วันที่ 5 มิถุนายน 2558 เป็นวันมหามงคลที่ หอภาพยนตร์
มีความปลื้มปิติเป็นล้นพ้นที่ได้มีโอกาสรับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์อนุรักษ์และบริการโสตทัศน์แห่งชาติ
เรื่อง โดม สุขวงศ์ จากเด็กรักหนัง เขาฝันไกล ไปจนถึง
ข่าวมติตรังจะพามารู้จักหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน) หน่วยงานของรัฐคล้ายกับหอสมุด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ แต่เป็นที่ซึ่งรวมเรื่องราวเกี่ยวกับภาพยนตร์ และวี ดีทัศน์ ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา และมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ และนำออกบริการให้ประชาชนได้ศึกษา ค้นคว้า และชื่นชม หรือใช้ประโยชน์อย่างสะดวก กว้างขวาง แต่สิ่งที่น่าสนใจคือหอภาพยนตร์แห่งชาติเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ใครเป็นคนทำ ใครเป็นคนคิด ใครเป็นคนฝัน ใครจุดประกายเรื่องนี้ขึ้นมา และสามารถทำสำเร็จได้ ใน
ประวัติศาสตร์ชาติไทย วันนี้ผม นายวิวัย จิตต์แจ้ง จะพามารู้จักคุณโดม สุขวงศ์ ผู้อำนวยการ หอภาพยนตร์( องค์การมหาชน) จากเด็กรักหนังฝันไกลไปจนถึง ผู้ที่สร้างสิ่งที่ดีให้ประเทศไทย ให้ก้าวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วทางวัฒนธรรม เหมือนต่างประเทศ ด้วยการต่อสู้ทั้งกายและใจ พร้อมทีมงานร่วม30ปี กว่าจะมีวันนี้ คุณโดม เป็นบุคคลตัวอย่าง ที่มีความอดทน ถึงมีอุปสรรคก็ไม่ถอย ทำไมคุณโดมจึงมุ่งมั่นขนาดนั้น หัวใจลึกๆจึงมีแต่งานภาพยนตร์ เพื่อหนังไทยแสวงหาหรือนำมาอนุรักษ์ เรียนรู้และศึกษาจากห้องสมุดเกือบตลอดชีวิต วันนี้คนไทยทั้งประเทศกำลัง
ติดตามเขาผู้นี้อยู่ นี่คือสาเหตุใหญ่ ทีผมวิวัย จิตต์แจ้งต้องสัมภาษณ์นำเรื่องนี้มาเสนอ ในใจลึกๆของคุณโดม คิดอยู่อย่างเดียวคือ ไม่ว่าฟิล์มนั้นจะอยู่ที่ไหน ไม่ว่าฟิล์มจะเป็นของใคร ฟิล์มจะอยู่ในสภาพอย่างไร หรือฟิล์มอยู่ไกลที่ไหนในโลก ถ้าหากคุณโดมรู้ จะตามไปดู ไปเก็บ เพื่อเอากลับมารักษาที่หอภาพยนตร์แห่งชาติ ผู้อำนวยการท่านนี้ ไม่ใช่ธรรมดาแน่ๆ เพราะมองสิ่งที่คนอื่นไม่มอง เห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น และคิดในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ เป็นคนแรกที่ทำโครงการอนุรักษ์ภาพยนตร์ในประเทศไทย เช่นเอาหนังไทยกลับบ้าน ที่ตกค้างอยู่ที่ห้องแลปหลายประเทศ นำกลับมารวบรวมไว้ ให้เป็นสมบัติของชาติ มีจำนวนหนังหลายร้อยเรื่อง ขณะนี้มีเพิ่มเป็นหลักพัน เป็นหนังไทยที่มีคุณค่า เป็นมรดกของชาติ เก็บไว้ที่หอภาพยนตร์ ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ4องศา ตลอดปี สามารถเก็บได้มากกว่าเจ็ดร้อยปี
ประวัติของท่านน่าสนใจ เกิดวันที่10 กันยายน พ.ศ.2494 มาถึงปี 2558 ท่านมี อายุ 64 ปี ครอบครัวรับราชการ คุณพ่อชื่อคุณเปกข์ สุขวงศ์ คุณแม่ชื่อ ประมูล สุขวงศ์ คุณพ่อมีตำแหน่งเป็นสรรพากรจังหวัด ชีวิตย้ายตามคุณพ่อไปหลายจังหวัดเช่น สุราษฎร์ธานีภูเก็ต นราธิวาส เกิดที่จังหวัดภูเก็ต ตอนเด็กๆเรียนหนังสืออยู่ที่ภาคใต้ตลอด สุดท้ายเรียนจบคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีพ.ศ.2517 ตอนเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์ได้ร่วมกับเพื่อน 3 คน เช่นคุณ อัศศิริ ธรรมโชติ ทำหนังสือเกี่ยวกับหนังไทย ด้วยใจรัก ดำเนินงานได้7เดือนต้องเลิกไป เพราะหมดทุน สนใจเรื่องหนังไทยเป็นชีวิตจิตใจ แบบทุ่มเท จบมาแล้วหลายปีไม่ยอมไปสมัครงานที่ไหน วันๆเอาแต่หมกตัวอยู่ในห้องสมุดแห่งชาติ
