สวัสดีคะ เนื่องจากช่วงนี้มีคนสนใจไปเรียนต่อต่างประเทศกันมากขึ้น แล้วก็มีคนติดต่อเข้ามาถาม จขกท อยู่บ่อยๆถึงขั้นตอนการสมัครไปเรียนต่อต่างประเทศ จขกท จึงตั้งใจเขียนกระทู้นี้ขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ผู้ที่สนใจนะคะ หวังว่ากระทู้นี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยคะ
ก่อนอื่นขอเกริ่นประวัติของ จขกท ก่อนเลยนะคะ เราเรียนจบปริญญาตรีด้านกฏหมายจาก UK และ ทำปริญญาโทที่มหาลัย ivy league top 10 ของเมกา สำหรับกระทู้นี้ขอเน้นเป็นให้คำแนะนำการสมัครเรียนต่อปริญญาโท โดยเน้นด้านกฏหมาย (LLM) เป็นหลักละกันนะคะ แต่ส่วนของ personal statement และ recommendation ที่เขียนแนะนำก็สามารถนำไปปรับใช้กับการสมัครคณะอื่นทั้งตรี (UK) และ โท (US/UK) ได้เหมือนกันหมดคะ
[NOTE: กรณีปริญญาตรีที่ US หลักการเขียน personal statement ที่เขียนข้างล่างนี้อาจปรับใช้ได้ไม่หมด เพราะ สิ่งที่ US college ต้องการต่างจากนี้คะ หลังไมค์มาถามเพิ่มเติมได้นะคะ]
โดยหลักๆแล้วเอกสารที่ต้องเตรียมก้คล้ายๆกันคือ
1. Personal Statement สิ่งที่ใช้เวลาและทำให้ทุกคนปวดหัวเป็นอย่างมากว่า essay ที่ดีควรเป็นอย่างไร สำหรับเราใช้หลัก past-present-future และ why me- why your university- how we match ซึ่งก็คือการเขียนเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมดของเราทั้งด้าน academics and non academics e.g. work experience, project volunteer, etc. เพื่อเป็นการสะท้อน why me ในแง่ของ skills and knowledge ที่เรามี ประสบการณ์ที่ผ่านมาเหล่านี้จะเป็นสิ่งสะท้อนความเป็นตัวเราที่โดดเด่นออกมาจากคนอื่น ต่อมาคือ present ซึ่งคือการเขียนเหตุผลว่าทำไมถึงต้องมาเรียนต่อโท คือคิดว่าเรายังขาดอะไรหรือต้องการเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม แล้วการมาเรียนนี้จะเพิ่มพูนอะไรให้กับเราได้บ้าง และทำไมต้องเลือกมหาลัยนี้ในการสมัคร ซึ่งตรงส่วนนี้อาจต้องทำ detailed research นิดนึงว่ามหาลัยที่เราสมัครมีอะไรโดดเด่นบ้าง เช่น course, professor, student club and activities, research center, etc. ส่วนสุดท้ายคือ future อันนี้เป็นการบอกเหตุผลไปว่าเรามีแพลนจะทำอะไรต่อในอนาคตและคิดว่าจะเอาสิ่งที่เรียนมานั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร ซึ่งพยายามเขียนให้เห็นว่าทำไมมหาลัยนี้ถึง match และสำคัญต่อสิ่งที่เราอยากทำ และสอดคล้องกับสิ่งที่เราหวังจะได้รับจากการเรียนต่ออย่างไร
ปัญหาอย่างหนึ่งเลยที่เห็นเวลามีคนส่งมาให้อ่าน essay คือการเขียนเล่าเรื่องแต่ขาดการยกตัวอย่าง เช่นบอกว่า เรามี skill x, y, z แต่สิ่งที่มหาลัยต้องการไม่ใช่แค่นั้นเราต้องยกตัวอย่าง skills นั้นๆออกมาให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยเขียนออกมาเลยว่าเราเคยผ่านประสบการณ์ไรมาบ้างซึ่งประสบการณ์เหล่านั้นนั่นแหละจะ spell out เองว่าเรามี skills x,y,z จริง อีกอันคือการเขียนว่าอยากเข้าเพราะมหาลัยนี้เป็น dream school, world class university, bla bla. สิ่งที่มหาลัยต้องการไม่ใช่การเขียนยอมหาลัยแต่คือการเขียนโดยยกตัวอย่างมาว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้เป็น world class university
