ห่างหายไปนานมากกกกก กับกระทู้รีวิวอุปกรณ์เน็ตเวิร์คในพันทิปนะครับ แบบว่างานยุ่งประกอบกับยังไม่ค่อยมีของเล่นอะไรใหม่ๆที่จะมาเพิ่มความสะดวกสบายในชีวิตให้มากขึ้น
แต่เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาหลังปีใหม่ ได้งานติดตั้งระบบเน็ตไร้สายให้สำนักงานแห่งนึง ก็เลยได้ลองเล่นอยู่สองตัว ตัวนึงเป็นรุ่น ASUS PCE-AC88 Dual-Band AC3100 เป็นตัวรับสัญญาณ WiFi สำหรับติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น และอีกตัวนึงก็คือ ASUS USB Wi-Fi รุ่น USB-AC68 Wireless AC1900(กล่องด้านขวามือ) ใช้ได้กับทั้งคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊ค ซึ่งผมจะรีวิวให้ชมกันก่อนครับ
ASUS USB-AC68 ตัวนี้ผมซื้อมาใช้เองแล้วก็ค่อนข้างถูกใจในประสิทธิภาพของมัน กับราคากลางๆ หลายคนอาจจะรู้มาบ้างว่าคลื่น
Wi-Fi 5GHz นั้น ระยะทางการรับ-ส่งสัญญาณมันค่อนข้างใกล้เอามากๆเมื่อเทียบกับคลื่น 2.4GHz แถมไม่ค่อยจะทะลุทะลวงพวกผนังปูนซักเท่าไร และถึงแม้ตัวเราเตอร์จะส่งสัญญาณไปแรงแค่ไหน แต่ตัวรับสัญญาณห่วยก็มักจะรับสัญญาณไม่ได้เช่นกัน แต่ตัวนี้รับสัญญาณได้ดีเลยครับ
พระเอกของเราในวันนี้ครับ ASUS USB-AC68 Wireless AC1900 หน้าตาออกไปในแนว Gaming นิดๆ สีดำตัดแดง มาพร้อมสเปค Wi-Fi AC1900 โดยแบ่งออกเป็นคลื่น 2.4GHz ที่ 600Mbps และคลื่น 5GHz ที่ 1.3Gbps แบนด์วิดกว้างกว่าต่อผ่านสาย LAN 1Gbps ซะอีก แต่นั่นก็เป็นเรื่องของทฤษฎีครับ ทดสอบจริงต้องบอกว่ายากมากที่มันจะวิ่งได้เต็มสปีดขนาดนี้ เนื่องจากระยะทาง สิ่งกีดขวาง รวมถึงคลื่นรบกวน มีผลมากกับการส่งผ่านข้อมูลไปในอากาศ รวมถึงตัวเราเตอร์ต้องดีด้วย
รองรับพอร์ทเชื่อมต่อ USB 3.0 ครับ แนะนำว่าควรต่อผ่าน USB 3.0 จะเร็วกว่า USB 2.0 พอสมควรเลย
รองรับเทคโนโลยี MIMO 3X4 และ ASUS AiRadar ด้วย อันนี้คือข้อแตกต่างจาก USB Wi-Fi รุ่นอื่นในท้องตลาดที่เป็นรุ่นเริ่มต้นครับ อาจจะรองรับ 5GHz เหมือนกัน แต่ระยะทางการรับส่งข้อมูล ความเสถียรในการใช้งานแตกต่างกันแน่นอน
ASUS USB-AC68 ตัวนี้รองรับ Windows 10 ด้วยนะครับ จากที่ได้ทดสอบไล่ตั้งแต่ Windows 7 , 8.1 และ 10 มีแต่ Windows 10 เท่านั้นที่ไม่ต้องลงไดรเวอร์เพิ่ม ส่วน Windows รุ่นที่เก่ากว่านี้ต้องลงไดรเวอร์ครับ น่าเสียดายที่ไม่เป็น Plug-in-Play แต่ในกล่องก็มีแผ่นไดรเวอร์มาให้ครับไม่ต้องห่วง
เจ้า USB-AC68 ตัวนี้จะมาพร้อมกับวัสดุพลาสติกสีดำเงาทั้งชิ้นตัดกับเส้นสีแดง ขนาดค่อนข้างใหญ่พอสมควรเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆตามท้องตลาด
