จากกรณีที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือ บีอาร์ที ว่า สนับสนุนไม่ให้มีการยกเลิก เนื่องจากประชาชนยังพอใจการให้บริการนั้น
ทาง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในวันนี้ (17 ก.พ.) จะมีการสำรวจความคิดเห็นประชาชน จำนวน 2,000 ชุด ใน 10 สาขาอาชีพ อาชีพละ 200 คน อาทิ ผู้โดยสาร นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ ผู้ที่ขับขี่รถยนต์ พนักงานขับรถประจำทาง และบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ข้างเคียงกับสถานีบีอาร์ที เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้มีส่วนร่วมว่า ต้องการอะไร ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยขอเวลาในการทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน 15 วัน
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวยังไม่ต้องทบทวนหรือตัดสินใจเดินหน้าแต่อย่างไร เนื่องจากยังไม่หมดสัญญา ซึ่งสัญญาจะสิ้นสุดในวันที่ 30 เม.ย.นี้ ดังนั้นขณะนี้เป็นเรื่องของการหาข้อมูลและความต้องการของประชาชนว่าจะให้มีโครงการบีอาร์ทีหรือไม่ หรือจะให้ยกเลิก โดยอะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้
สำหรับโครงการบีอาร์ที เป็นโครงการนำร่องในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 29 พ.ค.2553 ที่ให้บริการเดินรถในช่องทางพิเศษบนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนพระรามที่ 3 สะพานพระราม 3 และถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร มีจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร 12 สถานี เปิดให้บริการมาแล้วเป็นเวลา 6 ปี ใช้เงินลงทุนมากถึง 2,009.7 ล้านบาท และสัญญาโครงการจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เม.ย.2560
จขกท. ในฐานะคนที่ทำงานแถวพระราม 3 และบางครั้งต้องไปแถว ๆ สาทร ถ้าต้องยกเลิก BRT ผมคิดว่า เดือดร้อนมากแน่นอนครับ เพราะที่เคยขึ้นมาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย น่าสังเกตว่า ถ้าเป็น ชม.เร่งด่วน (เช้า-เย็น) คนแน่นมาก ไหนจะคนทำงาน นักเรียนนักศึกษา และยิ่ง ถ.นราธิวาสฯ มีรถเมล์แค่สายเดียว ส่วน ถ.พระราม 3 มีรถเมล์แค่ 2 สาย ถ้าเลิกวิ่งไปเลย เดือดร้อนแน่นอนครับ คือถ้าขึ้นค่าโดยสารเป็นโซนแบบปัจจุบัน หรือจะซอยเป็น 3 โซนไปเลยก็ได้ เช่น
- สาทร-นราราม 3, นราราม 3-สะพานพระราม 9, สะพานพระราม 9-ราชพฤกษ์ = 10 บาท
- สาทร-สะพานพระราม 9, นราราม 3-ราชพฤกษ์ = 15 บาท
- ถ้านั่งยาว คิด 20 บาท (น่าสังเกตว่าไม่ค่อยมีคนนั่งยาว เพราะว่ามันอ้อม ไป BTS ตรง ๆ จะเร็วกว่า)
อย่างไรก็รบกวนท่านผู้ว่าฯ พิจารณาให้ดีละกันครับ คนพื้นที่เดือดร้อนมากหากไม่มี BRT ครับ หรือถ้าต้องปิด ก็ควรกันแค่ทางเข้าออก แล้วให้เป็นสะพานลอยเพื่อให้คนข้ามก็โอเคครับ
กทม.ขอ 15 วันสำรวจประชาชน ยกเลิก "BRT"
ทาง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในวันนี้ (17 ก.พ.) จะมีการสำรวจความคิดเห็นประชาชน จำนวน 2,000 ชุด ใน 10 สาขาอาชีพ อาชีพละ 200 คน อาทิ ผู้โดยสาร นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ ผู้ที่ขับขี่รถยนต์ พนักงานขับรถประจำทาง และบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ข้างเคียงกับสถานีบีอาร์ที เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้มีส่วนร่วมว่า ต้องการอะไร ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยขอเวลาในการทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน 15 วัน
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวยังไม่ต้องทบทวนหรือตัดสินใจเดินหน้าแต่อย่างไร เนื่องจากยังไม่หมดสัญญา ซึ่งสัญญาจะสิ้นสุดในวันที่ 30 เม.ย.นี้ ดังนั้นขณะนี้เป็นเรื่องของการหาข้อมูลและความต้องการของประชาชนว่าจะให้มีโครงการบีอาร์ทีหรือไม่ หรือจะให้ยกเลิก โดยอะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้
สำหรับโครงการบีอาร์ที เป็นโครงการนำร่องในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 29 พ.ค.2553 ที่ให้บริการเดินรถในช่องทางพิเศษบนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนพระรามที่ 3 สะพานพระราม 3 และถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร มีจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร 12 สถานี เปิดให้บริการมาแล้วเป็นเวลา 6 ปี ใช้เงินลงทุนมากถึง 2,009.7 ล้านบาท และสัญญาโครงการจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เม.ย.2560
จขกท. ในฐานะคนที่ทำงานแถวพระราม 3 และบางครั้งต้องไปแถว ๆ สาทร ถ้าต้องยกเลิก BRT ผมคิดว่า เดือดร้อนมากแน่นอนครับ เพราะที่เคยขึ้นมาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย น่าสังเกตว่า ถ้าเป็น ชม.เร่งด่วน (เช้า-เย็น) คนแน่นมาก ไหนจะคนทำงาน นักเรียนนักศึกษา และยิ่ง ถ.นราธิวาสฯ มีรถเมล์แค่สายเดียว ส่วน ถ.พระราม 3 มีรถเมล์แค่ 2 สาย ถ้าเลิกวิ่งไปเลย เดือดร้อนแน่นอนครับ คือถ้าขึ้นค่าโดยสารเป็นโซนแบบปัจจุบัน หรือจะซอยเป็น 3 โซนไปเลยก็ได้ เช่น
- สาทร-นราราม 3, นราราม 3-สะพานพระราม 9, สะพานพระราม 9-ราชพฤกษ์ = 10 บาท
- สาทร-สะพานพระราม 9, นราราม 3-ราชพฤกษ์ = 15 บาท
- ถ้านั่งยาว คิด 20 บาท (น่าสังเกตว่าไม่ค่อยมีคนนั่งยาว เพราะว่ามันอ้อม ไป BTS ตรง ๆ จะเร็วกว่า)
อย่างไรก็รบกวนท่านผู้ว่าฯ พิจารณาให้ดีละกันครับ คนพื้นที่เดือดร้อนมากหากไม่มี BRT ครับ หรือถ้าต้องปิด ก็ควรกันแค่ทางเข้าออก แล้วให้เป็นสะพานลอยเพื่อให้คนข้ามก็โอเคครับ