สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
AO เที่ยวนี้ นอกจากจะเห็นกลุ่มนักเทนนิสแบ่งตามอายุได้ชัดเจนไม่ว่าจะทั่งชายและหญิง ...สิ่งที่คนดูเทนนิสหรือคนเล่นเทนนิสจะได้เห็นตามมานอกจากอายุแล้วก็คือ "ทัศนคติ" ในการเล่นที่ต่างกันตามอายุ ...พวกนี้จะแสดงเห็นถึงความแตกต่างที่ถ้าคนไม่รู้มาดูแล้วเราเอามือปิดตัวเลขอันดับโลกไว้ พวกเค้าอาจจะพอมองออกด้วยซ้ำว่าใครคือมือเก๋าระดับโลก ...ใครมือเพิ่งไต่ขึ้นมาไม่นานใน Top 10 ...ใครคือมือที่น่าจับตามอง ...และอาจจะรวมถึงใครที่กำลังอาจจะถดถอยลงไป ..
สิ่งเหล่านั้นที่ข้าเจ้าว่า มันดูออกได้จากลักษณะวิธีการเล่น การตัดสินใจ การแสดงออกในสนาม โดยแทบไม่ต้องกลับไปสืบมาก่อนเลยว่าที่ผ่านมาเป็นยังไง ... นักเทนนิสที่กลับมาจากอาการบาดเจ็บและมาได้ด้วยทัศนคตินักสู้ จขกท. ก็ได้บรรยายให้เห็นแล้วว่าถ้าให้จินตนาการว่าเค้าต้องใช้แรงใจผ่านอะไรมาบ้างกว่าจะบู๊ใน AO ได้ ...
- Federer กับการบาดเจ็บและการกลับมาเที่ยวนี้ เป็นกรณีตัวอย่างที่นักเทนนิสมืออาชีพทั่วโลกควรเอาไปศึกษาว่าบาดเจ็บแล้วกลับมาได้นั้นควรมีลักษณะการเล่นอย่างไร ทัศนคติอย่างไร ทำตัวอย่างไร และจิตใจต้องเป็นอย่างไร ... Fed กลับมาเที่ยวนี้ มีลักษณะการเล่นที่แตกต่างจากก่อนบาดเจ็บอยู่บ้าง ลักษณะที่ว่านั้นสะท้อนตามคำพูดหลังจากที่ตัวเองหลุดจากมือ 1 ของโลกและวัยทะลุ 30 เศษมาใหม่ๆ ตัวเค้าเคยกล่าวเอาไว้ว่าจะเล่นเพื่อความสนุกกับการเล่นเทนนิสจนกว่าร่างกายจะไม่ไหว ...นั่นเป็นเป้าหมายของคนที่รักกีฬาเทนนิสมากกว่าจะบอกว่าจะพยายามรักษาตัวเลขอันดับโลกหรือมาบอกว่าจะทำเงินเยอะๆ ... แน่นอน คำพูดมันออกมาจากปากคนที่ทำเงินสูงสุดในบรรดานักเทนนิสทั้งหมดที่เคยมีมาและยังมาจากปากของคนที่เคยอยู่อันดับ 1 ของโลกเป็นสถิติสูงสุดมาแล้ว ...แต่นั้นไม่ได้ใช่ว่าผ่านจุดสูงสุดแล้วถึงพูดได้ ... นักเทนนิสบางคนผ่านจุดสูงสุดแล้วทำใจไม่ได้ถ้าตัวเองจะเล่นแล้วค่อยๆ ร่วงลงมาเรื่อยๆ เพราะสังขารสู้นักเทนนิสรุ่นใหม่ไม่ได้ Pete Sampras ก็เป็น 1 ในนั้น ...แต่ในขณะที่บางคนยังสนุกกับการเล่นเทนนิสมากกว่าจะสนใจกับการพยายามเฆี่ยนตัวเองเพื่อกลับมาอยู่ในระดับบนให้ได้อย่าง Navratilova ...หรือยังมีนักเทนนิสที่กลับมาจากมรสุมชีวืต ทั้งเจ็บ ทั้งปัญหาชีวิตส่วนตัว (แถมหยุดไปนานมาก) แต่ยังสามารถกลับมาเล่นเทนนิสที่ตัวเองเคยช่ำชองจนยังสามารถเล่นอยู่ในระดับสูงในรายการ AO ได้ (แม้จะเป็นประเภทคู่) อย่าง Hingis .. พวกเขาเหล่านี้กลับมาเล่นอาชีพต่อได้หรือสนุกต่อการเล่นเทนนิสได้ในวัยที่ส่วนใหญ่จะเกษียณในทางการเทนนิสกันแล้ว มักจะอยู่ในทัศนคติที่คล้ายๆ กันคือ "รักในกีฬานี้" มากกว่าแค่หาเงินปะทังชีวิต (อดีตนักเทนนิสดังๆ มีหลายหนทางในการไปทำมาหากินเกี่ยวกับกีฬานี้ได้มากกว่าทีจะต้องมาทนลำบากลากสังขารฝึกซ้อม ต้องห่างครอบครัว ตระเวนตะลอนๆ ไปทั่วโลก) สิ่งเหล่านี้ มันสะท้อนออกมาในวิธีการเล่นการตัดสินใจแต่ละครั้งที่แข่ง ...
