เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๗ ณ หอประชุมคุรุสภา สองปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสังคมไทยสมัยนั้นคือ "พุทธทาสภิกขุ" กับ "ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช" ได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นอันเป็น "วิวาทะ" กันอย่างตรงไปตรงมา
หนึ่งในประเด็นวิวาทะที่สำคัญในวันนั้นก็คือเรื่อง "จิตว่าง" ซึ่งทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความสนุก ความรู้ และกระตุ้นความคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับคำสอนของศาสนาพุทธอีกด้วย ดังความตอนหนึ่งที่มีบันทึกไว้ต่อไปนี้
พุทธทาส : อาตมามีระบบปฏิบัติอันหนึ่งซึ่งเตรียมขึ้นสำหรับคนทั่วไปจะเข้าใจได้ ปฏิบัติได้ ระบบนี้มีหัวข้อปฏิบัติคือว่า "ให้ทำงานด้วยจิตว่าง"
ที่เรียกว่า "ทำงานด้วยจิตว่าง" นั้นก็คือ เราทำงานตามหน้าที่ของเราทุกอย่างด้วยจิตที่ไม่มีความเห็นแก่ตัว ไม่มีความรู้สึกที่จะยึดมั่นสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ว่าเป็น "ตัวเรา" หรือ "ของเรา" เพราะตัวเรานั้นมันไม่ใช่เป็นตัวเราจริงๆ มันเป็นเพียงมายา
แต่ในขณะเดียวกัน จิตว่างนี้ก็เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะและสติปัญญา สติสัมปชัญญะทำให้รอบคอบในการกระทำ สติปัญญาทำให้ฉลาดในการกระทำ นี่เป็นตัวสำคัญยิ่งของหลักปฏิบัติ
อย่างนี้เรียกว่า "จิตว่าง" แต่คนส่วนมากไม่เข้าใจอย่างนั้น เขาเข้าใจว่า "จิตว่าง" ก็คือจิตที่ไม่มีอะไร เหมือนอย่างท่อนไม้บ้าง หรือว่าทำไปเหมือนอย่างคนละเมอ อย่างนั้นมันไม่ใช่
เมื่อจิตว่างจากความรู้สึกเห็นแก่ตัวทุกชนิดแล้ว ไม่ว่าจะทำการงานอะไร งานก็จะดี
คึกฤทธิ์ : ที่ใต้เท้าว่า "ทำงานด้วยจิตว่าง" นั้น ฟังเหมือนอย่างว่า ใต้เท้าพยายามเทน้ำในมหาสมุทรลงไปใส่ขันใบเล็กๆ มันใส่ไม่ลง มันล้นไปหมด สัจธรรมที่ใต้เท้าประกาศนั้นมันเป็นเรื่องกว้างขวางใหญ่โตเหลือเกิน คือ มันเป็นสภาพจิตของพระอรหันต์ ชาวบ้านสามัญเขาทำมาหากินกันตามปกติ จะนำธรรมะที่ใหญ่โตนั้นใส่ลงไปในถ้วยแก้วใบเล็กๆ ใส่ไปเท่าไรมันก็ไม่ลง
ที่ใต้เท้ากล่าวมานั้นเป็นกิจกรรมของพระอรหันต์ ของพระพุทธเจ้า แต่ถ้าจะให้ฆราวาสทำเหมือนกัน กระผมเห็นว่าจะไปไม่ไหว คือ การที่ทำงานด้วยจิตว่างจากความเห็นแก่ตัวนั้น กระผมยังนึกไม่ออกว่าจะทำอย่างไร เพราะถ้าทำงานแล้วไม่ถือว่างานนั้นเป็นงาน ไม่ถือว่าตัวเราเป็นผู้รับประโยชน์ของงาน ไม่ถือว่าผู้อื่นเป็นผู้ได้รับประโยชน์ของงาน หรือไม่ถือว่าประเทศชาติเป็นผู้ได้รับประโยชน์ของงานแล้ว ก็ไม่ทราบว่าจะทำไปทำไมเหมือนกัน เราควรจะคิดทำลายมันเสียด้วยซ้ำ?
