สวัสดีค่า
อันนี้เป็นกระทู้แรกที่เขียนยาวแบบจริงจัง เหมือนจะมารีวิวสินค้าอะไรอย่างนั้น
ซึ่งสินค้าวันนี้ที่จะมารีวิวคือ "การเรียนต่อปริญญาโทด้านกฎหมาย" หรือ LL.M. ที่อังกฤษ กับอเมริกาจ้า
ช่วงนี้เด็กๆหลายคนก็คงใกล้จะเรียนจบจากมหาวิทยาลัยกันแล้ว บางคนเรียนจบมานานแล้วก็อาจกำลังเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมเงิน? เพื่อยื่นเรียนต่อต่างประเทศ เราในฐานะคนที่ตั้งใจจะไปเรียนต่อตั้งแต่จบมหาลัยทันที จนตอนนี้ทำงานมาจะ 3 ปีแล้วเพิ่งจะยื่นไป เลยอยากมารีวิวแบบอินไซต์ และเปรียบเทียบการยื่นเรียนต่อของทั้ง 2 ประเทศ เผื่อใครที่กำลังทำๆ งงๆ จะได้มาคุยแลกเปลี่ยนกันได้นะเออ
ทำไมถึงเลือกยื่นทั้งสองที่?
คือเป็นคนหลายใจรักใครหลายคน 555555 เลือกไม่ได้ว่าจะไปประเทศไหนดี
เมื่อ 2 ปีก่อนก็ตั้งใจไว้นะว่าจะไปอังกฤษแน่ๆ เรียนคอร์ส IELTS ทุ่มสอบ IELTS มาเรียบร้อย
แต่.......
คะแนน Writing ยังไงก็อัพไม่ขึ้นซักที ก็เลยแอบถอดๆใจไปหน่อย
พอมาถึงปี 2016 ที่ผ่านมา เห็นเพื่อนไปเรียน TOEFL เลยคิดว่า เออไปเรียนมั้งดีกว่า แล้วลองไปสอบดูว่ามันใช่ทางของเรามั้ย สรุปว่าสอบแล้วแอบโอเคกว่า IELTS แหะ เลยลองยื่นอเมริกาดูดีกว่า แต่อังกฤษก็ยังไม่อยากถอดใจทิ้งไง.....ทำไงได้หละ........
ยื่นมันทั้งสองประเทศเลยค่า!!!
วิธีการยื่น Requirement เอกสาร ของ 2 ประเทศต่างกันมั้ย?
ภาพรวมยังไงก็คงไม่ต่างกันมาก อย่างเช่นคุณต้องมีใบเกรด มีคนเขียน Recommendation ให้ คุณต้องเขียน Personal Statement มา อะไรแบบนี้ แต่ในส่วน Detail, ระบบการยื่นมันก็ต่างกันค่อนข้างเยอะอยู่นะ จะขอลิสต์เป็นข้อๆดังนี้เนอะ
1. TOEFL VS IELTS
อันนี้น่าจะเป็นตัวหลักที่เห็นได้ชัดเลยว่ามันต่างกัน
โดยหลักแล้วอเมริกาใช้ TOEFL อังกฤษใช้ IELTS แต่ตอนนี้ก็มีหลายมหาวิทยาลัยที่รับทั้ง TOEFL และ IELTS ซึ่งก็เป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากยื่นผลสอบของอีกอัน .........แต่!!
จากที่สังเกตแล้ว อย่างยูของอังกฤษที่รับ TOEFL จะ Require คะแนนค่อนข้างสูง
ซึ่งในทางกลับกัน ยูของอเมริกาก็จะรับคะแนน IELTS ที่ค่อนข้างสูงเหมือนกัน
จนคิดว่า เออสอบอันที่เราถนัดให้ได้ถึง Minimum ก็ได้ว้า...
2. Recommendation (Reference)
จากที่สังเกตมา มหาวิทยาลัยในอเมริกามักจะ Require ว่าคนที่จะมาสมัครควรมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 2 ปี
ในขณะที่อังกฤษจะไม่มี Requirement ในข้อนี้
แต่ถามว่าคนที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานเลย หรือมี แต่ไม่ถึง 2 ปี จะไปสมัครมหาวิทยาลัยที่อเมริกาได้มั้ย?