ที่ไหนก็ตาม ถ้ามีหลักฐานเกี่ยวกับหนังไทยในอดีต คุณโดม จะไปเพื่อศึกษาค้นคว้า อ่านและจดบันทึก อย่างจริงจังและทุ่มเทมาก ใช้เวลาค้นคว้าหาข้อมูลอยู่หลายปี ทำให้ทราบว่า มีเรื่องราวเกี่ยวกับหนังไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่ทุกคนกำลังมองข้ามไป ไม่มีใครสนใจเลยสักคน คุณโดมมีความคิดว่า จะอุทิศชีวิตให้กับเรื่องนี้ ด้วยจิตวิญญาณของนักต่อสู้ จะทำทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อค้นคว้าพัฒนาการของหนังไทย อย่างเอาเป็นเอาตาย ภาพนี้บ่งบอกตัวตนที่แท้จริงของคุณโดม ว่าเป็นอย่างไร กำลังสนุกติดตามต่อกันเลยครับ
จะขอย้อนเวลาหาอดีต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ58ปีที่แล้ว วันหนึ่งครอบครัวสุขวงศ์ อยู่ที่บ้านพักจังหวัดภูเก็ต ประมาณปีพ.ศ.2498 อากาศบริสุทธิ์ ทะเลงาม เย็นโรงเรียนพิบูลสวัสดิ์ ซึ่งอยู่ตรงข้ามบ้านพัก คุณโดมอายุประมาณ 5 ขวบ ได้ยินเสียงรถขายยาประกาศว่า ท่านพ่อแม่ พี่น้อง คืนนี้จะมีหนังกลางแปลงมาฉายให้ชาวภูเก็ตได้ชม แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เสียงเพลงจากรถขายยา คุณโดมยืนฟังและชอบมากๆ เพลงที่ได้ยินยุค พ.ศ. 2498 คือเพลง seven lonely days เสียงดังจากรถขายยา หน้าบ้านพอดีโฆษกประกาศว่า คืนนี้มีหนังดี ตลกก็มี พร้อมเปิดเพลงสลับ มีแผ่นที่เป็นภาษาไทยด้วยเป็นทำนองเดียวกัน ร้องว่า..ผ้าเช็ดหน้าเจ็ดผืน กล้ำกลืนด้วยน้ำตา ใจอาวรณ์นักหนาเหลือมาเพียง7 ผืน ..ไพเราะมาก และคืนนั้นครั้งแรกในของชีวิตคุณโดม ที่ได้ดูหนังกลางแปลง นึกถึงเพลงผ้าเช็ดหน้า7ผืน ชุ่มชื้นด้วยน้ำตา ใจอาวรณ์เหว่ว้า เห็นมาเพียงจดหมาย คุณโดม บอกผู้เขียนว่าดูหนังกลางแปลงครั้งแรกที่ภูเก็ต ฉายที่สนามหญ้าหน้าโรงเรียนพิบูลสวัสดิ์ ยังจำได้ว่าเป็น
หนังชกมวย ของจำเริญ ทรงกิตติรัตน์ ชกกับจิมมี่ หลังจากนั้น2ปียังมีโอกาสได้ดูหนังอีก เป็นหนังขายยาที่จังหวัดนราธิวาส ระหว่างปีพ.ศ.2500-2502 ส่วนใหญ่ตอนเด็กๆจะได้ดูหนังตอนหัวค่ำ เช่นหนังการ์ตูน หนังตลกสั้นๆ สารคดี และที่ชอบคือ 3 เกลอ หัวแข็ง หรือหนังตลกของ ชาลี แชบปลิน พอหนังยาวมาก็ดึกแล้ว แทบไม่ค่อยได้ดู เพราะผู้ใหญ่ให้กลับบ้าน คุณโดมบอกว่า ตอนเด็กๆเคยเห็น มีหนังขายยา 2 เจ้ามาประชันกันโดยไม่ได้นัดหมาย เรียกว่าตั้งจอคนละมุมกันเลยที่สนามหญ้าศาลากลาง เขาฉายหนังยาวแข่งกัน คนดูแบ่งเป็น2ทีม แต่คนดูหัวหมุน ไม่รู้จะปักหลักดูจอไหนดี หนังดีทั้ง2บริษัท อย่างนี้เคยเห็นมาแล้ว
