สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 17
เฮ้อออ... คนเรานี่ ไม่ยอมรับความจริงกันเนาะ
อ้างว่าประกาศกระทรวงเป็นกฎหมายที่รัฐบาลชวน 1 ต้องปฏิบัติตาม
พอชี้แจงว่า ประกาศกระทรวงนั้น เป็นแค่ข้อปฏิบัติที่เจ้ากระทรวงวางมาตรการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น
ก็วนลูปไปเรื่องเดิมคือเรื่อง วันที่
เฮ้อออ...
มั่วเรื่องราชกิจจาฯ
ราชกิจจาฯ ไม่ใช่สิ่งที่แตะต้องไม่ได้ ราชกิจจาฯ เป็นแค่หนังสือรวบรวมประกาศของทางราชการ
มีกฎหมาย มีประกาศอะไร ก็ลงในราชกิจจาฯ ให้ประชาชนทราบ
เท่านั้นเอง
ประกาศกระทรวง เป็นอำนาจของเจ้ากระทรวง ออกประกาศแล้ว ก็ต้องลงในราชกิจจาฯ
ไม่ลง ถือว่าไม่ได้ประกาศให้ประชาชนรับรู้
หากยกเลิกประกาศ เจ้ากระทรวงก็ออกประกาศยกเลิก แล้วลงในราชกิจจาฯ
แค่นั้นเอง
ทำเหมือนราชกิจจาฯ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปได้
ไม่รู้จริงนี่นา
หากรัฐบาลอานันท์ ออกประกาศ ให้ใบอนุญาต ให้ใบอนุญาตแล้วอยู่ต่ออีกสักสามเดือนหกเดือน
ไม่ว่าเลย
แต่นี่ ออกประกาศแล้ว ก็หมดวาระไป
และผลของประกาศก็ยังไม่เกิด แม้ในประกาศจะบอกว่ามีผล 16 ก.ย. 35 ก็ตาม
เพราะจุดเริ่มต้นจริง ๆ อยู่ที่ ใบอนุญาต
ระยะเวลาจากวันออกประกาศ จนถึงวันออกใบอนุญาต
รัฐบาลชวน 1 มีเวลาพิจารณาอีกตั้ง 6 เดือน กว่าจะให้ใบอนุญาต
ให้ใบอนุญาตแล้ว ยังอยู่ต่ออีกตั้งสองปี ซึ่งน่าจะมองเห็นว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง จะส่งผลยังไงบ้าง
แล้วจะหนีความรับผิดชอบได้อย่างไร ?
การเปรียบเทียบเรื่องสร้างบ้าน เรื่องขึ้นบ้านใหม่น่ะ มันเป็นตรรกะคนละเรื่อง
เพราะการสร้างบ้าน กับการขึ้นบ้านใหม่ มันไม่ใช่เรื่องที่สัมพันธ์กันในเชิงบริหาร มันเป็นแค่เรื่องพิธีกรรม
ในเชิงบริหาร สร้างบ้านใหม่เสร็จ ก็สามารถตกแต่งภายในภายนอก ตกแต่งบริเวณบ้านได้
ตกแต่งแล้ว ก็ยังดูไม่ดี ก็ขายบ้านได้
และหากจะเปรียบเทียบการสร้างบ้าน ก็ต้องมีการออกแบบก่อน
การออกแบบก็คือ "ใบอนุญาต" ในเรื่อง BIBF ก็คือรัฐบาลชวนนั่นแหละออกแบบ
จะอ้างแค่เรื่องวันที่ออกแบบ โดยไม่พิจารณาเรื่องอำนาจในการบริหารไม่ได้
อย่างที่บอก นี่คือเรื่อง "ประกาศ" ที่ใช้กับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายนี้ปฏิบัติตามเท่านั้น
ไม่ใช่กฎหมายให้รัฐบาล หรือคนทั่วไปทั้งหมดปฏิบัติตาม
หากจะเปรียบเทียบ ก็คือการออกประกาศเรื่องอื่น ๆ นั่นแหละ
เช่น ประกาศให้สร้างตึกสูงในบริเวณใกล้เคียงวัด ใกล้สถานที่สำคัญ
คนออกประกาศ ออกแล้วก็พ้นหน้าที่ไป ยังไม่ได้ทำอะไร
คนใหม่เข้ามาแทน
เข้ามาแล้ว ก็เห็นดีเห็นงามกับประกาศนั้น ตรวจสอบคุณสมบัติผู้จะสร้างตึก ให้ใบอนุญาตการสร้างตึก
แล้วพอเกิดปัญหา จะโทษคนออกประกาศแล้วพ้นหน้าที่ไปอย่างนั้นหรือ ?