บางที่ก็เขียนบอกว่าไม่ได้ บางที่ก็เขียนบอกว่าได้ แต่คุณต้องเขียนโชว์ใน Personal Statement ว่าคุณมีอะไรที่น่าสนใจที่เขาจะรับคุณมากๆนะ เขาถึงจะรับ แต่ส่วนตัวเราคิดว่ายังไงก็ลองยื่นไปก่อน เพราะก็เคยเห็นเพื่อนบางคนที่ไม่มีประสบการณ์ทำงาน แต่ก็ได้รับ Offer ให้ไปเรียนเหมือนกันนะ
ซึ่งจากข้อแตกต่างอันนี้ ทำให้คนที่จะมาเขียน Recommendation ก็ต่างกันไปด้วย
(USA): อย่างอเมริกา เขาจะกำหนดให้มี Recommendation มาจากคนที่สามารถประเมินการทำงานของเราได้ (Professional) แล้วอีกคนจะเป็นอาจารย์ (Academic) หรือเจ้านาย (Professional) อีกก็ได้ บางมหาวิทยาลัยกำหนดเป๊ะเลยว่ายื่นได้แค่ 2 คน ถ้าจะยื่น 3 คนต้องใส่เหตุผลว่าทำไม แต่บางที่ก็บอกแค่ขั้นต่ำ 2 คน มากสุดได้ 3 คน หรือ 4 คนก็มี แต่ส่วนตัวเราแนะนำว่าน่าจะประมาณ 3 คน ถ้าจะ 4 คนก็ขอให้เป็นคนที่สามารถประเมินเราได้จริง ทำงานอยู่ทีมเดียวกับเรา เป็นหัวหน้างานเรา รู้ลึกเรื่องของเราจริงๆอะไรแบบนี้ จะได้มีน้ำหนัก
(UK): แต่ทางฝั่งอังกฤษ มักจะกำหนดมาเลยว่าเอาแค่ 2 คนนะ และส่วนใหญ่จะขอเป็น Academic ทั้ง 2 อัน ไม่ค่อยเอา Professional เท่าไร อย่าง LSE จะบอกมาเลยว่า ถ้าคุณจบภายในปี ค.ศ. ...... คุณจะต้องยื่นเป็น Academic 2 คนนะ ถ้าจบหลังปี ค.ศ. ..... คุณถึงจะยื่นแบบ Professional ได้
เหตุผลอาจเป็นเพราะว่าเห็นเด็กที่ห่างจากมหาลัยไป 3 ปีแล้ว จะกลับไปหาอาจารย์ให้เขียนก็คงยากมั้ง เลยอนุโลมๆให้
3. Deadline
ตรงนี้ก็เป็นจุดนึงที่ต่างกันของ 2 ประเทศนี้เหมือนกัน
(USA): ทางฝั่งอเมริกา มหาวิทยาลัยหลายๆที่จะมีเวลา Deadline ที่ใกล้ๆกัน
อย่าง Harvard, Stanford จะมาเร็วหน่อย ประมาณต้นเดือนธันวาคม
มหาวิทยาลัยอื่นๆอย่าง Cornell, NYU, Chicago จะเป็นวันที่ 15 December
Berkeley จะเป็นตอนต้นเดือนมกราคม
ดังนั้นเดดไลน์จะแน่นอน Application ต้องกรอกครบ จ่ายเงินเรียบร้อย ถึงจะโอเค
(แต่ก็มีบางมหาวิทยาลัยที่พอถึงเวลาใกล้ๆ Deadline จะ Email มาบอกว่า เออฉันขยายให้เธอนะ สามารถยื่นได้ถึงวันที่ 19 December งี้
แต่ก็ไม่รู้ว่าเป็นงี้ทุกปีมั้ย เพราะงั้นเราอย่าไปลุ้นเอาตอนใกล้ Deadline ดีกว่าเนอะ)
(UK): แต่ถ้าเป็นฝั่งอังกฤษ จะมี Cambridge ที่มีเดดไลน์เร็วคือ 15 November
แต่มหาวิทยาลัยอื่นๆก็อาจจะมีDeadline บ้าง หรือไม่มีกำหนดไว้เลย หรือDeadline ไกลมากๆ ก็มี
ซึ่งอังกฤษจะเป็นแนว First come, First serve มาก่อนได้ก่อน มาเร็วก็ได้ Offer เร็ว ที่นั่งเต็มก็บายนะจ้ะ
4. วิธีการ Summit application
ส่วนตัวเราคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต่างที่สุดสำหรับสองประเทศนี้
เมื่อ 2 ปีที่แล้วเราทำยื่นแค่ของอังกฤษ มันก็จะชินกับระบบการยื่นของอังกฤษ แต่พอปีนี้ต้องมาทำยื่นอเมริกาด้วย......