- สไตล์การเล่นที่ Fed ใช้คราวนี้ ค่อนข้างจะยืดหยุ่นมาก ทั้งการเคลื่อนที่ การอ่านเกม การออกสโตรก ... ตั้งแต่กลับมากจากอาการบาดเจ็บ Fed ดูจะเคลื่อนที่และตัดสินใจระมัดระวังมากขึ้น สุขุม ลดการเสี่ยงแปลกๆ ในบาง Shot ที่อาจจะก่อให้เกิด UE แต่ถึงกระนั้น.. ก็สร้างโมเดลการตัดสินใจในแต่ละ Shot ที่ตกผลึกมากขึ้น ซึ่งส่วนตัวดูแล้วแทบจะสามารถรับมือได้กับสไตล์นักเทนนิสได้น่าจะเกือบทุกรูปแบบแล้วเท่าที่จะนึกออก ... Fed มีจุดเด่นเดิมที่ยังรักษาไว้ได้นั่นก็คือ การเป็นนักเทนนิสที่เก่งในเรื่องการบริหารพื้นที่คอร์ท เป็นนักเทนนิสที่อยู่บนพื้นฐานการรักษาตำแหน่งสมดุลการเคลื่อนที่ท้ายคอร์ทได้ดีมาก จนกลายเป็นธรรมชาติของการยืนไปแล้ว ทุกครั้งที่เคลื่อนที่จะต้องกลับมาอยู่ในจุดที่ระยะการยืนรับลูกสมดุลทั้งซ้ายและขวาไม่ว่าจะไปอยู่รับลูกตรงไหนของคอร์ท เพราะฉะนั้น ด้วยสรีระและสังขาร เพื่อลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บ จึงทำให้ Fed เลือกบริหารพื้นที่ตามเบสิคการยืนตำแหน่งมากกว่าจะไล่ตะครุบมันทุกลูก ...ทัศนคติที่ใจเย็นมองหาโอกาสถัดไปแทนที่จะดื้อย้ำจุดเดิมจนเสียไปเองแบบ Murrey หรือไล่วิ่งแข่งกับเด็กๆ อย่าง Kei นั่นทำให้ Fed ค้นพบสไตล์ที่ยังคงรักษาสภาพร่างกายให้อยู่รอดตลอดทัวร์นาเม้นท์ ...ส่งผลต่อมาที่ลักษณะการตีที่ยอมรับว่า Fed กำลังกลายเป็นผู้บรรลุในการทำเกมเทนนิส ...Fed มีการตัดสินใจหน้าไม้เที่ยวนี้ที่ถือได้ว่าครอบคลุมทุกสไตล์การตีของผู้เล่นที่ตีด้วยได้ ไม่ว่าจะมาแรง มาสปิน สิ่งที่มาจากพื้นฐานการแก้สโตรกก็คือการใช้ Half volley ที่เป็นสโตรกประจำ บวกกับประสบการณ์ในการอ่านทางและไม้เทนนิสที่ลงทุนออกแบบร่วมกับ Wilson ทำให้ได้อุปกรณ์ที่ส่งเสริมวิธีการเล่น ...สิ่งเหล่านี้ทำให้ Fed สามารถเปลี่ยนจากรับเป็นรุกได้อย่างที่ใจคิด ลูกไม่หลุดเส้น สั่งมุมได้อย่างต้องการ... เมื่อมีปัจจัยเกื้อหนุนขนาดนี้ พอมารวมกับประสบการณ์ในการอ่านเกมที่สะสมมานาน ถึงได้เรียกว่า Fed ตกผลึกในฐานะนักเทนนิสไปแล้ว ..นั่นทำให้เป้าหมายที่แท้จริงกลายเป็น "สนุกกับการเล่น" มากกว่า "ไล่ล่าหาความสำเร็จ" ...มันเลยอาจจะต้องทำใจกันบ้างสำหรับแฟนๆ ถ้าต่อไปนี้ Fed จะไม่ได้เป็นมือ 1 ของโลกอีกแล้ว อาจจะไม่ได้เห็น Fed ไล่ตีมันทุก ATP หรือ Master series รายการไหนน่าสนใจ บรรยากาศดีๆ น่าพาเมีย (ก้า) และลูกๆ ไปเที่ยวพักผ่อน (หรือผลิตลูกแฝดเพิ่ม) ก็อาจจะไปตี แต่ยังไง Slam ใหญ่ๆ ก็คงไปบู๊สร้างความสนุกให้กับตัวเองและความน่าปวดหัวให้กับคนอยากไต่อันดับเล่นๆ (หรืออาจจะสร้างความท้อให้กับพวกอยากขึ้นมาไล่เก็บ Slam) ...อาจจะเล่นเพื่อสุขภาพ เพื่ออารมณ์สุนทรีย์ มากกว่าเพื่อปากท้อง (อันนี้ต้องยอม เพราะ Federer ชื่อนี้เลยคำว่าชื่อคนไปนานแล้ว ตอนนี้กลายเป็น Brand value ทางการตลาดไปแล้ว อะไรมาขอเอี่ยวย่อมต้องแชร์รายได้ให้ Fed ทั้งนั้น)..
- กลุ่มรองลงมาก็น่าจะเป็นการขับเคี่ยวของการแข่งขันของผู้เล่นระดับสูงในกลุ่มผู้เคยเป็นมือ 1 ของโลก Nole, Murrey และ Nadal ... แต่สำหรับ Nadal นั้น อาจจะเริ่มเข้าสู่ Passion แบบ Fed แล้ว เพราะเจ้าตัวก็คงรู้ดีเรื่องสังขารจากวิธีการเล่นและอาการบาดเจ็บ ทุกวันนี้อาจจะเริ่มมีความสุขกับการเล่นเทนนิสโดยหาลู่ทางรองรับหลังชีวิตเกษียณไว้แล้วด้วย ... การที่เปิดศูนย์ฝึกเยาวชนเป็นของตัวเองสำหรับผลิตนักเทนนิสนั้นเป็นคำตอบที่ดีสำหรับชีวิตหลังเกษียณ ทั้งยังเป็นคุณูปการสำหรับวงการเทนนิสที่ Nadal จะมีให้กับวงการ ...ไหนจะมีเพื่อนต่างวัยอย่าง Fed แวะเวียนไปเยี่ยมด้วย (คาดว่าอาจจะมีบางครั้งที่จะไปเป็น Instructor พิเศษเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน) ...ส่วนตัวมองว่า Nadal คงจะบรรลุการเล่นเทนนิสตาม Fed ไปในอีกไม่ช้า ทั้ง 2 คนนี้มีแนวทางที่ชัดเจนที่แตกต่างกันในรายละเอียดที่ผู้เรียนสามารถเลือกเอาไปเป็นสไตล์ได้ แต่มีสิ่งที่เหมือนกันในเรื่องการเป็นนักสู้ เทคนิคการอ่านเกมที่ครอบคลุม การเลือกการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ ...Nadal อาจจะโดดออกมาจากกลุ่มแข่งขันของผู้เล่นที่เคยเป็นมือ 1 ของโลกที่ยังอยากจะแข่งขันในระดับบนอยู่ในเวลานี้ ... ในขณะที่ Nole นั้น ปัญหาใหม่ที่เริ่มเข้ามาคือ "ความท้าทาย" เราไม่อาจรู้ได้ว่าตอนนี้สำหรับความท้าทายในการเล่นเทนนิสระยะยาวของ Nole เป็นยังไง การเริ่มมีครอบครัวระหว่างแข่งจะส่งเสริมหรือบั่นทอนศักยภาพในปีนี้ และที่แน่ๆ การเริ่มแกว่งในระดับการเล่น Nole ถึงจะเคยมาแทนที่ Fed กับ Nadal ในเรื่องอันดับมือ 1 ...แต่ส่วนตัวข้าเจ้ายังมองว่าเรื่องความยืดหยุ่นและครอบคลุมสไตล์การเล่นนั้นยังไม่ถึงกับ 2 คนนั้น ในวันที่ใจไม่ถึงหรือไม่นิ่งพอ กลับไม่สามารถกลับมาได้ หลุดดื้อๆ ไปเลยเริ่มมีให้เห็น การตีท้ายคอร์ทที่เริ่มโดนนักเทนนิสคนอื่นเริ่มจับทางได้อาจจะต้องการพิสูจน์ตัวว่าจะหนีจากจุดนั้นยังไง ... ในขณะที่ Murrey อาจจะต้องยอมรับว่ามาได้ไกลสูงสุดแล้วสำหรับการเป็นมือ 1 ในยามที่ตัวเองอายุจะเข้าสู่วัย 30 เรื่องการรักษาความอันดับนั้นน่าจะยากแล้วเพราะสิ่งที่ติดตัวอยู่ตลอดคือปัญหาเรื่องสภาพจิตใจและการตัดสินใจ ... ความไม่นิ่งของ Nurrey คืออุปสรรคใหญ่ที่ทำให้เจ้าตัวอาจจะไม่สามารถขึ้นไปเทียบระดับ Fed หรือ Nadal ได้ ... คนนึงที่ข้าเจ้าเสียดายจริงๆ คือ Wawrinka เพราะด้วยสไตล์การเล่นนั้นค่อนข้างจะเหมาะกับการอยู่ในกลุ่มไล่ล่าอันดับ 1 ในปีนี้ ทั้งประสบการณ์ ทั้งความหนักในสโตรก ...แต่บางอย่างที่ซ่อนอยู่นั้น ทำให้ Waw มีระดับการเล่นที่ขึ้นๆ ลงๆ บางอย่างเกี่ยวกับความนิ่ง (ซึ่งเราก็คงไม่รู้นอกจากเจ้าตัว) ...เรื่องการตัดสินใจเลือก Shot นั้นข้าเจ้าไม่ค่อยห่วง ในวันที่นิ่งนั้นลักษณะการตัดสินไม่ต่างจากวันที่ไม่นิ่ง และด้วยประสบการณ์และการเลือกการตัดสินใจการเล่นนั้น Waw สามารถขึ้นเป็นมือ 1 ได้ไม่ยาก ...แต่การที่ล่วงเลยมาจนอายุขนาดนี้แล้วนั้น Waw เองก็ต้องเลือกว่าจะก้าวข้ามเส้นผมบังภูเขานั้นไปให้ได้ยังไง (เสียดายจริงๆ ที่มาพึคในช่วงที่ Fed ยังไม่แขวนไม้ เพราะคนที่น่าจะเหมาะจะเป็นโค้ชให้คนนึงที่จะส่งเสริมแก้จุดอ่อนให้ Waw เป็นมือ 1 ได้นั้นคงไม่พ้นเพื่อนอย่าง Fed เนี่ยแหละ) หรือจะเลือกเล่นประคองระดับเพื่อเก็บเงินเก็บรางวัลไปจนเกษียณแทน ...
