จากทฤษฎีสัมพัทธภาพ ไม่เข้าใจว่า ถ้าเรามีความเร็วมากๆ เวลาจะช้าลงได้ยังไง

คือผมยิ่งอ่าน (ค้นจาก google นี่แหละครับ) ก็ยิ่งงง ไม่ได้งงเรื่องความเร็วแสง ความเร็วสัมพัทธ์ แรงโน้มถ่วง แต่เรื่องเวลาที่มันช้าลงนี่แหละ ในเวลาค้นหามักจะมีแต่คำอธิบายแบบ....เอิ่ม อะไรคือ นาฬิกาของคนที่เคลื่อนที่เร็วจะช้ากว่า คำถามคือ มันช้ากว่าได้ไง มียกตัวอย่างหรือคำอธิบายที่มันดีกว่านี้ไหม
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
เกิดขึ้นได้ดังนี้

....สมมติให้ A คือผู้สังเกต
....สมมติให้ B คือหนูทดลอง

A กับ B กำลังทดลองการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วแสง

A สร้างยานให้ B นั่งซึ่งมีความเร็วแสง พอเริ่มเดินเครื่อง ..... A จะเห็น B เดินทางด้วยความเร็วของแสง

ตามความเข้าใจของ A และ B ก่อนการทดลอง จะเข้าใจว่า พอพวกเขาเร่งความเร็วเข้าใกล้แสง เขาจะวิ่งทันแสง หรือเห็นความเร็วของแสงช้าลง

แต่ผลที่ได้คือ......

A ....สังเกตุและบันทึกได้ว่า B มีความเร็วแสง และ A เห็นและบันทึกได้ว่าแสงมีความเร็ว 3 x 108 เมตร/วิ
B ....สังเกตุและบันทึกได้ว่าตัวเองมีความเร็วแสง แต่ B ยังคงเห็นและบันทึกได้ว่าแสงมีความเร็ว 3 x 108 เมตร/วิ เท่าเดิม ไม่ช้าลงเลย

.....นั่นหมายถึง "เวลาของ B ช้าลงมาก เพื่อที่จะให้แสงมีความเร็วเท่าเดิม"

.....ถ้าเวลามีพื้นที่ นั่นก็หมายถึง พื้นที่ของเวลาได้ยืดออก เปรียบให้เห็นภาพ คือ ให้ 2 สถาณการนี้เกิดขึ้นพร้อมกัน

สถานการณ์ที่ 1: A วิ่งด้วยความเร็ว 1 เมตร/วิ แล้ว A ก็เปิดไฟฉาย สมมติว่าทำการทดลองแค่ 1 วินาที แสงก็จะอยู่ห่างจาก A ออกไป 3 x 108 เมตร นั่นคือ แสงมีความเร็ว 3 x 108 เมตร/วิ  

สถานการณ์ที่ 2: B เร่งความเร็วให้เท่ากับแสง แล้วก็เปิดไฟ สมมติว่าทำการทดลองแค่ 1 วินาที  ผลที่ได้คือ  แสงพุ่งนำหน้าห่าง B ออกไป 9 x 1016 เมตร นั่นคือในสถาณการณ์ของ B แสงมีความเร็ว 3 x 108 เมตร/วิ ไม่ต่างจาก A

ทีนี้นำ 2 สถานการณ์มาเทียบกัน ถ้าอยู่ในกรอบใครกรอบมัน ความเร็วแสงจะเท่ากับ 3 x 108 เมตร/วิ เท่ากัน
...แต่ความเป็นจริง A กับ B อยู่ร่วมโลกเดียวกัน โลกที่อยู่แบบปกติ นั่นก็คือโลกในสถานการณ์ที่ 1 จะเห็นว่ามีความเป็นไปได้อยู่ 2 แบบคือ

แบบที่ 1 ในสถาณการณ์ที่ 2 แสงต้องเพิ่มความเร็วขึ้น 3 x 108 เท่า เพื่อให้ความเร็วของ B ง่อยลงเหมือนหยุดนิ่ง ให้เป็นปกติเหมือนโลกในสถานการณ์ที่ 1 หรือ
แบบที่ 2 เวลาของ B ในสถาณการณ์ที่ 2 ยืดยาวออก เพราะระยะทาง 1 วินาทีที่แสงในสถานการณ์ที่ 2 เดินทางได้ แสงในสถาณการณ์ที่ 1 ต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ปี .....แต่แสงในทั้ง 2 สถานณการณ์ คือตัวเดียวกัน คุณสมบัติเดียวกัน ...เพราะฉนั้นจึงสรุปว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป คือเวลา