......ค่ดไม่ชินนนนนน
มันจะงงๆ เหมือนคนที่ชินกับแอนดรอย ไปใช้แอปเปิ้ล ก็จะงงๆมึนๆในช่วงแรกๆ อะไรอย่างนั้น
(USA): ทางฝั่งอเมริกาจะใช้บริการของหน่วยงานนึง ชื่อ Law School Admission Council (LSAC)
อะ แปะลิงค์ให้ด้วย
http://www.lsac.org/
คือเวลาเรายื่น application เนี่ย มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่แล้วจะให้เรากรอกข้อมูลของเรา, upload ยื่น ส่ง เอกสารทุกอย่างตั้งแต่ Transcript, Ranking, TOEFL รวมถึงให้อาจารย์ส่ง Recommendation ผ่านเจ้าตัว LSAC นี่เลย
(ยกเว้น Harvard ที่เราต้องไปที่เว็บไซต์ของ Harvard แล้วสมัคร account แล้วยื่นผ่านเว็บของมัน)
เวลาเราสมัคร Account กับ LSAC เราจะได้เลข LSAC มา (มันจะเป็น Lแล้วตามด้วยเลข 8 ตัว เช่น L12345678)
ซึ่งเลข LSAC นี่สำคัญนะ ! มันจะเป็นตัวที่มหาวิทยาลัยใช้อ้างอิงในการดึงข้อมูลเราจาก LSAC
เอาจริง LSAC มันจะสะดวกมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกก สำหรับคนที่ยื่นหลายมหาวิทยาลัยในอเมริกา
เพราะเราจะกรอกข้อมูลหลักๆแค่ครั้งเดียวเท่านั้น! แล้วมันจะลิงค์ต่อไปเวลาเราจะสมัครมหาวิทยาลัยอื่นทันที
อย่างเช่น...... เรากรอก ชื่อ แซ่ เรากับ Cornell
พอเราไปกดสมัคร Columbia มั่ง เราก็ไม่ต้องมานั่งกรอกชื่อ แซ่ เราอีกครั้ง
มันเด้งมาให้เราเลยค่าาาาาา อเมซิ่งงง
ความอเมซิ่งมันยังมีอีกเยอะ วิธีการใช้งานก็งงๆเช่นกัน ในกระทู้นี้จะยังไม่พูดถึงมันละกันเนอะ เพราะมันยาววววและละเอียดดดดมากกกก
เรารู้สึกว่ากว่าเราจะชินได้นี่.....ซักพักเลยอะ มันมีอะไรเยอะมาก และมีบริการ (ให้เสียเงิน) เยอะมากด้วย 55555555555
(UK): ส่วนอังกฤษก็จะให้เราไปสมัคร Account ของแต่ละมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งหมายความว่า เราต้องมากรอกอะไรซ้ำๆ หลายๆรอบ
ถ้าเราจะยื่นหลายๆที่ แล้วกรอกหลายๆครั้ง...มันก็น่ารำคาญเหมือนกันนะ 55555555555
เพราะงั้นเราต้องตรวจเช็คทุก Application ของเราให้เรียบร้อยแล้วถูกต้องทุกครั้งด้วยนะเด้อ
อย่าคิดว่าแบบ ชื่อฉัน ฉันไม่พิมพ์ผิดหรอก เพราะอะไรที่เรายิ่งชินตา มันยิ่งทำให้เราไม่ได้สังเกตน้า
5. Agency
เอเจนซี่ เท่าที่เราเข้าใจคือคนที่ช่วยจัดการเรื่องการเรียนต่อให้ เป็นคนให้คำแนะนำในการเรียนต่อ ให้คำปรึกษาว่าควรเขียน Essay อย่างไร คะแนนอย่างเราควรเข้าที่ไหน เราควรไปอัพเลเวลตัวเองอะไรบ้าง และมีบางเอเจนซี่ที่มี Connection กับมหาวิทยาลัยนั้นๆ ก็จะสามารถ Waive ค่าสมัครได้ หรือว่าเอกสารไม่ต้องครบก็สามารถพิจารณา Offer ให้ได้เลย หรือคะแนนอังกฤษไม่ถึงก็พิจารณาได้ก็มี
ซึ่งเอเจนซี่เท่าที่เราดูเหมือนเห็นแต่ของอังกฤษแหะ ยังไม่เจอของฝั่งอเมริกาอะ ถ้าใครรู้มาบอกกันบ้างน้า
6. ค่าเงิน
อันนี้ใครๆก็คงรู้อยู่แล้วเนาะว่า อเมริกาใช้ USD ส่วนอังกฤษเป็นเงิน GBP นี่เขียนข้อนี้ขึ้นมาให้ดูเยอๆไปงั้น 5555
แต่ไหนๆเราก็จะไปเรียนต่อกันแล้ว คอยดูค่าเงินไว้ก็ดี เวลาไหนขึ้น เวลาไหนลง ไหนๆก็ต้องใช้อยู่แล้วตอนเรียนต่อ จะได้ซื้อตุนไว้
เวลาจ่ายเงินค่าสมัครนี่ เราถึงขนาดดูแนวโน้มค่าเงินเลยนะ ว่ามันจะลดลงมามั้ยน้า จะได้รอกดจ่ายตังช่วงนั้น ทั้งๆที่มันก็ไม่ได้ต่างกันกี่บาท... ฮืออออ
ส่วนปัญหา ความซัฟเฟอร์ต่างๆที่เจอ คือ
1. หา Academic Recommendation
คือสมัยเรียนเป็นเด็กที่เข้าเรียนนะ เข้าเรียนทุกคาบ จดเลคเชอร์ครบ แต่ไม่ค่อยมีปฎิสัมพันธ์กับอาจารย์เท่าไร นอกจากว่าจะมีข้อสงสัยในห้องเรียนจริงๆ แต่บางทีสงสัยก็ยังไม่ค่อยไปถาม เพราะบางทีดูคนต่อคิวถามเยอะแล้ว เกรงใจอาจารย์บ้างหละ ขี้เกียจบ้างหละ ทำให้อาจารย์จำหน้า จำชื่อได้บ้างไม่ได้บ้าง
แต่ปัญหามันก็คือตรงนี้แหละ...... อาจารย์จำเราไม่ได้!!