- กลุ่มที่รองมาจากกลุ่มบนๆ ที่ข้าเจ้าว่าคงเป็นกลุ่มรุ่นใหม่ที่ไล่ล่าความสำเร็จ ..กลุ่มนี้ต้องรอเวลาที่กลุ่มบนๆ นี้เกษียณออกไปสถานเดียวเลย เพราะดูจากสไตล์การเล่นการตัดสินใจจาก AO นี้แล้วนั้น ...ยังมองว่ายากที่จะไปเบียดเพื่อเข้าไปแย่งอันดับ 1 ได้ ...Kei ที่เสียเปรียบเรื่องรูปร่างและสังขาร ด้วยวิธีการเล่นที่ต้องใช้ร่างกายมาก ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นกว่านี้ก็เกรงว่าอาการบาดเจ็บแบบต้องพักนานๆ อาจจะมาเยือนได้ในปีสองปีนี้ ทั้งๆ ที่ Kei นั้น ดูจะเริ่มมีสไตล์การเล่นที่หาทางคงที่ได้แล้ว แค่ต้องแก้เกี่ยวกับการตัดสินใจหรือบางเทคนิคเท่านั้นเพื่อการเล่นระยะยาว ... ส่วนกลุ่มพวก Raonic หรือ Tsanga หรือ Isner หรือพวกอายุยี่สิบกลางพวกมืออันดับ Top 20 คนอื่นๆ ถ้ายังหาฟอร์มที่คงเส้นคงวา หรือขยายความยืดหยุ่นไม่ได้ (พวกนี้มีลักษณะการเล่นที่เบสิคประหลาดๆ อยู่รอดได้ด้วยวิธีการตีที่เอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น เสิร์ฟหนัก ตีท่าแบบเอาตัวรอดเก่ง (แต่ไล่ทุบไม่เก่ง) เก่งเป็นอย่างๆ แต่ทำได้แค่ทีละอย่าง เป็นตัน) ก็อาจจะยากที่จะไปไล่เอามือ 1 กับเค้าได้ในอนาคต ... กลุ่มนี้คนที่ข้าเจ้ามองว่ามีศักยภาพน่าจับตามองที่สุดคงเป็น Dimitrov ด้วยสไตล์การเล่นที่เจ้าตัวแทบจะไล่ Copy มาจาก Fed ..อายุที่น้อยแต่สามารถไต่อันดับมาได้ใกล้เคียง Top 10 (ซึ่งเชื่อได้เลยว่าสิ้นปีนี้อาจจะได้เข้าไปเล่น Final master Top 8 ได้แน่ๆ ถ้ามาด้วยฟอร์มแบบ AO คราวนี้) ... Dimitrov เป็นอีกคนที่ข้าเจ้ามองว่าถ้า Fed เกษียณไปแล้วควรไปจีบมาเป็นโค้ชให้ได้ถ้าอยากไปเป็นมือ 1 ..แต่ส่วนเรื่องไปทำลายสถิติ Fed นั้น ด้วยอายุขนาดนี้แต่ Fed ยังเล่นอยู่แบบนี้ อาจจะยากหน่อย ... ถ้า Dimitrov สามารถยกระดับการเล่นเรื่องความคงเส้นคงวาและเทคนิคการแก้เกมให้ขึ้นไปอยู่กลุ่มของ Nole, Fed หรือ Nadal ได้ในปีนี้ ข้าเจ้าก็มองว่า Dimitrov ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่น่าจับตามอง ...ข้าเจ้าให้เครดิตมากกว่า Thiem ด้วยซ้ำ รายนั้นใช้ร่างกายไม่ต่างจาก Kei เลย ไม่น่าจะยืนระยะสู้ Dimitrov ไหว ...
...
ในส่วนของฝั่งผู้หญิง ข้าเจ้ามองว่า Selena ก็ยังน่าจะอยู่ได้อีกอย่างน้อย 2-3 ปีเลย เพราะด้วยสไตล์การเล่นที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมยืดหยุ่นไ่ม่ต่างจาก Fed ถ้าจะมีแกว่งได้ก็คงเป็นเรื่องการมีครอบครัวมากกว่า... Selena ตอนนี้ข้าเจ้าว่าเจ้าตัวไม่น่าจะสนใจเรื่องการพยายามรักษาอันดับโลกแล้วหละ เพราะมันคงยากกว่า Fed ด้วยซ้ำที่จะมีใครตามสถิติต่างๆ ของฝ่ายหญิงที่เธอทำได้ทันในรอบ 10 ต่อจากนี้ ...น่าแปลกอยู่ไม่น้อยที่ฝ่ายหญิง กลับมีแต่ผู้เล่นที่แม้อายุยังน้อยแต่ผ่านประสบการณ์บาดเจ็บกันมาแล้วทั้งนั้น และกลายเป็นว่า คนที่น่าจะเล่นได้ยืดหยุ่นที่สุดและเสี่ยงบาดเจ็บน้อยที่สุดในความคิดข้าเจ้าก็ยังคงเป็น Selena .. ส่วน Maria ข้าเจ้าคงไม่คาดหวังการกลับมามากนัก เพราะกว่าจะกลับมาได้ (ถ้ายังอยากเล่นอยู่นะ) ป่านนั้นนักเทนนิสหญิงในวงโคจรในระดับการเล่นของเธอก่อนโดนแบนคงออกมากันเพี
สิ่งเหล่านั้นที่ข้าเจ้าว่า มันดูออกได้จากลักษณะวิธีการเล่น การตัดสินใจ การแสดงออกในสนาม โดยแทบไม่ต้องกลับไปสืบมาก่อนเลยว่าที่ผ่านมาเป็นยังไง ... นักเทนนิสที่กลับมาจากอาการบาดเจ็บและมาได้ด้วยทัศนคตินักสู้ จขกท. ก็ได้บรรยายให้เห็นแล้วว่าถ้าให้จินตนาการว่าเค้าต้องใช้แรงใจผ่านอะไรมาบ้างกว่าจะบู๊ใน AO ได้ ...