ถ้าจิตว่างจากความเห็นแก่ตัวแล้ว คนก็ไม่ทำงาน ถ้ากระผมทำตัวให้ปราศจากอุปาทานได้จริงแล้วก็จะไปขอบรรพชากับใต้เท้า ไม่มานั่งทำงานให้มันเสียเวลาอยู่หรอกครับ ... การทำงานมันเป็นสภาพของการยึดมั่น ถ้าใครยังละอุปาทานไม่ถึงขนาดก็ยังต้องทำงานกันต่อไป ถ้าจะให้ทำงานด้วยจิตว่าง กระผมก็ยังมองไม่เห็นทาง
นี่ผมอาจจะใจคอคับแคบหรือดวงตายังไม่เห็นธรรม คือยังนึกไม่ออกจริงๆ
ส่วนเรื่องสติสัมปชัญญะหรือสติปัญญาก็ดี กระผมคิดว่า สตินั้นก็หมายเพียงการระลึกได้ว่า ของทุกอย่างไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน จับอะไรขึ้นมาก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ของผมทั้งนั้น ถ้ามีสติอย่างนั้นแล้วก็ทำงานไม่ได้อีก ... นึกจะไปค้าไปขายอะไรก็ไม่อยากไป ... นอนดีกว่า
การพูดของฆราวาสกับพระมันเป็นคนละโลกกันอย่างนั้น กระผมก็อยากขอประทานกราบเรียนถามความรู้ต่อไปว่าจะให้ทำอย่างไรกันแน่?
พุทธทาส : ที่ว่าให้ "ทำงานด้วยจิตว่าง" นั้นหมายความว่า ในขณะที่ทำนั้นต้องมีจิตว่าง ไม่เห็นแก่ตัวจัด วิธีปฏิบัติเฉพาะหน้าก็มีอยู่ว่า ในขณะที่ลงมือทำนั้นอย่าได้มีจิตวุ่น อย่าได้คิดด้วยจิตหมกมุ่นอยู่ด้วยความรู้สึกเห็นแก่ตัวจัดหรือว่าเป็นตัวเราหรือของเรา เพราะมันจะมากไปบ้าง น้อยไปบ้าง ผิดความจริงไปหมด ถ้าจะคิดว่า เราจะทำอย่างใด เรามีฐานะอย่างนี้ มีสภาวะอย่างนี้ จะต้องทำอะไรเป็นประจำวัน มีอาชีพอย่างไร หรือมีประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างไร อย่างนี้คิดไปได้ และก็ยังกล่าวได้ว่ามีจิตว่างอยู่เหมือนกัน
ความสำคัญอยู่ที่ว่า ขณะลงมือทำก็ให้เหลือแต่สติปัญญาและสติสัมปชัญญะอย่างที่กล่าว ควบคุมความรู้สึกไว้เสมอ อย่าเผลอตัวมีสติอยู่เสมอว่าไม่มีอะไรเป็นตัวตนหรือของตน แล้วทำงานด้วยสตินั้น ในขณะนั้นจิตจะเฉลียวฉลาดที่สุด ว่องไวที่สุด
อาตมาจึงว่าน่าจะลองนำไปคิดพิจารณาดูและลองพยายามทำดู ให้การพยายามนั้นแหละเป็นเครื่องวัดตัดสินว่าจะทำได้หรือไม่ได้เพียงใด
คำว่า "ความว่าง" (สุญญตา) ของพุทธศาสนานี้ มันมีความหมายเฉพาะ มันมีความหมายพิเศษของมันเอง พอมาผิดยุคผิดสมัยกันก็เข้าใจยาก อาตมาจึงได้พยายามอย่างยิ่งที่จะใช้ภาษาไทยของยุคปัจจุบันหรือภาษาไทยง่ายๆ ฉะนั้นอย่าได้ยึดถือมั่นในคำนั้นในคำนี้นัก หรือว่าอาจารย์คึกฤทธิ์เห็นว่าควรจะมีข้อแม้อย่างไรหรือควรอภิปรายอย่างไร ก็ขอให้กรุณาอีกครั้ง
คึกฤทธิ์ : กระผมเข้าใจตามที่ท่านได้อธิบายมา คนที่ "ว่าง" อย่างพระอรหันต์แล้ว ไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างกระผม ไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างคนส่วนมาก อย่างนี้เรียกว่า "ว่าง"
แต่ถ้าจะให้คนอย่างกระผมไปทำงานด้วย "จิตว่าง" กระผมยังมองไม่เห็น เพราะลักษณะของงานมันขัดต่อการมีจิตว่าง ภาวะของผมมันว่างไม่ได้ ถ้าว่างไปแล้วมันก็ไม่เป็นกระผม ถ้าท่านบอกว่าให้กระผมไปบวชแล้วมันจะว่าง กระผมเชื่อ เพราะกระผมก็ไม่ยึดอะไรทั้งนั้น แต่การทำงานด้วยจิตว่างนั้น กระผมก็อยากจะเรียนถามเหมือนกันว่า ท่านหมายความว่ายังไง?