และเราก็ไม่ได้สนิทกับอาจารย์ขนาดนั้น พอเวลาไปหาอาจารย์เพื่อขอ Recommendation ก็จะลำบากละ อาจารย์ก็จะแบบงงๆว่าเราเป็นใคร ติดต่อหาอาจารย์ก็จะลำบากกว่าตอนสมัยเรียน เพราะเรียนจบไป 2-3 ปีแล้ว อาจารย์อยู่ไหนก็ไม่รู้ ต้องลางานไปตามล่าหาอาจารย์ บางทีไปก็ไม่เจองี้ โอ้โหหหหห ซัฟเฟอร์มากกก เพราะอาจารย์หลายคนก็มีภารกิจ มีสอนเยอะ ต้องเตรียมสอน มีประชุม บลาๆ อาจารย์คนไหนฮอตฮิตหน่อย ก็จะมีนักเรียนขอให้เขียนเยอะหน่อย เพราะฉะนั้น แนะนำคุยกับอาจารย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เนิ่นแบบตั้งแต่เรียนปี 1 เลยก็ได้ 55555555555555
2. Deadline เมื่อไรกันแน่
บางมหาวิทยาก็ดีที่บอกเลยว่า วันเดือนปีไหน เวลาไหน ของโซนอะไร เราก็จะได้มาคำนวนถูกว่า อ๋ออ มันจะเป็นเวลานี้ๆ ของบ้านเราน้า
แต่บางมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้บอกชัดเจนไง....
บางที่ก็แบบบอกแค่วันเดือนปี และเวลา แต่ไม่บอกว่าคิดของโซนเวลาไหน บางที่หนักกว่าเดิม ไม่บอกแม้กระทั่งเวลา
บางที่นี่ หาไม่เจอแม้กระทั้ง Deadline โอ้แม่เจ้า!!
ช่างมัน ส่งก่อนล่วงหน้าดีที่สุดค่ะ
ความจริงสำหรับเรา เรารู้สึกว่าเรายังมีปัญหาอีกเยอะแยะมากก เพราะเพิ่งมาสำนึกได้ว่า เออควรต้องสมัครแล้วนะ ตอนช่วงเดือน 7 ซึ่งแบบ อีกไม่กี่เดือนแล้วมั้ยยยย คะแนน TOEFL IELTS ก็ยังไม่ดี Personal Statement ก็ไม่รู้จะเขียนอะไร ส่ง Recommendation ทางไปรษณีย์ก็ไปไม่ถึงอีก โอ้ยเครียดมาก
แต่ ณ วันนี้ก็ผ่านจุดนั้นมาได้แล้ว ฮือออ เลยอยากจะมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เพื่อที่จะได้ไม่ประสบปัญหาเดียวกัน 555555
ถ้าใครอยากถามอะไร ถามมาได้เลยน้า หรือหลังไมค์มาก็ได้ หรือมาดูที่เพจก็ได้น้า
https://www.facebook.com/studyinothercountries/
เป็นเพจที่เราตั้งมาตั้งแต่ตอนช่วงทำเรื่องยื่นสมัคร บ่นแบบเรียลไทม์มากกก ก็มาพูดคุยกันได้น้า
ถ้าอยากรู้ว่าเรียน TOEFL IELTS ที่ไหน สอบยังไง ยื่นสมัครยังไง ใช้ LSAC ยังไง ก็ติดตามกันได้เลย
อันนี้เป็นกระทู้แรกที่เขียนยาวขนาดนี้ ถ้ามีข้อแนะนำ ติชมอะไร บอกได้เลยนะคะ
ขอบคุณค่า บายยยย
How to สมัคร LL.M. เรียนต่อ กับ UK & USA
อันนี้เป็นกระทู้แรกที่เขียนยาวแบบจริงจัง เหมือนจะมารีวิวสินค้าอะไรอย่างนั้น
ซึ่งสินค้าวันนี้ที่จะมารีวิวคือ "การเรียนต่อปริญญาโทด้านกฎหมาย" หรือ LL.M. ที่อังกฤษ กับอเมริกาจ้า
ช่วงนี้เด็กๆหลายคนก็คงใกล้จะเรียนจบจากมหาวิทยาลัยกันแล้ว บางคนเรียนจบมานานแล้วก็อาจกำลังเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมเงิน? เพื่อยื่นเรียนต่อต่างประเทศ เราในฐานะคนที่ตั้งใจจะไปเรียนต่อตั้งแต่จบมหาลัยทันที จนตอนนี้ทำงานมาจะ 3 ปีแล้วเพิ่งจะยื่นไป เลยอยากมารีวิวแบบอินไซต์ และเปรียบเทียบการยื่นเรียนต่อของทั้ง 2 ประเทศ เผื่อใครที่กำลังทำๆ งงๆ จะได้มาคุยแลกเปลี่ยนกันได้นะเออ
ทำไมถึงเลือกยื่นทั้งสองที่?