- Federer กับการบาดเจ็บและการกลับมาเที่ยวนี้ เป็นกรณีตัวอย่างที่นักเทนนิสมืออาชีพทั่วโลกควรเอาไปศึกษาว่าบาดเจ็บแล้วกลับมาได้นั้นควรมีลักษณะการเล่นอย่างไร ทัศนคติอย่างไร ทำตัวอย่างไร และจิตใจต้องเป็นอย่างไร ... Fed กลับมาเที่ยวนี้ มีลักษณะการเล่นที่แตกต่างจากก่อนบาดเจ็บอยู่บ้าง ลักษณะที่ว่านั้นสะท้อนตามคำพูดหลังจากที่ตัวเองหลุดจากมือ 1 ของโลกและวัยทะลุ 30 เศษมาใหม่ๆ ตัวเค้าเคยกล่าวเอาไว้ว่าจะเล่นเพื่อความสนุกกับการเล่นเทนนิสจนกว่าร่างกายจะไม่ไหว ...นั่นเป็นเป้าหมายของคนที่รักกีฬาเทนนิสมากกว่าจะบอกว่าจะพยายามรักษาตัวเลขอันดับโลกหรือมาบอกว่าจะทำเงินเยอะๆ ... แน่นอน คำพูดมันออกมาจากปากคนที่ทำเงินสูงสุดในบรรดานักเทนนิสทั้งหมดที่เคยมีมาและยังมาจากปากของคนที่เคยอยู่อันดับ 1 ของโลกเป็นสถิติสูงสุดมาแล้ว ...แต่นั้นไม่ได้ใช่ว่าผ่านจุดสูงสุดแล้วถึงพูดได้ ... นักเทนนิสบางคนผ่านจุดสูงสุดแล้วทำใจไม่ได้ถ้าตัวเองจะเล่นแล้วค่อยๆ ร่วงลงมาเรื่อยๆ เพราะสังขารสู้นักเทนนิสรุ่นใหม่ไม่ได้ Pete Sampras ก็เป็น 1 ในนั้น ...แต่ในขณะที่บางคนยังสนุกกับการเล่นเทนนิสมากกว่าจะสนใจกับการพยายามเฆี่ยนตัวเองเพื่อกลับมาอยู่ในระดับบนให้ได้อย่าง Navratilova ...หรือยังมีนักเทนนิสที่กลับมาจากมรสุมชีวืต ทั้งเจ็บ ทั้งปัญหาชีวิตส่วนตัว (แถมหยุดไปนานมาก) แต่ยังสามารถกลับมาเล่นเทนนิสที่ตัวเองเคยช่ำชองจนยังสามารถเล่นอยู่ในระดับสูงในรายการ AO ได้ (แม้จะเป็นประเภทคู่) อย่าง Hingis .. พวกเขาเหล่านี้กลับมาเล่นอาชีพต่อได้หรือสนุกต่อการเล่นเทนนิสได้ในวัยที่ส่วนใหญ่จะเกษียณในทางการเทนนิสกันแล้ว มักจะอยู่ในทัศนคติที่คล้ายๆ กันคือ "รักในกีฬานี้" มากกว่าแค่หาเงินปะทังชีวิต (อดีตนักเทนนิสดังๆ มีหลายหนทางในการไปทำมาหากินเกี่ยวกับกีฬานี้ได้มากกว่าทีจะต้องมาทนลำบากลากสังขารฝึกซ้อม ต้องห่างครอบครัว ตระเวนตะลอนๆ ไปทั่วโลก) สิ่งเหล่านี้ มันสะท้อนออกมาในวิธีการเล่นการตัดสินใจแต่ละครั้งที่แข่ง ...
- สไตล์การเล่นที่ Fed ใช้คราวนี้ ค่อนข้างจะยืดหยุ่นมาก ทั้งการเคลื่อนที่ การอ่านเกม การออกสโตรก ... ตั้งแต่กลับมากจากอาการบาดเจ็บ Fed ดูจะเคลื่อนที่และตัดสินใจระมัดระวังมากขึ้น สุขุม ลดการเสี่ยงแปลกๆ ในบาง Shot ที่อาจจะก่อให้เกิด UE แต่ถึงกระนั้น.. ก็สร้างโมเดลการตัดสินใจในแต่ละ Shot ที่ตกผลึกมากขึ้น ซึ่งส่วนตัวดูแล้วแทบจะสามารถรับมือได้กับสไตล์นักเทนนิสได้น่าจะเกือบทุกรูปแบบแล้วเท่าที่จะนึกออก ... Fed มีจุดเด่นเดิมที่ยังรักษาไว้ได้นั่นก็คือ การเป็นนักเทนนิสที่เก่งในเรื่องการบริหารพื้นที่คอร์ท เป็นนักเทนนิสที่อยู่บนพื้นฐานการรักษาตำแหน่งสมดุลการเคลื่อนที่ท้ายคอร์ทได้ดีมาก จนกลายเป็นธรรมชาติของการยืนไปแล้ว ทุกครั้งที่เคลื่อนที่จะต้องกลับมาอยู่ในจุดที่ระยะการยืนรับลูกสมดุลทั้งซ้ายและขวาไม่ว่าจะไปอยู่รับลูกตรงไหนของคอร์ท เพราะฉะนั้น ด้วยสรีระและสังขาร เพื่อลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บ จึงทำให้ Fed เลือกบริหารพื้นที่ตามเบสิคการยืนตำแหน่งมากกว่าจะไล่ตะครุบมันทุกลูก ...ทัศนคติที่ใจเย็นมองหาโอกาสถัดไปแทนที่จะดื้อย้ำจุดเดิมจนเสียไปเองแบบ Murrey หรือไล่วิ่งแข่งกับเด็กๆ อย่าง Kei นั่นทำให้ Fed ค้นพบสไตล์ที่ยังคงรักษาสภาพร่างกายให้อยู่รอดตลอดทัวร์นาเม้นท์ ...ส่งผลต่อมาที่ลักษณะการตีที่ยอมรับว่า Fed กำลังกลายเป็นผู้บรรลุในการทำเกมเทนนิส ...Fed มีการตัดสินใจหน้าไม้เที่ยวนี้ที่ถือได้ว่าครอบคลุมทุกสไตล์การตีของผู้เล่นที่ตีด้วยได้ ไม่ว่าจะมาแรง มาสปิน สิ่งที่มาจากพื้นฐานการแก้สโตรกก็คือการใช้ Half volley ที่เป็นสโตรกประจำ บวกกับประสบการณ์ในการอ่านทางและไม้เทนนิสที่ลงทุนออกแบบร่วมกับ Wilson ทำให้ได้อุปกรณ์ที่ส่งเสริมวิธีการเล่น ...สิ่งเหล่านี้ทำให้ Fed สามารถเปลี่ยนจากรับเป็นรุกได้อย่างที่ใจคิด ลูกไม่หลุดเส้น สั่งมุมได้อย่างต้องการ... เมื่อมีปัจจัยเกื้อหนุนขนาดนี้ พอมารวมกับประสบการณ์ในการอ่านเกมที่สะสมมานาน ถึงได้เรียกว่า Fed ตกผลึกในฐานะนักเทนนิสไปแล้ว ..นั่นทำให้เป้าหมายที่แท้จริงกลายเป็น "สนุกกับการเล่น" มากกว่า "ไล่ล่าหาความสำเร็จ" ...