.... 1 วินาทีของ B เท่ากับ 10 ปีของ A ค่อยจะทำให้ทุกอย่างเป็นจริง คือ แสงคงสภาพความเร็วคงที่เท่าเดิม 3 x 108 เมตร/วินาที

เพราะฉนั้น ไอน์ สไตน์ เลยสรุปว่าแสงคือสิ่งเดียวที่คงที่ ....
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ขออธิบายให้เห็นภาพง่ายที่สุด เท่าที่จะทำได้ครับ

สมมติว่าให้พื้นที่บริเวณบ้านของคุณคือยานอวกาศ ที่กำลังเดินทางความเร็วใกล้แสง
นั่นคือ เวลาในบ้านของคุณ จะเดินช้ากว่าเวลาข้างนอกบ้าน
แต่ว่าจริงๆ ตัวคุณเองเนี่ย จะไม่ได้รู้สึกใดๆ ว่าเวลาเดินช้าหรือเร็ว ไม่ว่าจะอยู่ในบ้านหรือนอกบ้าน
คุณจะใช้ชีวิตตามปกติ เวลา 1 วินาที ก็ยังเป็น 1 วินาที เดิมๆ ไม่ว่าจะอยู่ในบ้าน หรือนอกบ้าน
จะเดินเข้า หรือ ออกบ้าน กี่ครั้ง ทุกอย่างดำเนินเป็นปกติ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

แต่มันจะไม่เป็นปกติ เมื่อมีการสังเกตและเปรียบเทียบเวลาในบ้านกับนอกบ้านครับ
เวลาคุณอยู่ในบ้าน และมองออกไปนอกบ้าน คุณจะเห็นทุกอย่างนอกบ้าน
ดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก คนเดินเร็วอยางกับจรวด มองหน้าปัดนาฬิกาหมุนติ้วๆเลย
แต่ทันทีที่คุณก้าวออกจากบ้านปุ๊ป ทุกอย่างที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วก็กลายเป็นความเร็วปกติ

แล้วเมื่อคุณหันหลัง มองกลับเข้าไปในบ้าน ทุกอย่างในบ้าน กลับช้าลงมากกกกก
มองไปเห็นนาฬิกาที่ผนังในบ้าน กว่าเข็มจะกระดิกไป 1 วิ รอเป็นชั่วโมง
กว่าแม่ จะก้าวขา 1 ก้าว กว่าจะกระพริบตา 1 ครั้ง ยาวนานเหลือเกิน

แต่พอคุณเดินกลับเข้าไปในบ้าน ทุกอย่างในบ้าน ก็ดำเนินไปตามความเร็วปกติเช่นเดิม

พอจะเห็นภาพไหมครับ เรื่องเวลาที่เดินไม่เท่ากัน
แบบนี้แหละครับ ที่บอกว่าเวลาคือสิ่งสัมพัทธ์ ต้องมีจุดอ้างอิงหรือเปรียบเทียบ
ความคิดเห็นที่ 106
ทีนี้มาดูเวลาเดินช้าลงเมื่ออยู่ในสนามความโน้มถ่วงสูงบ้าง

จากแต่เดิมในยุคของนิวตัน ขณะนั้นเรารู้ว่าวัตถุต่าง ๆ มีมวล และมันก็สามารถวัดมวลได้จากแรงที่กระทำต่อวัตถุอื่น(แรงดึงดูดตามนิยามของนิวตัน)

ซึ่งจากแนวทางของนิวตันเราสามารถสร้างจรวดออกเดินทางสู่อวกาศได้ คำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้ คำนวณวงโคจรของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ได้
อย่างถูกต้องแม่นยำ จนเราสามารถนำไปคำณวนหาตำแหน่งที่ดาวเคราะห์ ควรจะอยู่ อย่าง เนปจูน และยูเรนัส ได้
แล้วยังบังเอิญฟลุ๊คไปเจอพลูโต(จากการคำนวณที่ผิดพลาด)อีกต่างหาก