คือเป็นคนหลายใจรักใครหลายคน 555555 เลือกไม่ได้ว่าจะไปประเทศไหนดี
เมื่อ 2 ปีก่อนก็ตั้งใจไว้นะว่าจะไปอังกฤษแน่ๆ เรียนคอร์ส IELTS ทุ่มสอบ IELTS มาเรียบร้อย
แต่.......
คะแนน Writing ยังไงก็อัพไม่ขึ้นซักที ก็เลยแอบถอดๆใจไปหน่อย
พอมาถึงปี 2016 ที่ผ่านมา เห็นเพื่อนไปเรียน TOEFL เลยคิดว่า เออไปเรียนมั้งดีกว่า แล้วลองไปสอบดูว่ามันใช่ทางของเรามั้ย สรุปว่าสอบแล้วแอบโอเคกว่า IELTS แหะ เลยลองยื่นอเมริกาดูดีกว่า แต่อังกฤษก็ยังไม่อยากถอดใจทิ้งไง.....ทำไงได้หละ........
ยื่นมันทั้งสองประเทศเลยค่า!!!
วิธีการยื่น Requirement เอกสาร ของ 2 ประเทศต่างกันมั้ย?
ภาพรวมยังไงก็คงไม่ต่างกันมาก อย่างเช่นคุณต้องมีใบเกรด มีคนเขียน Recommendation ให้ คุณต้องเขียน Personal Statement มา อะไรแบบนี้ แต่ในส่วน Detail, ระบบการยื่นมันก็ต่างกันค่อนข้างเยอะอยู่นะ จะขอลิสต์เป็นข้อๆดังนี้เนอะ
1. TOEFL VS IELTS
อันนี้น่าจะเป็นตัวหลักที่เห็นได้ชัดเลยว่ามันต่างกัน
โดยหลักแล้วอเมริกาใช้ TOEFL อังกฤษใช้ IELTS แต่ตอนนี้ก็มีหลายมหาวิทยาลัยที่รับทั้ง TOEFL และ IELTS ซึ่งก็เป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากยื่นผลสอบของอีกอัน .........แต่!!
จากที่สังเกตแล้ว อย่างยูของอังกฤษที่รับ TOEFL จะ Require คะแนนค่อนข้างสูง
ซึ่งในทางกลับกัน ยูของอเมริกาก็จะรับคะแนน IELTS ที่ค่อนข้างสูงเหมือนกัน
จนคิดว่า เออสอบอันที่เราถนัดให้ได้ถึง Minimum ก็ได้ว้า...
2. Recommendation (Reference)
จากที่สังเกตมา มหาวิทยาลัยในอเมริกามักจะ Require ว่าคนที่จะมาสมัครควรมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 2 ปี
ในขณะที่อังกฤษจะไม่มี Requirement ในข้อนี้
แต่ถามว่าคนที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานเลย หรือมี แต่ไม่ถึง 2 ปี จะไปสมัครมหาวิทยาลัยที่อเมริกาได้มั้ย?
