ALPHAJET
24 กันยายน 2543 ประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของกองบิน 23 จังหวัดอุดรธานี ต้องถูกเปิดออกมาเพื่อบันทึกลงไปอีกครั้ง ว่าวันนี้ เป็นวันที่ เครื่องบินโจมตีไอพ่นแบบ อัลฟ่าเจ็ต ( ALPHAJET) เครื่องบินโจมตีแบบที่ 7 (บ.จ.7) ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบล่าสุดของกองทัพอากาศไทย ได้เดินทางมาถึงสนามบินอุดร "ทุ่งราชสีห์" บ้านหลังใหม่ของนักล่า เจ้าป่าจากลุฟวัฟฟี่ กองทัพอากาศเยอรมัน เครื่องบินทั้ง 4 เครื่องเป็นเครื่องบินชุดแรกใน 25 เครื่อง ที่เดินทางมาถึง กองบิน 23 เพื่อบรรจุเข้าประจำการใน ฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 231 โดยมี น.ท.พงษ์สวัสดิ์ จันทรสาร เป็นผู้บังคับฝูงบิน อัลฟ่าเจ็ต คนแรก หลังจากที่ฝูงบินแห่งนี้ ไม่มีการบรรจุเครื่องบินประจำการมานานถึง 2 ปี นั่นคือสาเหตุของความตื่นตาตื่นใจสำหรับชาวบ้านทั่วไปที่นานแล้วไม่ได้ยินเสียงเครื่องบินรบไอพ่นหลายๆเครื่องพร้อมกันเหนือกองบิน 23 การกลับมาของการบรรจุเครื่องบินชั้นแนวหน้าของกองทัพอากาศไทยอีกครั้งในหนนี้ นอกจากในวันที่ 24 กันยายน 2553 จะเป็นวันครบ 10 ของเครื่องบินโจมตีแบบอัลฟ่าเจ็ต หรือที่ทหารอากาศไทยหลายคนชอบเรียกชื่อเล่นๆ ว่า A-JET แล้ว ในวันดังกล่าวนี้ กองบิน 23 ยังกำหนดให้เป็นวันสถาปนาฝูงบิน 231
กำเนิดอัลฟ่าเจ็ต ๐๑
โครงการอัลฟ่าเจ็ตจริงๆแล้วเริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๐ เมื่อกองทัพอากาศเยอรมันมีความต้องการเครื่องบินสนับสนุนหน่วยทหารภาคพื้นดินอย่างใกล้ชิด แต่ขณะนั้นอิตาลี่ได้ออกแบบและผลิตเครื่องบินเจ็ตสนับสนุนแบบ G-91 ขึ้นมาเพื่อใช้งานในกองทัพอากาศนาโต้ เยอรมันและชาตินาโต้จึงหันไปจัดหาเครื่องบินโจมตีของอิตาลีมาใช้งาน
ในปี ๒๕๑๑ บริษัทดอร์เนีย ได้นำเอาแผนแบบเครื่องบินเจ็ตสนับสนุนกำลังภาคพื้นดินที่ออกแบบขึ้นมาก่อนหน้านี้ ซึ่งกำหนดชื่อว่า Do P 375 เครื่องบินเจ็ตแบบนี้ได้รับการออกแบบมาให้เป็นเครื่องบินสองที่นั่งเรียงกันที่นั่งหลังออกแบบมาให้สูงกว่าที่นั่งหน้า มีล้อรับหัวที่อยู่ต่ำเพื่อให้นักบินมองทัศนวิสัยด้านหน้าได้อย่างชัดเจน การออกแบบของเครื่องบินแบบนี้ทีมวิศวกรผู้ออกแบบได้เน้นให้ความประหยัดในค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและสามารถใช้เป็นเครื่องบินฝึกนักบินพร้อมรบและเครื่องบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้กองทัพอากาศเยอรมันลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการได้มาก กองทัพอากาศเยอรมันมีความต้องการเครื่องบินแบบนี้มาปฏิบัติการทดแทนเครื่องบินสนับสนุนภาคพื้นดินแบบ G-91 ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๑๓ เป็นต้นไป