มันเลยอาจจะต้องทำใจกันบ้างสำหรับแฟนๆ ถ้าต่อไปนี้ Fed จะไม่ได้เป็นมือ 1 ของโลกอีกแล้ว อาจจะไม่ได้เห็น Fed ไล่ตีมันทุก ATP หรือ Master series รายการไหนน่าสนใจ บรรยากาศดีๆ น่าพาเมีย (ก้า) และลูกๆ ไปเที่ยวพักผ่อน (หรือผลิตลูกแฝดเพิ่ม) ก็อาจจะไปตี แต่ยังไง Slam ใหญ่ๆ ก็คงไปบู๊สร้างความสนุกให้กับตัวเองและความน่าปวดหัวให้กับคนอยากไต่อันดับเล่นๆ (หรืออาจจะสร้างความท้อให้กับพวกอยากขึ้นมาไล่เก็บ Slam) ...อาจจะเล่นเพื่อสุขภาพ เพื่ออารมณ์สุนทรีย์ มากกว่าเพื่อปากท้อง (อันนี้ต้องยอม เพราะ Federer ชื่อนี้เลยคำว่าชื่อคนไปนานแล้ว ตอนนี้กลายเป็น Brand value ทางการตลาดไปแล้ว อะไรมาขอเอี่ยวย่อมต้องแชร์รายได้ให้ Fed ทั้งนั้น)..
- กลุ่มรองลงมาก็น่าจะเป็นการขับเคี่ยวของการแข่งขันของผู้เล่นระดับสูงในกลุ่มผู้เคยเป็นมือ 1 ของโลก Nole, Murrey และ Nadal ... แต่สำหรับ Nadal นั้น อาจจะเริ่มเข้าสู่ Passion แบบ Fed แล้ว เพราะเจ้าตัวก็คงรู้ดีเรื่องสังขารจากวิธีการเล่นและอาการบาดเจ็บ ทุกวันนี้อาจจะเริ่มมีความสุขกับการเล่นเทนนิสโดยหาลู่ทางรองรับหลังชีวิตเกษียณไว้แล้วด้วย ... การที่เปิดศูนย์ฝึกเยาวชนเป็นของตัวเองสำหรับผลิตนักเทนนิสนั้นเป็นคำตอบที่ดีสำหรับชีวิตหลังเกษียณ ทั้งยังเป็นคุณูปการสำหรับวงการเทนนิสที่ Nadal จะมีให้กับวงการ ...ไหนจะมีเพื่อนต่างวัยอย่าง Fed แวะเวียนไปเยี่ยมด้วย (คาดว่าอาจจะมีบางครั้งที่จะไปเป็น Instructor พิเศษเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน) ...ส่วนตัวมองว่า Nadal คงจะบรรลุการเล่นเทนนิสตาม Fed ไปในอีกไม่ช้า ทั้ง 2 คนนี้มีแนวทางที่ชัดเจนที่แตกต่างกันในรายละเอียดที่ผู้เรียนสามารถเลือกเอาไปเป็นสไตล์ได้ แต่มีสิ่งที่เหมือนกันในเรื่องการเป็นนักสู้ เทคนิคการอ่านเกมที่ครอบคลุม การเลือกการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ ...Nadal อาจจะโดดออกมาจากกลุ่มแข่งขันของผู้เล่นที่เคยเป็นมือ 1 ของโลกที่ยังอยากจะแข่งขันในระดับบนอยู่ในเวลานี้ ... ในขณะที่ Nole นั้น ปัญหาใหม่ที่เริ่มเข้ามาคือ "ความท้าทาย" เราไม่อาจรู้ได้ว่าตอนนี้สำหรับความท้าทายในการเล่นเทนนิสระยะยาวของ Nole เป็นยังไง การเริ่มมีครอบครัวระหว่างแข่งจะส่งเสริมหรือบั่นทอนศักยภาพในปีนี้ และที่แน่ๆ การเริ่มแกว่งในระดับการเล่น Nole ถึงจะเคยมาแทนที่ Fed กับ Nadal ในเรื่องอันดับมือ 1 ...แต่ส่วนตัวข้าเจ้ายังมองว่าเรื่องความยืดหยุ่นและครอบคลุมสไตล์การเล่นนั้นยังไม่ถึงกับ 2 คนนั้น ในวันที่ใจไม่ถึงหรือไม่นิ่งพอ กลับไม่สามารถกลับมาได้ หลุดดื้อๆ ไปเลยเริ่มมีให้เห็น การตีท้ายคอร์ทที่เริ่มโดนนักเทนนิสคนอื่นเริ่มจับทางได้อาจจะต้องการพิสูจน์ตัวว่าจะหนีจากจุดนั้นยังไง ... ในขณะที่ Murrey อาจจะต้องยอมรับว่ามาได้ไกลสูงสุดแล้วสำหรับการเป็นมือ 1 ในยามที่ตัวเองอายุจะเข้าสู่วัย 30 เรื่องการรักษาความอันดับนั้นน่าจะยากแล้วเพราะสิ่งที่ติดตัวอยู่ตลอดคือปัญหาเรื่องสภาพจิตใจและการตัดสินใจ ... ความไม่นิ่งของ Nurrey คืออุปสรรคใหญ่ที่ทำให้เจ้าตัวอาจจะไม่สามารถขึ้นไปเทียบระดับ Fed หรือ Nadal ได้ ... คนนึงที่ข้าเจ้าเสียดายจริงๆ คือ Wawrinka เพราะด้วยสไตล์การเล่นนั้นค่อนข้างจะเหมาะกับการอยู่ในกลุ่มไล่ล่าอันดับ 1 ในปีนี้ ทั้งประสบการณ์ ทั้งความหนักในสโตรก ...แต่บางอย่างที่ซ่อนอยู่นั้น ทำให้ Waw มีระดับการเล่นที่ขึ้นๆ ลงๆ บางอย่างเกี่ยวกับความนิ่ง (ซึ่งเราก็คงไม่รู้นอกจากเจ้าตัว) ...เรื่องการตัดสินใจเลือก Shot นั้นข้าเจ้าไม่ค่อยห่วง ในวันที่นิ่งนั้นลักษณะการตัดสินไม่ต่างจากวันที่ไม่นิ่ง และด้วยประสบการณ์และการเลือกการตัดสินใจการเล่นนั้น Waw สามารถขึ้นเป็นมือ 1 ได้ไม่ยาก ...แต่การที่ล่วงเลยมาจนอายุขนาดนี้แล้วนั้น Waw เองก็ต้องเลือกว่าจะก้าวข้ามเส้นผมบังภูเขานั้นไปให้ได้ยังไง (เสียดายจริงๆ ที่มาพึคในช่วงที่ Fed ยังไม่แขวนไม้ เพราะคนที่น่าจะเหมาะจะเป็นโค้ชให้คนนึงที่จะส่งเสริมแก้จุดอ่อนให้ Waw เป็นมือ 1 ได้นั้นคงไม่พ้นเพื่อนอย่าง Fed เนี่ยแหละ) หรือจะเลือกเล่นประคองระดับเพื่อเก็บเงินเก็บรางวัลไปจนเกษียณแทน ...
