กระทู้ต้นฉบับ
http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=17359159.msg15147571#msg15147571
1. อย่าดูแต่รูปลักษณ์ภายนอกอย่างเดียว ในการเลือกซื้อโน้ตบุ๊คให้ดูสเปคเป็นหลัก ถ้าท่านซื้อไปตั้งโชว์ก็ว่าไปอย่าง ถ้าซื้อมาใช้งานให้ดูสเปคก่อน ของใหม่ ๆ ใช่ว่าจะเร็วจะลื่น ให้ดูสเปคให้ดี โดยดูซีพียูก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นดูแบตเตอรี่ ขนาดของฮาร์ดดิส และแรม การ์ดจอจะมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้าท่านไม่เล่นเกมไม่ต้องสนใจ แล้วทีนี้จะดูสเปคยังไง จะเลือกยังไง อ่านข้อสองเลยครับ
2. ดูซีพียู โน้ตบุ๊คจะเร็วจะลื่น ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์สามตัว คือ ซีพียู แรม และฮาร์ดดิส ตัวบอร์ดกับชิพเซ็ตไม่ต้องพูดถึง เพราะเราเพิ่มเติมมันไม่ได้อยู่แล้ว โน้ตบุ๊คมันไม่ใช่คอมพิวเตอร์พีซี ถ้าเปลี่ยนบอร์ดก็ซื้อเครื่องใหม่เลย ในการเลือกซื้อโน้ตบุ๊คให้ท่านพิจารณาซีพียูก่อนเป็นอันดับแรก อย่าดูแค่ชื่อซีพียู เช่น โน้ตบุ๊คตัวหนึ่งใช้ซีพียู Intel Core i3-330m กับอีกเครื่องหนึ่งใช้ซีพียู Intel Pentium B970 ถามว่าตัวไหนเร็วกว่ากัน วิธีที่ง่ายสุดคือเอาชื่อซีพียูไปหาคะแนน benchmark ตัวไหนคะแนนสูงกว่าก็เลือกตัวนั้นเลย คะแนน benchmark เกิดจากการวัดและทดสอบซีพียูหลาย ๆ อย่าง ซึ่งก็พอเชื่อถือได้อยู่ หรือเอาซีพียูไปประชันกัน เช่น พิมพ์ในกูเกิ้ล i5-460m vs Pentium 2020m มีเว็บจัดประชัน เช่นเว็บ cpuboss, cpuworld พราะดูแค่ชื่อมันไม่ได้แล้ว อย่าง Pentium รุ่นใหม่ เร็วกว่า i3 ตัวเก่าเสียอีก ชื่อมันเป็นแค่คำเรียก มันขายได้ สังเกตซีพียู Pentium เป็นซีพียูที่ติดตลาดมานานตั้งแต่ยุคแรก ๆ มีมาก่อน Core i และ Core2Duo เสียอีก ทำไมมันถึงอยู่ได้ เพราะว่าชื่อมันขายได้ ถึงจะเป็นชื่อซีพียูจากยุคเก่าแต่สถาปัตยกรรมในซีพียูมันไม่เก่าเลย เพราะทุกครั้งที่อินเทลออกซีพียู Core i เจนใหม่ ๆ ก็จะมีซีพียูอย่าง Pentium, Celeron ออกมาด้วย สถาปัตยกรรมที่ใช้ก็อันเดียวกันกับ Core i รุ่นนั้น ๆ เลย คิดง่าย ๆ เป็นซีพียูคอร์ i นั่นแหล่ะ แต่ลดจำนวนเทรดลง และตัดฟีเจอร์ ตัดอะไรหลายอย่างออกไป แต่กระนั้นก็ยังแรงอยู่ ไม่ใช่ว่า Pentium ยุคแรกผลิตมาอย่างไร ผ่านไป 5 ปี 10 ปี แล้วไม่เปลี่ยน ไม่ใช่ มันมีการพัฒนาอยู่เสมอ ออกใหม่ทุกปี อย่างซีพียูล่างสุดของอินเทลอย่าง Intel Atom นี้ก็พัฒนาไปมาก อินเทลปั้นขึ้นมาชนกับซีพียู ARM ในแอนดรอยน์เลยทีเดียว ในส่วนของซีพียู AMD ก็ทำอย่างที่ผมบอก