มีเสาสัญญาณเท่ๆกางออกมาได้ครับ
และถ้าใครเอาไปเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไม่ได้ต้องการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ ASUS เค้าก็จัดขาตั้งมาให้ด้วยครับ ประกอบเข้าด้วยกันแล้วหล่อเหลาใช้ได้เลย
ด้านหลังเงาๆ
บริเวณปีกมีการเขียนชื่อรุ่นเอาไว้ และในส่วนของช่องระบายความร้อนมีมาให้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ เนื่องจากเวลาใช้งานเท่าที่ลองจับในห้องอุณหภูมิปกติก็ร้อนนิดหน่อยแต่ไม่มีปัญหาเวลาใช้งาน
อันนี้ก็จบในส่วนของสเปคและก็รูปร่างหน้าตาไปแล้วนะครับ ต่อไปลองไปดูผลทดสอบการใช้งานจริงๆกันเลยดีกว่า
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ
1.เราเตอร์ ASUS RT-AC88U รองรับ AC3100
2.เราเตอร์ ASUS RT-AC68U รองรับ AC1900 เท่ากับสเปคของตัว USB-AC68
3.เครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้ง Windows 10 และ Windows 7
4.โน๊ตบุ๊ค DELL รองรับ Wi-Fi N 2.4GHz ไม่รองรับ 5GHz ติดตั้ง Windows 8.1
--------------------------------------------------------
ASUS USB-AC68 อยู่ห่างจากเราเตอร์ 1 ชั้น ------------------------------------------
อันนี้เราเตอร์ทั้ง ASUS RT-AC88U และ RT-AC68U อยู่ชั้นล่างลงไป 1 ชั้น ตีซะระยะห่างประมาณ 3.5 เมตรต่อชั้น มีเพดานปูนและโครงสร้างเหล็กกั้นอยู่ระหว่างชั้น ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊คอยู่ในห้องทำงานซึ่งเป็นห้องปิดครับ
เรามาลองกับโน๊ตบุ๊คกันก่อนครับ โดยโน๊ตบุ๊คเครื่องนี้ไม่รองรับ Wi-Fi 5GHz ดังนั้นผมจะลองทดสอบการรับสัญญาณ Wi-Fi 2.4GHz ให้ดูเปรียบเทียบกันก่อน
ในการทดสอบในครั้งนี้ชื่อ Wi-Fi ผมตั้งว่า VIRUS และ VIRUS_5G โดยผมจะทดสอบการเชื่อมต่อกับเราเตอร์ทั้ง ASUS RT-AC88U และ RT-AC68U เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ซึ่งจากที่ทดสอบให้ผลที่เหมือนกันอย่างกับแกะ เนื่องจากลิมิตของ ASUS USB-AC68 อยู่ที่ AC1900 เท่านั้น การจับคู่กับ RT-AC68U ก็เรียกได้ว่าพอดิบพอดีกันเลย
ถึงจะดูใหญ่ แต่เวลาเสียบแล้วท้องด้านล่างไม่โดนพื้นนะครับ ขนาดโน๊ตบุ๊คผมก็บางอยู่
ภาพด้านบนคือความแรงสัญญาณของตัวรับ Wi-Fi ในโน๊ตบุ๊ค DELL ครับ ซึ่งที่ติดมากับเครื่องก็ถือว่าใช้ได้ดีระดับนึง รองรับ Wi-Fi b/g/n ระยะห่าง 1 ชั้น กับคลื่น 2.4GHz ความแรงอยู่ที่ -46db บวกลบประมาณ 3db ครับ
