เป็นที่แน่นอนภายในปีนี้จะปิดฉากโปรเจ็กต์ล้อยาง "BRT-รถประจำทางด่วนพิเศษ" สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 15.9 กม. มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท โปรเจ็กต์หาเสียงของ "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
6 ปีขาดทุนยับพันล้าน
หลังเปิดให้บริการมากว่า 6 ปี นับจากเดือน พ.ค. 2553 แต่ประสบปัญหาขาดทุนมาตลอด เมื่อจำนวนผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้า 3 หมื่นคน/วัน แม้จะลดค่าโดยสารจาก 10 บาทเหลือ 5 บาทแล้วก็ตาม
จากข้อมูลของ กทม.ที่ปรากฏ นับจากเปิดบริการมาถึงปัจจุบัน มีผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 หมื่นเที่ยวคน/วัน ขาดทุนร่วม 1 พันล้านบาท จากการที่ "กทม." ต้องควักเงินงบประมาณอุดหนุนโครงการปีละ 200 กว่าล้านบาท เพื่อจ่ายค่าจ้างให้ "บีทีเอสซี-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ" ผู้ติดตั้งระบบ จัดหารถ 25 คัน พร้อมเดินรถให้เป็นระยะเวลา 7 ปี จะสิ้นสุด เม.ย. 2560
ย้อนเวลาสำหรับโครงการนี้ ริเริ่มเมื่อปี 2548 สมัย "ผู้ว่าฯ อภิรักษ์" มี "สามารถ ราชพลสิทธิ์" รองผู้ว่าฯ กทม.ช่วยผลักดัน หลัง "ครม.-คณะรัฐมนตรี" อนุมัติเริ่มสร้างปี 2550 กว่าจะเปิดบริการได้ในปี 2553 ในระหว่างทางก็ขลุกขลักพอสมควร ทั้งความไม่โปร่งใสในการซื้อรถราคาคันละ 7.5 ล้านบาท ที่ว่ากันว่าแพงหูฉี่ แต่ก็ทู่ซี้จนโครงการเปิดใช้ในที่สุด
แต่ถึงจะฝ่าด่าน "ดีเอสไอ-กรมสอบสวนคดีพิเศษ" ได้สำเร็จ ความชุลมุนยังไม่สิ้นสุด เมื่อเส้นทางที่ใช้คิกออฟโครงการ จาก "ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์" ถึงจะกันเลนพิเศษไว้เฉพาะแล้ว แต่ยังมีรถอื่นวิ่งเข้าแทรกตลอดเวลา ที่สำคัญไม่สามารถหลุดพ้นวังวนรถติดบนถนนเส้นนี้ได้
จึงทำให้โครงการไม่เปรี้ยง ! ไม่สามารถตอบสนองความต้องการคนกรุงได้ตรงจุด
สุขุมพันธุ์ชี้ผู้โดยสารหลุดเป้า
"ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์บริพัตร"ผู้ว่าฯกทม.กล่าวว่า สาเหตุที่ยกเลิกรถบีอาร์ที เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารน้อย ไม่เป็นไปตามประมาณการที่วางไว้ ทำให้โครงการขาดทุน แนวโน้มจะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาเฟส 3 พระราม 3-ท่าพระ ที่จะสร้างในอนาคต แต่ระหว่างนี้จะนำระบบอื่นมาวิ่งทดแทนไปก่อน อยู่ระหว่างศึกษา
"ต้องเปลี่ยนเป็นระบบราง ถึงจะดึงคนใช้บริการได้เพิ่มขึ้น คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3-4 พันคน/ชั่วโมง เพราะจุคนได้มากกว่าและไม่เสียเลนถนน"
ด้าน "มานิต เตชอภิโชค" กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) เปิดเผยว่า สัญญาที่จ้างบีทีเอสเดินรถบีอาร์ทีจะหมดเดือน เม.ย.ปี 2560 จะยกเลิกและเปลี่ยนเป็นระบบรางแทน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุป จะใช้รถไฟฟ้ารางเบาขนาดเล็ก (Tram) ที่สามารถวางรางวิ่งร่วมกับรถยนต์บนผิวถนนได้ โดยใช้ระบบแบตเตอรี่และโซลาร์ นอกจากนี้จะปรับให้เชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ช่องนนทรีและตลาดพลูด้วย ส่วนรถบีอาร์ทีมีอยู่กว่า 20 คัน จะนำไปใช้เป็นสวัสดิการข้าราชการ กทม.แทน
