แนะนำการเลือกซื้อโน้ตบุ๊คมือสอง

สวัสดีครับเพื่อน ๆ ชาวพันทิป วันนี้เป็นโอกาสดีอยากเขียนกระทู้เกี่ยวกับโน้ตบุ๊คซะหน่อย ตามหัวข้อเลยครับ

โน้ตบุ๊คหรือคอมพิวเตอร์พกพานั้น ปัจจุบันราคาถูกลงมากแล้ว มีงานหมื่นต้น ๆ ก็ได้เครื่องสเปกดี ๆ มาครอบครองแล้ว แต่สำหรับท่านที่งบน้อย เครื่องมือสองอาจเป็นคำตอบครับ วันนี้ผมจึงมาขอชี้แจง ขั้นตอนการดู การเลือกซื้อครับ ไปอ่านกันเลย

1. ซีพียู
อันดับแรก จะซื้อโน้ตบุ๊คเครื่องไหนให้ดูซีพียูเป็นหลักครับ เทียบซีพียูเครื่องต่อเครื่องกันก่อนเลยว่าอันไหนแรงกว่ากัน โดยยี่ห้อซีพียูที่มีอยู่หลัก ๆ ก็จะมี AMD กับ Intel ในที่นี้ขอกล่าวถึงอินเทลอย่างเดียว สาวก AMD อย่าโกรธกันนะ ซีพียูโน้ตบุ๊คของอินเทลก็จะมีชื่อ ถ้าเรียงความแรงแบบคร่าว ๆ จากน้อยไปมากก็จะเป็น Atom < Celeron < Pentium < Core i3 < Core i5 < Core i7 พอนึกภาพออกไหมครับ ดูเหมือนจะง่ายใช่ไหมครับ มีแค่ 6 ซีพียู น่าจะจำได้หมด แต่ปัญหาคือ มันมี 6 ซีพียูก็จริง แต่ใน 6 ชื่อนั้นแบ่งย่อยออกไปครับ เช่นแบ่งเป็นรุ่นความเร็ว 2 Ghz, 2.3 Ghz ถ้าในชื่อเดียวกัน เราก็เลือกไม่ยากใช่ไหม อย่างเช่น เครื่องที่ใช้ซีพียู i3-330M ความเร็ว 2.13 Ghz กับเครื่องที่ใช้ซีพียู i3-350M ความเร็ว 2.26 Ghz อันนี้ก็เลือกไม่ยากใช่ไหม เลขความเร็วอันไหนเยอะกว่าก็เลือกอันนั้น แต่ถ้าเป็นแบบนี้หล่ะ เครื่องที่ใช้ซีพียู i3-330M ความเร็ว 2.13 Ghz กับเครื่องที่ใช้ซีพียู Pentium B980 ความเร็ว 2.4 Ghz เครื่องไหนเร็วกว่ากัน ถ้าคนที่มองเฉพาะชื่อก็จะบอกว่า i3 ต้องเร็วกว่า Pentium สิ หรือบางคนมองที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่มากกว่า น่าจะเร็วกว่า เราต้องเข้าใจว่า 10 ปีที่ผ่านมานี้ อินเทลออกซีพียูรุ่นใหม่ ๆ มาตลอด มีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลงเรื่อย ๆ ทำให้สามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ลงไปในซีพียูได้มาก แต่ละครั้งที่ออกซีพียูใหม่ ๆ ก็จะมีชื่อเรียกสถาปัตยกรรมนั้น ๆ แต่เขาไม่ตั้งชื่อใหม่ เพราะชื่อเดิมมันยังขายได้ ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว หากเปลี่ยนชื่อทุกครั้งที่ออกซีพียูใหม่ ๆ คงมีชื่อซีพียูให้เราเห็นไม่ต่ำกว่าร้อยแน่ ๆ เรามาดูกันว่ามีซีพียูอะไรบ้าง ผมขอยกแค่ตัวอย่างจากเครื่องที่ยังขายอยู่ในตลาดมือสองนะครับ

1. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Pentium T4400, Core2Duo T6500, Core2Duo T9500 ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Penryn วางจำหน่ายเมื่อปี 2009 เครื่องที่ใช้ซีพียูเครื่องนี้ถ้านับอายุถึงปัจจุบันก็จะประมาณ 8 ปีมาแล้ว
2. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Pentium P6300, Core i3-330M, i5-540M, i7-620M ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Arrandale วางจำหน่ายเมื่อปี 2010 เครื่องที่ใช้ซีพียูเครื่องนี้ถ้านับอายุถึงปัจจุบันก็จะประมาณ 7 ปีมาแล้ว
3. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Celeron B800, Pentium B960, Core i3-2330M, i5-2410M, i7-2630QM ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Sandy Bridge วางจำหน่ายเมื่อปี 2011 เครื่องที่ใช้ซีพียูเครื่องนี้ถ้านับอายุถึงปัจจุบันก็จะประมาณ 6 ปีมาแล้ว
4. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Celeron 1000M, Pentium 2020M, Core i3-3110M, i5-3230M, i7-3610QM ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Sandy Bridge วางจำหน่ายเมื่อปี 2012 เครื่องที่ใช้ซีพียูเครื่องนี้ถ้านับอายุถึงปัจจุบันก็จะประมาณ 5 ปีมาแล้ว
5. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Celeron 2970M, Pentium 3550M, Core i3-4030U, i5-4310M, i7-4702HQ ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Haswell วางจำหน่ายเมื่อปี 2013 เครื่องที่ใช้ซีพียูเครื่องนี้ถ้านับอายุถึงปัจจุบันก็จะประมาณ 4 ปีมาแล้ว
6. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Celeron 3215U, Pentium 3825U, Core i3-5005U, i5-5300U, i7-5650U ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Broadwell วางจำหน่ายเมื่อปี 2014 เครื่องที่ใช้ซีพียูเครื่องนี้ถ้านับอายุถึงปัจจุบันก็จะประมาณ 3 ปีมาแล้ว
7. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Celeron 3855U, Pentium 4405U, Core i3-6100U, i5-6200U, i7-6567U ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Skylake วางจำหน่ายเมื่อปี 2015 เครื่องที่ใช้ซีพียูเครื่องนี้ถ้านับอายุถึงปัจจุบันก็จะประมาณ 2 ปีมาแล้ว
8. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Celeron 3965U, Pentium 4415U, Core i3-7130U, i5-7200U, i7-7567U ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Kaby Lake วางจำหน่ายเมื่อปี 2016 เครื่องที่ใช้ซีพียูเครื่องนี้ถ้านับอายุถึงปัจจุบันก็จะประมาณ 1 ปีมาแล้ว
9. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ i5-8250U, i7-8550U ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Kaby Lake R วางจำหน่ายเมื่อปี 2017 เครื่องที่ใช้ซีพียูคือเครื่องใหม่ล่าสุด ณ ปี 2018