ถ้าท่านบอกว่า ทำงานด้วยจิตว่างแล้ว งานทางโลกนั้นจะดี กระผมไม่เชื่อ อย่างว่าเป็นทหารไปรบกับเขา แล้วรบด้วยจิตว่าง ยิงปืนด้วยจิตว่าง แล้วมันจะเป็นทหารที่ดีพูดอย่างไรๆ กระผมก็ไม่เชื่อ
แต่ถ้าใต้เท้าบอกว่า ทำงานอยู่ในโลกก็อยู่ในโลกเถิด ถ้าทำงานด้วยจิตว่าง อย่ายึดมั่นอะไร แล้วงานจะดีหรือไม่ดี หรือถึงจะเกิดผลร้าย เราก็ไม่เป็นทุกข์ ถ้าอย่างนั้นกระผมเชื่อ
ที่ท่านพูดมาว่า จิตว่างแล้วงานจะประเสริฐ การงานจะรุ่งเรือง อย่างนั้นกระผมไม่เชื่อ เพราะงานของโลกมันขัดกันกับเรื่องจิตว่างหรือเรื่องการพ้นทุกข์ ความสุขของโลกมันเป็นความทุกข์ในทางธรรม ความสำเร็จของงานมีความหมายในทางโลก ถ้าจิตว่างแล้วจะนำความสำเร็จทางธรรมนั้นก็ถูก แต่จะเอาพร้อมกันทั้งสองอย่างนั้นไม่ได้ สำเร็จทางธรรมด้วยจิตว่างก็ต้องเสียทางโลก
ไม่อย่างนั้นคนจะไปบวชกันทำไม
http://www.tnews.co.th/contents/301932
แลกกันคนละหมัด!! ชมกันอีกครั้ง...กับการโต้เถียงอันลือลั่นในประวัติศาสตร์ระหว่าง "พุทธทาส" กับ "คึกฤทธิ์"!!
หนึ่งในประเด็นวิวาทะที่สำคัญในวันนั้นก็คือเรื่อง "จิตว่าง" ซึ่งทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความสนุก ความรู้ และกระตุ้นความคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับคำสอนของศาสนาพุทธอีกด้วย ดังความตอนหนึ่งที่มีบันทึกไว้ต่อไปนี้
พุทธทาส : อาตมามีระบบปฏิบัติอันหนึ่งซึ่งเตรียมขึ้นสำหรับคนทั่วไปจะเข้าใจได้ ปฏิบัติได้ ระบบนี้มีหัวข้อปฏิบัติคือว่า "ให้ทำงานด้วยจิตว่าง"
ที่เรียกว่า "ทำงานด้วยจิตว่าง" นั้นก็คือ เราทำงานตามหน้าที่ของเราทุกอย่างด้วยจิตที่ไม่มีความเห็นแก่ตัว ไม่มีความรู้สึกที่จะยึดมั่นสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ว่าเป็น "ตัวเรา" หรือ "ของเรา" เพราะตัวเรานั้นมันไม่ใช่เป็นตัวเราจริงๆ มันเป็นเพียงมายา
แต่ในขณะเดียวกัน จิตว่างนี้ก็เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะและสติปัญญา สติสัมปชัญญะทำให้รอบคอบในการกระทำ สติปัญญาทำให้ฉลาดในการกระทำ นี่เป็นตัวสำคัญยิ่งของหลักปฏิบัติ