- กลุ่มที่รองมาจากกลุ่มบนๆ ที่ข้าเจ้าว่าคงเป็นกลุ่มรุ่นใหม่ที่ไล่ล่าความสำเร็จ ..กลุ่มนี้ต้องรอเวลาที่กลุ่มบนๆ นี้เกษียณออกไปสถานเดียวเลย เพราะดูจากสไตล์การเล่นการตัดสินใจจาก AO นี้แล้วนั้น ...ยังมองว่ายากที่จะไปเบียดเพื่อเข้าไปแย่งอันดับ 1 ได้ ...Kei ที่เสียเปรียบเรื่องรูปร่างและสังขาร ด้วยวิธีการเล่นที่ต้องใช้ร่างกายมาก ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นกว่านี้ก็เกรงว่าอาการบาดเจ็บแบบต้องพักนานๆ อาจจะมาเยือนได้ในปีสองปีนี้ ทั้งๆ ที่ Kei นั้น ดูจะเริ่มมีสไตล์การเล่นที่หาทางคงที่ได้แล้ว แค่ต้องแก้เกี่ยวกับการตัดสินใจหรือบางเทคนิคเท่านั้นเพื่อการเล่นระยะยาว ... ส่วนกลุ่มพวก Raonic หรือ Tsanga หรือ Isner หรือพวกอายุยี่สิบกลางพวกมืออันดับ Top 20 คนอื่นๆ ถ้ายังหาฟอร์มที่คงเส้นคงวา หรือขยายความยืดหยุ่นไม่ได้ (พวกนี้มีลักษณะการเล่นที่เบสิคประหลาดๆ อยู่รอดได้ด้วยวิธีการตีที่เอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น เสิร์ฟหนัก ตีท่าแบบเอาตัวรอดเก่ง (แต่ไล่ทุบไม่เก่ง) เก่งเป็นอย่างๆ แต่ทำได้แค่ทีละอย่าง เป็นตัน) ก็อาจจะยากที่จะไปไล่เอามือ 1 กับเค้าได้ในอนาคต ... กลุ่มนี้คนที่ข้าเจ้ามองว่ามีศักยภาพน่าจับตามองที่สุดคงเป็น Dimitrov ด้วยสไตล์การเล่นที่เจ้าตัวแทบจะไล่ Copy มาจาก Fed ..อายุที่น้อยแต่สามารถไต่อันดับมาได้ใกล้เคียง Top 10 (ซึ่งเชื่อได้เลยว่าสิ้นปีนี้อาจจะได้เข้าไปเล่น Final master Top 8 ได้แน่ๆ ถ้ามาด้วยฟอร์มแบบ AO คราวนี้) ... Dimitrov เป็นอีกคนที่ข้าเจ้ามองว่าถ้า Fed เกษียณไปแล้วควรไปจีบมาเป็นโค้ชให้ได้ถ้าอยากไปเป็นมือ 1 ..แต่ส่วนเรื่องไปทำลายสถิติ Fed นั้น ด้วยอายุขนาดนี้แต่ Fed ยังเล่นอยู่แบบนี้ อาจจะยากหน่อย ... ถ้า Dimitrov สามารถยกระดับการเล่นเรื่องความคงเส้นคงวาและเทคนิคการแก้เกมให้ขึ้นไปอยู่กลุ่มของ Nole, Fed หรือ Nadal ได้ในปีนี้ ข้าเจ้าก็มองว่า Dimitrov ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่น่าจับตามอง ...ข้าเจ้าให้เครดิตมากกว่า Thiem ด้วยซ้ำ รายนั้นใช้ร่างกายไม่ต่างจาก Kei เลย ไม่น่าจะยืนระยะสู้ Dimitrov ไหว ...
...
ในส่วนของฝั่งผู้หญิง ข้าเจ้ามองว่า Selena ก็ยังน่าจะอยู่ได้อีกอย่างน้อย 2-3 ปีเลย เพราะด้วยสไตล์การเล่นที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมยืดหยุ่นไ่ม่ต่างจาก Fed ถ้าจะมีแกว่งได้ก็คงเป็นเรื่องการมีครอบครัวมากกว่า... Selena ตอนนี้ข้าเจ้าว่าเจ้าตัวไม่น่าจะสนใจเรื่องการพยายามรักษาอันดับโลกแล้วหละ เพราะมันคงยากกว่า Fed ด้วยซ้ำที่จะมีใครตามสถิติต่างๆ ของฝ่ายหญิงที่เธอทำได้ทันในรอบ 10 ต่อจากนี้ ...น่าแปลกอยู่ไม่น้อยที่ฝ่ายหญิง กลับมีแต่ผู้เล่นที่แม้อายุยังน้อยแต่ผ่านประสบการณ์บาดเจ็บกันมาแล้วทั้งนั้น และกลายเป็นว่า คนที่น่าจะเล่นได้ยืดหยุ่นที่สุดและเสี่ยงบาดเจ็บน้อยที่สุดในความคิดข้าเจ้าก็ยังคงเป็น Selena .. ส่วน Maria ข้าเจ้าคงไม่คาดหวังการกลับมามากนัก เพราะกว่าจะกลับมาได้ (ถ้ายังอยากเล่นอยู่นะ) ป่านนั้นนักเทนนิสหญิงในวงโคจรในระดับการเล่นของเธอก่อนโดนแบนคงออกมากันเพี
แสดงความคิดเห็น
Australian Open 2017 ชัยชนะของเหล่านักเทนนิสผู้ไม่ยอมแพ้สังขาร
เป็นการกลับมาครองแชมป์แกรนด์สแลมอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งของ โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ หลังจากที่ห่างหายจากการคว้าแกรนด์สแลมมาตั้งแต่ตอนที่คว้าแชมป์ วิมเบิลดัน 2012
เป็นแกรนด์สแลมที่ 18 ที่ทั้งยิ่งใหญ่และน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง
โรเจอร์อาจจะยังไม่ใช่นักเทนนิสที่แก่ที่สุดที่สามารถคว้าแกรนด์สแลม...แต่เขาเป็นนักเทนนิสวัย 35 ปีกว่า ๆ ที่เพิ่งกลับมาจากการหยุดพักแข่งไป 6 เดือนเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บที่เข่าและหลังแต่กลับสามารถคว้าแกรนด์สแลมได้ทันทีหลังจากกลับมาแข่ง