ส่วนแบนด์วิดของมันอยู่ที่ 72.2Mbps อยู่ในระดับแค่พอใช้ได้ครับ แต่ถ้ามาเชื่อมต่อกับเน็ต Fiber เดี๋ยวนี้ก็คงต้องบอกว่ามันเล่นได้ไม่เต็มสปีด เพราะใช้งานจริงมันส่งผ่านข้อมูลได้ราวๆ 20-40 Mbps เท่านั้น โปรเน็ตใครเกิน 50Mbps ก็ใช้งานไม่คุ้มละ
รูปด้านบนคือผมลองทดสอบการก๊อปปี้ไฟล์หนังผ่าน Wi-Fi ไปใส่ในฮาร์ดดิสก์รุ่น WD My Passport Ultra ที่เสียบไว้กับตัวเราเตอร์ จะเห็นว่ามันวิ่งแค่ราวๆ 4.19MB/s หรือตกประมาณ 33 Mbps เท่านั้น แถมยังแกว่งไปแกว่งมาด้วยบางทีก็หล่นไปเหลือ 20Mbps กว่าๆก็มี อันนี้ผมทดสอบให้ดูก่อนเพื่อใช้ในการอ้างอิงความเร็วกับการทดสอบ ASUS USB-AC68 เนื่องจากสถานที่ใช้งานแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ
ในส่วนของความแรงในการรับสัญญาณบนคลื่น 2.4GHz ต้องบอกว่าธรรมดา แทบไม่ต่างจากตัว Wi-Fi ที่ติดมากับเครื่องซักเท่าไร โดยความแรงในการรับสัญญาณอยู่ที่ -46db
แต่ในส่วนของคลื่น 5GHz นั้นต้องบอกว่าดีเกินคาดครับ ความแรงสัญญาณแกว่งอยู่ที่ -38 ถึง -44db ลองเทียบกับมือถือ LG G4 ตามภาพด้านล่างนี่ลงไปแตะระดับ -55db เลยทีเดียว ซึ่งจากที่ลองเล่นมา ปกติตัว LG G4 นี่ก็รับสัญญาณ 5GHz ได้ดีพอๆกับ USB Wi-Fi 5GHz รุ่นเริ่มต้นในท้องตลาดครับ
จากนั้นผมลองเทสกับเครื่องคอมพิวเตอร์ดูบ้าง เครื่องนี้เป็น Windows 10 เลยไม่ต้องติดตั้งไดรเวอร์ เสียบปุ๊ปใช้งานได้ทันที
ความเร็วของคลื่น 2.4GHz ตามสเปคข้างกล่องเป็น N600 พอเชื่อมต่อแล้วใน Windows ระบุว่าได้ 289Mbps อันนี้ผมลองเชื่อมต่อกับเราเตอร์ทั้งสองตัวแล้วเช็คก็ยังได้ความเร็วที่เท่ากันครับ
ลองก๊อปปี้ไฟล์หนัง ความเร็วพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 12.3MB/s ตกราวๆ 100Mbps เพิ่มขึ้นจาก Wi-Fi ติดโน๊ตบุ๊คถึง 3 เท่า แต่ก็จะมีแกว่งๆบ้างระหว่าง 10 – 13MB/s ครับ ส่วนใหญ่อยู่โซนมากกว่า 12MB/s
ต่อไปผมเปลี่ยนมาเชื่อมต่อกับ Wi-Fi 5GHz แบนด์วิดมาเต็มๆที่ 1.3Gbps ครับ
ส่วนความเร็วการก๊อปปี้ข้อมูลอยู่ที่ 31-34MB/s ครับ ตกราวๆ 272Mbps หลายคนคงสงสัยว่าทำไมจาก 1.3Gbps เหลือแค่นี้เอง อย่างที่บอกไปตอนต้นครับว่าทฤษฎีกับปฏิบัติมันไม่เหมือนกัน ย้ำว่านี่คือความเร็วที่ห่างกัน 1 ชั้น และมีเพดานปูนกั้นอยู่นะครับ ยังไงซะลองเทียบดูกับความเร็วของ Wi-Fi DELL กับเจ้าตัวนี้ต่างกันเกือบ 9 เท่า และก็ยังแรงกว่าคลื่น 2.4GHz ของมันเองอยู่ราวๆ 3 เท่า
ส่วนการสตรีมมิ่งไฟล์หนัง Blu-ray ที่ไฟล์ขนาด 30-40GB ต้องบอกว่าจิ๊บๆเลยครับกับความเร็วขนาดนี้ เพราะบิตเรตหนังมันอยู่ที่ราวๆ 54Mbps เท่านั้น ยังเหลือเอาไว้ให้ใช้งานอย่างอื่นได้อีก