ให้เอาชื่อซีพียูไปหาคะแนน benchmark โดยผมแนะนำ คะแนน benchmark ควรได้ประมาณ 1,100 ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านี้อย่าได้ซื้อ มันช้า ถึงแรมจะเยอะเท่าไหร่ก็ช้า ถึงเครื่องมันใหม่มันก็ช้า อย่าซื้อให้วัยหนุ่มสาวใช้ คะแนน 1,100-1,700 ถือว่าพอใช้ เป็นโน้ตบุ๊คที่เร็วพอใช้ เหมาะกับงานเอกสาร ดูหนัง เล่นเน็ต เล่นเกมออนไลน์เล็ก ๆ
[url=http://www.17upload.com/index.php?mod=r-pic2&id=148534608746200.jpg][img width=900 height=545]http://www.17upload.com/plugin_form.php?mod=view2&id=148534608746200.jpg[/img][/url]
[url=http://www.17upload.com/index.php?mod=r-pic2&id=148534616093143.jpg][img width=900 height=558]http://www.17upload.com/plugin_form.php?mod=view2&id=148534616093143.jpg[/img][/url]
3. อายุของโน้ตบุ๊คสามารถดูได้จากปีที่ซีพียูวางขาย เมื่อนำชื่อซีพียูและรหัสต่อท้ายไปค้น จะมีเว็บไซต์บอกรายละเอียด เช่น เว็บ cpuworld หรือเว็บไซต์ของผู้ผลิตซีพียูเอง โดยจะมีข้อมูลวันที่วางขายของซีพียูตัวนั้น ๆ จึงพออนุมานได้ว่าโน้ตบุ๊คตัวนั้นน่าจะประกอบขึ้นในปีเดียวกันกับที่ซีพียูวางขาย หรือมากสุดก็ประกอบในปีถัดไป ส่วนสภาพภายนอกจะเป็นอย่างไร อันนี้แล้วแต่เจ้าของเดิมว่าถนุถนอมมากเพียงใด การดูอายุโน้ตบุ๊คจากปีที่ซีพียูวางขายเป็นเพียงการดูเทคโนโลยีเบื้องต้นว่าเก่าใหม่ โดยปีที่ซีพียูวางขายผมขอนำมาแสดงบางส่วนดังนี้ครับ
ซีพียูก่อนหน้า Core i ที่ใช้ชิป Penryn เช่น Pentium T4500, Core2Duo T6500, Core2Duo 9700 อันนี้เป็นซีพียูที่วางขายในปี 2008 ถึงต้นปี 2010
Core i เจน 1 และซีพียูชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชิป Arrandale มีรหัสตัวเลข 3 ตัว เช่น Pentium P6200, i3-350M, i5-460M อันนี้เป็นซีพียูที่วางขายในปี 2010 และต้นปี 2011
Core i เจน 2 และซีพียูชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชิป Sandy Bridge มีเลข 2 นำหน้า เช่น Pentium B960, i3-2310M, i5-2410M อันนี้เป็นซีพียูที่วางขายในปี 2011 และต้นปี 2012
Core i เจน 3 และซีพียูชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชิปื Ivy Bridge มีเลข 3 นำหน้า เช่น Pentium 2020M, i3-3120M, i7-3610QM อันนี้เป็นซีพียูที่วางขายในปี 2012 และต้นปี 2013
Core i เจน 4 และซีพียูชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชิป Hasswell มีเลข 4 นำหน้า เช่น Pentium 3560M, i3-4000M, i7-4500U อันนี้เป็นซีพียูที่วางขายในปี 2013 และต้นปี 2014