อาการบาดเจ็บหนักสำหรับนักกีฬาที่อายุเลย 30 ในความหมายของนักกีฬาส่วนใหญ่หมายถึง " ได้เวลารีไทร์แล้ว "
การหยุดเล่น 6 เดือน นอกจากจะหมายถึงการเสียเวลาฝึกซ้อมพัฒนาตัวเองไป 6 เดือน....ความคุ้นเคยชำนาญที่เคยมีก็ยังต้องมีเสียไปบ้างอย่างเลี่ยงไม่ได้...แถมร่างกายของนักกีฬาวัยนี้ไม่อาจฟื้นตัวได้เหมือนสมัยหนุ่ม
นอกจากอาการบาดเจ็บทางกาย...เราไม่มีทางจินตนาการได้เลยว่า..ช่วง 6 เดือนมานี่ เขาต้องต่อสู้กับความท้อแท้ ความเจ็บใจ ที่มาคอยรบกวนเขาพร้อมกับความถดถอยจากการพักฟื้น
อย่าบอกว่าเขาอัจฉริยะจนเรื่องพวกนี้ไม่ใช่ปัญหาของเขา....มันไม่ง่ายแบบนั้นครับ....โรเจอร์ไม่ใช่เทวดา...การกลับมาในครั้งนี้ของเขามันแลกมาด้วยการต่อสู้อย่างแสนสาหัส....มันเป็นเรื่องที่ควรคารวะเป็นอย่างยิ่ง
การบาดเจ็บหนักจนต้องหยุดพักยาวในวัย 35 ปี...แต่กลับสามารถคว้าแกรนด์สแลมได้...มันจึงเป็นเรื่องที่อัศจรรย์มาก
นอกจากอัศจรรย์ยังเป็นการคว้าแชมป์ที่สมศักดิ์ศรีมาก
กว่าจะคว้าแชมป์ครั้งนี้...โรเจอร์ต้องโค่นมือวางท็อป 10 ถึง 4 คน ( เบอร์ดิช เคย์ สแตน ราฟา ) และทุกคนคนยังมีศักด์ศรีเป็นถึงแชมป์หรือรองแชมป์แกรนด์สแลมกันมาแล้วทั้งสิ้น...เคยปีนป่ายขึ้นไปถึง 4 อันดับแรกกันมาแล้วทั้งนั้น
โรเจอร์ในวัย 35 ปี...เป็นคนแรกที่เป็นแชมป์แกรนด์สแลมได้โดยการต้องฎีกาถึง 5 เซ็ต 3 รอบในทัวร์นาเมนต์เดียว ( เคย์ สแตน ราฟา )
ทว่าชัยชนะในทัวร์นาเมนต์นี้นอกจากเป็นชัยชนะของโรเจอร์เองแล้ว...ยังเป็นชัยชนะของเหล่าผู้เล่นอวุโส กับ เหล่าผู้เล่นที่ต้องต่อสู้กับอาการบาดเจ็บทั้งหลายด้วย
อาจมีหลายท่านบ่นอยู่เนือง ๆ ประมาณว่า " ทำไมเด็กสมัยนี้ไม่ได้เรื่องเลย...ดูเทนนิสมาเป็น 10 ปี ก็ยังเจอพวกหน้าเดิม ๆ พวกนี้ลงแข่งอีก "
ผมว่าอย่าไปโทษเด็กเลยครับ...หันมาชื่นชมเหล่า น้า ๆ ลุง ๆ พวกนี้ดีกว่าที่สามารถยืนหยัดในวงการและสู้กับเด็ก ๆ พวกนี้ได้ทั้ง ที่พลังกายเสียเปรียบ
นอกจากนี้ยังมีนักเทนนิสที่ต่อสู้กับสภาพร่างกายที่บาดเจ็บทำผลงานได้ดีในทัวร์นาเมนต์นี้อีกด้วย
เทพเจ้าสายฟ้า อิโวคาโรวิช แสดงศักดิ์ศรีนักเทนนิสวัยดึก
ในทุกทัวร์นาเมนต์จะมีการเก็บสถิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการแข่ง
การตีโต้กันที่มากครั้งที่สุด....จำนวนการเสิร์ฟเอส...รวมทั้งจับเวลาด้วยว่าแต่ละแมตช์ใช้เวลาในการแข่งเท่าไร
แมตช์ที่ยาวนานที่สุดใน ออสเตรเลียนโอเพน ปีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่รอบแรก
แมตช์ยืดเยื้อหฤโหดที่สุดในปีนี้กลับเป็นการแข่งระหว่างสองนักเทนนิสวัยดึก
ลุง อิโว คาโรวิช นักเทนนิสผู้เสิร์ฟเอสได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ในวัย 37 ปี เจอกับคู่แข่งที่เข้าข่ายวัยดึกอีกคน โฮราซิโอ เซบัลลอส วัย 31 ปี
สำหรับลุงวัย 37 ปี...การที่ลุงแกสามารถกลับมาจากอาการบาดเจ็บซึ่งส่งผลให้ผลงานในสนามไม่ดีจนอันดับร่วงเมื่อต้นปีที่แล้ว...ต่อสู้ในช่วงกลางปีและท้ายปีจนพาตัวเองกลับมาอยู่ในท็อป 20 ได้ตอนสิ้นปีที่ผ่านมาก็ต้องถือว่ายอดเยี่ยมไม่น้อยแล้ว ( อันดับสูงกว่าตอนจบปี 2015 ด้วยซ้ำ )
นอกจากยังไม่ยอมเลิกเล่นลุงแกยังโชว์พลังยืนยันว่าแก " ยังไหว " สำหรับการโลดแล่นอยู่ต่อไปในวงการเทนนิสอาชีพนี้...โดยแสดงให้ดูตั้งแต่รอบแรกของการแข่ง ออสเตรเลียนโอเพนปีนี้
เริ่มจากลุงกับน้า สองคนนี้ แกดวลกันถึง 5 เซ็ต...โดยเซ็ตที่ 5 ยืดเยื้อจนไปตัดสินที่ 22 - 20 เกม ลุงเทพสายฟ้าอิโวชนะ กินเวลาทั้งแมตช์ 5 ชั่วโมง 14 นาที
หลังจากทำศึกหนักลิ้นห้อยมาในรอบแรก...ลุงแก่อายุ 37 ยังเหลือน้ำมันมากพอสำหรับการอัด แอนดริว วิธธิงก์ตัน เด็กรุ่นหลานซึ่งอ่อนกว่าถึง 14 ปี ให้เดินไปรับเช็คหลังแข่ง...ไปใช้สะสางค่าที่ซุกหัวนอนชั่วคราวและอื่น ๆ...ด้วยสกอร์ 3 - 0 เซ็ต