ศปร. ก็แค่ให้ความเห็น ให้ผลการศึกษา
แต่นั่น ยิ่งตอกย้ำความผิดพลาดทางการบริหารของรัฐบาลชวน 1
ธปท. แม้จะเป็นอิสระในการทำงาน แต่ก็ต้องทำงานภายใต้กรอบนโยบายแห่งรัฐ
ไม่ใช่เป็นหน่วยงานเอกเทศที่จะทำอย่างไรก็ได้
ผู้บริหาร ธปท. ทำงานไม่ดี ไม่สนองนโยบาย รัฐบาลก็ปลดได้ เลิกจ้างได้
การผลักดันนโยบาย กับ การบริหารจัดการนโยบาย
เมื่อเกิดผลเสียหาย ใครควรรับผิดชอบ ?
การทำงานนั้น มีทั้งความรับผิดชอบโดยตรง Responsibility และความรับผิดชอบร่วม Accountability
เจ้านายวางนโยบาย สั่งให้ลูกน้องทำงานชิ้นหนึ่ง
งานชิ้นนี้ ลูกน้องก็รับเรื่อง Accountability ไป ส่วนนายก็รับ Responsibility ไป
ไม่ใช่พอเกิดปัญหา นายก็โยนความรับผิดชอบทั้งหมดให้ลูกน้องไป
เรื่อง BIBF อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลชวน 1 99%
เพราะเป็นผู้พิจารณาให้ใบอนุญาต เป็นผู้บริหารจัดการในระหว่างดำเนินกิจการ BIBF
ต้องรู้ ต้องเห็น ต้องบริหารจัดการให้ดี ต้องรับผิดชอบทั้งทางตรงและทางอ้อม
ไม่มีทางเลี่ยงความรับผิดชอบได้
แปลกนะ เรื่อง BIBF นี่ ปชป. โยนให้รัฐบาลอานันท์ว่าเป็นผู้เปิด อ้างเรื่องวันที่
อ้างวิกฤติต้มยำกุ้ง เกิดในรัฐบาลชวลิต
คืออ้างทั้งก่อนหน้า และภายหลัง
โดยที่ตัวเองไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย ทั้งที่ ปชป. เองนั่นแหละควรรับผิดชอบมากที่สุด
ประกาศกระทรวงกาคลัง เรื่อง BIBF รัฐบาลชวน 1 ต้องรับผิดชอบเต็ม ๆ อย่าไปโยนให้ใคร
เพราะเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด ตั้งแต่ให้ใบอนุญาต ดำเนินนโยบาย บริหารจัดการนโยบาย
ประกาศนั้น รมว.คลังในรัฐบาลชวน สามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา สามารถยกเลิกได้
ในการบริหารจัดการ สามารถออกมาตรการรองรับ สามารถวางเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ไม่มีข้อจำกัด
(ไม่ขัดกับตัวกฎหมายแม่ คือ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ เท่านั้นเอง)
แบบนี้ จะไปโยนให้ใคร ?
อย่าโมเมเฉไฉ อ้าง ศปร. เพื่อโยนให้รัฐบาลชาติชาย โยนให้ ธปท.