การแผนแบบใหม่ของเครื่องบินสนับสนุนทางอากาศที่มีความเร็วต่ำกว่าเสียง โดยแก้ไขจากแบบเดิมที่มีอยู่แล้วไม่มากนักเพื่อความประหยัด ในขณะที่บริษัทดอร์เนีย กำลังดำเนินการพัฒนาแผนแบบเครื่องบินเครื่องนี้อยู่นั้น บริษัทเบร์เกท์ ของฝรั่งเศสเองก็กำลังดำเนินการออกแบบเครื่องบินเจ็ตฝึกขนาดเบาโดยกำหนดชื่อโครงการว่า บีอาร์ ๑๒๖ เพื่อทดแทนเครื่องบินเจ็ตแบบมาจิสเตอร์ ให้ทันปลายปี ๒๕๑๓ และแผนแบบของทั้งเยอรมันและฝรั่งเศสที่บังเอิญมีส่วนที่คล้ายคลึงกันมาก ทั้งสองชาติโดยบริษัทดอร์เนีย ของเยอรมัน และเบร์เกท์ ของฝรั่งเศส (ซึ่งต่อมาได้เบร์เกท์รวมกิจการกับดัสโซลท์เป็นบริษัทดัทโซลท์-เบร์เกท์) จึงร่วมลงมือดำเนินการ เพื่อระดมความคิดและเป็นการสนับสนุนกิจการด้านอุตสาหกรรมการบินของทั้งสองประเทศ ซึ่งรัฐบาลเยอรมัน และฝรั่งเศส ได้ลงนามความร่วมมือกันในการออกแบบและพัฒนาเครื่องบินสนับสนุนนี้ตั้งแต่มกราคม ๒๕๑๒
โมเดลเครื่องบินสนับสนุนได้รับการออกแบบสร้างขึ้นมาเพื่อทำการทดลองในอุโมงค์ลมหลายสิบแห่งกว่า ๔,๐๐๐ ชั่วโมงเพื่อแก้ไขปรับปรุงแบบ ก่อนมาสร้างเป็นเครื่องบินจริง ต้นแบบได้รับการกำหนดชื่อว่า “ อัลฟ่าเจ็ต ๐๑ “ โดยหมายเลข ๐๑ นั้นมาจากตัวเลขแบบเครื่องบินเยอรมันDo P 375 และหมายเลขแบบของเครื่องบินฝรั่งเศส BR 126 ซึ่งตัวเลขทั้งสองรวมกันเป็น 501 จึงนำเอาเลข 01 มาเป็นเลขของอัลฟ่าเจ็ต แบบของเครื่องบินที่เกิดจากความร่วมมือของทั้งสองบริษัทถูกส่งเข้าร่วมการแข่งขันในการประกวดเครื่องบินสนับสนุนซึ่งมีผู้ออกแบบเข้าร่วมการแข่งขันถึง ๓ แบบ
ผลการแข่งขันประกาศออกมาเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๑๓ ให้เครื่องบินแบบ “อัลฟ่าเจ็ต” เป็นผู้ชนะการประกวด
การผลิตเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ตนั้น มีข้อตกลงของคณะกรรมการร่วมของทั้งสองชาติกำหนดให้ บริษัทดัสโซลท์-เบร์เกท์ เป็นผู้ผลิตคู่สัญญากับรัฐบาลและมีบริษัทดอร์เนีย เป็นบริษัทผู้ผลิตร่วม โดยทั้งสองประเทศตกลงออกค่าใช้จ่ายร่วมกันคนละครึ่งในส่วนของค่าใช้จ่ายมูลฐานเริ่มต้นตามกำหนดในสัญญาเครื่องยนต์ของ อัลฟ่าเจ็ต ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท เจเนอรัล อิเล็คทริค ทำการผลิตเครื่องยนต์สำหรับติดตั้งกับอัลฟ่าเจ็ต เป็นเครื่องยนต์
เทอร์โบเจ็บแบบ เทอร์โบเมคาลาร์ซาค เจ ๘๕-ยีอี ๔ การดำเนินการสร้างอัลฟ่าเจ็ตเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔ และเพื่อเป็นการปฏิบัติการให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เกิดการซ้ำซ้อนในการทำงาน