Core i เจน 5 และซีพียูชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชิป Broadwell มีเลข 5 นำหน้า เช่น Pentium 3825U, i3-5005u, i5-5200U อันนี้เป็นซีพียูที่วางขายในปี 2014 และต้นปี 2015
Core i เจน 6 และซีพียูชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชิป Skylake มีเลข 6 นำหน้า เช่น Pentium 4405Y, i3-6100U, i7-6500U อันนี้เป็นซีพียูที่วางขายในปี 2015 และต้นปี 2016
Core i เจน 7 และซีพียูชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชิป Kaby Lake มีเลข 7 นำหน้า เช่น Pentium 4415U, i3-7100U, i7-7300HQ อันนี้เป็นซีพียูที่วางขายในปี 2016 และต้นปี 2017
ฝั่ง AMD ก็เอาชื่อกับรหัสไปค้นดู สิ่งที่ควรคำนึงคือ ยิ่งเทคโนโลยีการผลิตซีพียูหรือการทำลายวงจรเล็กลงมากเท่าไหร่ ซีพียูจะยิ่งเย็นลงเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ทำให้เกิดความร้อนน้อย และประหยัดไฟมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถใช้งานโน้ตบุ๊คโดยไม่ได้เสียบปลั๊กได้นานมากขึ้น ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ ซีพียูที่ใช้ชิปเดียวกัน สามารถอับเกรดหรือแทนกันได้ เช่น โน้ตบุ๊คเครื่องหนึ่ง ใช้ซีพียู Intel Pentium B960 สามารถถอดออกแล้วใส่ Intel i3-2XXXM หรือ i5-2XXXM ก็สามารถเปิดติดใช้งานได้เหมือนกัน แล้วแต่ชิบเซ็ตของโน้ตบุ๊คเครื่องนั้นจะรองรับกันหรือไม่ หากไม่เข้ากัน น้อยที่สุดคือ เปิดติดแต่ใช้งานไปสักพักแล้วก็ดับ ไม่ใช่ดับเพราะความร้อน แบบร้อนแล้วดับ แต่เครื่องดับไปเฉย ๆ หากไม่เข้ากันมากสุดคือเปิดเครื่องติดแต่ไม่ขึ้นภาพ เหมือนอาการการ์ดจอพัง ซีพียูตั้งแต่ยุคก่อนเรื่อยมาจนถึง Core i เจน 3 ในโน้ตบุ๊คนั้น เป็นซีพียูที่ผู้ใช้สามารถอับเกรดเองได้ ตั้งแต่ Core i เจน 4 ขึ้นไป ซีพียูจะติดมากับมากับเมนบอร์ด ไม่สามารถแกะออกได้ ต้องใช้เครื่องยกชิปโดยเฉพาะ และไม่ใช่แค่ เจน 4 ขึ้นมาเท่านั้น เจนก่อนหน้าถ้าเป็นพวกโน้ตบุ๊คแบบบางหรือเรียกว่าอัลตร้าบุ๊ค สันนิษฐานเลยว่า ซีพียูฝังกับบอร์ดมา ถอดเปลี่ยนโดยเครื่องมือธรรมดาไม่ได้
[url=http://www.17upload.com/index.php?mod=r-pic2&id=148587906790702.jpg][img width=753 height=375]http://www.17upload.com/plugin_form.php?mod=view2&id=148587906790702.jpg[/img][/url]
