แนวทางการทำให้ยั่งยืนคือการรื้อ!?! แล้วสร้างใหม่ เพื่อให้โรงเรียนมีอิสรภาพทางการเงินในการจัดการศึกษาต่อไป
เช้าปลายเดือนมกราคม 2560 ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้ไปกราบ ม.ร.ว.รุจีสมร สุขสวัสดิ์ ท่านผู้อำนวยการและผู้จัดการโรงเรียนวรรณวิทย์ (
http://bit.ly/2jeYNn0) เพราะทราบว่าโรงเรียนแห่งนี้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ท่านหวังจะทำโรงเรียนนี้เพื่อบุตรหลานของประชาชนคนเล็กคนน้อย
ม.ร.ว.รุจีสมร ท่านเคยบอกว่าที่ดินแปลงนี้มีขนาด 3 ไร่ มีผู้มาขอซื้อเป็นเงิน 1,000 ล้านบาท ท่านก็ไม่ขาย (
http://bit.ly/2j0SWE7) ตั้งใจจะทำเป็นโรงเรียนเช่นนี้ตลอดไป ดร.โสภณ ไปพบท่านวันนั้น ท่านก็บอกว่า ถ้าท่านไม่อยู่แล้ว ก็ยังมีคนดำเนินการต่อไป ดร.โสภณ ประมาณการในเบื้องต้นจากผลการสำรวจราคาที่ดินในบริเวณใกล้เคียงและทั่วกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน พบว่า ราคาที่ดินแปลงนี้น่าจะมีราคาตารางวาละ 1.2 ล้านบาท หรือเป็นเงินรวม 1,440 ล้านบาท ตามคำบอกเล่าของ ม.ร.ว.รุจีสมร ที่ดินแปลงนี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของหลานแล้ว (
http://bit.ly/2i3Wm75)
ท่านให้เหตุผลที่ไม่ขายเพราะเด็กๆ จะไม่มีที่เรียนหนังสือ แต่การที่เด็กนักเรียนลดลงจำนวนนับพันๆ คนเหลือเพียง 500 คนนั้น แสดงว่า ความต้องการสถานศึกษาน้อยลง ในบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนก็เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยราคาแพงของผู้มีรายได้สูงที่คงไม่ส่งบุตรหลานมาเรียนที่นี่ และในบริเวณใกล้เคียงก็ยังมีโรงเรียนเอกชนในเชิงอุดมการณ์แห่งอื่นๆ ที่คิดค่าเล่าเรียนถูกๆ เช่นเดียวกับโรงเรียนวรรณวิทย์ หรือหลายแห่งก็ไม่เสียเลยค่าเทอมเลยเพราะเป็นโรงเรียนของรัฐบาล และอยู่ใกล้ย่านชุมชนของเขาเอง โดยไม่ต้องเดินทางมาถึงโรงเรียนวรรณวิทย์ เช่น
1. โรงเรียนคลองเตยวิทยา ถนนพระราม 4 คลองเตย
2. โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา ชุมชนล็อค 4-5-6 คลองเตย
3. โรงเรียนไทยประสิทธิ์ศาสตร์ ถนนสุนทรโกษา คลองเตย
4. โรงเรียนปลูกจิต ลุมพินี ปทุมวัน
5. โรงเรียนมักกะสันพิทยา ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ ราชเทวี
6. โรงเรียนวัดคลองเตย ห้าแยก ณ ระนอง คลองเตย
7. โรงเรียนวัดดิสหงสาราม ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ ราชเทวี
8. โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ถ.พระราม 1 ปทุวัน
9. โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ ถนนอาจณรงค์ คลองเตย
10. โรงเรียนสวนลุมพินี ถ.วิทยุ ปทุมวัน
11. โรงเรียนสวัสดีวิทยา ถนนสุขุมวิท ซอย 31 วัฒนา
12. โรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์ ถนนอาจณรงค์ คลองเตย
13. โรงเรียนสิงฟ้า ซอยสุขุมวิท 26 คลองเตย
อย่างไรก็ตามเพื่อตอบสนองปณิธานของท่านครู ม.ร.ว.รุจีสมร โรงเรียนก็อาจคงสภาพเช่นนี้ไว้จนตลอดชั่วอายุของท่าน ซึ่งคงนานพอสมควรเพราะท่านก็ยังมีสุขภาพแข็งแรงดี (ดร.โสภณ อาจ 'ไปก่อน' ก็ได้!?!) แต่ในอนาคตแม้ทางราชการจะช่วยซ่อมแซมโรงเรียนให้ หรือกระทั่งสร้างใหม่ ก็ถือว่าใช้เงินไม่คุ้มค่า และยังมีทรัพยากรจัดการศึกษาไม่เพียงพอ และหากทางโรงเรียนต้องการส่งเสริมการศึกษาแก่สังคมอย่างมีนัยสำคัญ ก็ควรดำเนินการคือการพัฒนาที่ดินโรงเรียนแห่งนี้ใหม่