อ้างรัฐบาลอานันท์เป็นผู้เปิด BIBF (แต่ความจริงแค่ออกประกาศ แต่การดำเนินการจริง ๆ คือชวน 1)
อ้างเพราะรัฐบาลชาติชาย อ้างเพราะ ธปท. ผลักดัน
เอาไงแน่ ?
ที่สำคัญ เอาความเห็นและข้อเสนอแนะของ ศปร. มาแปะเองแท้ ๆ แต่ดันไม่เข้าใจซะเอง
ศปร. เขาก็บอกว่า ต้นเหตุคือ การก่อหนี้ของภาคเอกชน
เกิดจากอะไรล่ะ ก็เกิดจากการเปิด BIBF นั่นแหละ
ศปร. เขาก็บอกว่า เป็นความเพลี่ยงพล้ำทางนโยบายทางการเงิน
ซึ่งตรงนี้ แม้จะอยู่ในความรับผิดชอบของ ธปท. แต่รัฐบาลจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
รัฐบาลชวน 1 เป็นผู้ดำเนินนโยบาย BIBF จนภาคเอกชนหนี้ล้น อันเป็นต้นเหตุ มาฝีแตกในรัฐบาลชวลิต
รัฐบาลชวลิต ปล่อยให้ ธปท. สู้ค่าเงินจนหมดตูด
อย่าไปโทษอื่นใดเลย
อ้างว่าประกาศกระทรวงเป็นกฎหมายที่รัฐบาลชวน 1 ต้องปฏิบัติตาม
พอชี้แจงว่า ประกาศกระทรวงนั้น เป็นแค่ข้อปฏิบัติที่เจ้ากระทรวงวางมาตรการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น
ก็วนลูปไปเรื่องเดิมคือเรื่อง วันที่
เฮ้อออ...
มั่วเรื่องราชกิจจาฯ
ราชกิจจาฯ ไม่ใช่สิ่งที่แตะต้องไม่ได้ ราชกิจจาฯ เป็นแค่หนังสือรวบรวมประกาศของทางราชการ
มีกฎหมาย มีประกาศอะไร ก็ลงในราชกิจจาฯ ให้ประชาชนทราบ
เท่านั้นเอง
ประกาศกระทรวง เป็นอำนาจของเจ้ากระทรวง ออกประกาศแล้ว ก็ต้องลงในราชกิจจาฯ
ไม่ลง ถือว่าไม่ได้ประกาศให้ประชาชนรับรู้
หากยกเลิกประกาศ เจ้ากระทรวงก็ออกประกาศยกเลิก แล้วลงในราชกิจจาฯ
แค่นั้นเอง
ทำเหมือนราชกิจจาฯ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปได้
ไม่รู้จริงนี่นา
หากรัฐบาลอานันท์ ออกประกาศ ให้ใบอนุญาต ให้ใบอนุญาตแล้วอยู่ต่ออีกสักสามเดือนหกเดือน
ไม่ว่าเลย
แต่นี่ ออกประกาศแล้ว ก็หมดวาระไป
และผลของประกาศก็ยังไม่เกิด แม้ในประกาศจะบอกว่ามีผล 16 ก.ย. 35 ก็ตาม
เพราะจุดเริ่มต้นจริง ๆ อยู่ที่ ใบอนุญาต
ระยะเวลาจากวันออกประกาศ จนถึงวันออกใบอนุญาต
รัฐบาลชวน 1 มีเวลาพิจารณาอีกตั้ง 6 เดือน กว่าจะให้ใบอนุญาต
ให้ใบอนุญาตแล้ว ยังอยู่ต่ออีกตั้งสองปี ซึ่งน่าจะมองเห็นว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง จะส่งผลยังไงบ้าง
แล้วจะหนีความรับผิดชอบได้อย่างไร ?
