“ม.ร.ว.รุจีสมร สุขสวัสดิ์” ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ของโรงเรียนวรรณวิทย์ เมื่อปี ๒๔๙๗ เป็นโรงเรียนไม้เล็ก ๆ ที่แวดล้อมไปด้วยหมู่ตึกสูงราคาแพง ในสุขุมวิท ซอย ๘
หัวเรือใหญ่วัย ๑๐๑ ปี ที่ใช้แรงศรัทธาสานต่อ “โรงเรียนวรรณวิทย์” ถึงแม้โรงเรียนต้องประสบปัญหาขาดทุนมาตลอด แต่ก็ไม่เคยคิดตกลงใจยอมรับการเสนอซื้อจากนักลงทุนที่หมายตาทำเลทองแห่งนี้แม้แต่ครั้งเดียว แม้ว่าที่ดินเล็ก ๆ ผืนนี้จะมูลค่านับ ๑,๐๐๐ ล้านบาทก็ตาม
“ม.ร.ว.รุจีสมร สุขสวัสดิ์” เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๔๖๓ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงในบ้านหลังเล็ก ๆ รั้วเดียวกันกับโรงเรียน ไม่แปลกที่ครูใหญ่จะพูดอยู่เสมอว่า “...วรรณวิทย์เป็นที่ของแม่ โรงเรียนของแม่ และบ้านของแม่...” บ้านหลังนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นบ้านไทยยกพื้นเตี้ย ๆ สร้างจากไม้ทั้งหลัง มีหน้าต่างรอบบ้าน ช่วยให้รับลมเย็นสบาย
โรงเรียนวรรณวิทย์ ก่อตั้งโดยหม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๘๙ ต่อมาหม่อมผิว มีอายุมากขึ้น จึงให้ธิดาคนเล็กคือ “ม.ร.ว.รุจีสมร สุขสวัสดิ์” เป็นผู้จัดการ และครูใหญ่แทน โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๙๗
ปัจจุบัน โรงเรียนมีพื้นที่ขนาด ๓ ไร่ อาคารเรียนเป็นอาคารไม้สองชั้น มีนักเรียนประมาณ ๕๐๐ คน ทางโรงเรียนคิดค่าเทอมเพียงเทอมละ ๑,๖๐๐ บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าถูกมาก เนื่องจากนักเรียนส่วนมากเป็นบุตรหลานของผู้ที่มีรายได้น้อยในละแวกนี้ แม้จะมีผู้ขอซื้อที่ดินไปสร้างเป็นโรงแรมและคอนโดมิเนียมโดยให้ราคาสูงถึงพันล้านบาท แต่ทาง “ม.ร.ว.รุจีสมร สุขสวัสดิ์” ซึ่งเป็นผู้บริหารยืนยันที่จะไม่ขาย ด้วยต้องการจะให้เป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ต่อไป
ครูเก่าแก่หลาย ๆ คนของ “โรงเรียนวรรณวิทย์” เล่ากันว่า ครูใหญ่รักแม่มากเหลือเกิน สิ่งที่พิสูจน์คำบอกเล่านี้ได้ดีที่สุดก็คือ ครูใหญ่ยังคงเก็บเตียงพยาบาลหลังเก่าที่รับใช้บั้นปลายของชีวิตของหม่อมผิวเอาไว้ในบ้าน แต่นั่นก็ยังไม่เท่ากับน้ำตาคลอ ๆ เต็มสองนัยน์ตาเมื่อเล่าเรื่องเก่าๆ ของแม่ เนื่องจากหม่อมผิวหาเลี้ยงชีพจากการเขียนหนังสือ นำเงินที่ได้มาเลี้ยงดูลูกสาวตั้งแต่ยังเล็ก ทั้งยังเก็บเงินซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียน เป็นต้นแบบของหญิงนักสู้ที่ยืนหยัดเพื่ออุดมการณ์อย่างแท้จริง
จากคำบอกเล่าของครูคนอื่น ๆ จะเห็นว่าครูใหญ่เป็นมากกว่าผู้สอนหนังสือ เพราะเป็นผู้ให้โอกาส ให้ชีวิตใหม่กับคนอีกหลาย ๆ คน ถึงจะไม่แน่ใจนักว่าจะมีคนแบบครูใหญ่อีกกี่คนในโลกใบนี้ แต่สิ่งที่มั่นใจได้ก็คือ เมล็ดพันธุ์แห่งความดีของครูใหญ่จะเติบโตและหยั่งรากลึกในหัวใจของคนอีกหลายคนอย่างแน่นอน
สุดท้าย “โรงเรียนวรรณวิทย์” ได้แจ้งข่าวการปิดตัวของโรงเรียน ที่ก่อตั้งมาเป็นเวลา ๗๕ ปี โดยจะยุติการสอนในภาคเรียนนี้ และจะมีการจัดงาน "สิ้นเสียงระฆังวรรณวิทย์" ในวันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ นี้ เพื่อให้บรรดาศิษย์เก่าได้มารวมตัวแสดงกตัญญุตาต่อโรงเรียน คณะครู และจะพร้อมใจกันลั่นระฆังปิดโรงเรียนเป็นครั้งสุดท้าย