[CR] ลองเล่นตัวรับสัญญาณ wifi จาก ASUS รองรับคลื่น 5GHz สำหรับบ้านหลายชั้น หรืออยู่ไกลจากตัว WiFi router ครับ[ภาคแรก]
แต่เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาหลังปีใหม่ ได้งานติดตั้งระบบเน็ตไร้สายให้สำนักงานแห่งนึง ก็เลยได้ลองเล่นอยู่สองตัว ตัวนึงเป็นรุ่น ASUS PCE-AC88 Dual-Band AC3100 เป็นตัวรับสัญญาณ WiFi สำหรับติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น และอีกตัวนึงก็คือ ASUS USB Wi-Fi รุ่น USB-AC68 Wireless AC1900(กล่องด้านขวามือ) ใช้ได้กับทั้งคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊ค ซึ่งผมจะรีวิวให้ชมกันก่อนครับ
ASUS USB-AC68 ตัวนี้ผมซื้อมาใช้เองแล้วก็ค่อนข้างถูกใจในประสิทธิภาพของมัน กับราคากลางๆ หลายคนอาจจะรู้มาบ้างว่าคลื่น
Wi-Fi 5GHz นั้น ระยะทางการรับ-ส่งสัญญาณมันค่อนข้างใกล้เอามากๆเมื่อเทียบกับคลื่น 2.4GHz แถมไม่ค่อยจะทะลุทะลวงพวกผนังปูนซักเท่าไร และถึงแม้ตัวเราเตอร์จะส่งสัญญาณไปแรงแค่ไหน แต่ตัวรับสัญญาณห่วยก็มักจะรับสัญญาณไม่ได้เช่นกัน แต่ตัวนี้รับสัญญาณได้ดีเลยครับ
พระเอกของเราในวันนี้ครับ ASUS USB-AC68 Wireless AC1900 หน้าตาออกไปในแนว Gaming นิดๆ สีดำตัดแดง มาพร้อมสเปค Wi-Fi AC1900 โดยแบ่งออกเป็นคลื่น 2.4GHz ที่ 600Mbps และคลื่น 5GHz ที่ 1.3Gbps แบนด์วิดกว้างกว่าต่อผ่านสาย LAN 1Gbps ซะอีก แต่นั่นก็เป็นเรื่องของทฤษฎีครับ ทดสอบจริงต้องบอกว่ายากมากที่มันจะวิ่งได้เต็มสปีดขนาดนี้ เนื่องจากระยะทาง สิ่งกีดขวาง รวมถึงคลื่นรบกวน มีผลมากกับการส่งผ่านข้อมูลไปในอากาศ รวมถึงตัวเราเตอร์ต้องดีด้วย
รองรับพอร์ทเชื่อมต่อ USB 3.0 ครับ แนะนำว่าควรต่อผ่าน USB 3.0 จะเร็วกว่า USB 2.0 พอสมควรเลย
รองรับเทคโนโลยี MIMO 3X4 และ ASUS AiRadar ด้วย อันนี้คือข้อแตกต่างจาก USB Wi-Fi รุ่นอื่นในท้องตลาดที่เป็นรุ่นเริ่มต้นครับ อาจจะรองรับ 5GHz เหมือนกัน แต่ระยะทางการรับส่งข้อมูล ความเสถียรในการใช้งานแตกต่างกันแน่นอน
ASUS USB-AC68 ตัวนี้รองรับ Windows 10 ด้วยนะครับ จากที่ได้ทดสอบไล่ตั้งแต่ Windows 7 , 8.1 และ 10 มีแต่ Windows 10 เท่านั้นที่ไม่ต้องลงไดรเวอร์เพิ่ม ส่วน Windows รุ่นที่เก่ากว่านี้ต้องลงไดรเวอร์ครับ น่าเสียดายที่ไม่เป็น Plug-in-Play แต่ในกล่องก็มีแผ่นไดรเวอร์มาให้ครับไม่ต้องห่วง
เจ้า USB-AC68 ตัวนี้จะมาพร้อมกับวัสดุพลาสติกสีดำเงาทั้งชิ้นตัดกับเส้นสีแดง ขนาดค่อนข้างใหญ่พอสมควรเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆตามท้องตลาด