การเปรียบเทียบเรื่องสร้างบ้าน เรื่องขึ้นบ้านใหม่น่ะ มันเป็นตรรกะคนละเรื่อง
เพราะการสร้างบ้าน กับการขึ้นบ้านใหม่ มันไม่ใช่เรื่องที่สัมพันธ์กันในเชิงบริหาร มันเป็นแค่เรื่องพิธีกรรม
ในเชิงบริหาร สร้างบ้านใหม่เสร็จ ก็สามารถตกแต่งภายในภายนอก ตกแต่งบริเวณบ้านได้
ตกแต่งแล้ว ก็ยังดูไม่ดี ก็ขายบ้านได้
และหากจะเปรียบเทียบการสร้างบ้าน ก็ต้องมีการออกแบบก่อน
การออกแบบก็คือ "ใบอนุญาต" ในเรื่อง BIBF ก็คือรัฐบาลชวนนั่นแหละออกแบบ
จะอ้างแค่เรื่องวันที่ออกแบบ โดยไม่พิจารณาเรื่องอำนาจในการบริหารไม่ได้
อย่างที่บอก นี่คือเรื่อง "ประกาศ" ที่ใช้กับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายนี้ปฏิบัติตามเท่านั้น
ไม่ใช่กฎหมายให้รัฐบาล หรือคนทั่วไปทั้งหมดปฏิบัติตาม
หากจะเปรียบเทียบ ก็คือการออกประกาศเรื่องอื่น ๆ นั่นแหละ
เช่น ประกาศให้สร้างตึกสูงในบริเวณใกล้เคียงวัด ใกล้สถานที่สำคัญ
คนออกประกาศ ออกแล้วก็พ้นหน้าที่ไป ยังไม่ได้ทำอะไร
คนใหม่เข้ามาแทน
เข้ามาแล้ว ก็เห็นดีเห็นงามกับประกาศนั้น ตรวจสอบคุณสมบัติผู้จะสร้างตึก ให้ใบอนุญาตการสร้างตึก
แล้วพอเกิดปัญหา จะโทษคนออกประกาศแล้วพ้นหน้าที่ไปอย่างนั้นหรือ ?
ศปร. ก็แค่ให้ความเห็น ให้ผลการศึกษา
แต่นั่น ยิ่งตอกย้ำความผิดพลาดทางการบริหารของรัฐบาลชวน 1
ธปท. แม้จะเป็นอิสระในการทำงาน แต่ก็ต้องทำงานภายใต้กรอบนโยบายแห่งรัฐ
ไม่ใช่เป็นหน่วยงานเอกเทศที่จะทำอย่างไรก็ได้
ผู้บริหาร ธปท. ทำงานไม่ดี ไม่สนองนโยบาย รัฐบาลก็ปลดได้ เลิกจ้างได้
การผลักดันนโยบาย กับ การบริหารจัดการนโยบาย
เมื่อเกิดผลเสียหาย ใครควรรับผิดชอบ ?
การทำงานนั้น มีทั้งความรับผิดชอบโดยตรง Responsibility และความรับผิดชอบร่วม Accountability
เจ้านายวางนโยบาย สั่งให้ลูกน้องทำงานชิ้นหนึ่ง
งานชิ้นนี้ ลูกน้องก็รับเรื่อง Accountability ไป ส่วนนายก็รับ Responsibility ไป
ไม่ใช่พอเกิดปัญหา นายก็โยนความรับผิดชอบทั้งหมดให้ลูกน้องไป
เรื่อง BIBF อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลชวน 1 99%
เพราะเป็นผู้พิจารณาให้ใบอนุญาต เป็นผู้บริหารจัดการในระหว่างดำเนินกิจการ BIBF
ต้องรู้ ต้องเห็น ต้องบริหารจัดการให้ดี ต้องรับผิดชอบทั้งทางตรงและทางอ้อม
ไม่มีทางเลี่ยงความรับผิดชอบได้
แปลกนะ เรื่อง BIBF นี่ ปชป. โยนให้รัฐบาลอานันท์ว่าเป็นผู้เปิด อ้างเรื่องวันที่
อ้างวิกฤติต้มยำกุ้ง เกิดในรัฐบาลชวลิต
คืออ้างทั้งก่อนหน้า และภายหลัง
โดยที่ตัวเองไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย ทั้งที่ ปชป. เองนั่นแหละควรรับผิดชอบมากที่สุด
ประกาศกระทรวงกาคลัง เรื่อง BIBF รัฐบาลชวน 1 ต้องรับผิดชอบเต็ม ๆ อย่าไปโยนให้ใคร
เพราะเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด ตั้งแต่ให้ใบอนุญาต ดำเนินนโยบาย บริหารจัดการนโยบาย
ประกาศนั้น รมว.คลังในรัฐบาลชวน สามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา สามารถยกเลิกได้
ในการบริหารจัดการ สามารถออกมาตรการรองรับ สามารถวางเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ไม่มีข้อจำกัด
(ไม่ขัดกับตัวกฎหมายแม่ คือ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ เท่านั้นเอง)
แบบนี้ จะไปโยนให้ใคร ?