จึงมีการแบ่งหน้าที่การผลิตของเครื่องบินโดยโครงสร้าง ๕๑ % บริษัทดัสโซลท์-เบร์เกท์ ดำเนินการสร้างลำตัวท่อนหน้า ลำตัวท่อนกลาง และการประกอบลำตัว ส่วนบริษัท ดอร์เนีย ทำการสร้างลำตัวท่อนท้าย ปีก และชุดพวงหาง การประกอบเครื่องต้นแบบขั้นสุดท้ายกระทำทั้งในเยอรมันและฝรั่งเศส จนกระทั่งเครื่องต้นแบบพร้อมทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๑๔
รูปแบบของอัลฟ่าเจ็ต
นับตั้งแต่เครื่องต้นแบบ อัลฟ่าเจ็ต ๐๑ ทำการบินครั้งแรก เครื่องต้นแบบ ๔ เครื่องแรก ถูกส่งไปทำการทดสอบที่อิสเตรส์ ทางภาคใต้ของฝรั่งเศส และที่โอเบิร์ปฟาฟเพ็นโฮเพ็น ใกล้มิวนิค ในเยอรมัน โดยใช้นักบินทดสอบของทั้งสองประเทศร่วมกันทำงาน โดยทั่วไปแล้วแบบทั้งสองชาตินั้นเหมือนๆ กันต่างกันในรายละเอียดที่ภายหลังจากการทดสอบและเปิดสายการผลิตแล้วทั้งสองชาติไปแก้ไขดัดแปลงเอง
การออกแบบอัลฟ่าเจ็ต ๐๑ ได้รับการออกแบบให้ปีกมีมุมยกแบบกดลงหรือมุมยกเป็นลบ ๖ องศา ปีกเป็นโครงสร้างที่เป็นโลหะล้วน โดยปีกของรุ่นที่จะใช้ในเยอรมันนั้นมีตำบลติดอาวุธข้างละ ๓ ตำแหน่งรวม ๖ ตำแหน่ง เพราะเน้นเพื่อเป็นเครื่องบินโจมตีสนับสนุนภาคพื้นดิน ส่วนรุ่นของฝรั่งเศสนั้นออกแบบมาให้เป็นแบบมาตรฐานทั่วไปมีตำบลติดอาวุธเพียงข้างละ ๒ ตำแหน่ง และมีตะขอสำหรับหยุดเครื่องบินเมื่อลงในสนามสั้น เพราะฝรั่งเศสเน้นภารกิจหลักเป็นเครื่องบินฝึก ที่โคนปีกของอัลฟ่าเจ็ตประกอบด้วยแฟลพแบบสล็อตสองชั้น และปีกเล็กแก้เอียงซึ่งติดตั้งอยู่ชายปีกหลังติดตั้งสปอยเลอร์ที่ผิวปีกด้านบนและด้านหน้าของแฟลพช่วงนอกความยาวชายปีก ทำให้เกิดรูปฟันขึ้นที่ชายหน้าปีก
ลำตัวมีโครงสร้างแบบกึ่งโมโนค็อก โดยมีภาคตัดขวางเป็นรูปไข่ ส่วนแพนหางระดับสร้างด้วยโลหะล้วน ทำมุมลู่หลังทั้งชายหน้าและชายหลังปีก มีแฟริงหลังลำตัวตลอดตั้งแต่ด้านหลังที่นั่งนักบินหลังไปจนถึงชายหน้าของแพนหางดิ่ง พวงหางทั้งชุดติดตั้งอยู่ที่ลำตัวท่อนท้ายมีแผ่นทริมติดตั้งอยู่ที่แพงหางขึ้นลงและหางเสือเลี้ยวฐานล้อเป็นแบบจักรยานสามล้อ คือมีล้อแบบรับหัว โดยที่ฐานล้อทั้งหมดสามารถเบเข้าไปในลำตัวได้ โดยเป็นล้อเดี่ยวเครื่องยนต์ของอัลฟ่าเจ็ต ๐๑ เป็นเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนสเนคมาเทอร์โบเมคาลาร์ซาค ๐๔ ให้กำลังเครื่องละ ๒,๙๗๐ แรงม้า จำนวน ๒ เครื่อง ระบบการเติมเชื้อเพลิงของเป็นแบบชนิดใช้ความกดดัน จึงทำให้มันสามารถเติมเชื้อเพลิงแล้ววิ่งขึ้นทำการบินใหม่ได้ภายในเวลาไม่เกิน ๑๕ นาที