ในแง่คำศัพท์ เนื่องจาก personal statement ไม่ใช่การเขียนนิยาย เราไม่จำเป็นต้องประดิษฐ์คำศัพท์ หรือใช้ศัพท์เว่อวัง พวกศัพท์ SAT/GRE ยากๆ เพราะมันจะทำให้ดูลิเกหากใช้ผิด context สิ่งสำคัญคือ เขียนให้เข้าใจ be direct and specific ใช้ศัพท์ธรรมดาก็สามารถทำให้ essay ดูดีได้ Content ต่างหากที่ matter here
2. Recommendation (2-3 ฉบับ แล้วแต่มหาลัย) อันนี้ค่อนข้างสำคัญมากเลย อย่างที่รู้ๆกันในไทย อาจารย์หรือเจ้านาย มักจะให้ผู้สมัครไปเขียน draft มาแล้วซึ่งต่างจากของเราโดยสิ้นเชิง Prof./ supervisor เราที่อังกฤษ เค้าถือเรื่องนี้มาก จะเขียนตามความจริงและไม่มีการเอาให้อ่านก่อนด้วย มีคนถามเราว่า recommendation ที่ดีควรเป็นยังไง คร่าวๆเลยคือ ควรที่จะ specific และต้อง match กับสิ่งที่เราเขียนใน personal statement เพื่อเป็นการรับรองว่าเราทำ หรือ มีความสนใจในสื่งนั้นจริง เช่น ถ้ามีการเขียนใน essay ว่าเราเคยทำอะไรในที่ทำงานมาบ้าง recommendation ก้ควรใส่สิ่งนั้นลงไป แต่เขียนในมุมมองของ supervisor ว่าสิ่งที่เราทำนั้นมัน contribute ยังไงให้กับ project และ performance ของเราเป็นอย่างไร หรือ ถ้าเขียนว่าเรามีความสนใจในคอร์สนี้เป็นพิเศษ Recommendation ก็ควรจะ mention ว่าผู้สมัครมีความโดดเด่นในวิชานั้นอย่างไร ซึ่งอาจโชว์โดยผลการสอบเทียบกับคนทั้งหมด หรือ พูดถึง paper/ discussion ที่ผู้สมัครเคยทำในคอร์สนั้น นอกจากนี้ recommender ควรใส่ความเห็นของตนที่มีต่อศักยภาพของผู้สมัครด้วยว่ามีจุดแข็งอย่างไรบ้าง เป็นต้น
3. transcript
4. CV/Resume
5. คะแนนสอบ IELTS /TOEFL อังกฤษส่วนใหญ่จะรับทั้งสองอย่างที่ถามๆมา รวมถึงประสบการณ์ของเราเอง แนะนำให้สอบ IELTS เพราะน่าจะง่ายกว่าที่จะได้คะแนนผ่านเกณฑ์ที่มหาลัยต้องการ สำหรับ oxbridge: IELTS เฉลี่ยอย่างต่ำ 7.5 โดยต้องได้แต่ละ component อย่างต่ำ 7, TOEFL อย่างต่ำ 110 ซึ่งเราว่าเกณฑ์แอบโหดอยู่ ส่วน LSE เอา IELTS 7.5 with at least 7 in listening and writing ในเมกามักจะรับ TOEFL โดยพวกมหาลัย top จะเอาอย่างต่ำ 100 (at least 25 in writing or in all components) ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วแต่มหาลัย ผู้สมัครควรเช็คอีกที
***จะบอกว่าจริงๆแล้ว IELTS/ TOEFL ไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่าจะได้เข้าเรียนหรือไม่ กล่าวคือคนที่ได้ IELTS 9 ไม่ได้หมายความว่าจะมีโอกาสติดมากกว่าคนที่ได้ IELTS 7.5 มันเป็นเพียงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ใช่ในการสมัครเรียน เพราะงั้นไม่ต้องเครียดว่าต้องได้ perfect score ขอแค่ผ่านเกณฑ์ก้พอละคะ
6. อันนี้สำหรับ Oxford ขอ written work ด้านกฎหมาย 2000 words ด้วย ซึ่งสำหรับคนที่สมัคร Oxford อันนี้น่าจะเป็นตัวตัดสินว่าจะติดป่าว เพราะ personal statement ของ Oxford เอาแค่พอเป็นพิธี 300 words เอง และในเวบไซด์เค้าก้บอกชัดเจนว่า : The personal statement generally plays a less important role in the Law Faculty's assessment of applications than the references, written work, and academic qualifications.