ทางเลือกหนึ่งก็คือการก่อสร้างอาคารใหม่ โดย
1. ที่ดินแปลงนี้มีขนาด 3 ไร่ (ตามข่าว) หรือ 4,800 ตารางเมตร
2. หากพื้นที่ก่อสร้างคลุมดิน (Building Coverage Ratio) เป็น 75% หรือ 3,600 ตารางเมตร และในบริเวณนั้นสามารถก่อสร้างได้ไม่เกิน 23 เมตร หรือาคาร 8 ชั้น ก็จะสามารถสร้างอาคารได้ 28,800 ตารางเมตร
3. หากมีค่าก่อสร้างตารางเมตรละ 20,000 บาท (
http://bit.ly/1NYCpdF) ค่าก่อสร้างก็รวมเป็นเงิน 576 ล้านบาท
4. ในการแบ่งพื้นที่ พื้นที่ชั้น 7-8 สามารถใช้เพื่อการศึกษา ดาดฟ้าก็ใช้ดั่งลานกิจกรรมของนักเรียน พื้นที่ส่วนที่เหลือ ชั้น 3-6 ก็ปล่อยเช่าชดเชยค่าก่อสร้างอาคารและยังมีรายได้เข้ามาบำรุงการศึกษาหรือไปบำเพ็ญประโยชน์ในพื้นที่อื่น ส่วนชั้น 1-2 อาจเป็นที่จอดรถหรือบริการอื่น
หากดำเนินการตามนี้ ก็จะสามารถบริหารทางการเงินให้กิจการโรงเรียนดำรงต่อไปอย่างยั่งยืน โรงเรียนก็จะมีอิสรภาพทางการเงิน และหากในอนาคตจำนวนนักเรียนยังลดลงต่อเนื่องจนไม่มีนักเรียนเพียงพอแล้ว ก็อาจเปลี่ยนเป็นการให้เช่าอาคาร เพื่อนำรายได้ไปจัดการศึกษาในแหล่งชุมชนยากจนหรือในชนบทในนามมูลนิธิของท่าน ม.ร.ว.รุจีสมร เพื่อเชิดชูเกียรติคุณของท่านด้วยทรัพยากรที่ท่านรักษาไว้นั่นเอง
ทำแบบนี้จะทำให้ท่าน ม.ร.ว.รุจีสมร เป็นอมตะในการสนับสนุนการศึกษาไทยแก่เด็กๆ ผู้ยากไร้
ที่มา:
http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1830.htm
ทำอย่างไรให้โรงเรียนวรรณวิทย์ยั่งยืน
เช้าปลายเดือนมกราคม 2560 ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้ไปกราบ ม.ร.ว.รุจีสมร สุขสวัสดิ์ ท่านผู้อำนวยการและผู้จัดการโรงเรียนวรรณวิทย์ (http://bit.ly/2jeYNn0) เพราะทราบว่าโรงเรียนแห่งนี้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ท่านหวังจะทำโรงเรียนนี้เพื่อบุตรหลานของประชาชนคนเล็กคนน้อย
ม.ร.ว.รุจีสมร ท่านเคยบอกว่าที่ดินแปลงนี้มีขนาด 3 ไร่ มีผู้มาขอซื้อเป็นเงิน 1,000 ล้านบาท ท่านก็ไม่ขาย (http://bit.ly/2j0SWE7) ตั้งใจจะทำเป็นโรงเรียนเช่นนี้ตลอดไป ดร.โสภณ ไปพบท่านวันนั้น ท่านก็บอกว่า ถ้าท่านไม่อยู่แล้ว ก็ยังมีคนดำเนินการต่อไป ดร.โสภณ ประมาณการในเบื้องต้นจากผลการสำรวจราคาที่ดินในบริเวณใกล้เคียงและทั่วกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน พบว่า ราคาที่ดินแปลงนี้น่าจะมีราคาตารางวาละ 1.2 ล้านบาท หรือเป็นเงินรวม 1,440 ล้านบาท ตามคำบอกเล่าของ ม.ร.ว.รุจีสมร ที่ดินแปลงนี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของหลานแล้ว (http://bit.ly/2i3Wm75)
ท่านให้เหตุผลที่ไม่ขายเพราะเด็กๆ จะไม่มีที่เรียนหนังสือ แต่การที่เด็กนักเรียนลดลงจำนวนนับพันๆ คนเหลือเพียง 500 คนนั้น แสดงว่า ความต้องการสถานศึกษาน้อยลง ในบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนก็เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยราคาแพงของผู้มีรายได้สูงที่คงไม่ส่งบุตรหลานมาเรียนที่นี่ และในบริเวณใกล้เคียงก็ยังมีโรงเรียนเอกชนในเชิงอุดมการณ์แห่งอื่นๆ ที่คิดค่าเล่าเรียนถูกๆ เช่นเดียวกับโรงเรียนวรรณวิทย์ หรือหลายแห่งก็ไม่เสียเลยค่าเทอมเลยเพราะเป็นโรงเรียนของรัฐบาล และอยู่ใกล้ย่านชุมชนของเขาเอง โดยไม่ต้องเดินทางมาถึงโรงเรียนวรรณวิทย์ เช่น