ผู้เขียนตั้งคำถามคุณโดมว่า อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้รักหนัง ซึ่งมีผลอยู่ใต้จิตสำนึกของคุณโดม ท่านตอบผมว่า “แรงดลใจที่ทำให้รัก และชอบหนัง คงเป็นการได้เรียนรู้ ได้ดูหนังบ่อยๆ ได้ตื่นตา ตื่นใจ เห็นโลกกว้างขึ้น ยิ่งสำหรับเด็กบ้านนอกอย่างโดม สุขวงศ์” ท่านบอกผมว่าภาพยนตร์เป็นสื่อแห่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ และอาจจะให้เกิดปัญญาได้ ภาพยนตร์จึงอาจเปรียบดังศาสนา หอภาพยนตร์ก็คือวัด ซึ่งมีโรงหนังเป็นโบสถ์ มีพิพิธภัณฑ์เป็นวิหาร หรือเจดีย์ มีห้องเย็นเก็บรักษาฟิล์ม เป็นหอไตร มีศูนย์บริการค้นคว้าเป็นศาลาเปรียญ ตราของหอภาพยนตร์คือธรรมจักร ซึ่งหมุนเวียนไปเพื่อเผยแพร่สัจธรรมสำหรับมนุษย์ ท่านพูดไว้น่าฟังเป็นปรัชญา ผู้เขียนถามต่อว่า ตอนเด็กๆท่านเคยดูหนัง อภินิหารขนแกะทองคำ หรือหนังเรื่อง อาละดินกับตะเกียงวิเศษ ซึ่งเด็กสมัยนั้นเขาดูกัน คุณโดมตอบว่า ท่านเป็นญาติกับนักพากษ์หนังชื่อดังอยู่ภาคใต้ ชื่อคุณ กมลพันธ์ มีศักดิ์เป็นพี่ ซึ่งเป็นลูกของคุณลุงคุณโดม ได้พาไปดูหนังในห้องนักพากษ์กันเลย ที่จังหวัดนราธิวาส ตอนนั้นอายุประมาณ7-8ขวบ ที่โรงหนังเดอะโกล๊ป ของนายห้างเยมส์ ที่ได้ดูส่วนใหญ่เป็นหนังบู๊ ประเภทแกงค์วายร้าย หรือหนังจานผีมนุษย์ต่างดาว และยักษ์ตาเดียวบ้าง (น่าจะเป็นเรื่องอาละดินกับตะเกียงวิเศษ)ด้วย ส่วนหนังญี่ปุ่นที่คุณโดมประทับใจตอนเด็กๆคือเรื่อง เจ้าชายหงส์ขาว ไปดูครั้งนั้น ได้ใกล้ชิดฟิล์มหนัง เห็นเครื่องฉายหนังได้เห็นได้เรียนรู้ ห้องพากษ์ กับห้องฉาย ส่วนใหญ่อยู่ติดกัน คุณโดมซึมซับมาตั้งแต่เด็กๆ
ถือเป็นประสบการณ์หนึ่งในชีวิต ตอนมาอยู่กรุงเทพฯได้ดูหนังเรื่องอภินิหารขนแกะทองคำและหนังบัญญัติ 10 ประการ และดูหนังดีๆอีกมากมาย จนฝังลึกเข้าไปในจิตใจ จึงรู้ว่าหนังเป็นศาสตร์ และศิลป์ ศึกษาจากการเรียนการอ่านมากๆ ตั้งแต่เป็นนิสิต จนวันหนึ่ง 2 กรกฎาคม พ.ศ.2523 มีข่าวหนังสือพิมพ์ว่า ขุนวิจิตร มาตรา ถึงแก่กรรม คุณโดมตกใจกระทบความรู้สึก ตั้งใจว่าจะไปสัมภาษณ์ท่าน เพราะท่านเป็นผู้เขียน และผู้สร้างประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยคนสำคัญของประเทศ ช้าไปแล้ว ได้แต่คิดไม่ลงมือทำ ตั้งแต่นั้นจึงมุ่งหาหลักฐานเกี่ยวกับภาพยนตร์ในประเทศไทยทันที และสัมภาษณ์บุคคลหลายท่าน เพื่อเขียนหนังสือประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย
2 กรกฎาคม พ.ศ.2524 คุณโดม ออกติดตามหาฟิล์มเรื่องนางสาว สุวรรณ ไม่พบฟิล์มที่ต้องการแต่โชคดีที่ไปพบฟิล์มเก่าที่กรมรถไฟหลวง กองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าวเป็นของรัชการที่7 เจ้าหน้าที่บอกว่าฟิล์มมีกลิ่นเหม็นมากกำลังรอเรื่องขอทิ้ง คุณโดมขออาสาสำรวจทำบัญชี ได้ชวนคุณสุรพงษ์ พินิจค้า ช่วยกันค้นหาฟิล์ม ใช้เวลา3 สัปดาห์เต็ม พบฟิล์มภาพยนตร์เก่า 290กล่อง ขนาด35มม. ขาวดำ เนกะติป และฟิล์มข่าวรัชกาลที่7 จึงแจ้งให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติทราบ
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2524 วารสารศิลปวัฒนธรรม ตีพิมพ์บทความเรื่อง ขุดกรุหนังเก่าของกรมรถไฟหลวง คุณโดมซึ่งเป็นผู้เขียนบทความเสนอว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรมีสถาบัน หรือหน่วยขึ้นมาทำหน้าที่ แสวงหา เก็บรวบรวม หนังที่คนไทยสร้าง เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของชาติ และเสนอว่าเรามีหอศิลป์แห่งชาติ ควรเป็นที่เก็บสะสมรักษา คุณโดมจึงเข้าพบ คุณทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ รองอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น ให้ช่วยเรื่องนี้ และช่วยกันรณรงค์ เวลาต่อมาคุณโดม รณรงค์ให้สังคมไทยเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ แต่ก็ไม่ได้ผล คุณโดมได้ริเริ่มโครงการกับวิทยาลัยเขตเทคนิคกรุงเทพฯ แผนกวิชาช่างภาพทำโครงการอนุรักษ์ภาพยนตร์ในประเทศไทย แต่ก็ยังไม่คืบหน้า เหตุการณ์ตอนนั้น ผู้เขียนทำงานอยู่ที่โรงแรมคอนติเนลตัล สนามเป้า เป็นผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์โรงแรม มีความสนใจเรื่องนี้มาก ได้ตัดข่าวทุกข่าวจากหนังสือพิมพ์ นับได้3ปีเต็ม ได้ข้อมูลข่าว1แฟ้ม แต่สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือ ข่าวคุณโดม ตามหาฟิล์มพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5
เสด็จยุโรป เรื่องนี้ผู้เขียนติดตามใกล้ชิดจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับในสมัยนั้น เรื่องนี้คุณโดมบันทึกไว้ในหนังสือ ปูม25ปีหอภาพยนตร์ ข่าวนี้ดังมากคนไทยทั่วประเทศสนใจโดยเฉพาะคนที่นับถือเสด็จพ่อร.5 ใจจดใจจ่อตื่นเต้นติดตามข่าวกันคึกโคม รวมทั้งผู้เขียนด้วย พวกเราตั้งกลุ่มชมรม ไปไหว้ที่ลานพระรูปทุกศุกร์ เสาร์ ผู้เขียนอธิษฐานว่า ขอให้เสด็จพ่อพระปิยะมหาราชช่วยคุณโดมประสบความสำเร็จในการตามหาฟิล์มชุดนี้ และขอบารมีจากพระพุทธเจ้าหลวงร.5 ขอให้มีหอภาพยนตร์แห่งชาติเกิดขึ้น เหตุการณ์อยู่ระหว่าปีพ.ศ.2525-2527 มีอะไรเกิดขึ้นอีกติดตามกันได้ครับ
เรื่องรัชการที่5 เสด็จต่างประเทศยุโรปเป็นพระองค์แรกในเอเซีย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตย์ของไทยองค์แรกที่เสด็จประพาสต่างประเทศ แรกๆเสด็จประเทศใกล้เคียงก่อนเช่น มาลายู สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย ในปีพ.ศ. 2440 จึงทรงเสด็จไปถึงยุโรปเป็นครั้งแรก และเสด็จไปเยือนยุโรป
ประเทศต่างๆ 15ประเทศ ใช้เวลาเดินทางนานถึง9เดือน เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯในวันที่ 16 ธันวาคม 2440 เมื่อเสด็จนิวัตพระนครครั้งนั้น ชาวไทยจัดซุ้มรับเสด็จ และจัดงานเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร ชาวไทยมารับเสด็จเป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ นี่คือเหตุผล
หนึ่งที่ทำให้คุณโดม มีอะไรบางอย่างในซิกเซนต์ เมื่อคิดเรื่องนี้ได้จึงศึกษาตามหาภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ในคราวเสด็จกรุงสต๊อคโฮม ประเทศสวีเดน เสด็จประภาสยุโรป ครั้งที่1 เมื่อวันที่13กรกฏาคม พ.ศ.2440 ช่วงแรกคุณโดมรณรงค์ให้สังคมไทย อนุรักษ์ภาพยนตร์ ทำไปได้1ปี การอนุรักษ์ภาพยนตร์ไม่กินใจคนไทย จึงคิดว่า หากสามารถค้นพบภาพยนตร์ที่บันทึกสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเสด็จยุโรปได้สำเร็จ จะให้คนไทยสนใจมาก เวลานั้นสังคมไทยกำลังเกิดกระแสนิยมพระองค์แรงมากๆ ที่เรียกกันว่า เสด็จพ่อร.5 ถ้านำมาให้คนไทยได้เห็นจะสร้างความตื่นเต้น เร้าใจ เรียกความสนใจเรื่องการอนุรักษ์ภาพยนตร์ได้ เป็นการอาศัยบารมี คุณโดมค้นหลักฐานเอกสารต่างๆ พบว่าในบรรดาภาพยนตร์ของบริษัท ลูมิแอร์ แห่งฝรั่งเศส มีอยู่2000เรื่อง มีเรื่องหนึ่งชื่อว่า