ในห้องนักบินนั้นได้รับการออกแบบให้เป็นแบบสองที่นั่งเรียงตามกัน ใช้เก้าอี้ดีดตัวที่สามารถทำการดีดตัวได้ในระดับต่ำ ที่นั่งหลังซึ่งเป็นที่นั่งของครูการบินจะติดตั้งไว้สูงกว่าที่นั่งศิษย์การบินด้านหน้า โดยมีกระจกครอบห้องนักบินแบบแยกสองชิ้นคือเป็นชุดใครชุดมันระบบไฮดรอริกและระบบไฟฟ้าซึ่งอำนวยการทำงานของระบบเครื่องยนต์ทั้งซ้ายและขวา แยกออกจากกันเพื่อความปลอดภัยหากเครื่องยนต์ข้างใดข้างหนึ่งเกิดดับขึ้นมา ระบบอาวุธประจำตัวสามารถติดจรวด และระเบิดต่างๆได้มากกว่า ๕,๐๐๐ ปอนด์ โดยมีปืนใหญ่อากาศขนาด ๓๐ มม. ติดตั้งในกระเปาะใต้ลำตัว อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆของเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ตได้รับการออกแบบมาให้มีความเหมาะสมในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะอุปกรณ์ควบคุมระบบอาวุธต่างๆ และจอภาพ HUD ที่ใช้ในการมองและเล็งเป้าเพื่อยิงอาวุธชนิดต่างๆ
สายการผลิตอัลฟ่าเจ็ต
อัลฟ่าเจ็ต ได้รับการกำหนดชื่อรุ่นใหม่เพื่อความชัดเจนมากขึ้น โดยอัลฟ่าเจ็ต ของเยอรมันนั้นเรียกชื่อว่า “ALPHAJET A” ได้รับการสร้างทั้งสิ้น ๑๗๕ เครื่องโดยเริ่มบรรจุเข้าประจำการในกองทัพอากาศเยอรมันตะวันตกตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ และเริ่มทะยอยปลดประจำการในช่วงสิ้นสุดสงครามเย็นในราวปี ๒๕๓๗ เนื่องจากการรวมประเทศเยอรมันและเยอรมันมีเครื่องบินรบมากเกินความจำเป็น ภารกิจของเครื่องบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดอย่างอัลฟ่าเจ็ตถูกลดภารกิจลงและไม่มีการทดแทนภารกิจนี้ด้วยเครื่องบินแบบอื่นๆแต่อย่างไร และนับตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ เป็นต้นมาเยอรมันก็ได้ทยอยขายเครื่องบินที่เหลือทั้งหมดให้กับพันธมิตรที่ยังคงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องบินแบบนี้อยู่ อาทิ ไทย อังกฤษ เป็นต้น
ในส่วนของฝรั่งเศสนั้น ได้รับการกำหนดชื่อเป็น “ALPHAJET E” ได้รับการสั่งสร้างรวม ๑๔๔ เครื่อง โดยเริ่มบรรจุเข้าประจำการในกองทัพอากาศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ แม้เครื่องบินอัลฟ่าเจ็ต ของฝรั่งเศส จะได้รับการออกแบบมาให้เป็นเพียงเครื่องบินฝึกขั้นสูง แต่หลังปี ๒๕๓๐ นโยบายการขายอาวุธของบริษัท ดัสโซท์-เบร์เกท์ ต่อประเทศที่ร่ำรวยโดยเฉพาะในตะวันออกกลาง ทำให้ฝรั่งเศสทำการดัดแปลงเครื่องบินของตนให้สามารถเลือกติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่างๆได้นอกเหนือจากอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศในการป้องกันตนเอง อาทิ จรวดเอ็กโซเซต์ ในการต่อต้านเรือผิวน้ำ ได้ถึงสองลูกเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการสนับสนุนกองเรืออีกแบบหนึ่ง
ในช่วงแรกของการเปิดสายการผลิตนั้น อัลฟ่าเจ็ตได้รับความสนใจและสั่งสร้างจาก กองทัพอากาศเบลเยี่ยม โมร็อคโค ไอวอรี่โคสต์ ไนจีเรีย และโตโก รวม ๘๖ เครื่อง ปัจจุบัน ALPHAJET ได้รับการจัดหาจากประเทศต่างๆ เพิ่มเติมอีก เช่น ไทย อังกฤษ ฯลฯ