แต่ทฤษฎีของนิวตันยังไม่ละเอียดมากพอที่จะคำนวณในสเกลขนาดใหญ่ หรือคำนวณการโคจรแบบส่ายไปมาของดาวพุธได้
ไอสไตน์ก็เลยเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพว่าด้วยแรงโน้มถ่วงที่ผิดไปจากแบบของนิวตันโดยสิ้นเชิงไปเลยว่า
ที่ดาวเคราะห์ต่าง ๆ โคจรรอบกันและกันนั้นไม่ใช่เพราะแรงดึงดูด แต่เป็นเพราะมวลของวัตถุขนาดใหญ่ ทำให้ Space-Time โดยรอบเกิดการโค้ง
ให้นึกภาพเอาแผ่นยางขึงจนตึง แล้ววางเอาลูกเหล็กกลม ๆ ไปวางไว้ตรงกลาง
บริเวณที่อยู่ลูกเหล็กอยู่จะบุ๋มลงไปเปรียบได้กับการโค้งของ กาล-อวกาศ (อันนี้อธิบายให้เห็นภาพเฉย ๆ เพราะความจริงมันโค้งในแบบ 3 มิติ คือโค้งทุกด้าน แต่แผ่นยางโค้ด้านเดียวในแบบ 2 มิติ)
ทีนี้เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ผ่านส่วนโค้งของสนามโน้มถ่วงตรงนี้ มันก็จะตกลงไปยังลูกเหล็กลูกใหญ่ (นึกภาพลูกเปตองวาง แล้วโยนลูกแก้วไปใกล้ ๆ)
แต่ถ้าวัตถุเคลื่อนที่เร็วมากพอ มันก็จะไม่ตกลงไปยังตรงกลาง แต่จะโคจรอยู่รอบ ๆ ศูนย์กลางมวลนั้นแทน เกิดเป็นการโคจรของดาวเคราะห์ต่าง ๆ

เมื่อเข้าใจหลักการที่มวลของวัตถุขนาดใหญ่กระทำต่อ กาล-อวกาศ แล้ว ก็มาทำความเข้าใจว่า การโค้งของกาลอวกาศนี้บิดเบือนเวลาอย่างไร

สิ่งจำเป็นที่ต้องเข้าใจก่อนคือ
1. แสงเป็นทั้งคลื่นและอนุภาค เมื่อแสงเคลื่อนที่ มันจะกลายเป็นคลื่นที่มีความเร็วคงที่เสมอในสูญญากาศ เมื่อแสงตกกระทบกับวัตถุหรือสิ่งอื่น
เช่นประสาทรับแสงในดวงตา แสงจะกลายเป็นอนุภาคทำให้มีการถ่ายเทพลังงานเช่นทำให้มองเห็น หรือเกิดพลังงานแสงในแผงโซล่าเซลล์
2. แสงเดินทางในสูญญากาศเป็นเส้นตรงเสมอ

เอาหละ เมื่อเราเข้าใจหลักการของสนามโน้มถ่วง และสภาพของแสงแล้ว ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพก็จะพบว่า เมื่อแสงเดินทางผ่านบริเวณที่มีความโค้งของกาล-อวกาศ แทนที่แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง แสงกลับเดินทางเหมือนกับเป็นเส้นโค้งแทน แต่ที่จริงมันก็ยังเดินทางเป็นเส้นตรงนั่นแหละ
เพียงแต่เมื่อกาล-อวกาศโค้ง เราเลยสังเกตเห็นว่าแสงเดินทางเป็นเส้นโค้ง
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ให้ลองเอาปากกาเมจิคเขีดเส้นตรงลงบนลูกโป่งที่ยังไม่เป่า เราจะเห็นว่ามันก็ยังเป็นเส้นตรงอยู่
แต่เมื่อเราเป่าลมเข้าไป เส้นที่เคยตรง ก็จะมีความโค้งตามการโค้งของลูกโป่งที่ถูกเบ่าลม