อย่าโมเมเฉไฉ อ้าง ศปร. เพื่อโยนให้รัฐบาลชาติชาย โยนให้ ธปท.
อ้างรัฐบาลอานันท์เป็นผู้เปิด BIBF (แต่ความจริงแค่ออกประกาศ แต่การดำเนินการจริง ๆ คือชวน 1)
อ้างเพราะรัฐบาลชาติชาย อ้างเพราะ ธปท. ผลักดัน
เอาไงแน่ ?
ที่สำคัญ เอาความเห็นและข้อเสนอแนะของ ศปร. มาแปะเองแท้ ๆ แต่ดันไม่เข้าใจซะเอง
ศปร. เขาก็บอกว่า ต้นเหตุคือ การก่อหนี้ของภาคเอกชน
เกิดจากอะไรล่ะ ก็เกิดจากการเปิด BIBF นั่นแหละ
ศปร. เขาก็บอกว่า เป็นความเพลี่ยงพล้ำทางนโยบายทางการเงิน
ซึ่งตรงนี้ แม้จะอยู่ในความรับผิดชอบของ ธปท. แต่รัฐบาลจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
รัฐบาลชวน 1 เป็นผู้ดำเนินนโยบาย BIBF จนภาคเอกชนหนี้ล้น อันเป็นต้นเหตุ มาฝีแตกในรัฐบาลชวลิต
รัฐบาลชวลิต ปล่อยให้ ธปท. สู้ค่าเงินจนหมดตูด
อย่าไปโทษอื่นใดเลย
แสดงความคิดเห็น
BIBF ต้นตอวิกฤตเศรษฐกิจ "ต้มยำกุ้ง" เมื่อปี 2540 ที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องรับผิดชอบ ไม่มีทางเลี่ยงความรับผิดชอบได้เลยครัช
มีต้นเหตุมาจากการเปิดเสรีทางการเงิน หรือ BIBF ของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ (ชวน 1 2535-2538)
แต่เรื่องนี้ พรรค ปชป. และกองเชียร์ ต่างปฏิเสธเสียงแข็งว่าไม่ใช่ เป็นการใส่ร้าย เป็นการเข้าใจผิด
ด้วยการหยิบยกเรื่อง "ช่วงเวลา" มาอ้าง
รัฐบาลชาติชาย มีนโยบาย "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" (2531-2534)
มีแนวคิดเรื่องการเคลื่อนย้ายทุน เรียกว่าเปิดเสรีทางการเงินขึ้น เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
แต่รัฐบาลชาติชายก็โดนรัฐประหารซะก่อนในต้นปี 2534 (รสช. 23 ก.พ. 2534)
ประเทศไทยจึงได้รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน
ทั้งรัฐบาลอานันท์ 1 หลังรัฐประหาร และรัฐบาลอานันท์ 2 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
รัฐบาลอานันท์ 2 สานต่อนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน
ด้วยการออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2535 ก่อนที่รัฐบาลอานันท์ 2 จะสิ้นสภาพไม่กี่วัน ที่เรียกว่า BIBF นั่นแหละครับ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/119/10146.PDF
หลังการเลือกตั้ง 2/2535 พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐบาลชวนเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2535
ตรงนี้แหละครับ ที่พรรค ปชป. และกองเชียร์ นำมาอ้างว่า BIBF ไม่ได้เริ่มในยุครัฐบาลชวน