4. แรมกับฮาร์ดดิส เพิ่มได้ เปลี่ยนได้ หลังจากเลือกซีพียูแล้ว ต่อมาคือดูแรม เคยไหมเวลาใช้งานคอมไปมาก ๆ เช่น เปิดอินเตอร์เน็ตมาหลายหน้าหรือทำอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อมกันแล้วเครื่องมักค้างทั้งทาซีพียูก็แรงอยู่ อาการนี้เกิดจากเครื่องมีแรมไม่พอใช้ เมื่อใช้แรมจนเต็มแล้ว ระบบจะไปอ่านไฟล์จากฮาร์ดิสแทน ซึ่งช้ากว่า ทำให้เครื่องค้าง แรมเป็นที่เก็บไฟล์ที่เราใช้งานบ่อย ๆ เวลาเราเรียกใช้จะได้ไม่ช้า ยิ่งแรมเยอะ ก็เก็บไฟล์พวกนี้ไว้เยอะ ที่เห็นชัด ๆ เลย โปรแกรม Google Chrome ที่ใช้พื้นที่แรมไปเยอะมาก มีเท่าไหร่เอาไปหมด ที่ Chrome เร็วก็เพราะเก็บไฟล์ประวัติการใช้งานไว้เยอะ ทำให้เราเรียกใช้มันเร็วกว่าโปรแกรมอื่น ๆ แรมเปรียบเสมือนกระดานไว์บอร์ด อ่านเขียนเร็ว ฮาร์ดดิสเปรียบเหมือนศิลาจารึก อ่านเขียนช้า ขณะที่เราเปิดเพลงจาก youtube แบบ realtime (ขณะนั้น) เพลงจะถูกส่งมาเก็บไว้ในเครื่อง เพื่อให้การเล่นเป็นไปอย่างราบลื่น สังเกตได้หากเราตัดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพลงจะยังเล่นไปอีกสักพัก เพราะว่า เพลงได้ถูกถ่ายโอนมายังเครื่องแล้ว แต่จะเก็บไว้ไหน เก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสหรือ ไม่ใช่ มันเก็บไว้ที่แรม เพราะแรมมันเร็วกว่าฮาร์ดดิสมาก ขนาดแรมที่เหมาะกับปัจจุบันนี้คือ 3 gb ขึ้นไป เครื่องที่ซีพียูเร็วแต่แรมน้อย ถ้าราคาพอฟังก็ซื้อเลย แล้วมาซื้อแรมใส่ที่หลัง เพราะมันเพิ่มได้ ถ้าช่องเสียบไม่เต็มซะก่อนนะ โดยปกติโน้ตบุ๊คจะทำช่องใส่แรมไว้ 2 ช่อง ในตลาดตอนนี้ใช้แรมแบบ DDR3 ซึ่งหาง่ายและราคาถูก บางเครื่องรุ่นใหม่ ๆ ใช้ DDR3L ต้องดูให้ดี ใช้ไฟไม่เท่ากัน ส่วนความเร็วบัส เอาบัสอะไรก็ได้ ถ้าเอาแรมบัสสูงมาแต่บอร์ดรองรับความเร็วบัสต่ำ บัสแรมก็วิ่งตามบอร์ดอยู่ดี ซื้อแรมถ้าจะให้ชัวร์เอาเครื่องไปเทสเลย ส่วนฮาร์ดดิสโน้ตบุ๊คส่วนใหญ่เพิ่มได้แค่ตัวเดียว หรือท่านอยากใส่ 2 ตัวก็หาถาดแปลงดีวีดีมาใส่เอา ฮาร์ดดิสจะเอาขนาดเท่าไหร่ก็ได้ ขนาดไม่มีผลต่อความเร็วความลื่นของโน้ตบุ๊ค อยู่ที่รอบของจานหมุน ซึ่งรอบจานหมุนของฮาร์ดดิสมี 2 รอบคือ 5400 rpm และ 7200 rpm ที่ขาย ๆ กันโน้ตบุ๊คมือหนึ่งก็เป็นรอบ 5400 ทั้งนั้น มาซื้อ 7200 เปลี่ยนเข้าไปทำให้ความเร็วในการใช้งานเพิ่มขึ้นนิดนึง ยังไม่ห่างกันมากเท่าไหร่ สิ่งสำคัญในการซื้อโน้ตบุ๊คมือสองคือสุขภาพของฮาร์ดดิส ว่าติดแบดไหม ติดสีไหม รอบตกหรือเปล่า เช็คได้ด้วยโปรแกรม HD Tune เช็คดูถ้าคนขายให้เช็ค ให้ดูความเร็วในการอ่านข้อมูล ควรจะสัก 50 mb/s ขึ้นไป เช็คที่แถบ benchmark ของโปรแกรม HD Tune ส่วนสีดูที่แถบ Health สีที่ควรพิจาณาคือรหัส C5 ตัวนี้จะเชื่อมโยงกับแบดเซกเตอร์ ถ้าขึ้นตัวนี้ แสดงว่าฮาร์ดดิสติดแบด ก็ไปเช็คแบดต่อไปในแถบ Error Scan เอาเครื่องหมายถูกหน้า Click scan ออกแล้วสแกนดู แบดติดได้นิดหน่อยไม่เป็นไร แบดไม่ติดส่วนหัวของฮาร์ดดิสเป็นอันใช้ได้ เพราะบางทีเป็นแบดเทียมสามารถซ่อมกับคืนมาได้ด้วยโปรแกรม HDD Regenerator ในขณะใช้งานโน้ตบุ๊คพยายามอย่ากระทบกระแทกมันมาก ฮาร์ดดิสมันจะพังเสียก่อน ลองนึกดู หัวอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสอยูห่างจากจานหมุนมีระยะน้อยกว่าเส้นผม หากมันถูกกระทบกระเทือนขณะอ่านเขียนข้อมูลจะเกิดอะไรขึ้น หรือบางคนเอาโน้ตบุ๊คไปเปิดใช้งานบนรถ ถนนไม่เรียบ มีโอกาศฮาร์ดดิสพังเหมือนกัน ถ้าโชคดีหน่อยเครื่องจะสะดุดนิดหนึ่งแล้วอ่านเขียนต่อไป ถ้าโชคร้าย หัวอ่านกระแทกกับจาน เกิดรอยครูด จุดนั้นเป็นรอยกลายเป็นจุดแบดเซ็กเตอร์โดยสมบูรณ์ ทำให้สูญเสียพื้นที่ไปเรื่อย หรือร้ายกว่านั้นคือรอบฮาร์ดดิสตก ทำอะไรก็ช้าไปหมด อย่าได้ลอกเลียนแบบหนัง ประเภทพับโน้ตบุ๊คแรง ๆ แล้วรีบเอาเข้ากระเป๋า เครื่องยังไม่ทันได้ปิดสนิทเลย ถ้าอยากทำอย่างนั้นผมแนะนำให้เปลี่ยนที่เก็บข้อมูลจาก HDD เป็น SSD เพราะมันไม่มีส่วนเคลื่อนที่เลย เป็นเหมือนแฟลชไดร์ จะโยกเครื่องไม่มามันไม่เสียหาย และอ่านเขียนเร็วกว่าฮาร์ดดิสมาก ถ้างบไม่มี ใช้ HDD ก็ถนุถนอมมันหน่อย วางเครื่องบนพื่นที่มั่นคง แล้วค่อยเปิดใช้งานดีกว่าครับ
[url=http://www.17upload.com/index.php?mod=r-pic2&id=148534631067111.jpg][img width=900 height=499]http://www.17upload.com/plugin_form.php?mod=view2&id=148534631067111.jpg[/img][/url]
5. การ์ดจอในโน้ตบุ๊คมีผลน้อยมากในงานเขียนแบบ งานประเภทตัดต่อวิดีโอ แต่งภาพ การ์ดจอในโน้ตบุ๊คแทบไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะมันเป็นการ์ดคนละตระกูลกัน การ์ดจอสำหรับงานประเภทนี้ ฝั่ง NVIDIA ก็จะมี Quadro ฝั่ง AMD ก็จะมี FirePro ซึ่งราคามันแพงกว่าการ์ดเล่นเกม ในโน้ตบุ๊คมีไม่กี่ยี่ห้อที่เอาการ์ดจอเขียนแบบมาใส่ เช่น lenovo Thinkpad ถ้าซื้อโน้ตบุ๊คไปเขียนแบบ 2 มิติ ให้เลือก Pentium กับ Core i3 ก็พอ เขียนแบบ 3 มิติ เลือก Core i5 กับ Core i7 ใส่แรมไปเยอะ ๆ ถ้าเขียนงานใหญ่ เขียนไปเรื่อย ๆ มีแรมเยอะ ๆ จะได้ไม่ค้าง การ์ดจอไม่ต้อง เอาเงินไปลงกับ SSD ดีกว่า
[url=http://www.17upload.com/index.php?mod=r-pic2&id=148569382145064.jpg][img width=900 height=410]http://www.17upload.com/plugin_form.php?mod=view2&id=148569382145064.jpg[/img]
การเลือกซื้อโน้ตบุ๊ค และการใช้โน้ตบุ๊ค