บางที่ก็เขียนบอกว่าไม่ได้ บางที่ก็เขียนบอกว่าได้ แต่คุณต้องเขียนโชว์ใน Personal Statement ว่าคุณมีอะไรที่น่าสนใจที่เขาจะรับคุณมากๆนะ เขาถึงจะรับ แต่ส่วนตัวเราคิดว่ายังไงก็ลองยื่นไปก่อน เพราะก็เคยเห็นเพื่อนบางคนที่ไม่มีประสบการณ์ทำงาน แต่ก็ได้รับ Offer ให้ไปเรียนเหมือนกันนะ
ซึ่งจากข้อแตกต่างอันนี้ ทำให้คนที่จะมาเขียน Recommendation ก็ต่างกันไปด้วย
(USA): อย่างอเมริกา เขาจะกำหนดให้มี Recommendation มาจากคนที่สามารถประเมินการทำงานของเราได้ (Professional) แล้วอีกคนจะเป็นอาจารย์ (Academic) หรือเจ้านาย (Professional) อีกก็ได้ บางมหาวิทยาลัยกำหนดเป๊ะเลยว่ายื่นได้แค่ 2 คน ถ้าจะยื่น 3 คนต้องใส่เหตุผลว่าทำไม แต่บางที่ก็บอกแค่ขั้นต่ำ 2 คน มากสุดได้ 3 คน หรือ 4 คนก็มี แต่ส่วนตัวเราแนะนำว่าน่าจะประมาณ 3 คน ถ้าจะ 4 คนก็ขอให้เป็นคนที่สามารถประเมินเราได้จริง ทำงานอยู่ทีมเดียวกับเรา เป็นหัวหน้างานเรา รู้ลึกเรื่องของเราจริงๆอะไรแบบนี้ จะได้มีน้ำหนัก
(UK): แต่ทางฝั่งอังกฤษ มักจะกำหนดมาเลยว่าเอาแค่ 2 คนนะ และส่วนใหญ่จะขอเป็น Academic ทั้ง 2 อัน ไม่ค่อยเอา Professional เท่าไร อย่าง LSE จะบอกมาเลยว่า ถ้าคุณจบภายในปี ค.ศ. ...... คุณจะต้องยื่นเป็น Academic 2 คนนะ ถ้าจบหลังปี ค.ศ. ..... คุณถึงจะยื่นแบบ Professional ได้
เหตุผลอาจเป็นเพราะว่าเห็นเด็กที่ห่างจากมหาลัยไป 3 ปีแล้ว จะกลับไปหาอาจารย์ให้เขียนก็คงยากมั้ง เลยอนุโลมๆให้
3. Deadline
ตรงนี้ก็เป็นจุดนึงที่ต่างกันของ 2 ประเทศนี้เหมือนกัน
(USA): ทางฝั่งอเมริกา มหาวิทยาลัยหลายๆที่จะมีเวลา Deadline ที่ใกล้ๆกัน
อย่าง Harvard, Stanford จะมาเร็วหน่อย ประมาณต้นเดือนธันวาคม
มหาวิทยาลัยอื่นๆอย่าง Cornell, NYU, Chicago จะเป็นวันที่ 15 December
Berkeley จะเป็นตอนต้นเดือนมกราคม
ดังนั้นเดดไลน์จะแน่นอน Application ต้องกรอกครบ จ่ายเงินเรียบร้อย ถึงจะโอเค
(แต่ก็มีบางมหาวิทยาลัยที่พอถึงเวลาใกล้ๆ Deadline จะ Email มาบอกว่า เออฉันขยายให้เธอนะ สามารถยื่นได้ถึงวันที่ 19 December งี้
แต่ก็ไม่รู้ว่าเป็นงี้ทุกปีมั้ย เพราะงั้นเราอย่าไปลุ้นเอาตอนใกล้ Deadline ดีกว่าเนอะ)
(UK): แต่ถ้าเป็นฝั่งอังกฤษ จะมี Cambridge ที่มีเดดไลน์เร็วคือ 15 November
แต่มหาวิทยาลัยอื่นๆก็อาจจะมีDeadline บ้าง หรือไม่มีกำหนดไว้เลย หรือDeadline ไกลมากๆ ก็มี
ซึ่งอังกฤษจะเป็นแนว First come, First serve มาก่อนได้ก่อน มาเร็วก็ได้ Offer เร็ว ที่นั่งเต็มก็บายนะจ้ะ
4. วิธีการ Summit application
ส่วนตัวเราคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต่างที่สุดสำหรับสองประเทศนี้
เมื่อ 2 ปีที่แล้วเราทำยื่นแค่ของอังกฤษ มันก็จะชินกับระบบการยื่นของอังกฤษ แต่พอปีนี้ต้องมาทำยื่นอเมริกาด้วย......