แต่เป็นการริเริ่มจากรัฐบาลชาติชาย และมีผลบังคับใช้ในรัฐบาลอานันท์ 2
รัฐบาลชวน 1 แค่เป็นผู้ดำเนินการตามที่รัฐบาลก่อนได้ออกกฎหมายไว้แล้วเท่านั้น
การบอกว่า BIBF ต้นตอ "ต้มยำกุ้ง" จึงไม่ใช่เพราะรัฐบาลชวนเป็นผู้เปิด BIBF
พรรค ปชป. และ กองเชียร์ อ้างอย่างนี้
ประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ปชป. อ้างว่ามีขึ้นก่อนรัฐบาลชวนเข้ามา
ประกาศกระทรวงการคลังมีผลเมื่อ 16 ก.ย. 2535 ลงในราชกิจจาฯ เมื่อ 17 ก.ย. 2535 ในรัฐบาลอานันท์ 2
รัฐบาลชวน 1 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรัฐบาลเมื่อ 23 ก.ย. 2535
ตรงนี้แหละ ที่เป็นข้ออ้าง
แต่.....
เรื่องนี้ จะอ้างแค่ "วันที่" ไม่ได้ครับ เพราะประกาศกระทรวงการคลังบอกไว้ชัดในข้อ 4
ว่าการดำเนินการตามประกาศนี้ อยู่ใน "อำนาจ" ของ รมว.คลัง
รัฐบาลอานันท์ 2 ออกประกาศ ก็พ้นความรับผิดชอบไป ไม่ได้ดำเนินการอะไร
รัฐบาลชวน 1 เข้ามา เป็นฝ่ายบริหารรับผิดชอบและดำเนินการตามประกาศ
ที่สำคัญ นี่คือ "ประกาศกระทรวง" ครับ ที่ใช้บังคับในวงแคบ เจาะจง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น
เป็นอำนาจของรัฐมนตรีประจำกระทรวงที่จะออกประกาศ ไม่จำเป็นต้องเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาด้วยซ้ำ
ไม่ใช่กฎหมายที่มีผลบังคับใช้โดยทั่วไป
กระทรวง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มีอำนาจในการปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงได้
โดยไม่ต้องผ่าน ครม. ไม่ต้องผ่านสภาผู้แทนราษฎร
เป็นอำนาจของ รมว. กระทรวงการคลังเต็ม ๆ โดยตรง
BIBF เริ่มต้นจากรัฐบาลชวน 1 ไม่ผิดหรอกครับ
เพราะธนาคารพาณิชย์ หากจะดำเนินกิจการ BIBF ต้องได้รับ "ใบอนุญาต" จากรัฐบาล จึงจะสามารถดำเนินการได้
ความรับผิดชอบในเรื่องนี้ จึงเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลชวน ของพรรคประชาธิปัตย์อย่างปฏิเสธไม่ได้
เรื่องวิเทศธนกิจ ไม่ใช่กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ทั่วไป ที่หากจะปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข ต้องนำเข้าสภาฯ
แต่เป็นอำนาจของรัฐบาล โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังล้วน ๆ
จากประกาศในปี 35 อีก 6 เดือนต่อมา รัฐบาลชวนจึงได้ออกใบอนุญาตให้บรรดาธบาคารพาณิชย์
งานนี้ นายชวนหน้าบานเชียว เพราะคงคิดว่าเป็นผลงานชิ้นเอก
จากประกาศกระทรวง จนถึงวันให้ใบอนุญาต
รัฐบาลชวนเป็นผู้ "วางมาตรการ" ในเรื่อง BIBF เป็นผู้ให้ใบอนุญาต เป็นผู้เริ่มกดปุ่ม
แล้วจะมาอ้างว่า ไม่ใช่ผู้เริ่มต้น BIBF ได้ไง ?