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางและบรรยากาศการใช้รถบีอาร์ที โดยเริ่มต้นจาก "สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี" ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีถึงสถานีบีอาร์ที จากนั้นซื้อตั๋วโดยสาร ค่าบริการ 5 บาทตลอดสาย เสร็จเรียบร้อยนั่งรอรถประมาณ 10 นาที ได้นั่งรถจากสถานีต้นทาง เพื่อไปยังจุดหมายปลายทางที่สถานีราชพฤกษ์
12 สถานีใช้เวลา 30 นาที
เริ่มออกเดินทางจากสถานีสาทรไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ผ่านแยกถนนจันทน์ แยกนราราม 3 เลี้ยวขวาเข้าถนนพระราม 3 ลอดใต้สะพานพระราม 9 เข้าสู่ถนนรัชดาภิเษก ขึ้นสะพานพระราม 3 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปสิ้นสุดที่แยกถนนรัชดาภิเษก-ถนนราชพฤกษ์
จุดจอด 12 สถานีที่สาทร อาคารสงเคราะห์ เทคนิคกรุงเทพ ถนนจันทน์ นราราม 3 วัดด่าน วัดปริวาส วัดดอกไม้ สะพานพระราม 9 เจริญราษฎร์ สะพานพระราม 3 และสิ้นสุดที่สถานีราชพฤกษ์ โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 27 นาที ผู้โดยสารตลอดเส้นทางประมาณ 20-30 คน/เที่ยว
ทั้งนี้สถานีปลายทางจะสามารถเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ "สถานีตลาดพลู" ได้ แต่การเดินทางอาจจะลำบากเล็กน้อย เพราะต้องเดินข้ามทางม้าลาย เนื่องจากยังไม่มีสกายวอล์กต่อเชื่อม หลังจากข้ามทางม้าลายเสร็จก็เดินขึ้นไปบนทางสกายวอล์กของสถานีตลาดพลู ใช้เวลาเดินประมาณ 5 นาที
ขณะที่ขากลับรถจะวิ่งกลับตามแนวเส้นทางเดิม ใช้เวลาประมาณ 34 นาที มีผู้โดยสารตลอดเส้นทางประมาณ 80-90 คน/เที่ยว ค่อนข้างหนาตากว่าตอนขามา อาจจะด้วยจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น การจอดรับ-ส่งจึงใช้เวลานานกว่า
แปลงร่าง BRT เป็นรถรางไฟฟ้า อวสานโปรเจ็กต์หาเสียงนักการเมือง
6 ปีขาดทุนยับพันล้าน
หลังเปิดให้บริการมากว่า 6 ปี นับจากเดือน พ.ค. 2553 แต่ประสบปัญหาขาดทุนมาตลอด เมื่อจำนวนผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้า 3 หมื่นคน/วัน แม้จะลดค่าโดยสารจาก 10 บาทเหลือ 5 บาทแล้วก็ตาม
จากข้อมูลของ กทม.ที่ปรากฏ นับจากเปิดบริการมาถึงปัจจุบัน มีผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 หมื่นเที่ยวคน/วัน ขาดทุนร่วม 1 พันล้านบาท จากการที่ "กทม." ต้องควักเงินงบประมาณอุดหนุนโครงการปีละ 200 กว่าล้านบาท เพื่อจ่ายค่าจ้างให้ "บีทีเอสซี-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ" ผู้ติดตั้งระบบ จัดหารถ 25 คัน พร้อมเดินรถให้เป็นระยะเวลา 7 ปี จะสิ้นสุด เม.ย. 2560
ย้อนเวลาสำหรับโครงการนี้ ริเริ่มเมื่อปี 2548 สมัย "ผู้ว่าฯ อภิรักษ์" มี "สามารถ ราชพลสิทธิ์" รองผู้ว่าฯ กทม.ช่วยผลักดัน หลัง "ครม.-คณะรัฐมนตรี" อนุมัติเริ่มสร้างปี 2550 กว่าจะเปิดบริการได้ในปี 2553 ในระหว่างทางก็ขลุกขลักพอสมควร ทั้งความไม่โปร่งใสในการซื้อรถราคาคันละ 7.5 ล้านบาท ที่ว่ากันว่าแพงหูฉี่ แต่ก็ทู่ซี้จนโครงการเปิดใช้ในที่สุด
แต่ถึงจะฝ่าด่าน "ดีเอสไอ-กรมสอบสวนคดีพิเศษ" ได้สำเร็จ ความชุลมุนยังไม่สิ้นสุด เมื่อเส้นทางที่ใช้คิกออฟโครงการ จาก "ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์" ถึงจะกันเลนพิเศษไว้เฉพาะแล้ว แต่ยังมีรถอื่นวิ่งเข้าแทรกตลอดเวลา ที่สำคัญไม่สามารถหลุดพ้นวังวนรถติดบนถนนเส้นนี้ได้