7. Application fees ปกติของอังกฤษก้จะประมาณ £50-75 ส่วนเมกาจะประมาณ $80-100 ต่อที่คะ
***สำหรับอังกฤษต้องสมัครผ่านเวบไซด์ของแต่ละมหาลัย แต่ส่วนของอเมริกา จะค่อนข้างสะดวกกว่าตรงที่ว่ามหาลัยส่วนใหญ่จะใช้ระบบการสมัครผ่าน LSAC ซึ่งเป็นเวบไซด์กลางในการสมัครเรียน แต่อาจจะต้องเผื่อเวลาส่ง recommendation/ transcript หน่อย เพราะ LSAC ไม่รับส่งทาง internet ต้องส่งเป็นจดหมายเท่านั้น
สำหรับกระทู้นี้เอาไว้แค่นี้ก่อนละกันนะคะ เดี๋ยวเราจะมาอธิบายเพิ่มเติมถึงข้อแตกต่างของการเรียนและการสมัครของ US/UK ตรง comment นะคะ หากใครมีคำถามอะไรก้ post คำถามไว้ได้นะคะ หรือ สำหรับใครที่ต้องการขอคำแนะนำเป็นการส่วนตัวถึงขั้นตอนการสมัครเรียนและการเขียน personal statement ทั้งของอังกฤษและของเมกา ป. ตรี/โท คณะอื่นๆรวมทั้งกฏหมายก้หลังไมค์มาขอคำปรึกษาได้เลยนะคะ จขกท พอมีประสบการณ์เขียนใบสมัครเข้า ป. ตรี และ ป.โท สาขา engineer/finance/computer science อยุ่บ้างเช่นกันคะ
สุดท้ายนี้ อยากจะฝากว่าการมาเรียนต่างประเทศเป็นประสบการณ์ชีวิตที่มีค่าและได้เปิดมุมมองให้เราเป็นอย่างมากเลยคะ ทำให้เราเข้าใจสำนวนไทยเลยว่าทำไมกบจึงไม่ควรอยู่แค่ในกะลา จริงๆการมาเรียนต่อไม่ใช่เรื่องยาก หรือ ฝันเกินเอื้อมนะคะ ปีนึงๆเราเห็นคนไทยทั้งที่เรารู้จักและไม่รู้จักมาเรียนกันก็เยอะแยะ เพราะฉะนั้นคุณก็สามารถทำได้เช่นกันคะ เป็นกำลังใจให้ทุกคนที่จะทำใบสมัครที่กำลังจะเปิดช่วงเดือนกันยา เพื่อจะมาเรียนต่อในปี 2017 นะคะ
P.S. ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงความเห็นส่วนตัว และ ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียน หากผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะคะ
[แชร์ประสบการณ์] การสมัครเรียนต่อ UK และ US (เน้นโทกฏหมาย LLM)
ก่อนอื่นขอเกริ่นประวัติของ จขกท ก่อนเลยนะคะ เราเรียนจบปริญญาตรีด้านกฏหมายจาก UK และ ทำปริญญาโทที่มหาลัย ivy league top 10 ของเมกา สำหรับกระทู้นี้ขอเน้นเป็นให้คำแนะนำการสมัครเรียนต่อปริญญาโท โดยเน้นด้านกฏหมาย (LLM) เป็นหลักละกันนะคะ แต่ส่วนของ personal statement และ recommendation ที่เขียนแนะนำก็สามารถนำไปปรับใช้กับการสมัครคณะอื่นทั้งตรี (UK) และ โท (US/UK) ได้เหมือนกันหมดคะ
[NOTE: กรณีปริญญาตรีที่ US หลักการเขียน personal statement ที่เขียนข้างล่างนี้อาจปรับใช้ได้ไม่หมด เพราะ สิ่งที่ US college ต้องการต่างจากนี้คะ หลังไมค์มาถามเพิ่มเติมได้นะคะ]
โดยหลักๆแล้วเอกสารที่ต้องเตรียมก้คล้ายๆกันคือ
1. Personal Statement สิ่งที่ใช้เวลาและทำให้ทุกคนปวดหัวเป็นอย่างมากว่า essay ที่ดีควรเป็นอย่างไร สำหรับเราใช้หลัก past-present-future และ why me- why your university- how we match ซึ่งก็คือการเขียนเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมดของเราทั้งด้าน academics and non academics e.g. work experience, project volunteer, etc. เพื่อเป็นการสะท้อน why me ในแง่ของ skills and knowledge ที่เรามี ประสบการณ์ที่ผ่านมาเหล่านี้จะเป็นสิ่งสะท้อนความเป็นตัวเราที่โดดเด่นออกมาจากคนอื่น ต่อมาคือ present ซึ่งคือการเขียนเหตุผลว่าทำไมถึงต้องมาเรียนต่อโท