บทสัมภาษณ์ คุณโดม สุขวงศ์ โดย วิวัย จิตต์แจ้ง
มีความปลื้มปิติเป็นล้นพ้นที่ได้มีโอกาสรับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์อนุรักษ์และบริการโสตทัศน์แห่งชาติ
เรื่อง โดม สุขวงศ์ จากเด็กรักหนัง เขาฝันไกล ไปจนถึง
ข่าวมติตรังจะพามารู้จักหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน) หน่วยงานของรัฐคล้ายกับหอสมุด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ แต่เป็นที่ซึ่งรวมเรื่องราวเกี่ยวกับภาพยนตร์ และวี ดีทัศน์ ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา และมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ และนำออกบริการให้ประชาชนได้ศึกษา ค้นคว้า และชื่นชม หรือใช้ประโยชน์อย่างสะดวก กว้างขวาง แต่สิ่งที่น่าสนใจคือหอภาพยนตร์แห่งชาติเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ใครเป็นคนทำ ใครเป็นคนคิด ใครเป็นคนฝัน ใครจุดประกายเรื่องนี้ขึ้นมา และสามารถทำสำเร็จได้ ใน
ประวัติศาสตร์ชาติไทย วันนี้ผม นายวิวัย จิตต์แจ้ง จะพามารู้จักคุณโดม สุขวงศ์ ผู้อำนวยการ หอภาพยนตร์( องค์การมหาชน) จากเด็กรักหนังฝันไกลไปจนถึง ผู้ที่สร้างสิ่งที่ดีให้ประเทศไทย ให้ก้าวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วทางวัฒนธรรม เหมือนต่างประเทศ ด้วยการต่อสู้ทั้งกายและใจ พร้อมทีมงานร่วม30ปี กว่าจะมีวันนี้ คุณโดม เป็นบุคคลตัวอย่าง ที่มีความอดทน ถึงมีอุปสรรคก็ไม่ถอย ทำไมคุณโดมจึงมุ่งมั่นขนาดนั้น หัวใจลึกๆจึงมีแต่งานภาพยนตร์ เพื่อหนังไทยแสวงหาหรือนำมาอนุรักษ์ เรียนรู้และศึกษาจากห้องสมุดเกือบตลอดชีวิต วันนี้คนไทยทั้งประเทศกำลัง
ติดตามเขาผู้นี้อยู่ นี่คือสาเหตุใหญ่ ทีผมวิวัย จิตต์แจ้งต้องสัมภาษณ์นำเรื่องนี้มาเสนอ ในใจลึกๆของคุณโดม คิดอยู่อย่างเดียวคือ ไม่ว่าฟิล์มนั้นจะอยู่ที่ไหน ไม่ว่าฟิล์มจะเป็นของใคร ฟิล์มจะอยู่ในสภาพอย่างไร หรือฟิล์มอยู่ไกลที่ไหนในโลก ถ้าหากคุณโดมรู้ จะตามไปดู ไปเก็บ เพื่อเอากลับมารักษาที่หอภาพยนตร์แห่งชาติ ผู้อำนวยการท่านนี้ ไม่ใช่ธรรมดาแน่ๆ เพราะมองสิ่งที่คนอื่นไม่มอง เห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น และคิดในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ เป็นคนแรกที่ทำโครงการอนุรักษ์ภาพยนตร์ในประเทศไทย เช่นเอาหนังไทยกลับบ้าน ที่ตกค้างอยู่ที่ห้องแลปหลายประเทศ นำกลับมารวบรวมไว้ ให้เป็นสมบัติของชาติ มีจำนวนหนังหลายร้อยเรื่อง ขณะนี้มีเพิ่มเป็นหลักพัน เป็นหนังไทยที่มีคุณค่า เป็นมรดกของชาติ เก็บไว้ที่หอภาพยนตร์ ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ4องศา ตลอดปี สามารถเก็บได้มากกว่าเจ็ดร้อยปี
ประวัติของท่านน่าสนใจ เกิดวันที่10 กันยายน พ.ศ.2494 มาถึงปี 2558 ท่านมี อายุ 64 ปี ครอบครัวรับราชการ คุณพ่อชื่อคุณเปกข์ สุขวงศ์ คุณแม่ชื่อ ประมูล สุขวงศ์ คุณพ่อมีตำแหน่งเป็นสรรพากรจังหวัด ชีวิตย้ายตามคุณพ่อไปหลายจังหวัดเช่น สุราษฎร์ธานีภูเก็ต นราธิวาส เกิดที่จังหวัดภูเก็ต ตอนเด็กๆเรียนหนังสืออยู่ที่ภาคใต้ตลอด สุดท้ายเรียนจบคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีพ.ศ.2517 ตอนเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์ได้ร่วมกับเพื่อน 3 คน เช่นคุณ อัศศิริ ธรรมโชติ ทำหนังสือเกี่ยวกับหนังไทย ด้วยใจรัก ดำเนินงานได้7เดือนต้องเลิกไป เพราะหมดทุน สนใจเรื่องหนังไทยเป็นชีวิตจิตใจ แบบทุ่มเท จบมาแล้วหลายปีไม่ยอมไปสมัครงานที่ไหน วันๆเอาแต่หมกตัวอยู่ในห้องสมุดแห่งชาติ
ที่ไหนก็ตาม ถ้ามีหลักฐานเกี่ยวกับหนังไทยในอดีต คุณโดม จะไปเพื่อศึกษาค้นคว้า อ่านและจดบันทึก อย่างจริงจังและทุ่มเทมาก ใช้เวลาค้นคว้าหาข้อมูลอยู่หลายปี ทำให้ทราบว่า มีเรื่องราวเกี่ยวกับหนังไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่ทุกคนกำลังมองข้ามไป ไม่มีใครสนใจเลยสักคน คุณโดมมีความคิดว่า จะอุทิศชีวิตให้กับเรื่องนี้ ด้วยจิตวิญญาณของนักต่อสู้ จะทำทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อค้นคว้าพัฒนาการของหนังไทย อย่างเอาเป็นเอาตาย ภาพนี้บ่งบอกตัวตนที่แท้จริงของคุณโดม ว่าเป็นอย่างไร กำลังสนุกติดตามต่อกันเลยครับ
จะขอย้อนเวลาหาอดีต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ58ปีที่แล้ว วันหนึ่งครอบครัวสุขวงศ์ อยู่ที่บ้านพักจังหวัดภูเก็ต ประมาณปีพ.ศ.2498 อากาศบริสุทธิ์ ทะเลงาม เย็นโรงเรียนพิบูลสวัสดิ์ ซึ่งอยู่ตรงข้ามบ้านพัก คุณโดมอายุประมาณ 5 ขวบ ได้ยินเสียงรถขายยาประกาศว่า ท่านพ่อแม่ พี่น้อง คืนนี้จะมีหนังกลางแปลงมาฉายให้ชาวภูเก็ตได้ชม แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เสียงเพลงจากรถขายยา คุณโดมยืนฟังและชอบมากๆ เพลงที่ได้ยินยุค พ.ศ. 2498 คือเพลง seven lonely days เสียงดังจากรถขายยา หน้าบ้านพอดีโฆษกประกาศว่า คืนนี้มีหนังดี ตลกก็มี พร้อมเปิดเพลงสลับ มีแผ่นที่เป็นภาษาไทยด้วยเป็นทำนองเดียวกัน ร้องว่า..ผ้าเช็ดหน้าเจ็ดผืน กล้ำกลืนด้วยน้ำตา ใจอาวรณ์นักหนาเหลือมาเพียง7 ผืน ..ไพเราะมาก และคืนนั้นครั้งแรกในของชีวิตคุณโดม ที่ได้ดูหนังกลางแปลง นึกถึงเพลงผ้าเช็ดหน้า7ผืน ชุ่มชื้นด้วยน้ำตา ใจอาวรณ์เหว่ว้า เห็นมาเพียงจดหมาย คุณโดม บอกผู้เขียนว่าดูหนังกลางแปลงครั้งแรกที่ภูเก็ต ฉายที่สนามหญ้าหน้าโรงเรียนพิบูลสวัสดิ์ ยังจำได้ว่าเป็น
หนังชกมวย ของจำเริญ ทรงกิตติรัตน์ ชกกับจิมมี่ หลังจากนั้น2ปียังมีโอกาสได้ดูหนังอีก เป็นหนังขายยาที่จังหวัดนราธิวาส ระหว่างปีพ.ศ.2500-2502 ส่วนใหญ่ตอนเด็กๆจะได้ดูหนังตอนหัวค่ำ เช่นหนังการ์ตูน หนังตลกสั้นๆ สารคดี และที่ชอบคือ 3 เกลอ หัวแข็ง หรือหนังตลกของ ชาลี แชบปลิน พอหนังยาวมาก็ดึกแล้ว แทบไม่ค่อยได้ดู เพราะผู้ใหญ่ให้กลับบ้าน คุณโดมบอกว่า ตอนเด็กๆเคยเห็น มีหนังขายยา 2 เจ้ามาประชันกันโดยไม่ได้นัดหมาย เรียกว่าตั้งจอคนละมุมกันเลยที่สนามหญ้าศาลากลาง เขาฉายหนังยาวแข่งกัน คนดูแบ่งเป็น2ทีม แต่คนดูหัวหมุน ไม่รู้จะปักหลักดูจอไหนดี หนังดีทั้ง2บริษัท อย่างนี้เคยเห็นมาแล้ว
ผู้เขียนตั้งคำถามคุณโดมว่า อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้รักหนัง ซึ่งมีผลอยู่ใต้จิตสำนึกของคุณโดม ท่านตอบผมว่า “แรงดลใจที่ทำให้รัก และชอบหนัง คงเป็นการได้เรียนรู้ ได้ดูหนังบ่อยๆ ได้ตื่นตา ตื่นใจ เห็นโลกกว้างขึ้น ยิ่งสำหรับเด็กบ้านนอกอย่างโดม สุขวงศ์” ท่านบอกผมว่าภาพยนตร์เป็นสื่อแห่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ และอาจจะให้เกิดปัญญาได้ ภาพยนตร์จึงอาจเปรียบดังศาสนา หอภาพยนตร์ก็คือวัด ซึ่งมีโรงหนังเป็นโบสถ์ มีพิพิธภัณฑ์เป็นวิหาร หรือเจดีย์ มีห้องเย็นเก็บรักษาฟิล์ม เป็นหอไตร มีศูนย์บริการค้นคว้าเป็นศาลาเปรียญ ตราของหอภาพยนตร์คือธรรมจักร ซึ่งหมุนเวียนไปเพื่อเผยแพร่สัจธรรมสำหรับมนุษย์ ท่านพูดไว้น่าฟังเป็นปรัชญา ผู้เขียนถามต่อว่า ตอนเด็กๆท่านเคยดูหนัง อภินิหารขนแกะทองคำ หรือหนังเรื่อง อาละดินกับตะเกียงวิเศษ ซึ่งเด็กสมัยนั้นเขาดูกัน คุณโดมตอบว่า ท่านเป็นญาติกับนักพากษ์หนังชื่อดังอยู่ภาคใต้ ชื่อคุณ กมลพันธ์ มีศักดิ์เป็นพี่ ซึ่งเป็นลูกของคุณลุงคุณโดม ได้พาไปดูหนังในห้องนักพากษ์กันเลย ที่จังหวัดนราธิวาส ตอนนั้นอายุประมาณ7-8ขวบ ที่โรงหนังเดอะโกล๊ป ของนายห้างเยมส์ ที่ได้ดูส่วนใหญ่เป็นหนังบู๊ ประเภทแกงค์วายร้าย หรือหนังจานผีมนุษย์ต่างดาว และยักษ์ตาเดียวบ้าง (น่าจะเป็นเรื่องอาละดินกับตะเกียงวิเศษ)ด้วย ส่วนหนังญี่ปุ่นที่คุณโดมประทับใจตอนเด็กๆคือเรื่อง เจ้าชายหงส์ขาว ไปดูครั้งนั้น ได้ใกล้ชิดฟิล์มหนัง เห็นเครื่องฉายหนังได้เห็นได้เรียนรู้ ห้องพากษ์ กับห้องฉาย ส่วนใหญ่อยู่ติดกัน คุณโดมซึมซับมาตั้งแต่เด็กๆ
ถือเป็นประสบการณ์หนึ่งในชีวิต ตอนมาอยู่กรุงเทพฯได้ดูหนังเรื่องอภินิหารขนแกะทองคำและหนังบัญญัติ 10 ประการ และดูหนังดีๆอีกมากมาย จนฝังลึกเข้าไปในจิตใจ จึงรู้ว่าหนังเป็นศาสตร์ และศิลป์ ศึกษาจากการเรียนการอ่านมากๆ ตั้งแต่เป็นนิสิต จนวันหนึ่ง 2 กรกฎาคม พ.ศ.2523 มีข่าวหนังสือพิมพ์ว่า ขุนวิจิตร มาตรา ถึงแก่กรรม คุณโดมตกใจกระทบความรู้สึก ตั้งใจว่าจะไปสัมภาษณ์ท่าน เพราะท่านเป็นผู้เขียน และผู้สร้างประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยคนสำคัญของประเทศ ช้าไปแล้ว ได้แต่คิดไม่ลงมือทำ ตั้งแต่นั้นจึงมุ่งหาหลักฐานเกี่ยวกับภาพยนตร์ในประเทศไทยทันที และสัมภาษณ์บุคคลหลายท่าน เพื่อเขียนหนังสือประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย
2 กรกฎาคม พ.ศ.2524 คุณโดม ออกติดตามหาฟิล์มเรื่องนางสาว สุวรรณ ไม่พบฟิล์มที่ต้องการแต่โชคดีที่ไปพบฟิล์มเก่าที่กรมรถไฟหลวง กองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าวเป็นของรัชการที่7 เจ้าหน้าที่บอกว่าฟิล์มมีกลิ่นเหม็นมากกำลังรอเรื่องขอทิ้ง คุณโดมขออาสาสำรวจทำบัญชี ได้ชวนคุณสุรพงษ์ พินิจค้า ช่วยกันค้นหาฟิล์ม ใช้เวลา3 สัปดาห์เต็ม พบฟิล์มภาพยนตร์เก่า 290กล่อง ขนาด35มม. ขาวดำ เนกะติป และฟิล์มข่าวรัชกาลที่7 จึงแจ้งให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติทราบ
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2524 วารสารศิลปวัฒนธรรม ตีพิมพ์บทความเรื่อง ขุดกรุหนังเก่าของกรมรถไฟหลวง คุณโดมซึ่งเป็นผู้เขียนบทความเสนอว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรมีสถาบัน หรือหน่วยขึ้นมาทำหน้าที่ แสวงหา เก็บรวบรวม หนังที่คนไทยสร้าง เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของชาติ และเสนอว่าเรามีหอศิลป์แห่งชาติ ควรเป็นที่เก็บสะสมรักษา คุณโดมจึงเข้าพบ คุณทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ รองอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น ให้ช่วยเรื่องนี้ และช่วยกันรณรงค์ เวลาต่อมาคุณโดม รณรงค์ให้สังคมไทยเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ แต่ก็ไม่ได้ผล คุณโดมได้ริเริ่มโครงการกับวิทยาลัยเขตเทคนิคกรุงเทพฯ แผนกวิชาช่างภาพทำโครงการอนุรักษ์ภาพยนตร์ในประเทศไทย แต่ก็ยังไม่คืบหน้า เหตุการณ์ตอนนั้น ผู้เขียนทำงานอยู่ที่โรงแรมคอนติเนลตัล สนามเป้า เป็นผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์โรงแรม มีความสนใจเรื่องนี้มาก ได้ตัดข่าวทุกข่าวจากหนังสือพิมพ์ นับได้3ปีเต็ม ได้ข้อมูลข่าว1แฟ้ม แต่สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือ ข่าวคุณโดม ตามหาฟิล์มพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5
เสด็จยุโรป เรื่องนี้ผู้เขียนติดตามใกล้ชิดจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับในสมัยนั้น เรื่องนี้คุณโดมบันทึกไว้ในหนังสือ ปูม25ปีหอภาพยนตร์ ข่าวนี้ดังมากคนไทยทั่วประเทศสนใจโดยเฉพาะคนที่นับถือเสด็จพ่อร.5 ใจจดใจจ่อตื่นเต้นติดตามข่าวกันคึกโคม รวมทั้งผู้เขียนด้วย พวกเราตั้งกลุ่มชมรม ไปไหว้ที่ลานพระรูปทุกศุกร์ เสาร์ ผู้เขียนอธิษฐานว่า ขอให้เสด็จพ่อพระปิยะมหาราชช่วยคุณโดมประสบความสำเร็จในการตามหาฟิล์มชุดนี้ และขอบารมีจากพระพุทธเจ้าหลวงร.5 ขอให้มีหอภาพยนตร์แห่งชาติเกิดขึ้น เหตุการณ์อยู่ระหว่าปีพ.ศ.2525-2527 มีอะไรเกิดขึ้นอีกติดตามกันได้ครับ
เรื่องรัชการที่5 เสด็จต่างประเทศยุโรปเป็นพระองค์แรกในเอเซีย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตย์ของไทยองค์แรกที่เสด็จประพาสต่างประเทศ แรกๆเสด็จประเทศใกล้เคียงก่อนเช่น มาลายู สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย ในปีพ.ศ. 2440 จึงทรงเสด็จไปถึงยุโรปเป็นครั้งแรก และเสด็จไปเยือนยุโรป
ประเทศต่างๆ 15ประเทศ ใช้เวลาเดินทางนานถึง9เดือน เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯในวันที่ 16 ธันวาคม 2440 เมื่อเสด็จนิวัตพระนครครั้งนั้น ชาวไทยจัดซุ้มรับเสด็จ และจัดงานเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร ชาวไทยมารับเสด็จเป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ นี่คือเหตุผล
หนึ่งที่ทำให้คุณโดม มีอะไรบางอย่างในซิกเซนต์ เมื่อคิดเรื่องนี้ได้จึงศึกษาตามหาภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ในคราวเสด็จกรุงสต๊อคโฮม ประเทศสวีเดน เสด็จประภาสยุโรป ครั้งที่1 เมื่อวันที่13กรกฏาคม พ.ศ.2440 ช่วงแรกคุณโดมรณรงค์ให้สังคมไทย อนุรักษ์ภาพยนตร์ ทำไปได้1ปี การอนุรักษ์ภาพยนตร์ไม่กินใจคนไทย จึงคิดว่า หากสามารถค้นพบภาพยนตร์ที่บันทึกสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเสด็จยุโรปได้สำเร็จ จะให้คนไทยสนใจมาก เวลานั้นสังคมไทยกำลังเกิดกระแสนิยมพระองค์แรงมากๆ ที่เรียกกันว่า เสด็จพ่อร.5 ถ้านำมาให้คนไทยได้เห็นจะสร้างความตื่นเต้น เร้าใจ เรียกความสนใจเรื่องการอนุรักษ์ภาพยนตร์ได้ เป็นการอาศัยบารมี คุณโดมค้นหลักฐานเอกสารต่างๆ พบว่าในบรรดาภาพยนตร์ของบริษัท ลูมิแอร์ แห่งฝรั่งเศส มีอยู่2000เรื่อง มีเรื่องหนึ่งชื่อว่า