ขอขอบพระคุณ
เพจโบราณนานมา
ปิดตำนาน ๗๖ ปี “โรงเรียนวรรณวิทย์”
หัวเรือใหญ่วัย ๑๐๑ ปี ที่ใช้แรงศรัทธาสานต่อ “โรงเรียนวรรณวิทย์” ถึงแม้โรงเรียนต้องประสบปัญหาขาดทุนมาตลอด แต่ก็ไม่เคยคิดตกลงใจยอมรับการเสนอซื้อจากนักลงทุนที่หมายตาทำเลทองแห่งนี้แม้แต่ครั้งเดียว แม้ว่าที่ดินเล็ก ๆ ผืนนี้จะมูลค่านับ ๑,๐๐๐ ล้านบาทก็ตาม
“ม.ร.ว.รุจีสมร สุขสวัสดิ์” เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๔๖๓ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงในบ้านหลังเล็ก ๆ รั้วเดียวกันกับโรงเรียน ไม่แปลกที่ครูใหญ่จะพูดอยู่เสมอว่า “...วรรณวิทย์เป็นที่ของแม่ โรงเรียนของแม่ และบ้านของแม่...” บ้านหลังนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นบ้านไทยยกพื้นเตี้ย ๆ สร้างจากไม้ทั้งหลัง มีหน้าต่างรอบบ้าน ช่วยให้รับลมเย็นสบาย
โรงเรียนวรรณวิทย์ ก่อตั้งโดยหม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๘๙ ต่อมาหม่อมผิว มีอายุมากขึ้น จึงให้ธิดาคนเล็กคือ “ม.ร.ว.รุจีสมร สุขสวัสดิ์” เป็นผู้จัดการ และครูใหญ่แทน โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๙๗
ปัจจุบัน โรงเรียนมีพื้นที่ขนาด ๓ ไร่ อาคารเรียนเป็นอาคารไม้สองชั้น มีนักเรียนประมาณ ๕๐๐ คน ทางโรงเรียนคิดค่าเทอมเพียงเทอมละ ๑,๖๐๐ บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าถูกมาก เนื่องจากนักเรียนส่วนมากเป็นบุตรหลานของผู้ที่มีรายได้น้อยในละแวกนี้ แม้จะมีผู้ขอซื้อที่ดินไปสร้างเป็นโรงแรมและคอนโดมิเนียมโดยให้ราคาสูงถึงพันล้านบาท แต่ทาง “ม.ร.ว.รุจีสมร สุขสวัสดิ์” ซึ่งเป็นผู้บริหารยืนยันที่จะไม่ขาย ด้วยต้องการจะให้เป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ต่อไป
ครูเก่าแก่หลาย ๆ คนของ “โรงเรียนวรรณวิทย์” เล่ากันว่า ครูใหญ่รักแม่มากเหลือเกิน สิ่งที่พิสูจน์คำบอกเล่านี้ได้ดีที่สุดก็คือ ครูใหญ่ยังคงเก็บเตียงพยาบาลหลังเก่าที่รับใช้บั้นปลายของชีวิตของหม่อมผิวเอาไว้ในบ้าน แต่นั่นก็ยังไม่เท่ากับน้ำตาคลอ ๆ เต็มสองนัยน์ตาเมื่อเล่าเรื่องเก่าๆ ของแม่ เนื่องจากหม่อมผิวหาเลี้ยงชีพจากการเขียนหนังสือ นำเงินที่ได้มาเลี้ยงดูลูกสาวตั้งแต่ยังเล็ก ทั้งยังเก็บเงินซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียน เป็นต้นแบบของหญิงนักสู้ที่ยืนหยัดเพื่ออุดมการณ์อย่างแท้จริง
จากคำบอกเล่าของครูคนอื่น ๆ จะเห็นว่าครูใหญ่เป็นมากกว่าผู้สอนหนังสือ เพราะเป็นผู้ให้โอกาส ให้ชีวิตใหม่กับคนอีกหลาย ๆ คน ถึงจะไม่แน่ใจนักว่าจะมีคนแบบครูใหญ่อีกกี่คนในโลกใบนี้ แต่สิ่งที่มั่นใจได้ก็คือ เมล็ดพันธุ์แห่งความดีของครูใหญ่จะเติบโตและหยั่งรากลึกในหัวใจของคนอีกหลายคนอย่างแน่นอน
สุดท้าย “โรงเรียนวรรณวิทย์” ได้แจ้งข่าวการปิดตัวของโรงเรียน ที่ก่อตั้งมาเป็นเวลา ๗๕ ปี โดยจะยุติการสอนในภาคเรียนนี้ และจะมีการจัดงาน "สิ้นเสียงระฆังวรรณวิทย์" ในวันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ นี้ เพื่อให้บรรดาศิษย์เก่าได้มารวมตัวแสดงกตัญญุตาต่อโรงเรียน คณะครู และจะพร้อมใจกันลั่นระฆังปิดโรงเรียนเป็นครั้งสุดท้าย
ขอขอบพระคุณเพจโบราณนานมา