ทีนี้เราทราบแล้วว่าแสงเดินทางด้วยความเร็วคงที่เสมอ เมื่อผ่านกาล-อวกาศที่โค้ง แสงก็จะต้องเดินทางเป็นระยะทางไกลขึ้นจึงจะพ้นพื้นที่นั้นออกมาข้างนอกได้ แต่เพราะธรรมชาติของแสงที่เดินทางด้วยความเร็วคงที่เสมอ ก็เลยกลายเป็นว่าเวลาในบริเวณนั้นจะถูกยืดขึ้น(เดินช้าลง)แทน เพื่อให้แสงสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วเท่าเดิมได้
(ตรงนี้ผมอาจจะอธิบายได้งง เพราะมันเป็นสิ่งที่ขัดกับสามัญสำนึกปกติของคนเรา และเรายังไม่สามารถทดลองสร้างสิ่งที่มีมวลขนาดยืดเวลาได้)

สรุปแบบรวบรัดเลยก็คือว่า เมื่ออยู่ในบริเวณที่มีสนามโน้มถ่วงแรงมากเช่นใกล้หลุมดำ
กาล-อวกาศ Space-Time จะมีความโค้งสูมาก ๆ จนทำให้เวลายืดออกตามความโค้งนั้น ทำให้เวลาในบริเวณนั้นเดินช้ามาก ๆ
เมื่อเราสังเกตุจากบริเวณที่อยู่นอกเขตอิทธิพลของการยืดของเวลา เราก็จะเห็นว่าคนที่อยู่ในนั้นเคลื่อนที่ช้ามาก กลับกัน คนที่อยู่ข้างใน ก็จะเห็นคนข้างนอกเคลื่อนที่เร็วมาก ๆ ไปด้วย

เทียบที่ระเบิดเวลา 2 ลูก แบบคห. 104 ตั้งเวลาไว้ที่ 1 นาที ลูกที่อยู่ห่างจากหลุมดำ จะระเบิดก่อน ลูกที่อยู่ใกล้หลุมดำเสมอ
***อย่าลืมว่าเวลาของทั้ง 2 ลูกยังมีอยู่ ทั้ง 2 ลูกจะยังต้องระเบิดเมื่อเวลา 1 นาทีเสมอ เพียงแต่ 1 นาทีของทั้ง 2 ลูกไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดการระเบิดไม่พร้อมกัน ไม่เกี่ยวกับว่าจะมีผู้สังเกตุหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับว่าจะต้องมองเห็นได้หรือไม่ มีแสงตกกระทบหรือเปล่า

สิ่งพิสูจน์ว่า กาล-อวกาศ โค้ง ก็คือ ใจช่วงที่เกิดสุริยุปราคา เราจะสามารถมองเห็นดาวบางดวงที่อยู่ด้านหลังดวงอาทิตย์ได้ เพราะอวกาศโค้ง
ทำให้แสงจากดาวที่อยู่ด้านหลังโค้งมาเห็นที่ด้านหน้าได้ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เลนส์ความโน้มถ่วง
ส่วนการพิสูจน์เรื่องเวลาเดินช้าลงเมื่ออยู่ในสนามความโน้มถ่วงสูง ๆ ก็สังเกตุจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นในดวงอาทิตย์
ในการหลอมรวมของธาตุบางตัว จะเกิดการปล่อยอนุภาคบางชนิดที่มีค่าครึ่งชีวิตที่ต่ำมากออกมา ซึ่งโดยปกติ มันควรที่จะสลายไปก่อนที่เราจะสามารถตรวจพบได้ (คือมันอายุสั้น ดังนั้นมันควรจะหายไปหมดภายในเวลาไม่นาน)
แต่เรายังสามารถตรวจพบอนุภาคพวกนี้ได้จากการตรวจสเปคตรัมบนโลก
สาเหตุก็เพราะว่าแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ ทำให้เวลาของอนุภาคตัวนี้เดินช้าลงจนสามารถเดินทางออกมาพ้นชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ได้ก่อนที่มันจะหมดอายุขัย