มาทำความรู้จักกับเครื่องบินโจมตีไอพ่นแบบ ALPHAJET กันครับ
24 กันยายน 2543 ประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของกองบิน 23 จังหวัดอุดรธานี ต้องถูกเปิดออกมาเพื่อบันทึกลงไปอีกครั้ง ว่าวันนี้ เป็นวันที่ เครื่องบินโจมตีไอพ่นแบบ อัลฟ่าเจ็ต ( ALPHAJET) เครื่องบินโจมตีแบบที่ 7 (บ.จ.7) ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบล่าสุดของกองทัพอากาศไทย ได้เดินทางมาถึงสนามบินอุดร "ทุ่งราชสีห์" บ้านหลังใหม่ของนักล่า เจ้าป่าจากลุฟวัฟฟี่ กองทัพอากาศเยอรมัน เครื่องบินทั้ง 4 เครื่องเป็นเครื่องบินชุดแรกใน 25 เครื่อง ที่เดินทางมาถึง กองบิน 23 เพื่อบรรจุเข้าประจำการใน ฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 231 โดยมี น.ท.พงษ์สวัสดิ์ จันทรสาร เป็นผู้บังคับฝูงบิน อัลฟ่าเจ็ต คนแรก หลังจากที่ฝูงบินแห่งนี้ ไม่มีการบรรจุเครื่องบินประจำการมานานถึง 2 ปี นั่นคือสาเหตุของความตื่นตาตื่นใจสำหรับชาวบ้านทั่วไปที่นานแล้วไม่ได้ยินเสียงเครื่องบินรบไอพ่นหลายๆเครื่องพร้อมกันเหนือกองบิน 23 การกลับมาของการบรรจุเครื่องบินชั้นแนวหน้าของกองทัพอากาศไทยอีกครั้งในหนนี้ นอกจากในวันที่ 24 กันยายน 2553 จะเป็นวันครบ 10 ของเครื่องบินโจมตีแบบอัลฟ่าเจ็ต หรือที่ทหารอากาศไทยหลายคนชอบเรียกชื่อเล่นๆ ว่า A-JET แล้ว ในวันดังกล่าวนี้ กองบิน 23 ยังกำหนดให้เป็นวันสถาปนาฝูงบิน 231
กำเนิดอัลฟ่าเจ็ต ๐๑
โครงการอัลฟ่าเจ็ตจริงๆแล้วเริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๐ เมื่อกองทัพอากาศเยอรมันมีความต้องการเครื่องบินสนับสนุนหน่วยทหารภาคพื้นดินอย่างใกล้ชิด แต่ขณะนั้นอิตาลี่ได้ออกแบบและผลิตเครื่องบินเจ็ตสนับสนุนแบบ G-91 ขึ้นมาเพื่อใช้งานในกองทัพอากาศนาโต้ เยอรมันและชาตินาโต้จึงหันไปจัดหาเครื่องบินโจมตีของอิตาลีมาใช้งาน
ในปี ๒๕๑๑ บริษัทดอร์เนีย ได้นำเอาแผนแบบเครื่องบินเจ็ตสนับสนุนกำลังภาคพื้นดินที่ออกแบบขึ้นมาก่อนหน้านี้ ซึ่งกำหนดชื่อว่า Do P 375 เครื่องบินเจ็ตแบบนี้ได้รับการออกแบบมาให้เป็นเครื่องบินสองที่นั่งเรียงกันที่นั่งหลังออกแบบมาให้สูงกว่าที่นั่งหน้า มีล้อรับหัวที่อยู่ต่ำเพื่อให้นักบินมองทัศนวิสัยด้านหน้าได้อย่างชัดเจน การออกแบบของเครื่องบินแบบนี้ทีมวิศวกรผู้ออกแบบได้เน้นให้ความประหยัดในค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและสามารถใช้เป็นเครื่องบินฝึกนักบินพร้อมรบและเครื่องบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้กองทัพอากาศเยอรมันลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการได้มาก กองทัพอากาศเยอรมันมีความต้องการเครื่องบินแบบนี้มาปฏิบัติการทดแทนเครื่องบินสนับสนุนภาคพื้นดินแบบ G-91 ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๑๓ เป็นต้นไป
