ฟันจัดเป็นอวัยวะสำคัญของมนุษย์ในการใช้ฉีกหรือกัดอาหารรวมถึงเคี้ยวอาหารที่อยู่ในปาก ถ้าหากไม่มีฟันมนุษย์คงลำบากเนื่องจากไม่มีอวัยวะที่จะใช้ในการเคี้ยว ในยุคปัจจุบันเรามีการแพทย์ที่เจริญแล้วจึงสามารถทำรากเทียมและทำครอบฟันได้ แต่ในยุคก่อนเคยสงสัยกันไหมว่าถ้าหากว่าฟันผุจนแตกออกหรือต้องถอนออกแล้ว คนในยุคโบราณเขาทำยังไงกัน คำตอบก็คือการใส่ฟันปลอมนั่นเองพูดแล้วอาจไม่น่าเชื่อว่าการใส่ฟันปลอมรวมถึงอาชีพทันตแพทย์นั้นมีมานานหลายพันปีแล้ว
การใส่ฟันปลอมมีมานับพันปีก่อนคริสตกาลแล้วในหลากหลายอารยธรรม ชาวจีนรู้จักการสร้างฟันปลอมและใส่ฟันปลอมมาตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนเลยทีเดียว โดยชาวจีนสร้างฟันปลอมจากไม้ไผ่โดยทำให้เป็นรูปฟันแบบหยาบๆ และมีเดือย โดยนำเดือยเสียบเข้าไปในเหงือกเพื่อยึดติดก็จะได้ฟันปลอมแทนฟันที่เสียไปแล้ว ส่วนชาวอียิปต์เองรู้จักการสร้างและใส่ฟันปลอมมาเป็นเวลาถึง 4,000 ปีเช่นกัน โดยมีการค้นพบฟันปลอมในมัมมี่ของอียิปต์ซึ่งเป็นชนชั้นสูงของอียิปต์ในหลายๆ ร่าง ซึ่งส่วนใหญ่ทำด้วยงาช้างโดยนักประวัติศาสตร์ในยุคหลัง โดยบางร่างมีอายุถึง 4,000 ปี ฟันปลอมของอียิปต์ในยุคแรกยังพัฒนาไม่มากนักโดยมักใช้วัสดุที่หาง่ายและจะเจาะรูที่ฟันปลอมและใช้โลหะที่เป็นเส้นร้อยเป็นห่วงและทำห่วงร้อยยึดเข้ากับฟันซี่อื่นๆ ที่ยังดีอยู่คล้ายกับเทคนิคการทำสะพานฟันทางการแพทย์ในยุคปัจจุบัน ต่อมาในยุคหลังประมาณกว่า 2,000 ปีก่อน ชาวอียิปต์ก็เริ่มรู้จักสร้างและสวมใส่ฟันปลอมที่ทำด้วยโลหะมีค่า
ชาวโรมันเองก็รู้จักการใส่ฟันปลอมเช่นกัน โดยชาวโรมันรู้จักการใส่ฟันปลอมโลหะและเหล็กมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว โดยเชื่อว่ารับวิทยาการนี้มาจากอียิปต์ โดยชาวโรมันมีแพทย์ที่ทำการใส่ฟันปลอมหรือทันตแพทย์โดยเฉพาะซึ่งจัดว่าเป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์อย่างหนึ่ง โดยได้มีการขุดค้นพบฟันปลอมในโครงกระดูกของผู้หญิงคนหนึ่งในฝรั่งเศสซึ่งมีอายุถึง 2,300 ปี ซึ่งเป็นยุคที่อาณาจักรโรมันกำลังรุ่งเรืองในแถบตะวันตก ซึ่งจัดเป็นโครงกระดูกใส่ฟันปลอมที่เก่าแก่ที่สุดร่างหนึ่งของยุโรป และยังเคยค้นพบศพของผู้ชายที่ใส่ฟันปลอมในฝรั่งเศสในยุคที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน นอกจากนั้นยังพบโครงกระดูกที่เชื่อว่าเป็นโครงกระดูกของทหารโรมันที่ใส่ฟันปลอมอีกด้วย
ถึงแม้ว่าชาวโรมันจะไม่ใช่ชนชาติแรกที่รู้จักการสร้างและสวมใส่ฟันปลอม แต่ก็ปรากฏว่าชาวโรมันเองก็มีวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าถึงขนาดสร้างและสวมใส่ฟันปลอมซึ่งเป็นเหล็กเช่นชาวอียิปต์แล้วเช่นกัน ดังนั้นเมื่อมันจัดเป็นวิทยาการทางการแพทย์อย่างหนึ่งซึ่งชาวโรมันใช้แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้คิดค้นขึ้นเป็นชนชาติแรกก็ตาม ผู้เขียนจึงขอยกมากล่าวใน ณ ที่นี้ด้วย