ปล. ว่ากันตรง ๆ คือตรงนี้อธิบายในภาษาที่เข้าใจได้ง่าย ๆ นั้นยากมาก เพราะมันขัดกับสามัญสำนึก และสิ่งที่เราพบเห็นไปไกลมาก
ดังนั้น หากท่านไม่เข้าใจ ก็ไม่ต้องประหลาดใจ เพราะคนทั่วไปแม้แต่ตัวผมเองก็ยังทำความเข้าใจกับมันได้ไม่ถ่องแท้เลย
ความคิดเห็นที่ 11
คือไอ้พี่แสงเนี่ย เป็นอะไรที่เอาเปรียบชาวบ้านที่สุดแล้ว คือมันเป็นนักเลงโต ที่เปลี่ยนกฎทุกอย่างให้เข้ากับตัวมัน
ไอจะตายบอกกฎที่ว่า ข้อ 1 แสงถูกต้องทุกอย่าง 2 ถ้าคิดว่าแสงไม่ถูกต้องให้กลับไปแหกตาดูข้อหนึ่ง
หมายความว่าไง หมายความว่าความเร็วแสงเมื่อเทียบกับเราจะคงที่ตลอดเวลา ห้ามไม่ให้ไปแข่งกับมัน เช่น
คุณมีความเร็ว 0.9เท่าของแสง แต่ตัวคุณขณะนั้นจะรู้สึกว่าแสงยังเร็วกว่าคุณเท่าเดิม
แล้วคุณก็ไม่ได้ตามเข้าใกล้แสงเลย!!!!!!!!! เป็นไงขี้โกงมั้ย   
คือคนอื่นจะมองว่าคุณเร็วยังไงก็ตาม แต่ไอ้แสงมันจะกวนตีนคุณ เช่น อ่อเร็วนักใช่มั้ยสาดดด ให้เวลาของคุณยืดออกเทียบกับคนอื่นแม่มเลย ให้มวลคุณเพิ่มขึ้นแม่มเลยเป็นต้น
คือคนอื่นมองว่าคุณเร็วใกล้แสงละ แต่ตัวคุณกลับไม่รู้สึก เพราะเวลาคุณผ่านไปช้ากว่าคนอื่น ยิ่งคุณเร็วเท่าไหร่ เวลาคุณยิ่งช้าลง เพื่อให้คุณมองแสงเร็วเท่าเดิม เอาเปรียบมั้ย  
แสงนอกจากจะโกงแล้ว ยังไม่แน่ไม่นอน บางทีมันก็ทำตัวเป็นอนุภาค คือมีมวลเป็นสิ่งที่จับต้องได้ สามารถโดนดึงดูดได้ถ้าแรงดูดแรงมากพอ
ถ้าแรงไม่มากพอก็จะโค้ง เพราะงั้นเวลาที่เกิดสุริยุปราคา นักวิทยาศาสตร์จะส่องดาวที่อยู่หลังดวงอาทิตย์ ถามว่ามองเห็นได้ไง ดวงอาทิตย์บัง ก็ตอบว่า

แสงมันโค้งไปหลังดวงอาทิตย์เลยมองเห็นไง
แต่ถ้าเจอไอ้ดากดำ หรือ black hole มันแรงดึงดูดสูงมาก จนดูดแสงซะง่อยเลย ก็เลยไม่มีแสงผ่านได้ มันก็เลยมืด ทีนี้พอแสงมันง่อย เอาละดิ มันพาล ใครไปใกล้มันยังต้องเห็นมันเร็วเท่าเดิมไง

ทีนี้พอความเร็วมันเป็นศูนย์ คุณก็น่าจะต้องมีความเร็วเป็นศูนย์ตาม หรือไม่งั้นก็ยืดเวลาออกไปนิรันดรเลย จะได้ไม่ต้องมีความเร็ว ไปเทียบบารมีกับพี่แสง
ความคิดเห็นที่ 5
ถ้างง แปลว่าคุณเป็นคนปกติครับ 555
ความคิดเห็นที่ 104
เข้ามาอ่านแล้วก็หนักใจ เพราะหลายคนที่เข้าใจผิดแล้วให้คำตอบที่ผิด ๆ ก็เลยทำให้คนที่ยังไม่เข้าใจยิ่งสับสนมากเข้าไปใหญ่

อย่างที่บางคนพยายามอย่างเหลือเกินที่จะบอกว่าเวลาต่างกันเพราะแสงยังเดินทางมาไม่ถึงผู้สังเกตุ
ทำให้เวลาต่างออกไปโดยยึดเอาการมองเห็นแสงเป็นหลัก ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดไปอย่างมาก