เยอะแยะเต็มไปหมดเลยใช่ไหมครับ ไม่รู้จะเทียบยังไง ยัง ยังไม่หมดครับ ยังไม่ได้กล่าวถึงซีพียูที่ชื่อ Atom เลย ไปอ่านกัน
ซีพียูของอินเทลที่ชื่ออะตอม น้องเล็กสุดส่วนใหญ่อยู่ในเครื่องเน็ตบุ๊คพวกหน้าจอ 10 นิ้ว 12 นิ้วอะไรอย่างนี้ และฝังอยู่กับบอร์ดพีซีขนาดเล็ก ก็มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ แต่ไม่ได้เข้าพวกกับซีพียูด้านบนนะครับ เขามีแยกต่างหาก ดังนี้

1. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Atom D425, D525 ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Pineview วางจำหน่ายเมื่อปี 2010
2. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Atom D2550, N2600 ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Cedarview วางจำหน่ายเมื่อปี 2011
3. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Atom E3815, Celeron J1900, Pentium N3530 ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Bay Trail วางจำหน่ายเมื่อปี 2013
4. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Atom S1269, S1279, S1289 มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Briarwood วางจำหน่ายเมื่อปี 2013
5. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Atom X5-Z8350, X7-Z7870 ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Cherry Trail วางจำหน่ายเมื่อปี 2015
6. โน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูชื่อ Atom C3830, C2738 ฯลฯ มีสถาปัตยกรรมเดียวกันชื่อ Denverton วางจำหน่ายเมื่อปี 2017

ซีพียูในชุดของอะตอมแตกต่างจากพวกชุดแรก ๆ คือ
1. พวก Celeron กับ Pentium ปกติจะมี 2 คอร์ 2 เธรด
1. Core i3 กับ Core i5 ปกติจะมี 2 คอร์ 4 เธรด
1. Core i7 จะมี 4 คอร์ 8 เธรด
ส่วนซีพียูอะตอมนั้นอย่างรุ่นแรกจะมี 1 คอร์ 1 เธรด มาหลัง ๆ พัฒนาเป็น 2 คอร์ 4 คอร์ อย่าง Pentium N3530 ที่อยู่ในสถาปัตยกกรมเดียวกันกับ Atom E3815 ก็มี 4 คอร์ 4 เธรด หรือมากถึง 16 คอร์ อย่าง Atom 3830 แต่ซีพียูอย่างอะตอมก็ไม่ได้มีในเน็ตบุ๊คทั้งหมด มีไปโผล่ในบอร์ดสำหรับเครื่องพีซีบ้าง หรือบอร์ดของเครื่องเซิฟเวอร์บ้าง ผู้ใช้อย่างเรา ๆ จึงไม่ค่อยเห็นโน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูนี้สักเท่าไหร่ จะคุ้นเคยกับพวก Core i เสียมากกว่า

ที่นี้มาถึงข้อสรุปของข้อแรกของการเลือกซื้อโน้ตบุ๊คมือสอง เมื่อซีพียูมันเยอะแยะเหลือเกิน จะเลือก จะเทียบยังไง ขอสรุปอย่างนี้
1. ถ้าซีพียูรุ่นใดมาจากสถาปัตยกรรมเดียวกัน ให้เทียบตามชื่อข้างต้นคือ  Atom < Celeron < Pentium < Core i3 < Core i5 < Core i7
2. ถ้าชื่อเดียวกัน แต่ต่างสถาปัตยกรรม ให้เลือกสถาปัตยกรรมที่ใหม่กว่า
3. ถ้าชื่อและสถาปัตยกรรมเดียวกัน ให้ดูความเร็วสัญญาณนาฬิกา ยิ่งมากยิ่งดี ตัวอักษรที่ลงท้ายรหัสซีพียูสามารถเรียงความแรงจากน้อยไปมากดังนี้ U < M < Q ซึ่งซีพียูที่ลงท้ายด้วย U จะกินไฟน้อยกว่าเพราะความเร็วสัญญาณนาฬิกาต่ำกว่าพวก M และ Q
4. เทคนิคแบบเร็วในการเทียบซีพียู เอาคะแนนจากเว็บ cpubenchmark มาเทียบกัน พิมพ์ในกูเกิ้ล เช่น “i3-3110M benchmark” เข้าไปในเว็บจดคะแนนไว้ ซีพียูที่เหลือก็ทำอย่างเดียวกัน อันไหนคะแนนเยอะก็เอาอันนั้นแหล่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่