คือคิดว่าเรายังขาดอะไรหรือต้องการเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม แล้วการมาเรียนนี้จะเพิ่มพูนอะไรให้กับเราได้บ้าง และทำไมต้องเลือกมหาลัยนี้ในการสมัคร ซึ่งตรงส่วนนี้อาจต้องทำ detailed research นิดนึงว่ามหาลัยที่เราสมัครมีอะไรโดดเด่นบ้าง เช่น course, professor, student club and activities, research center, etc. ส่วนสุดท้ายคือ future อันนี้เป็นการบอกเหตุผลไปว่าเรามีแพลนจะทำอะไรต่อในอนาคตและคิดว่าจะเอาสิ่งที่เรียนมานั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร ซึ่งพยายามเขียนให้เห็นว่าทำไมมหาลัยนี้ถึง match และสำคัญต่อสิ่งที่เราอยากทำ และสอดคล้องกับสิ่งที่เราหวังจะได้รับจากการเรียนต่ออย่างไร
ปัญหาอย่างหนึ่งเลยที่เห็นเวลามีคนส่งมาให้อ่าน essay คือการเขียนเล่าเรื่องแต่ขาดการยกตัวอย่าง เช่นบอกว่า เรามี skill x, y, z แต่สิ่งที่มหาลัยต้องการไม่ใช่แค่นั้นเราต้องยกตัวอย่าง skills นั้นๆออกมาให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยเขียนออกมาเลยว่าเราเคยผ่านประสบการณ์ไรมาบ้างซึ่งประสบการณ์เหล่านั้นนั่นแหละจะ spell out เองว่าเรามี skills x,y,z จริง อีกอันคือการเขียนว่าอยากเข้าเพราะมหาลัยนี้เป็น dream school, world class university, bla bla. สิ่งที่มหาลัยต้องการไม่ใช่การเขียนยอมหาลัยแต่คือการเขียนโดยยกตัวอย่างมาว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้เป็น world class university
ในแง่คำศัพท์ เนื่องจาก personal statement ไม่ใช่การเขียนนิยาย เราไม่จำเป็นต้องประดิษฐ์คำศัพท์ หรือใช้ศัพท์เว่อวัง พวกศัพท์ SAT/GRE ยากๆ เพราะมันจะทำให้ดูลิเกหากใช้ผิด context สิ่งสำคัญคือ เขียนให้เข้าใจ be direct and specific ใช้ศัพท์ธรรมดาก็สามารถทำให้ essay ดูดีได้ Content ต่างหากที่ matter here
2. Recommendation (2-3 ฉบับ แล้วแต่มหาลัย) อันนี้ค่อนข้างสำคัญมากเลย อย่างที่รู้ๆกันในไทย อาจารย์หรือเจ้านาย มักจะให้ผู้สมัครไปเขียน draft มาแล้วซึ่งต่างจากของเราโดยสิ้นเชิง Prof./ supervisor เราที่อังกฤษ เค้าถือเรื่องนี้มาก จะเขียนตามความจริงและไม่มีการเอาให้อ่านก่อนด้วย มีคนถามเราว่า recommendation ที่ดีควรเป็นยังไง คร่าวๆเลยคือ ควรที่จะ specific และต้อง match กับสิ่งที่เราเขียนใน personal statement เพื่อเป็นการรับรองว่าเราทำ หรือ มีความสนใจในสื่งนั้นจริง เช่น ถ้ามีการเขียนใน essay ว่าเราเคยทำอะไรในที่ทำงานมาบ้าง recommendation ก้ควรใส่สิ่งนั้นลงไป แต่เขียนในมุมมองของ supervisor ว่าสิ่งที่เราทำนั้นมัน contribute ยังไงให้กับ project และ performance ของเราเป็นอย่างไร หรือ ถ้าเขียนว่าเรามีความสนใจในคอร์สนี้เป็นพิเศษ Recommendation ก็ควรจะ mention ว่าผู้สมัครมีความโดดเด่นในวิชานั้นอย่างไร ซึ่งอาจโชว์โดยผลการสอบเทียบกับคนทั้งหมด หรือ พูดถึง paper/ discussion ที่ผู้สมัครเคยทำในคอร์สนั้น นอกจากนี้ recommender ควรใส่ความเห็นของตนที่มีต่อศักยภาพของผู้สมัครด้วยว่ามีจุดแข็งอย่างไรบ้าง เป็นต้น
3. transcript
4. CV/Resume
