมุ่งพิทักษ์สิทธิ์ของชาวญี่ปุ่นเป็นหลัก
เด็กหนุ่มชาวไทยรู้ดีว่าเขาต้องเข้มแข็ง เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายที่จะได้อยู่ในญี่ปุ่นอย่างถูกกฎหมาย และหากวันนั้นมาถึง เขาหวังจะทำงานจะสะสมเงินเพื่อเดินทางไปเยี่ยมแม่ที่ประเทศไทย...ในฐานะนักท่องเที่ยว.
ข่าวจาก : MGR Online
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9600000017292