การแผนแบบใหม่ของเครื่องบินสนับสนุนทางอากาศที่มีความเร็วต่ำกว่าเสียง โดยแก้ไขจากแบบเดิมที่มีอยู่แล้วไม่มากนักเพื่อความประหยัด ในขณะที่บริษัทดอร์เนีย กำลังดำเนินการพัฒนาแผนแบบเครื่องบินเครื่องนี้อยู่นั้น บริษัทเบร์เกท์ ของฝรั่งเศสเองก็กำลังดำเนินการออกแบบเครื่องบินเจ็ตฝึกขนาดเบาโดยกำหนดชื่อโครงการว่า บีอาร์ ๑๒๖ เพื่อทดแทนเครื่องบินเจ็ตแบบมาจิสเตอร์ ให้ทันปลายปี ๒๕๑๓ และแผนแบบของทั้งเยอรมันและฝรั่งเศสที่บังเอิญมีส่วนที่คล้ายคลึงกันมาก ทั้งสองชาติโดยบริษัทดอร์เนีย ของเยอรมัน และเบร์เกท์ ของฝรั่งเศส (ซึ่งต่อมาได้เบร์เกท์รวมกิจการกับดัสโซลท์เป็นบริษัทดัทโซลท์-เบร์เกท์) จึงร่วมลงมือดำเนินการ เพื่อระดมความคิดและเป็นการสนับสนุนกิจการด้านอุตสาหกรรมการบินของทั้งสองประเทศ ซึ่งรัฐบาลเยอรมัน และฝรั่งเศส ได้ลงนามความร่วมมือกันในการออกแบบและพัฒนาเครื่องบินสนับสนุนนี้ตั้งแต่มกราคม ๒๕๑๒
โมเดลเครื่องบินสนับสนุนได้รับการออกแบบสร้างขึ้นมาเพื่อทำการทดลองในอุโมงค์ลมหลายสิบแห่งกว่า ๔,๐๐๐ ชั่วโมงเพื่อแก้ไขปรับปรุงแบบ ก่อนมาสร้างเป็นเครื่องบินจริง ต้นแบบได้รับการกำหนดชื่อว่า “ อัลฟ่าเจ็ต ๐๑ “ โดยหมายเลข ๐๑ นั้นมาจากตัวเลขแบบเครื่องบินเยอรมันDo P 375 และหมายเลขแบบของเครื่องบินฝรั่งเศส BR 126 ซึ่งตัวเลขทั้งสองรวมกันเป็น 501 จึงนำเอาเลข 01 มาเป็นเลขของอัลฟ่าเจ็ต แบบของเครื่องบินที่เกิดจากความร่วมมือของทั้งสองบริษัทถูกส่งเข้าร่วมการแข่งขันในการประกวดเครื่องบินสนับสนุนซึ่งมีผู้ออกแบบเข้าร่วมการแข่งขันถึง ๓ แบบ
ผลการแข่งขันประกาศออกมาเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๑๓ ให้เครื่องบินแบบ “อัลฟ่าเจ็ต” เป็นผู้ชนะการประกวด
การผลิตเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ตนั้น มีข้อตกลงของคณะกรรมการร่วมของทั้งสองชาติกำหนดให้ บริษัทดัสโซลท์-เบร์เกท์ เป็นผู้ผลิตคู่สัญญากับรัฐบาลและมีบริษัทดอร์เนีย เป็นบริษัทผู้ผลิตร่วม โดยทั้งสองประเทศตกลงออกค่าใช้จ่ายร่วมกันคนละครึ่งในส่วนของค่าใช้จ่ายมูลฐานเริ่มต้นตามกำหนดในสัญญาเครื่องยนต์ของ อัลฟ่าเจ็ต ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท เจเนอรัล อิเล็คทริค ทำการผลิตเครื่องยนต์สำหรับติดตั้งกับอัลฟ่าเจ็ต เป็นเครื่องยนต์
เทอร์โบเจ็บแบบ เทอร์โบเมคาลาร์ซาค เจ ๘๕-ยีอี ๔ การดำเนินการสร้างอัลฟ่าเจ็ตเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔ และเพื่อเป็นการปฏิบัติการให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เกิดการซ้ำซ้อนในการทำงาน