อย่างนี้เรียกว่า "จิตว่าง" แต่คนส่วนมากไม่เข้าใจอย่างนั้น เขาเข้าใจว่า "จิตว่าง" ก็คือจิตที่ไม่มีอะไร เหมือนอย่างท่อนไม้บ้าง หรือว่าทำไปเหมือนอย่างคนละเมอ อย่างนั้นมันไม่ใช่
เมื่อจิตว่างจากความรู้สึกเห็นแก่ตัวทุกชนิดแล้ว ไม่ว่าจะทำการงานอะไร งานก็จะดี
คึกฤทธิ์ : ที่ใต้เท้าว่า "ทำงานด้วยจิตว่าง" นั้น ฟังเหมือนอย่างว่า ใต้เท้าพยายามเทน้ำในมหาสมุทรลงไปใส่ขันใบเล็กๆ มันใส่ไม่ลง มันล้นไปหมด สัจธรรมที่ใต้เท้าประกาศนั้นมันเป็นเรื่องกว้างขวางใหญ่โตเหลือเกิน คือ มันเป็นสภาพจิตของพระอรหันต์ ชาวบ้านสามัญเขาทำมาหากินกันตามปกติ จะนำธรรมะที่ใหญ่โตนั้นใส่ลงไปในถ้วยแก้วใบเล็กๆ ใส่ไปเท่าไรมันก็ไม่ลง
ที่ใต้เท้ากล่าวมานั้นเป็นกิจกรรมของพระอรหันต์ ของพระพุทธเจ้า แต่ถ้าจะให้ฆราวาสทำเหมือนกัน กระผมเห็นว่าจะไปไม่ไหว คือ การที่ทำงานด้วยจิตว่างจากความเห็นแก่ตัวนั้น กระผมยังนึกไม่ออกว่าจะทำอย่างไร เพราะถ้าทำงานแล้วไม่ถือว่างานนั้นเป็นงาน ไม่ถือว่าตัวเราเป็นผู้รับประโยชน์ของงาน ไม่ถือว่าผู้อื่นเป็นผู้ได้รับประโยชน์ของงาน หรือไม่ถือว่าประเทศชาติเป็นผู้ได้รับประโยชน์ของงานแล้ว ก็ไม่ทราบว่าจะทำไปทำไมเหมือนกัน เราควรจะคิดทำลายมันเสียด้วยซ้ำ?
ถ้าจิตว่างจากความเห็นแก่ตัวแล้ว คนก็ไม่ทำงาน ถ้ากระผมทำตัวให้ปราศจากอุปาทานได้จริงแล้วก็จะไปขอบรรพชากับใต้เท้า ไม่มานั่งทำงานให้มันเสียเวลาอยู่หรอกครับ ... การทำงานมันเป็นสภาพของการยึดมั่น ถ้าใครยังละอุปาทานไม่ถึงขนาดก็ยังต้องทำงานกันต่อไป ถ้าจะให้ทำงานด้วยจิตว่าง กระผมก็ยังมองไม่เห็นทาง
นี่ผมอาจจะใจคอคับแคบหรือดวงตายังไม่เห็นธรรม คือยังนึกไม่ออกจริงๆ
ส่วนเรื่องสติสัมปชัญญะหรือสติปัญญาก็ดี กระผมคิดว่า สตินั้นก็หมายเพียงการระลึกได้ว่า ของทุกอย่างไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน จับอะไรขึ้นมาก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ของผมทั้งนั้น ถ้ามีสติอย่างนั้นแล้วก็ทำงานไม่ได้อีก ... นึกจะไปค้าไปขายอะไรก็ไม่อยากไป ... นอนดีกว่า
การพูดของฆราวาสกับพระมันเป็นคนละโลกกันอย่างนั้น กระผมก็อยากขอประทานกราบเรียนถามความรู้ต่อไปว่าจะให้ทำอย่างไรกันแน่?