ฟันปลอมเหล็กและการทำสะพานฟัน สมัยโรมัน (Iron-Tooth Implant & tooth bridge)
การใส่ฟันปลอมมีมานับพันปีก่อนคริสตกาลแล้วในหลากหลายอารยธรรม ชาวจีนรู้จักการสร้างฟันปลอมและใส่ฟันปลอมมาตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนเลยทีเดียว โดยชาวจีนสร้างฟันปลอมจากไม้ไผ่โดยทำให้เป็นรูปฟันแบบหยาบๆ และมีเดือย โดยนำเดือยเสียบเข้าไปในเหงือกเพื่อยึดติดก็จะได้ฟันปลอมแทนฟันที่เสียไปแล้ว ส่วนชาวอียิปต์เองรู้จักการสร้างและใส่ฟันปลอมมาเป็นเวลาถึง 4,000 ปีเช่นกัน โดยมีการค้นพบฟันปลอมในมัมมี่ของอียิปต์ซึ่งเป็นชนชั้นสูงของอียิปต์ในหลายๆ ร่าง ซึ่งส่วนใหญ่ทำด้วยงาช้างโดยนักประวัติศาสตร์ในยุคหลัง โดยบางร่างมีอายุถึง 4,000 ปี ฟันปลอมของอียิปต์ในยุคแรกยังพัฒนาไม่มากนักโดยมักใช้วัสดุที่หาง่ายและจะเจาะรูที่ฟันปลอมและใช้โลหะที่เป็นเส้นร้อยเป็นห่วงและทำห่วงร้อยยึดเข้ากับฟันซี่อื่นๆ ที่ยังดีอยู่คล้ายกับเทคนิคการทำสะพานฟันทางการแพทย์ในยุคปัจจุบัน ต่อมาในยุคหลังประมาณกว่า 2,000 ปีก่อน ชาวอียิปต์ก็เริ่มรู้จักสร้างและสวมใส่ฟันปลอมที่ทำด้วยโลหะมีค่า
ชาวโรมันเองก็รู้จักการใส่ฟันปลอมเช่นกัน โดยชาวโรมันรู้จักการใส่ฟันปลอมโลหะและเหล็กมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว โดยเชื่อว่ารับวิทยาการนี้มาจากอียิปต์ โดยชาวโรมันมีแพทย์ที่ทำการใส่ฟันปลอมหรือทันตแพทย์โดยเฉพาะซึ่งจัดว่าเป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์อย่างหนึ่ง โดยได้มีการขุดค้นพบฟันปลอมในโครงกระดูกของผู้หญิงคนหนึ่งในฝรั่งเศสซึ่งมีอายุถึง 2,300 ปี ซึ่งเป็นยุคที่อาณาจักรโรมันกำลังรุ่งเรืองในแถบตะวันตก ซึ่งจัดเป็นโครงกระดูกใส่ฟันปลอมที่เก่าแก่ที่สุดร่างหนึ่งของยุโรป และยังเคยค้นพบศพของผู้ชายที่ใส่ฟันปลอมในฝรั่งเศสในยุคที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน นอกจากนั้นยังพบโครงกระดูกที่เชื่อว่าเป็นโครงกระดูกของทหารโรมันที่ใส่ฟันปลอมอีกด้วย
ถึงแม้ว่าชาวโรมันจะไม่ใช่ชนชาติแรกที่รู้จักการสร้างและสวมใส่ฟันปลอม แต่ก็ปรากฏว่าชาวโรมันเองก็มีวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าถึงขนาดสร้างและสวมใส่ฟันปลอมซึ่งเป็นเหล็กเช่นชาวอียิปต์แล้วเช่นกัน ดังนั้นเมื่อมันจัดเป็นวิทยาการทางการแพทย์อย่างหนึ่งซึ่งชาวโรมันใช้แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้คิดค้นขึ้นเป็นชนชาติแรกก็ตาม ผู้เขียนจึงขอยกมากล่าวใน ณ ที่นี้ด้วย