เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม นายสุระ เตชะทัต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวเป็นประธานแถลงข่าวประกาศรายชื่อ 25 ภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนภาพยนตร์มรดกของชาติ ครั้งที่ 3 ปี 2556 ว่า หอภาพยนตร์ได้พิจารณาคัดเลือกภาพยนตร์ เพื่อประกาศขึ้นทะเบียนทั้งหมด 25 เรื่อง ได้แก่
1.VISIT OF THE PRINCE OF SIAM หรือการมาเยือนของมกุฎราชกุมารแห่งสยาม (พ.ศ.2444) สร้างโดย Mitchell & Kenyon 2.ช้าง (Chang: A Drama of the Wilderness) (พ.ศ.2470) ผู้สร้าง Paramount Pictures 3.แหวนวิเศษ (พ.ศ.2472) กำกับโดยนายน้อย ศรศักดิ์ หรือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 4.เสด็จทอดพระเนตรมอญรำผี ปากลัด 1 มีนาคม พ.ศ.2473 ถ่ายโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
5.พระราชพิธีโล้ชิงช้า (พ.ศ.2474) ถ่ายภาพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร 6.การรับเรือตอร์ปิโด (พ.ศ.2478) สร้างโดยกองทัพเรือ 7.รวมไทย พ.ศ.2484 8.ทรายมาเป็นแก้ว (พ.ศ.2493-2494) สร้างโดยพลเรือตรีชลี สินธุโสภณ 9.อาจารย์ศิลป์ พีระศรี (พ.ศ.2494) 10.กรุงเทพเมืองหลวงของเรา (พ.ศ.2500) โดยสำนักข่าวสารอเมริกัน
11.โฆษณาขี้ผึ้งบริบูรณ์บาล์ม ชุดหนูหล่อพ่อเขาพาไปดูหมี (พ.ศ.2505) โดยสำนักงานโฆษณาสรรพสิริ 12.หลุมศพที่ลือไซต์ (พ.ศ.2505) โดยบริษัท เอสโซ่ แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด 13.เพชรตัดเพชร (2509) โดยสหการภาพยนตร์ไทย 14.ผู้ชนะสิบทิศ (พ.ศ.2509-2510) โดยเจ้าพระยาภาพยนตร์ 15.เขาชื่อกานต์ (พ.ศ.2516) โดยละโว้ภาพยนตร์ 16.โนราขุนอุปถัมภ์นรากร (พ.ศ.2516) โดยวิทยาลัยครูสงขลา
17.วัยอลวน (พ.ศ.2519) โดยสุวรรณฟิล์ม 18.คนภูเขา (พ.ศ.2522) โดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่น 19.น้ำพุ (พ.ศ.2527) สร้างโดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่น 20.บุญชูผู้น่ารัก (2531) สร้างโดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่น 21.ปุกปุย (พ.ศ.2533) โดยไทเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ 22.เรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง (2540) โดยไทเอ็นเตอร์เทนเม้นต์
23.ฟ้าทะลายโจร (พ.ศ.2543) โดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่นร่วมกับฟิล์มบางกอก 24.โหมโรง (พ.ศ.2547) โดยสหมงคลฟิล์ม, พร้อมมิตรโปรดักชั่น, ภาพยนตร์หรรษาและกิมมิคฟิล์ม และ 25.มหา’ลัยเหมืองแร่ (พ.ศ.2548) โดยจีเอ็ม เอ็ม ไท หับ
อย่างไรก็ตาม การประกาศขึ้นทะเบียนภาพยนตร์มรดกของชาติมาแล้ว 2 ปี 50 เรื่อง ปีนี้เป็นปีที่ 3 รวมทั้งหมด 75 เรื่อง
นายโดม สุขวงศ์ ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ กล่าวว่า ภาพยนตร์มีความหมายมากกว่าการสร้างความบันเทิงให้ผู้ชม เพราะเป็นสื่อที่สะท้อนสังคมในมิติต่างๆ โดยผ่านจินตนาการผู้เขียนบท ผู้สร้างและเมื่อวันเวลาผ่านไป ภาพยนตร์จึงเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ ที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีตในช่วงเวลานั้นๆ อย่างชัดเจน ภาพยนตร์จึงนับว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของชาติ การประกาศขึ้นทะเบียน เพื่อเป็นเครื่องประกาศว่าภาพยนตร์นั้นมีคุณค่าสำคัญของชาติจะปล่อยให้สูญหายหรือเสื่อมโทรมไม่ได้ ที่สำคัญเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้และได้ชมเรื่องราวในอดีต
นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการการพิจารณาขึ้นทะเบียนภาพยนตร์มรดกของชาติ กล่าวว่า หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกภาพยนตร์ เพื่อขึ้นทะเบียนนั้นมีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก 7 คน ส่วนเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาจะคำนึงถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และความทรงจำ มีคุณค่าทางศิลปะภาพยนตร์ มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียหรือยากแก่การหาทดแทน รวมถึงมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เป็นสำคัญ
ข่าวจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380877477&grpid=&catid=08&subcatid=0800