จึงทำให้โครงการไม่เปรี้ยง ! ไม่สามารถตอบสนองความต้องการคนกรุงได้ตรงจุด
สุขุมพันธุ์ชี้ผู้โดยสารหลุดเป้า
"ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์บริพัตร"ผู้ว่าฯกทม.กล่าวว่า สาเหตุที่ยกเลิกรถบีอาร์ที เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารน้อย ไม่เป็นไปตามประมาณการที่วางไว้ ทำให้โครงการขาดทุน แนวโน้มจะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาเฟส 3 พระราม 3-ท่าพระ ที่จะสร้างในอนาคต แต่ระหว่างนี้จะนำระบบอื่นมาวิ่งทดแทนไปก่อน อยู่ระหว่างศึกษา
"ต้องเปลี่ยนเป็นระบบราง ถึงจะดึงคนใช้บริการได้เพิ่มขึ้น คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3-4 พันคน/ชั่วโมง เพราะจุคนได้มากกว่าและไม่เสียเลนถนน"
ด้าน "มานิต เตชอภิโชค" กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) เปิดเผยว่า สัญญาที่จ้างบีทีเอสเดินรถบีอาร์ทีจะหมดเดือน เม.ย.ปี 2560 จะยกเลิกและเปลี่ยนเป็นระบบรางแทน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุป จะใช้รถไฟฟ้ารางเบาขนาดเล็ก (Tram) ที่สามารถวางรางวิ่งร่วมกับรถยนต์บนผิวถนนได้ โดยใช้ระบบแบตเตอรี่และโซลาร์ นอกจากนี้จะปรับให้เชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ช่องนนทรีและตลาดพลูด้วย ส่วนรถบีอาร์ทีมีอยู่กว่า 20 คัน จะนำไปใช้เป็นสวัสดิการข้าราชการ กทม.แทน
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางและบรรยากาศการใช้รถบีอาร์ที โดยเริ่มต้นจาก "สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี" ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีถึงสถานีบีอาร์ที จากนั้นซื้อตั๋วโดยสาร ค่าบริการ 5 บาทตลอดสาย เสร็จเรียบร้อยนั่งรอรถประมาณ 10 นาที ได้นั่งรถจากสถานีต้นทาง เพื่อไปยังจุดหมายปลายทางที่สถานีราชพฤกษ์
12 สถานีใช้เวลา 30 นาที
เริ่มออกเดินทางจากสถานีสาทรไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ผ่านแยกถนนจันทน์ แยกนราราม 3 เลี้ยวขวาเข้าถนนพระราม 3 ลอดใต้สะพานพระราม 9 เข้าสู่ถนนรัชดาภิเษก ขึ้นสะพานพระราม 3 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปสิ้นสุดที่แยกถนนรัชดาภิเษก-ถนนราชพฤกษ์
จุดจอด 12 สถานีที่สาทร อาคารสงเคราะห์ เทคนิคกรุงเทพ ถนนจันทน์ นราราม 3 วัดด่าน วัดปริวาส วัดดอกไม้ สะพานพระราม 9 เจริญราษฎร์ สะพานพระราม 3 และสิ้นสุดที่สถานีราชพฤกษ์ โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 27 นาที ผู้โดยสารตลอดเส้นทางประมาณ 20-30 คน/เที่ยว
ทั้งนี้สถานีปลายทางจะสามารถเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ "สถานีตลาดพลู" ได้ แต่การเดินทางอาจจะลำบากเล็กน้อย เพราะต้องเดินข้ามทางม้าลาย เนื่องจากยังไม่มีสกายวอล์กต่อเชื่อม หลังจากข้ามทางม้าลายเสร็จก็เดินขึ้นไปบนทางสกายวอล์กของสถานีตลาดพลู ใช้เวลาเดินประมาณ 5 นาที
ขณะที่ขากลับรถจะวิ่งกลับตามแนวเส้นทางเดิม ใช้เวลาประมาณ 34 นาที มีผู้โดยสารตลอดเส้นทางประมาณ 80-90 คน/เที่ยว ค่อนข้างหนาตากว่าตอนขามา อาจจะด้วยจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น การจอดรับ-ส่งจึงใช้เวลานานกว่า