5. คะแนนสอบ IELTS /TOEFL อังกฤษส่วนใหญ่จะรับทั้งสองอย่างที่ถามๆมา รวมถึงประสบการณ์ของเราเอง แนะนำให้สอบ IELTS เพราะน่าจะง่ายกว่าที่จะได้คะแนนผ่านเกณฑ์ที่มหาลัยต้องการ สำหรับ oxbridge: IELTS เฉลี่ยอย่างต่ำ 7.5 โดยต้องได้แต่ละ component อย่างต่ำ 7, TOEFL อย่างต่ำ 110 ซึ่งเราว่าเกณฑ์แอบโหดอยู่ ส่วน LSE เอา IELTS 7.5 with at least 7 in listening and writing ในเมกามักจะรับ TOEFL โดยพวกมหาลัย top จะเอาอย่างต่ำ 100 (at least 25 in writing or in all components) ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วแต่มหาลัย ผู้สมัครควรเช็คอีกที
***จะบอกว่าจริงๆแล้ว IELTS/ TOEFL ไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่าจะได้เข้าเรียนหรือไม่ กล่าวคือคนที่ได้ IELTS 9 ไม่ได้หมายความว่าจะมีโอกาสติดมากกว่าคนที่ได้ IELTS 7.5 มันเป็นเพียงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ใช่ในการสมัครเรียน เพราะงั้นไม่ต้องเครียดว่าต้องได้ perfect score ขอแค่ผ่านเกณฑ์ก้พอละคะ
6. อันนี้สำหรับ Oxford ขอ written work ด้านกฎหมาย 2000 words ด้วย ซึ่งสำหรับคนที่สมัคร Oxford อันนี้น่าจะเป็นตัวตัดสินว่าจะติดป่าว เพราะ personal statement ของ Oxford เอาแค่พอเป็นพิธี 300 words เอง และในเวบไซด์เค้าก้บอกชัดเจนว่า : The personal statement generally plays a less important role in the Law Faculty's assessment of applications than the references, written work, and academic qualifications.
7. Application fees ปกติของอังกฤษก้จะประมาณ £50-75 ส่วนเมกาจะประมาณ $80-100 ต่อที่คะ
***สำหรับอังกฤษต้องสมัครผ่านเวบไซด์ของแต่ละมหาลัย แต่ส่วนของอเมริกา จะค่อนข้างสะดวกกว่าตรงที่ว่ามหาลัยส่วนใหญ่จะใช้ระบบการสมัครผ่าน LSAC ซึ่งเป็นเวบไซด์กลางในการสมัครเรียน แต่อาจจะต้องเผื่อเวลาส่ง recommendation/ transcript หน่อย เพราะ LSAC ไม่รับส่งทาง internet ต้องส่งเป็นจดหมายเท่านั้น
สำหรับกระทู้นี้เอาไว้แค่นี้ก่อนละกันนะคะ เดี๋ยวเราจะมาอธิบายเพิ่มเติมถึงข้อแตกต่างของการเรียนและการสมัครของ US/UK ตรง comment นะคะ หากใครมีคำถามอะไรก้ post คำถามไว้ได้นะคะ หรือ สำหรับใครที่ต้องการขอคำแนะนำเป็นการส่วนตัวถึงขั้นตอนการสมัครเรียนและการเขียน personal statement ทั้งของอังกฤษและของเมกา ป. ตรี/โท คณะอื่นๆรวมทั้งกฏหมายก้หลังไมค์มาขอคำปรึกษาได้เลยนะคะ จขกท พอมีประสบการณ์เขียนใบสมัครเข้า ป. ตรี และ ป.โท สาขา engineer/finance/computer science อยุ่บ้างเช่นกันคะ
สุดท้ายนี้ อยากจะฝากว่าการมาเรียนต่างประเทศเป็นประสบการณ์ชีวิตที่มีค่าและได้เปิดมุมมองให้เราเป็นอย่างมากเลยคะ ทำให้เราเข้าใจสำนวนไทยเลยว่าทำไมกบจึงไม่ควรอยู่แค่ในกะลา จริงๆการมาเรียนต่อไม่ใช่เรื่องยาก หรือ ฝันเกินเอื้อมนะคะ ปีนึงๆเราเห็นคนไทยทั้งที่เรารู้จักและไม่รู้จักมาเรียนกันก็เยอะแยะ เพราะฉะนั้นคุณก็สามารถทำได้เช่นกันคะ เป็นกำลังใจให้ทุกคนที่จะทำใบสมัครที่กำลังจะเปิดช่วงเดือนกันยา เพื่อจะมาเรียนต่อในปี 2017 นะคะ
P.S. ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงความเห็นส่วนตัว และ ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียน หากผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะคะ