สาเหตุของภาษาอังกฤษสำเนียงไทย

1. เสียงพยัญชนะ

อย่างแรกเลยคือพยัญชนะในภาษาอังกฤษ(หรือพยัญชนะประสม) บางตัว ไม่สามารถเทียบเป็นเสียงพยัญชนะในภาษาไทยได้
เช่น "V" หลายคนเข้าใจว่าเป็นเสียงเดียวกับ "ว" แต่เสียงที่ถูกต้องของมันคือเสียงผสมระหว่าง "ว" กับ "ฟ"
      "TH" หลายคนเข้าใจว่าเป็นเสียงเดียวกับ "ท" แต่ในภาษาอังกฤษ เสียง "TH" แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
              1. เสียงก้อง เช่นคำว่า this, there, they ; อันนี้อธิบายวิธีออกเสียงไม่ถูก
              2. เสียงไม่ก้อง เช่นคำว่า think, thing    ; เอาลิ้นไปแตะเพดานบน แล้วพ่นลมออกมา

2. ระบบวรรณยุกต์ของไทย

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมีหน้าที่กำหนดให้คำหนึ่งคำมีเสียงที่ตายตัว เช่น มา หม่า ม่า ม๊า หมา เราไม่สามารถเอาเสียงวรรณยุกต์อื่นมา   
ใช้แทนกันได้ แต่เนื่องจากภาษาอังกฤษนั้น ไม่มีระบบวรรณยุกต์เหมือนในภาษาไทย  ทำให้คำหนึ่งคำในภาษาอังกฤษ ไม่ได้ถูกกำหนด
ให้ออกเสียงได้ด้วยเสียงวรรณยุกต์เดียว ดังนั้น เวลาที่คนไทยส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษ มันจะเกิดความ "Monotone"
เนื่องจากชินกับการที่ถูกกำหนดเสียงวรรณยุกต์ของแต่ละคำมาให้ เช่น How are you ? คนไทยก็มักจะออกเสียงว่า "ฮาว อาร์ ยู" ตามนี้เป๊ะ
แต่ในสถานการณ์จริงนั้นเราสามารถใส่เสียงวรรณยุกต์ไปได้โดยที่ฟังแล้วไม่ขัดหูหรือประหลาด

3. การกร่อนเสียง

หมายถึง การผสมเสียงระหว่างคำที่อยู่ติดกันจนเกิดเป็นเสียงใหม่ ที่ออกเสียงง่ายกว่าเดิมหรือสั้นลง
เช่น "What are you doing ?" กลายเป็น "Whatcha doing ?"
อันที่จริงในภาษาไทยเองก็มีการกร่อนเสียงเช่นเดียวกัน เช่น "ใช่เปล่า" กลายเป็น "ใช่ป่ะ"

4. การออกเสียงตัวสะกด

นี่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งที่สำคัญของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ เช่นคำว่า "วัน" หรือ "one" สองคำนี้ดูน่าจะออกเสียงเหมือนกัน
แต่มันมีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย คือ "one" จะออกเสียง "วัน" และพ่วงเสียง "n" มาด้วย

5. การเชื่อมเสียงระหว่างคำ

หมายถึง การเชื่อมเสียงระหว่างตัวสะกดของคำด้านหน้ากับพยัญชนะต้นของคำด้านหลัง
เช่น "My name is" หากพูดในสำเนียงไทยจะได้ว่า "มาย-เนม-อิ๊ด" (สำหรับผู้ที่ไม่ออกเสียง s) หรือ "มาย-เนม-อีส" (ดีขึ้นหน่อย)
แต่ในภาษาอังกฤษ หากเกิดการเชื่อมเสียง จะกลายเป็น "มาย-เนม-มีส"
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่