พุทธทาส : ที่ว่าให้ "ทำงานด้วยจิตว่าง" นั้นหมายความว่า ในขณะที่ทำนั้นต้องมีจิตว่าง ไม่เห็นแก่ตัวจัด วิธีปฏิบัติเฉพาะหน้าก็มีอยู่ว่า ในขณะที่ลงมือทำนั้นอย่าได้มีจิตวุ่น อย่าได้คิดด้วยจิตหมกมุ่นอยู่ด้วยความรู้สึกเห็นแก่ตัวจัดหรือว่าเป็นตัวเราหรือของเรา เพราะมันจะมากไปบ้าง น้อยไปบ้าง ผิดความจริงไปหมด ถ้าจะคิดว่า เราจะทำอย่างใด เรามีฐานะอย่างนี้ มีสภาวะอย่างนี้ จะต้องทำอะไรเป็นประจำวัน มีอาชีพอย่างไร หรือมีประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างไร อย่างนี้คิดไปได้ และก็ยังกล่าวได้ว่ามีจิตว่างอยู่เหมือนกัน
ความสำคัญอยู่ที่ว่า ขณะลงมือทำก็ให้เหลือแต่สติปัญญาและสติสัมปชัญญะอย่างที่กล่าว ควบคุมความรู้สึกไว้เสมอ อย่าเผลอตัวมีสติอยู่เสมอว่าไม่มีอะไรเป็นตัวตนหรือของตน แล้วทำงานด้วยสตินั้น ในขณะนั้นจิตจะเฉลียวฉลาดที่สุด ว่องไวที่สุด
อาตมาจึงว่าน่าจะลองนำไปคิดพิจารณาดูและลองพยายามทำดู ให้การพยายามนั้นแหละเป็นเครื่องวัดตัดสินว่าจะทำได้หรือไม่ได้เพียงใด
คำว่า "ความว่าง" (สุญญตา) ของพุทธศาสนานี้ มันมีความหมายเฉพาะ มันมีความหมายพิเศษของมันเอง พอมาผิดยุคผิดสมัยกันก็เข้าใจยาก อาตมาจึงได้พยายามอย่างยิ่งที่จะใช้ภาษาไทยของยุคปัจจุบันหรือภาษาไทยง่ายๆ ฉะนั้นอย่าได้ยึดถือมั่นในคำนั้นในคำนี้นัก หรือว่าอาจารย์คึกฤทธิ์เห็นว่าควรจะมีข้อแม้อย่างไรหรือควรอภิปรายอย่างไร ก็ขอให้กรุณาอีกครั้ง
คึกฤทธิ์ : กระผมเข้าใจตามที่ท่านได้อธิบายมา คนที่ "ว่าง" อย่างพระอรหันต์แล้ว ไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างกระผม ไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างคนส่วนมาก อย่างนี้เรียกว่า "ว่าง"
แต่ถ้าจะให้คนอย่างกระผมไปทำงานด้วย "จิตว่าง" กระผมยังมองไม่เห็น เพราะลักษณะของงานมันขัดต่อการมีจิตว่าง ภาวะของผมมันว่างไม่ได้ ถ้าว่างไปแล้วมันก็ไม่เป็นกระผม ถ้าท่านบอกว่าให้กระผมไปบวชแล้วมันจะว่าง กระผมเชื่อ เพราะกระผมก็ไม่ยึดอะไรทั้งนั้น แต่การทำงานด้วยจิตว่างนั้น กระผมก็อยากจะเรียนถามเหมือนกันว่า ท่านหมายความว่ายังไง?
ถ้าท่านบอกว่า ทำงานด้วยจิตว่างแล้ว งานทางโลกนั้นจะดี กระผมไม่เชื่อ อย่างว่าเป็นทหารไปรบกับเขา แล้วรบด้วยจิตว่าง ยิงปืนด้วยจิตว่าง แล้วมันจะเป็นทหารที่ดีพูดอย่างไรๆ กระผมก็ไม่เชื่อ
แต่ถ้าใต้เท้าบอกว่า ทำงานอยู่ในโลกก็อยู่ในโลกเถิด ถ้าทำงานด้วยจิตว่าง อย่ายึดมั่นอะไร แล้วงานจะดีหรือไม่ดี หรือถึงจะเกิดผลร้าย เราก็ไม่เป็นทุกข์ ถ้าอย่างนั้นกระผมเชื่อ
ที่ท่านพูดมาว่า จิตว่างแล้วงานจะประเสริฐ การงานจะรุ่งเรือง อย่างนั้นกระผมไม่เชื่อ เพราะงานของโลกมันขัดกันกับเรื่องจิตว่างหรือเรื่องการพ้นทุกข์ ความสุขของโลกมันเป็นความทุกข์ในทางธรรม ความสำเร็จของงานมีความหมายในทางโลก ถ้าจิตว่างแล้วจะนำความสำเร็จทางธรรมนั้นก็ถูก แต่จะเอาพร้อมกันทั้งสองอย่างนั้นไม่ได้ สำเร็จทางธรรมด้วยจิตว่างก็ต้องเสียทางโลก ไม่อย่างนั้นคนจะไปบวชกันทำไม
http://www.tnews.co.th/contents/301932