......ค่ดไม่ชินนนนนน
มันจะงงๆ เหมือนคนที่ชินกับแอนดรอย ไปใช้แอปเปิ้ล ก็จะงงๆมึนๆในช่วงแรกๆ อะไรอย่างนั้น
(USA): ทางฝั่งอเมริกาจะใช้บริการของหน่วยงานนึง ชื่อ Law School Admission Council (LSAC)
อะ แปะลิงค์ให้ด้วย
http://www.lsac.org/
คือเวลาเรายื่น application เนี่ย มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่แล้วจะให้เรากรอกข้อมูลของเรา, upload ยื่น ส่ง เอกสารทุกอย่างตั้งแต่ Transcript, Ranking, TOEFL รวมถึงให้อาจารย์ส่ง Recommendation ผ่านเจ้าตัว LSAC นี่เลย
(ยกเว้น Harvard ที่เราต้องไปที่เว็บไซต์ของ Harvard แล้วสมัคร account แล้วยื่นผ่านเว็บของมัน)
เวลาเราสมัคร Account กับ LSAC เราจะได้เลข LSAC มา (มันจะเป็น Lแล้วตามด้วยเลข 8 ตัว เช่น L12345678)
ซึ่งเลข LSAC นี่สำคัญนะ ! มันจะเป็นตัวที่มหาวิทยาลัยใช้อ้างอิงในการดึงข้อมูลเราจาก LSAC
เอาจริง LSAC มันจะสะดวกมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกก สำหรับคนที่ยื่นหลายมหาวิทยาลัยในอเมริกา
เพราะเราจะกรอกข้อมูลหลักๆแค่ครั้งเดียวเท่านั้น! แล้วมันจะลิงค์ต่อไปเวลาเราจะสมัครมหาวิทยาลัยอื่นทันที
อย่างเช่น...... เรากรอก ชื่อ แซ่ เรากับ Cornell
พอเราไปกดสมัคร Columbia มั่ง เราก็ไม่ต้องมานั่งกรอกชื่อ แซ่ เราอีกครั้ง
มันเด้งมาให้เราเลยค่าาาาาา อเมซิ่งงง
ความอเมซิ่งมันยังมีอีกเยอะ วิธีการใช้งานก็งงๆเช่นกัน ในกระทู้นี้จะยังไม่พูดถึงมันละกันเนอะ เพราะมันยาววววและละเอียดดดดมากกกก
เรารู้สึกว่ากว่าเราจะชินได้นี่.....ซักพักเลยอะ มันมีอะไรเยอะมาก และมีบริการ (ให้เสียเงิน) เยอะมากด้วย 55555555555
(UK): ส่วนอังกฤษก็จะให้เราไปสมัคร Account ของแต่ละมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งหมายความว่า เราต้องมากรอกอะไรซ้ำๆ หลายๆรอบ
ถ้าเราจะยื่นหลายๆที่ แล้วกรอกหลายๆครั้ง...มันก็น่ารำคาญเหมือนกันนะ 55555555555
เพราะงั้นเราต้องตรวจเช็คทุก Application ของเราให้เรียบร้อยแล้วถูกต้องทุกครั้งด้วยนะเด้อ
อย่าคิดว่าแบบ ชื่อฉัน ฉันไม่พิมพ์ผิดหรอก เพราะอะไรที่เรายิ่งชินตา มันยิ่งทำให้เราไม่ได้สังเกตน้า
5. Agency
เอเจนซี่ เท่าที่เราเข้าใจคือคนที่ช่วยจัดการเรื่องการเรียนต่อให้ เป็นคนให้คำแนะนำในการเรียนต่อ ให้คำปรึกษาว่าควรเขียน Essay อย่างไร คะแนนอย่างเราควรเข้าที่ไหน เราควรไปอัพเลเวลตัวเองอะไรบ้าง และมีบางเอเจนซี่ที่มี Connection กับมหาวิทยาลัยนั้นๆ ก็จะสามารถ Waive ค่าสมัครได้ หรือว่าเอกสารไม่ต้องครบก็สามารถพิจารณา Offer ให้ได้เลย หรือคะแนนอังกฤษไม่ถึงก็พิจารณาได้ก็มี
ซึ่งเอเจนซี่เท่าที่เราดูเหมือนเห็นแต่ของอังกฤษแหะ ยังไม่เจอของฝั่งอเมริกาอะ ถ้าใครรู้มาบอกกันบ้างน้า
6. ค่าเงิน
อันนี้ใครๆก็คงรู้อยู่แล้วเนาะว่า อเมริกาใช้ USD ส่วนอังกฤษเป็นเงิน GBP นี่เขียนข้อนี้ขึ้นมาให้ดูเยอๆไปงั้น 5555
แต่ไหนๆเราก็จะไปเรียนต่อกันแล้ว คอยดูค่าเงินไว้ก็ดี เวลาไหนขึ้น เวลาไหนลง ไหนๆก็ต้องใช้อยู่แล้วตอนเรียนต่อ จะได้ซื้อตุนไว้
เวลาจ่ายเงินค่าสมัครนี่ เราถึงขนาดดูแนวโน้มค่าเงินเลยนะ ว่ามันจะลดลงมามั้ยน้า จะได้รอกดจ่ายตังช่วงนั้น ทั้งๆที่มันก็ไม่ได้ต่างกันกี่บาท... ฮืออออ
ส่วนปัญหา ความซัฟเฟอร์ต่างๆที่เจอ คือ
1. หา Academic Recommendation
คือสมัยเรียนเป็นเด็กที่เข้าเรียนนะ เข้าเรียนทุกคาบ จดเลคเชอร์ครบ แต่ไม่ค่อยมีปฎิสัมพันธ์กับอาจารย์เท่าไร นอกจากว่าจะมีข้อสงสัยในห้องเรียนจริงๆ แต่บางทีสงสัยก็ยังไม่ค่อยไปถาม เพราะบางทีดูคนต่อคิวถามเยอะแล้ว เกรงใจอาจารย์บ้างหละ ขี้เกียจบ้างหละ ทำให้อาจารย์จำหน้า จำชื่อได้บ้างไม่ได้บ้าง
แต่ปัญหามันก็คือตรงนี้แหละ...... อาจารย์จำเราไม่ได้!!