มีเสาสัญญาณเท่ๆกางออกมาได้ครับ
และถ้าใครเอาไปเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไม่ได้ต้องการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ ASUS เค้าก็จัดขาตั้งมาให้ด้วยครับ ประกอบเข้าด้วยกันแล้วหล่อเหลาใช้ได้เลย
ด้านหลังเงาๆ
บริเวณปีกมีการเขียนชื่อรุ่นเอาไว้ และในส่วนของช่องระบายความร้อนมีมาให้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ เนื่องจากเวลาใช้งานเท่าที่ลองจับในห้องอุณหภูมิปกติก็ร้อนนิดหน่อยแต่ไม่มีปัญหาเวลาใช้งาน
อันนี้ก็จบในส่วนของสเปคและก็รูปร่างหน้าตาไปแล้วนะครับ ต่อไปลองไปดูผลทดสอบการใช้งานจริงๆกันเลยดีกว่า
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ
1.เราเตอร์ ASUS RT-AC88U รองรับ AC3100
2.เราเตอร์ ASUS RT-AC68U รองรับ AC1900 เท่ากับสเปคของตัว USB-AC68
3.เครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้ง Windows 10 และ Windows 7
4.โน๊ตบุ๊ค DELL รองรับ Wi-Fi N 2.4GHz ไม่รองรับ 5GHz ติดตั้ง Windows 8.1
-------------------------------------------------------- ASUS USB-AC68 อยู่ห่างจากเราเตอร์ 1 ชั้น ------------------------------------------
อันนี้เราเตอร์ทั้ง ASUS RT-AC88U และ RT-AC68U อยู่ชั้นล่างลงไป 1 ชั้น ตีซะระยะห่างประมาณ 3.5 เมตรต่อชั้น มีเพดานปูนและโครงสร้างเหล็กกั้นอยู่ระหว่างชั้น ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊คอยู่ในห้องทำงานซึ่งเป็นห้องปิดครับ
เรามาลองกับโน๊ตบุ๊คกันก่อนครับ โดยโน๊ตบุ๊คเครื่องนี้ไม่รองรับ Wi-Fi 5GHz ดังนั้นผมจะลองทดสอบการรับสัญญาณ Wi-Fi 2.4GHz ให้ดูเปรียบเทียบกันก่อน
ในการทดสอบในครั้งนี้ชื่อ Wi-Fi ผมตั้งว่า VIRUS และ VIRUS_5G โดยผมจะทดสอบการเชื่อมต่อกับเราเตอร์ทั้ง ASUS RT-AC88U และ RT-AC68U เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ซึ่งจากที่ทดสอบให้ผลที่เหมือนกันอย่างกับแกะ เนื่องจากลิมิตของ ASUS USB-AC68 อยู่ที่ AC1900 เท่านั้น การจับคู่กับ RT-AC68U ก็เรียกได้ว่าพอดิบพอดีกันเลย
ถึงจะดูใหญ่ แต่เวลาเสียบแล้วท้องด้านล่างไม่โดนพื้นนะครับ ขนาดโน๊ตบุ๊คผมก็บางอยู่
ภาพด้านบนคือความแรงสัญญาณของตัวรับ Wi-Fi ในโน๊ตบุ๊ค DELL ครับ ซึ่งที่ติดมากับเครื่องก็ถือว่าใช้ได้ดีระดับนึง รองรับ Wi-Fi b/g/n ระยะห่าง 1 ชั้น กับคลื่น 2.4GHz ความแรงอยู่ที่ -46db บวกลบประมาณ 3db ครับ
ส่วนแบนด์วิดของมันอยู่ที่ 72.2Mbps อยู่ในระดับแค่พอใช้ได้ครับ แต่ถ้ามาเชื่อมต่อกับเน็ต Fiber เดี๋ยวนี้ก็คงต้องบอกว่ามันเล่นได้ไม่เต็มสปีด เพราะใช้งานจริงมันส่งผ่านข้อมูลได้ราวๆ 20-40 Mbps เท่านั้น โปรเน็ตใครเกิน 50Mbps ก็ใช้งานไม่คุ้มละ
รูปด้านบนคือผมลองทดสอบการก๊อปปี้ไฟล์หนังผ่าน Wi-Fi ไปใส่ในฮาร์ดดิสก์รุ่น WD My Passport Ultra ที่เสียบไว้กับตัวเราเตอร์ จะเห็นว่ามันวิ่งแค่ราวๆ 4.19MB/s หรือตกประมาณ 33 Mbps เท่านั้น แถมยังแกว่งไปแกว่งมาด้วยบางทีก็หล่นไปเหลือ 20Mbps กว่าๆก็มี อันนี้ผมทดสอบให้ดูก่อนเพื่อใช้ในการอ้างอิงความเร็วกับการทดสอบ ASUS USB-AC68 เนื่องจากสถานที่ใช้งานแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ
ในส่วนของความแรงในการรับสัญญาณบนคลื่น 2.4GHz ต้องบอกว่าธรรมดา แทบไม่ต่างจากตัว Wi-Fi ที่ติดมากับเครื่องซักเท่าไร โดยความแรงในการรับสัญญาณอยู่ที่ -46db
แต่ในส่วนของคลื่น 5GHz นั้นต้องบอกว่าดีเกินคาดครับ ความแรงสัญญาณแกว่งอยู่ที่ -38 ถึง -44db ลองเทียบกับมือถือ LG G4 ตามภาพด้านล่างนี่ลงไปแตะระดับ -55db เลยทีเดียว ซึ่งจากที่ลองเล่นมา ปกติตัว LG G4 นี่ก็รับสัญญาณ 5GHz ได้ดีพอๆกับ USB Wi-Fi 5GHz รุ่นเริ่มต้นในท้องตลาดครับ
จากนั้นผมลองเทสกับเครื่องคอมพิวเตอร์ดูบ้าง เครื่องนี้เป็น Windows 10 เลยไม่ต้องติดตั้งไดรเวอร์ เสียบปุ๊ปใช้งานได้ทันที
ความเร็วของคลื่น 2.4GHz ตามสเปคข้างกล่องเป็น N600 พอเชื่อมต่อแล้วใน Windows ระบุว่าได้ 289Mbps อันนี้ผมลองเชื่อมต่อกับเราเตอร์ทั้งสองตัวแล้วเช็คก็ยังได้ความเร็วที่เท่ากันครับ
ลองก๊อปปี้ไฟล์หนัง ความเร็วพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 12.3MB/s ตกราวๆ 100Mbps เพิ่มขึ้นจาก Wi-Fi ติดโน๊ตบุ๊คถึง 3 เท่า แต่ก็จะมีแกว่งๆบ้างระหว่าง 10 – 13MB/s ครับ ส่วนใหญ่อยู่โซนมากกว่า 12MB/s
ต่อไปผมเปลี่ยนมาเชื่อมต่อกับ Wi-Fi 5GHz แบนด์วิดมาเต็มๆที่ 1.3Gbps ครับ
ส่วนความเร็วการก๊อปปี้ข้อมูลอยู่ที่ 31-34MB/s ครับ ตกราวๆ 272Mbps หลายคนคงสงสัยว่าทำไมจาก 1.3Gbps เหลือแค่นี้เอง อย่างที่บอกไปตอนต้นครับว่าทฤษฎีกับปฏิบัติมันไม่เหมือนกัน ย้ำว่านี่คือความเร็วที่ห่างกัน 1 ชั้น และมีเพดานปูนกั้นอยู่นะครับ ยังไงซะลองเทียบดูกับความเร็วของ Wi-Fi DELL กับเจ้าตัวนี้ต่างกันเกือบ 9 เท่า และก็ยังแรงกว่าคลื่น 2.4GHz ของมันเองอยู่ราวๆ 3 เท่า
ส่วนการสตรีมมิ่งไฟล์หนัง Blu-ray ที่ไฟล์ขนาด 30-40GB ต้องบอกว่าจิ๊บๆเลยครับกับความเร็วขนาดนี้ เพราะบิตเรตหนังมันอยู่ที่ราวๆ 54Mbps เท่านั้น ยังเหลือเอาไว้ให้ใช้งานอย่างอื่นได้อีก