1. โรงเรียนคลองเตยวิทยา ถนนพระราม 4 คลองเตย
2. โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา ชุมชนล็อค 4-5-6 คลองเตย
3. โรงเรียนไทยประสิทธิ์ศาสตร์ ถนนสุนทรโกษา คลองเตย
4. โรงเรียนปลูกจิต ลุมพินี ปทุมวัน
5. โรงเรียนมักกะสันพิทยา ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ ราชเทวี
6. โรงเรียนวัดคลองเตย ห้าแยก ณ ระนอง คลองเตย
7. โรงเรียนวัดดิสหงสาราม ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ ราชเทวี
8. โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ถ.พระราม 1 ปทุวัน
9. โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ ถนนอาจณรงค์ คลองเตย
10. โรงเรียนสวนลุมพินี ถ.วิทยุ ปทุมวัน
11. โรงเรียนสวัสดีวิทยา ถนนสุขุมวิท ซอย 31 วัฒนา
12. โรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์ ถนนอาจณรงค์ คลองเตย
13. โรงเรียนสิงฟ้า ซอยสุขุมวิท 26 คลองเตย
อย่างไรก็ตามเพื่อตอบสนองปณิธานของท่านครู ม.ร.ว.รุจีสมร โรงเรียนก็อาจคงสภาพเช่นนี้ไว้จนตลอดชั่วอายุของท่าน ซึ่งคงนานพอสมควรเพราะท่านก็ยังมีสุขภาพแข็งแรงดี (ดร.โสภณ อาจ 'ไปก่อน' ก็ได้!?!) แต่ในอนาคตแม้ทางราชการจะช่วยซ่อมแซมโรงเรียนให้ หรือกระทั่งสร้างใหม่ ก็ถือว่าใช้เงินไม่คุ้มค่า และยังมีทรัพยากรจัดการศึกษาไม่เพียงพอ และหากทางโรงเรียนต้องการส่งเสริมการศึกษาแก่สังคมอย่างมีนัยสำคัญ ก็ควรดำเนินการคือการพัฒนาที่ดินโรงเรียนแห่งนี้ใหม่
ทางเลือกหนึ่งก็คือการก่อสร้างอาคารใหม่ โดย
1. ที่ดินแปลงนี้มีขนาด 3 ไร่ (ตามข่าว) หรือ 4,800 ตารางเมตร
2. หากพื้นที่ก่อสร้างคลุมดิน (Building Coverage Ratio) เป็น 75% หรือ 3,600 ตารางเมตร และในบริเวณนั้นสามารถก่อสร้างได้ไม่เกิน 23 เมตร หรือาคาร 8 ชั้น ก็จะสามารถสร้างอาคารได้ 28,800 ตารางเมตร
3. หากมีค่าก่อสร้างตารางเมตรละ 20,000 บาท (http://bit.ly/1NYCpdF) ค่าก่อสร้างก็รวมเป็นเงิน 576 ล้านบาท
4. ในการแบ่งพื้นที่ พื้นที่ชั้น 7-8 สามารถใช้เพื่อการศึกษา ดาดฟ้าก็ใช้ดั่งลานกิจกรรมของนักเรียน พื้นที่ส่วนที่เหลือ ชั้น 3-6 ก็ปล่อยเช่าชดเชยค่าก่อสร้างอาคารและยังมีรายได้เข้ามาบำรุงการศึกษาหรือไปบำเพ็ญประโยชน์ในพื้นที่อื่น ส่วนชั้น 1-2 อาจเป็นที่จอดรถหรือบริการอื่น
หากดำเนินการตามนี้ ก็จะสามารถบริหารทางการเงินให้กิจการโรงเรียนดำรงต่อไปอย่างยั่งยืน โรงเรียนก็จะมีอิสรภาพทางการเงิน และหากในอนาคตจำนวนนักเรียนยังลดลงต่อเนื่องจนไม่มีนักเรียนเพียงพอแล้ว ก็อาจเปลี่ยนเป็นการให้เช่าอาคาร เพื่อนำรายได้ไปจัดการศึกษาในแหล่งชุมชนยากจนหรือในชนบทในนามมูลนิธิของท่าน ม.ร.ว.รุจีสมร เพื่อเชิดชูเกียรติคุณของท่านด้วยทรัพยากรที่ท่านรักษาไว้นั่นเอง
ทำแบบนี้จะทำให้ท่าน ม.ร.ว.รุจีสมร เป็นอมตะในการสนับสนุนการศึกษาไทยแก่เด็กๆ ผู้ยากไร้
ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1830.htm