เชิญคุณคันโตน่า มาสนทนา

กระทู้คำถาม
อย่าเอาคำว่า"สำนวนโวหาร" มาเป็นประเด็น
กระทู้สนทนา
ศาสนาพุทธพระไตรปิฎกปฏิบัติธรรม
ใครก็ตามแต่ถ้ายังไม่มีความเข้าใจกับหลักการของ"สำนวนโวหาร"แล้วละก็  อย่าหวังจะเข้าใจธรรมะเลยครับ
นั้นก็เพราะหลักการง่ายๆยังไม่รู้เรื่อง  สัมหาอะไรกับพุทธพจน์ที่เข้าใจได้ยาก

บางท่านอาจจะงงว่าผมพูดอะไร  นั้นก็คือการไม่พยายามทำความเข้าใจกับคำพูดของบุคคลอื่น
ว่าเขากำลังใช้สำนวนโวหาร   ซึ่งแน่นอนบางทีมันเป็นคำที่ใช้เฉพาะตน  ผู้ฟังจะต้องทำความเข้าใจของนิยามอีกทีหนึ่ง
นิยามเป็นความหมายกลางๆที่ทุกคนพอเข้าใจได้   แต่ถ้าเป็นสำนวนแล้วต้องรู้ว่าผู้พูดใช้นิยามอย่างไร

ยกตัวอย่างคำว่า  "เผาบาลีพระไตรปิฎก"   นี่มันเป็นสำนวนโวหาร   ของท่านพุทธทาส   มันไม่ใช่การเอาไฟไปเผาบาลีพระไตรปิฎก
แต่ท่านพุทธทาสกำลังจะสื่อว่า   พระไตรปิฎกที่เราอ่านในปัจจุบัน   มีการเปลี่ยนแปลงด้วยการเอาทิฐิของคนที่ไม่ใช่พระพุทธองค์มา
ปลอมปนใส่ไว้ในบาลีพระไตรปิฎก

นั้นมันเป็นสำนวนโวหารของท่านพุทธทาส   แต่ที่เกี่ยวและคล้ายกันกับกรณีนี้ผมก็มีสำนวนโวหารใช้เป็นการเฉพาะเช่นกัน  
สำนวนโวหารที่ผมใช้   นั้นก็คือ..............ยัดไส้พระไตรปิฎก  (insert)   นิยามก็เป็นไปในลักษณะเดียวกับท่านพุทธทาส
นั้นก็คือ " มีการเปลี่ยนแปลงด้วยการเอาทิฐิของคนที่ไม่ใช่พระพุทธองค์มาปลอมปนใส่ไว้ในบาลีพระไตรปิฎก"

ผมแค่เกริ่นไว้พอเป็นสังเขป   ถ้าคนที่กำลังตามราวีผมอยู่หรือใครก็ได้มีประเด็นที่จะโต้แย้งก็เชิญครับ
ไม่แน่พวกคุณอาจจะได้ความรู้ใหม่ๆ   อาทิเช่น เหตุใดเนื้อหาหลักการของเถรวาทมันจึงผิดเพี้ยน  ไม่ค่อยจะมีเหตุผลฯ
1 2  
สมาชิกหมายเลข 3362390  
8 ชั่วโมงที่แล้ว
สมาชิกหมายเลข 1585489 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 1034851 ขำกลิ้ง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
เมื่อว่าเรื่องสำนวน ก็เอาแค่สำนวนคำว่า"เผา"ก่อนแล้วกัน

กรณีฤทธิ์ปาฏิหาริย์ พุทธทาสบอกว่า

อาจมีผู้แย้งว่าถ้าเป็นยุคหลัง ทำไมเรื่องนี้จึงไปอยู่ในบาลีเดิมเล่า?  
พึงเข้าใจว่า บาลีพระไตรปิฎกของเรานี้ ปรากฏว่ามีอยู่คราวหนึ่ง
ซึ่งถูกถ่ายจากภาษาสิงหลกลับสู่ภาษาบาลีแล้วเผาต้นฉบับเดิมเสีย
และผู้ที่ทำดังนี้ก็คือ ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้เป็นเอกอัครแห่ง
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายนั่นเอง,



เจ้าหนวดตองเก้าบอกว่า เผา แปลว่าเปลี่ยนแปลงเนื้อหาด้วยการทิฏฐิพระพุทธโฆสะมาใส่
ผมอ่านยังไงๆ ประโยค บาลีพระไตรปิฎก...ถ่ายจากภาษาสิงหลกลับสู่ภาษาบาลีแล้วเผาต้นฉบับเดิมเสีย
คำว่าเผาในกรณีนี้ แปลได้ประการเดียวคือทำให้ใหม้ซะ
หรือใครอ่านได้ว่าเผาในกรณีนี้แปลได้อย่างอื่น

เอาล่ะ สมมติว่าเป็นสำนวนจริง
ผมขอถามคำถามดังนี้ ขอให้ตอบด้วย
1 ประเทศไทย เคยใช้คำว่าเผา ในความหมาย เปลี่ยนแปลงเนื้อหาด้วยการทิฏฐิ เมื่อไหร่อย่างไร กรุณาแสดงหลักฐาน
2ตลอดชีวิตพุทธทาสเคยใช้คำว่าเผา ในความหมาย เปลี่ยนแปลงเนื้อหาด้วยการทิฏฐิ ในผลงานใดบ้าง กรุณาแสดงหลักฐาน

ถ้าหาหลักฐานข้างบนไม่ได้ แต่ตองเก้าอาจแถไปว่า ก็ข้าเข้าใจพุทธทาสนี่นา ก็ขอถามว่า
3 เจ้าหนวดตองเก้าเคยไปเป็นศิษย์ใกล้ชิดได้ติดต่อข้องแวะพุทธทาส เมื่อไหร่อย่างไร กรุณาแสดงหลักฐาน รูปถ่ายคู่ บลาๆๆ
ว่าเคยใกล้ชิดพุทธทาสจนเข้าใจสิ่งที่พุทธทาสพูดทั้งๆที่ไม่เคยเจอที่ไหนว่าพุทธทาสเคยกล่าวแบบนั้น

เอาแค่นี้ก่อน
ส่วนกรณีสมเด็จวันรัตสอดใส้ เดี๋ยวว่างๆจะตั้งกระทู้อีกที
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่