ขึ้นทะเบียน25หนังดังเป็นมรดกชาติ"น้ำพุ-บุญชูผู้น่ารัก-อันธพาลครองเมือง"
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม นายสุระ เตชะทัต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวเป็นประธานแถลงข่าวประกาศรายชื่อ 25 ภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนภาพยนตร์มรดกของชาติ ครั้งที่ 3 ปี 2556 ว่า หอภาพยนตร์ได้พิจารณาคัดเลือกภาพยนตร์ เพื่อประกาศขึ้นทะเบียนทั้งหมด 25 เรื่อง ได้แก่
1.VISIT OF THE PRINCE OF SIAM หรือการมาเยือนของมกุฎราชกุมารแห่งสยาม (พ.ศ.2444) สร้างโดย Mitchell & Kenyon 2.ช้าง (Chang: A Drama of the Wilderness) (พ.ศ.2470) ผู้สร้าง Paramount Pictures 3.แหวนวิเศษ (พ.ศ.2472) กำกับโดยนายน้อย ศรศักดิ์ หรือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 4.เสด็จทอดพระเนตรมอญรำผี ปากลัด 1 มีนาคม พ.ศ.2473 ถ่ายโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
5.พระราชพิธีโล้ชิงช้า (พ.ศ.2474) ถ่ายภาพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร 6.การรับเรือตอร์ปิโด (พ.ศ.2478) สร้างโดยกองทัพเรือ 7.รวมไทย พ.ศ.2484 8.ทรายมาเป็นแก้ว (พ.ศ.2493-2494) สร้างโดยพลเรือตรีชลี สินธุโสภณ 9.อาจารย์ศิลป์ พีระศรี (พ.ศ.2494) 10.กรุงเทพเมืองหลวงของเรา (พ.ศ.2500) โดยสำนักข่าวสารอเมริกัน
11.โฆษณาขี้ผึ้งบริบูรณ์บาล์ม ชุดหนูหล่อพ่อเขาพาไปดูหมี (พ.ศ.2505) โดยสำนักงานโฆษณาสรรพสิริ 12.หลุมศพที่ลือไซต์ (พ.ศ.2505) โดยบริษัท เอสโซ่ แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด 13.เพชรตัดเพชร (2509) โดยสหการภาพยนตร์ไทย 14.ผู้ชนะสิบทิศ (พ.ศ.2509-2510) โดยเจ้าพระยาภาพยนตร์ 15.เขาชื่อกานต์ (พ.ศ.2516) โดยละโว้ภาพยนตร์ 16.โนราขุนอุปถัมภ์นรากร (พ.ศ.2516) โดยวิทยาลัยครูสงขลา
17.วัยอลวน (พ.ศ.2519) โดยสุวรรณฟิล์ม 18.คนภูเขา (พ.ศ.2522) โดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่น 19.น้ำพุ (พ.ศ.2527) สร้างโดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่น 20.บุญชูผู้น่ารัก (2531) สร้างโดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่น 21.ปุกปุย (พ.ศ.2533) โดยไทเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ 22.เรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง (2540) โดยไทเอ็นเตอร์เทนเม้นต์
23.ฟ้าทะลายโจร (พ.ศ.2543) โดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่นร่วมกับฟิล์มบางกอก 24.โหมโรง (พ.ศ.2547) โดยสหมงคลฟิล์ม, พร้อมมิตรโปรดักชั่น, ภาพยนตร์หรรษาและกิมมิคฟิล์ม และ 25.มหา’ลัยเหมืองแร่ (พ.ศ.2548) โดยจีเอ็ม เอ็ม ไท หับ
อย่างไรก็ตาม การประกาศขึ้นทะเบียนภาพยนตร์มรดกของชาติมาแล้ว 2 ปี 50 เรื่อง ปีนี้เป็นปีที่ 3 รวมทั้งหมด 75 เรื่อง
นายโดม สุขวงศ์ ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ กล่าวว่า ภาพยนตร์มีความหมายมากกว่าการสร้างความบันเทิงให้ผู้ชม เพราะเป็นสื่อที่สะท้อนสังคมในมิติต่างๆ โดยผ่านจินตนาการผู้เขียนบท ผู้สร้างและเมื่อวันเวลาผ่านไป ภาพยนตร์จึงเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ ที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีตในช่วงเวลานั้นๆ อย่างชัดเจน ภาพยนตร์จึงนับว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของชาติ การประกาศขึ้นทะเบียน เพื่อเป็นเครื่องประกาศว่าภาพยนตร์นั้นมีคุณค่าสำคัญของชาติจะปล่อยให้สูญหายหรือเสื่อมโทรมไม่ได้ ที่สำคัญเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้และได้ชมเรื่องราวในอดีต
นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการการพิจารณาขึ้นทะเบียนภาพยนตร์มรดกของชาติ กล่าวว่า หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกภาพยนตร์ เพื่อขึ้นทะเบียนนั้นมีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก 7 คน ส่วนเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาจะคำนึงถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และความทรงจำ มีคุณค่าทางศิลปะภาพยนตร์ มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียหรือยากแก่การหาทดแทน รวมถึงมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เป็นสำคัญ
ข่าวจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380877477&grpid=&catid=08&subcatid=0800