จึงมีการแบ่งหน้าที่การผลิตของเครื่องบินโดยโครงสร้าง ๕๑ % บริษัทดัสโซลท์-เบร์เกท์ ดำเนินการสร้างลำตัวท่อนหน้า ลำตัวท่อนกลาง และการประกอบลำตัว ส่วนบริษัท ดอร์เนีย ทำการสร้างลำตัวท่อนท้าย ปีก และชุดพวงหาง การประกอบเครื่องต้นแบบขั้นสุดท้ายกระทำทั้งในเยอรมันและฝรั่งเศส จนกระทั่งเครื่องต้นแบบพร้อมทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๑๔
รูปแบบของอัลฟ่าเจ็ต
นับตั้งแต่เครื่องต้นแบบ อัลฟ่าเจ็ต ๐๑ ทำการบินครั้งแรก เครื่องต้นแบบ ๔ เครื่องแรก ถูกส่งไปทำการทดสอบที่อิสเตรส์ ทางภาคใต้ของฝรั่งเศส และที่โอเบิร์ปฟาฟเพ็นโฮเพ็น ใกล้มิวนิค ในเยอรมัน โดยใช้นักบินทดสอบของทั้งสองประเทศร่วมกันทำงาน โดยทั่วไปแล้วแบบทั้งสองชาตินั้นเหมือนๆ กันต่างกันในรายละเอียดที่ภายหลังจากการทดสอบและเปิดสายการผลิตแล้วทั้งสองชาติไปแก้ไขดัดแปลงเอง
การออกแบบอัลฟ่าเจ็ต ๐๑ ได้รับการออกแบบให้ปีกมีมุมยกแบบกดลงหรือมุมยกเป็นลบ ๖ องศา ปีกเป็นโครงสร้างที่เป็นโลหะล้วน โดยปีกของรุ่นที่จะใช้ในเยอรมันนั้นมีตำบลติดอาวุธข้างละ ๓ ตำแหน่งรวม ๖ ตำแหน่ง เพราะเน้นเพื่อเป็นเครื่องบินโจมตีสนับสนุนภาคพื้นดิน ส่วนรุ่นของฝรั่งเศสนั้นออกแบบมาให้เป็นแบบมาตรฐานทั่วไปมีตำบลติดอาวุธเพียงข้างละ ๒ ตำแหน่ง และมีตะขอสำหรับหยุดเครื่องบินเมื่อลงในสนามสั้น เพราะฝรั่งเศสเน้นภารกิจหลักเป็นเครื่องบินฝึก ที่โคนปีกของอัลฟ่าเจ็ตประกอบด้วยแฟลพแบบสล็อตสองชั้น และปีกเล็กแก้เอียงซึ่งติดตั้งอยู่ชายปีกหลังติดตั้งสปอยเลอร์ที่ผิวปีกด้านบนและด้านหน้าของแฟลพช่วงนอกความยาวชายปีก ทำให้เกิดรูปฟันขึ้นที่ชายหน้าปีก
ลำตัวมีโครงสร้างแบบกึ่งโมโนค็อก โดยมีภาคตัดขวางเป็นรูปไข่ ส่วนแพนหางระดับสร้างด้วยโลหะล้วน ทำมุมลู่หลังทั้งชายหน้าและชายหลังปีก มีแฟริงหลังลำตัวตลอดตั้งแต่ด้านหลังที่นั่งนักบินหลังไปจนถึงชายหน้าของแพนหางดิ่ง พวงหางทั้งชุดติดตั้งอยู่ที่ลำตัวท่อนท้ายมีแผ่นทริมติดตั้งอยู่ที่แพงหางขึ้นลงและหางเสือเลี้ยวฐานล้อเป็นแบบจักรยานสามล้อ คือมีล้อแบบรับหัว โดยที่ฐานล้อทั้งหมดสามารถเบเข้าไปในลำตัวได้ โดยเป็นล้อเดี่ยวเครื่องยนต์ของอัลฟ่าเจ็ต ๐๑ เป็นเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนสเนคมาเทอร์โบเมคาลาร์ซาค ๐๔ ให้กำลังเครื่องละ ๒,๙๗๐ แรงม้า จำนวน ๒ เครื่อง ระบบการเติมเชื้อเพลิงของเป็นแบบชนิดใช้ความกดดัน จึงทำให้มันสามารถเติมเชื้อเพลิงแล้ววิ่งขึ้นทำการบินใหม่ได้ภายในเวลาไม่เกิน ๑๕ นาที