และเราก็ไม่ได้สนิทกับอาจารย์ขนาดนั้น พอเวลาไปหาอาจารย์เพื่อขอ Recommendation ก็จะลำบากละ อาจารย์ก็จะแบบงงๆว่าเราเป็นใคร ติดต่อหาอาจารย์ก็จะลำบากกว่าตอนสมัยเรียน เพราะเรียนจบไป 2-3 ปีแล้ว อาจารย์อยู่ไหนก็ไม่รู้ ต้องลางานไปตามล่าหาอาจารย์ บางทีไปก็ไม่เจองี้ โอ้โหหหหห ซัฟเฟอร์มากกก เพราะอาจารย์หลายคนก็มีภารกิจ มีสอนเยอะ ต้องเตรียมสอน มีประชุม บลาๆ อาจารย์คนไหนฮอตฮิตหน่อย ก็จะมีนักเรียนขอให้เขียนเยอะหน่อย เพราะฉะนั้น แนะนำคุยกับอาจารย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เนิ่นแบบตั้งแต่เรียนปี 1 เลยก็ได้ 55555555555555
2. Deadline เมื่อไรกันแน่
บางมหาวิทยาก็ดีที่บอกเลยว่า วันเดือนปีไหน เวลาไหน ของโซนอะไร เราก็จะได้มาคำนวนถูกว่า อ๋ออ มันจะเป็นเวลานี้ๆ ของบ้านเราน้า
แต่บางมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้บอกชัดเจนไง....
บางที่ก็แบบบอกแค่วันเดือนปี และเวลา แต่ไม่บอกว่าคิดของโซนเวลาไหน บางที่หนักกว่าเดิม ไม่บอกแม้กระทั่งเวลา
บางที่นี่ หาไม่เจอแม้กระทั้ง Deadline โอ้แม่เจ้า!!
ช่างมัน ส่งก่อนล่วงหน้าดีที่สุดค่ะ
ความจริงสำหรับเรา เรารู้สึกว่าเรายังมีปัญหาอีกเยอะแยะมากก เพราะเพิ่งมาสำนึกได้ว่า เออควรต้องสมัครแล้วนะ ตอนช่วงเดือน 7 ซึ่งแบบ อีกไม่กี่เดือนแล้วมั้ยยยย คะแนน TOEFL IELTS ก็ยังไม่ดี Personal Statement ก็ไม่รู้จะเขียนอะไร ส่ง Recommendation ทางไปรษณีย์ก็ไปไม่ถึงอีก โอ้ยเครียดมาก
แต่ ณ วันนี้ก็ผ่านจุดนั้นมาได้แล้ว ฮือออ เลยอยากจะมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เพื่อที่จะได้ไม่ประสบปัญหาเดียวกัน 555555
ถ้าใครอยากถามอะไร ถามมาได้เลยน้า หรือหลังไมค์มาก็ได้ หรือมาดูที่เพจก็ได้น้า
https://www.facebook.com/studyinothercountries/
เป็นเพจที่เราตั้งมาตั้งแต่ตอนช่วงทำเรื่องยื่นสมัคร บ่นแบบเรียลไทม์มากกก ก็มาพูดคุยกันได้น้า
ถ้าอยากรู้ว่าเรียน TOEFL IELTS ที่ไหน สอบยังไง ยื่นสมัครยังไง ใช้ LSAC ยังไง ก็ติดตามกันได้เลย
อันนี้เป็นกระทู้แรกที่เขียนยาวขนาดนี้ ถ้ามีข้อแนะนำ ติชมอะไร บอกได้เลยนะคะ
ขอบคุณค่า บายยยย