เพราะถ้าเวลาต่างออกไปเพราะแสงยังเดินทางมาไม่ถึงหรือถืงช้ากว่า แบบนี้ก็แสดงว่า เวลาในห้องปิดตายที่มือสนิทก็จะต้องหยุดนิ่งไปด้วย
หากตามที่เขาพยายามอธิบายมาโดยยึดเอาการสังเกตุแสงเป็นหลัก ถ้าเป็นแบบนั้นจริง เมื่ออยู่ในห้องมืดที่ไม่มีแสงเลย เวลาก็ควรจะหยุดนิ่งจริงหรือ

ก่อนที่จะทำให้ผู้อ่านท่านอื่นงงไปกันใหญ่
โปรดทำความเข้าใจก่อนว่า ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพ (เขียนว่าสัมพัทธ ไม่ใช่สัมพันธ และออกเสียงต่างกัน)
1. ความเร็วแสงในสูญญากาศ มีค่าคงที่เสมอ
2. ความเร็วแสงเป็นขีดจำกัด ไม่มีสิ่งใด(นอกจากแสงเอง) ที่สามารถเคลื่นที่ได้เร็วเท่ากับความเร็วแสง รวมทั้งเคลื่อนที่เร็วกว่าแสงก็ไม่ได้ด้วย
3. เวลาและอวกาศ (Space-Time) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันไม่สามารถแยกออกจากกันได้
4. ทุกสิ่งมีเวลาเป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเคลื่อนที่หรือไม่ หรืออยู่ที่ตำแหน่งไหน ก็จะมีเวลาเฉพาะตน ณ ขณะนั้น-สถานที่นั้นเสมอ

เอาหละ เมื่อเข้าใจในหลัก 4 ข้อนี้แล้วก็มาทำความเข้าใจเพิ่มอีกว่า ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพ สิ่งที่มีผลต่อการยืดหดของเวลามีอยู่ 2 สิ่ง
คือ 1 ความเร็วในการเคลื่อนที่ และ 2 สนามความโน้มถ่วง
*** ย้ำอีกทีว่าสิ่งที่มีผลต่อเวลามีแค่ 2 อย่างนี้ และตัวแสงเองไม่มีผลใด ๆ กับเวลา ดังนั้นไปวัดที่ห้องปิดตายไม่มีแสง ก็จะได้ผลเหมือนข้างนอก

ทีนี้เมื่อรู้แล้วว่าสิ่งที่มีผลต่อเวลาคือ ความเร็วและสนามความโน้มถ่วงแล้ว ก็มาดูทีละอย่าง
1. ความเร็ว ยิ่งเคลื่อนที่เข้าใกล้ความเร็วแสงมากเท่าไหร่ เวลาก็ยิ่งช้าลง เมื่อเทียบกับเวลาของสิ่งอื่นที่ไม่เคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่ช้ากว่า
ย้ำอีกทีว่า ขีดจำกัดของความเร็วคือความเร็วแสง ไม่มีอะไรที่เร็วเท่าแสง หรือเร็วมากกว่าแสงอีกแล้ว (ยกเว้นจะหาเจอในอนาคต แต่ตอนนี้ยังไม่มี)
ทีนี้ เมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้ความเร็วแสง เวลาของสิ่งที่เคลื่อนที่ก็จะช้าลง ให้ลองสมมุติง่าย ๆ คือให้มีระเบิดเวลาที่ตั้งเวลาให้ระเบิดไว้ที่ 1 นาที
ให้ระเบิดเวลาลูกแรกไม่ต้องไปไกล เอาแค่โคจรรอบโลกก็พอ แต่เคลื่อนที่รอบโลกด้วยความเร็วที่ 80% ของความเร็วแสงก็พอ
อีกลูกให้วางอยุ่บนโลก จะเห็นว่า เมื่อเวลาผ่านไป ไม่ต้องสนใจว่าเวลาของใครเพราะทุกอย่างมีเวลาเป็นของตัวเอง
เมื่อเวลาผ่านไป จะพบว่า ระเบิดลูกที่วางไว้เฉย ๆ จะระเบิดก่อนลูกที่เคลื่อนที่รอบโลกเสมอ ทดลอง 100 ครั้งก็ได้ตามนั้น 100 ครั้ง
นั่นก็เพราะเมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้ความเร็วแสงมากเท่าไหร่ เวลาของสิ่งที่เคลื่อนที่นั้นจะช้าลงเสมอ เมื่อเทียบกับเวลาของสิ่งที่เคลื่อนที่ช้ากว่า

ทั้งหมดนี้พิสูจน์ได้จาก GPS ที่เราใช้ ๆ กัน เพราะว่าดาวเทียม GPS นั้นเคลื่อนที่เร็วกว่าคนที่อยู่บนโลกมาก จึงทำให้เวลาบนดาวเทียมช้าลง
ดังนั้นจึงต้องมีการปรับแก้เวลาบนดาวเทียมอยู่เสมอ ๆ เพื่อไม่ให้ระบุตำแหน่งผิดพลาด
หรืออย่างการทดลองในเครื่องเร่งอนุภาคที่ C.E.R.N. ที่ขุดอุโมงค์เป็นวงแหวนกินระยะทางหลายกิโลเมตรกินอาณาบริเวณหลายประเทศ
ได้มีการทดลองเร่งอนุภาคชนิดหนึ่งที่จะมีค่าครึ่งชีวิตที่น้อยมากเพียงไม่ถึงนาโนวินาที เมื่อทำการเร่งอนุภาคนี้ให้เคลื่อนที่ไปภายในอุโมงค์
จนมีความเร็วใกล้ความเร็วแสง ปรากฏว่าอนุภาคตัวนี้ มีค่าครึ่งชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นเป็นระดับมิลลิวินาที

จาก 2 ตัวอย่างข้างต้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมีการทดลองซ้ำและพิสูจน์ซ้ำหลายหมื่นหลายพันครั้งและให้ผลตรงกันทุกครั้ง
ทีนี้ถ้าสมุติให้ เป็นคนปกติดูบ้าง ให้เป็นฝาแฝด คนนึงคือนาย ก. อยู่บนสถานีอวกาศที่โคจรรอบโลก กับนาย ข. ที่อยู่บนโลก
ไม่ต้องไปไกลถึงดาวอังคาร จะได้ตัดข้ออ้างเรื่องแสงยังเดินทางมาไม่ถึง และเพื่อตัดปัญหาเดี๋ยวจะงงว่าจะใช้นาฬิกาของใคร
ก็ให้นับเอาจำนวนรอบที่โคจรรอบโลกแทน สมมุตให้ที่เมื่อโคจรรอบโลกได้ 1000 รอบ แล้วเอานาย ก.และนาย ข. มาเจอกัน
เราก็จะเห็นว่านาย ข. ที่อยู่บนโลกนั้นแก่กว่านาย ก. ที่เคลื่อนที่เสมอ ๆ สาเหตุเพราะเวลาของนาย ก. เดินช้าลงเพราะเคลื่อนที่เร็วกว่า
ไม่เกี่ยวกับว่าจะมองเห็นนาย ก. หรือไม่ ไม่เกี่ยวกับง่าจะใช้นาฬิกาของใคร เพราะทั้ง 2 คนก็มีเวลาเป็นของตัวเอง
และเวลานั้นก็เดินเร็วช้าไม่เท่ากันเพราะความเร็วในการเคลื่อนที่
สมมุตินายก. จะมีผมยาว 1 มิลลิเมตรทุก 1 วัน เมื่อนาย ก. อยู่บนยานได้ 10 วัน ผมก็จะยังยาว 10 มิลลิเมตรเสมอ
แต่เมื่อเอาความยาวผมมาเทียบกับนาย ข. ที่อยู่บนโลกจึงจะพบว่า ผมของนาย ข. ยาวกว่าเพราะว่าเวลาของนาย ข.นั้นผ่านไปเกิน 10 วันแล้ว
ทีนี้กลับกัน ให้นายข.จับเวลาให้ผ่านไป 10 วัน ก็จะพบว่าผมของนาย ข. ยาว 10 มิลลิเมตรเหมือนเช่นปกติ
แต่เมื่อเอาไปเทียบกับนาย ก. ที่อยู่บนสถานีโคจรรอบโลก ก็จะพบว่า ผมของนาย ก. ยาวไม่ถึง 10 มิลิเมตร เพราะเวลาของนาย ก. ยังไม่ถึง 10 วันนั่นเอง

ส่วนเรื่องเวลายืดเพราะสนามความโน้มถ่วงขอพักไว้ก่อนละกัน เดี๋ยวมาต่อให้ภายหลัง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่