ในห้องนักบินนั้นได้รับการออกแบบให้เป็นแบบสองที่นั่งเรียงตามกัน ใช้เก้าอี้ดีดตัวที่สามารถทำการดีดตัวได้ในระดับต่ำ ที่นั่งหลังซึ่งเป็นที่นั่งของครูการบินจะติดตั้งไว้สูงกว่าที่นั่งศิษย์การบินด้านหน้า โดยมีกระจกครอบห้องนักบินแบบแยกสองชิ้นคือเป็นชุดใครชุดมันระบบไฮดรอริกและระบบไฟฟ้าซึ่งอำนวยการทำงานของระบบเครื่องยนต์ทั้งซ้ายและขวา แยกออกจากกันเพื่อความปลอดภัยหากเครื่องยนต์ข้างใดข้างหนึ่งเกิดดับขึ้นมา ระบบอาวุธประจำตัวสามารถติดจรวด และระเบิดต่างๆได้มากกว่า ๕,๐๐๐ ปอนด์ โดยมีปืนใหญ่อากาศขนาด ๓๐ มม. ติดตั้งในกระเปาะใต้ลำตัว อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆของเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ตได้รับการออกแบบมาให้มีความเหมาะสมในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะอุปกรณ์ควบคุมระบบอาวุธต่างๆ และจอภาพ HUD ที่ใช้ในการมองและเล็งเป้าเพื่อยิงอาวุธชนิดต่างๆ
สายการผลิตอัลฟ่าเจ็ต
อัลฟ่าเจ็ต ได้รับการกำหนดชื่อรุ่นใหม่เพื่อความชัดเจนมากขึ้น โดยอัลฟ่าเจ็ต ของเยอรมันนั้นเรียกชื่อว่า “ALPHAJET A” ได้รับการสร้างทั้งสิ้น ๑๗๕ เครื่องโดยเริ่มบรรจุเข้าประจำการในกองทัพอากาศเยอรมันตะวันตกตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ และเริ่มทะยอยปลดประจำการในช่วงสิ้นสุดสงครามเย็นในราวปี ๒๕๓๗ เนื่องจากการรวมประเทศเยอรมันและเยอรมันมีเครื่องบินรบมากเกินความจำเป็น ภารกิจของเครื่องบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดอย่างอัลฟ่าเจ็ตถูกลดภารกิจลงและไม่มีการทดแทนภารกิจนี้ด้วยเครื่องบินแบบอื่นๆแต่อย่างไร และนับตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ เป็นต้นมาเยอรมันก็ได้ทยอยขายเครื่องบินที่เหลือทั้งหมดให้กับพันธมิตรที่ยังคงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องบินแบบนี้อยู่ อาทิ ไทย อังกฤษ เป็นต้น
ในส่วนของฝรั่งเศสนั้น ได้รับการกำหนดชื่อเป็น “ALPHAJET E” ได้รับการสั่งสร้างรวม ๑๔๔ เครื่อง โดยเริ่มบรรจุเข้าประจำการในกองทัพอากาศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ แม้เครื่องบินอัลฟ่าเจ็ต ของฝรั่งเศส จะได้รับการออกแบบมาให้เป็นเพียงเครื่องบินฝึกขั้นสูง แต่หลังปี ๒๕๓๐ นโยบายการขายอาวุธของบริษัท ดัสโซท์-เบร์เกท์ ต่อประเทศที่ร่ำรวยโดยเฉพาะในตะวันออกกลาง ทำให้ฝรั่งเศสทำการดัดแปลงเครื่องบินของตนให้สามารถเลือกติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่างๆได้นอกเหนือจากอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศในการป้องกันตนเอง อาทิ จรวดเอ็กโซเซต์ ในการต่อต้านเรือผิวน้ำ ได้ถึงสองลูกเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการสนับสนุนกองเรืออีกแบบหนึ่ง
ในช่วงแรกของการเปิดสายการผลิตนั้น อัลฟ่าเจ็ตได้รับความสนใจและสั่งสร้างจาก กองทัพอากาศเบลเยี่ยม โมร็อคโค ไอวอรี่โคสต์ ไนจีเรีย และโตโก รวม ๘๖ เครื่อง ปัจจุบัน ALPHAJET ได้รับการจัดหาจากประเทศต่างๆ เพิ่มเติมอีก เช่น ไทย อังกฤษ ฯลฯ