จะอ้างว่า ประกาศเกิดในรัฐบาลอานันท์ อ้างเรื่องวันที่ โดยไม่เอ่ยถึง "อำนาจ" ตามประกาศ ไม่ได้ครับ
เพราะประกาศให้ "อำนาจ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งสามารถแก้ไขประกาศได้
อะไรเหมาะ อะไรไม่เหมาะ อะไรควร อะไรไม่ควร สามารถออกมาตรการที่รัดกุมและป้องกันความเสียหายได้
หรือยกเลิกก็ยังได้
แต่เพราะไม่มีมาตรการรองรับที่ดี ไม่พิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นให้ดี
เอาแต่คิดว่า "หวานคอแร้ง" จึงปล่อยปละละเลยให้ใบอนุญาตกันเพลิน
สนุกกู้เงินนอกดอกต่ำ มาปล่อยกู้ภายในกินดอกสูง
สนุกกู้เงินนอกดอกต่ำ มาหมุน ดีกว่ากู้เงินในที่ดอกแพง
สุดท้าย จากผลพวง BIBF ทั้งกู้ ทั้งโดนโจมตีค่าเงินบาท ลดค่าเงินบาทโครม
สถาบันการเงินก็ล้ม บริษัทก็เซ กลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540
แล้วยังมากินสองต่ออีกในเรื่อง ปรส.
แล้ว "เสี่ยน้อย" ก็เร้นกายไปจากแวดวงการเมือง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สังเกตสิครับ
รัฐบาลอานันท์แค่รักษาการระหว่างเลือกตั้ง จะหมดวาระอยู่ไม่กี่วัน
ทำไมถึงได้ออกประกาศกระทรวงการคลังมาดื้อ ๆ ทำไมไม่ปล่อยให้รัฐบาลต่อไปดำเนินการ
นี่มองอย่างอื่นไม่ได้ครับ คือรีบประกาศเพื่อเปิดทางให้บรรดานายทุนได้โอกาส
พอรัฐบาลชวนเข้ามา ก็ไม่ได้วางมาตรการที่ดีรองรับการเปิดเสรีทางการเงิน
แล้วยังจะมีหน้ามาบอกว่า ไม่ผิดว้อย ไม่รับผิดชอบว้อย
มีการโบ้ยไปใส่ธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าผู้บริหารไม่ปรับอัตราแลกเปลี่ยนให้ลอยตัว
ยังยึดตายตัว 25 บาทต่อดอลลาร์ เป็นสาเหตุโดนโจมตีค่าเงิน ทุนสำรองหมด จนต้องลดค่าเงินบาท
แต่โดยความจริง ก็คือความอ่อนด้อยของการบริหาร การบริหารไม่เอาไหนของรัฐบาลชวนนั่นแหละ
เพราะทุกวันนี้ กิจการวิเทศธนกิจก็ยังดำเนินการอยู่ ไม่เห็นเกิดปัญหามีวิกฤตอะไร
อย่าดูแค่วันที่ครับ ให้ดูเนื้อหา
อย่ามองว่าประกาศคือกฎหมายที่ต้องจำเป็นดำเนินการ ไม่ทำไม่ได้
เพราะสามารถยกเลิก วางมาตรการที่ดี รัดกุม หรือแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
เมื่ออยู่ในความรับผิดชอบเต็ม ๆ แบบนี้ พอเกิดปัญหาขึ้นมา ก็ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่ดีแต่พูดโบ้ยให้คนอื่น
ปชป. นี่แปลก เรื่อง BIBF โยนใส่รัฐบาลก่อนหน้าว่าเป็นผู้ริเริ่ม ทั้งที่ตัวเองแท้ ๆ เป็นผู้ดำเนินการ
พอเรื่องโรงพักเสาโด่เด่ ดันโยนใส่รัฐบาลหลัง ว่าบริหารสัญญาไม่ดี ทั้งที่ตัวเองทั้งเริ่ม ทั้งกำหนดเงื่อนไข ทั้งทำสัญญา