แกเข้ารอบ 32 คน ตามนัด..ก่อนจะพ่ายต่อ ดาวิด กอฟแฟง หนึ่งในนักเทนนิสรุ่นหนุ่ม 4 - 5 คนที่มาแรงที่สุดในวงการเทนนิสปัจจุบัน
ยิ่งเข้ารอบลึก ๆ ยิ่งเหลือแต่ลุงกับน้า
ใน ออสเตรเลียนโอเพน ปีนี้ เป็นที่สังเกตว่าเห็นนักเทนนิสรุ่นอายุ 30 ขึ้นไป เต็มไปหมด
เอาลำพังแค่นักเทนนิสมือวาง 32 อันดับก็เป็นนักเทนนิสกลุ่มวัยดึกพวกนี้ถึง 14 คนเข้าไปแล้วครับ
แถมลุง ๆ น้า ๆ พวกนี้ก็ยังทำผลงานกันดีกว่าเด็๋กหนุ่มแรงดี ๆ...จนยิ่งเข้ารอบลึกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีแต่ ลุง กับ น้า มากขึ้นเท่านั้น
รอบ 32 คนสุดท้าย....มีลุง กับ น้า ถึง 17 คนซึ่งเป็นจำนวนเกินครึ่งของนักกีฬาในรอบนี้
รอบ 16 คน อัตราส่วนคนหนุ่มดีขึ้นหน่อย...เมื่อเหล่าลุง ๆ น้า ๆ เหลือรอดมา 7 คน ซึ่งอัตราส่วนต่ำกว่ารอบที่แล้ว
แต่พอมารอบ 8 คน อัตราส่วนเหล่าลุง ๆ น้า ๆ กับเหล่าคนหนุ่มกลับมาอยู่ที่ครึ่ง ๆ 4 - 4 เท่ากัน...โดยเหล่านักเทนนิสวัยดึกไปกระจุกกันที่สายบนเป็นส่วนใหญ่....ทิ้งราฟาอยู่ร่วมกับเหล่านักเทนนิสหนุ่มที่พุ่งแรงที่สุดในตอนนี้อย่าง ราโอนิช ดิมิตรอฟ กอฟแฟง
พอเข้ารอบรอง...เหลือแค่ ดิมิตรอฟ คนเดียวที่เป็นตัวแทนของคนหนุ่ม...นอกนั้นเป็นน้า 2 กับ ลุงอีก 1
รอบชิงอย่างที่เราทราบกัน...การเจอกันระหว่าง ลุง กับ น้า....แล้วก็จบด้วยชัยชนะของ ลุงเฟด
นักเทนนิสผู้ต่อสู้กับอาการบาดเจ็บจนทำผลงานได้ดีในทัวร์นาเมนต์นี้
ว่ากันว่านักเทนนิสหลาย ๆ คน ที่เล่นอยู่ในทัวร์ตอนนี้ต้องทนเจ็บลงไปเล่น...เราไม่ทราบว่าเขาทนความเจ็บในระดับไหน...แต่ที่รู้ ๆ คือพวกเขาต้องต่อสู้กับอาการเจ็บเรื้อรัง...และยังต่อสู้อย่างเข้มแข็งอยู่ในวงการทั้ง ๆ ที่ร่างกายไม่พร้อม
ขนาดผู้จัดการทีมฟุตบอลปากหมาที่ไม่สรรเสริญใครง่าย ๆ อย่าง โฮเซ่ มูรินโญ่...ก็ยังสรรเสริญนักกีฬาเทนนิสถึงเรื่องพลังใจที่พาร่างกายฝืนเจ็บลงเล่น
นักเทนนิสเหล่านี้มีทุกระดับ..ตั้งแต่มือวางอันดับโลกชื่อดังอย่าง เคย์ มอนฟิลส์ ซองก้า ไปจนถึงนักเทนนิสที่เราส่วนใหญ่ไม่คิดจะใส่ใจจดจำชื่อ...แต่พวกเขาก็ยังคงสู้ในวงการด้วยเงื่อนไขร่างกายที่ไม่พร้อม
ในทัวร์นาเมนต์นี้ก็มีนักกีฬาเหล่านี้ลงแข่งไม่น้อย
อย่างเหล่านักเทนนิสจอมเจ็บที่เราเอ่ยชื่อกันไปแล้วก็น่าจะเป็นของตาย
หรือเอาที่เด่นชัดสุดก็ โรเจอร์ แชมป์ของปีนี้ซึ่งผ่านอาการบาดเจ็บที่ต้องหยุดพักยาวมา 6 เดือนหมาด ๆ
อีกคนไม่ต้องไปหาไกล...ก็ ราฟา คู่ชิงของ โรเจอร์ นี่ล่ะครับ
ตัว ราฟา เองก็หยุดเล่นมาตั้งแต่หลัง มาสเตอร์ที่เซี่ยงไฮ้ หยุดพักไปราว ๆ 2 เดือน
และนี่ก็ไม่ใช่อาการบาดเจ็บครั้งแรกของราฟา....พูดถึงพลังใจที่พาตัวเองกลับมาจากการเจ็บหนัก...ถ้า ราฟา เป็นที่ 2 ก็ไม่มีใครเป็นที่ 1 ครับ
ทั้งขา ทั้งแขน ทั้งลำตัว...ราฟาผ่านการบาดเจ็บหนักมาหมดแล้วทั้งสิ้น...ล้วนแต่พักยาวนานกว่าอาการบาดเจ็บครั้งล่าสุดทั้งสิ้น...แต่เขาก็กัดฟันต่อสู้จนกับมาได้ทุกครั้ง...พลังใจเข้มแข็งจนน่าโขกศรีษะให้จริง ๆ เลย
อีกคนที่ถูกกล่าวขวัญเป็นเรื่องราวที่งดงามในทัวร์นาเมนต์นี้ มิช่า ซเวเรฟ พี่ชายของ ซาช่า ซเวเรฟ ผู้ที่ลงเล่นพร้อมกับอาการบาดเจ็บที่ถาวรซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าน่าจะเลิกเล่นเทนนิสไปน่าจะเป็นการดีต่อสุขภาพเขาที่สุด
แต่เขาก็ไม่เลิกเล่นเทนนิส...ด้วยการให้กำลังใจจากน้องชายซึ่งอายุน้อยกว่า 10 ปี
ผมไม่รู้ว่าแต่ละบ้านมีความสัมพันธ์กับพี่น้องของตัวเองยังไง....ไม่รู้ความสัมพันะ์ระหว่าง ซาช่า กับ มีช่า ว่าเป็นในรูปแบบไหน
แต่ผมขอพูดในฐานะคนที่มีพี่ชายแก่กว่าเกือบ 10 ปี เหมือน ซาช่า ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วิธีการเล่นของ มีช่า ที่เห็นในตอนนี้มันบ่งบอกเรื่องราวของเขาได้ดี
อย่างการเล่น เสิร์ฟ แอนด์ วอลเล่ย์ เต็มรูปแบบซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีใครทำถึงขนาดนี้แล้ว
ในเมื่อเขาไม่อยู่ในฐานะจะไปยืนเหวี่ยงแขน แลกแบ็ค แลกโฟร์ กับใครที่ท้ายคอร์ตนานเป็นชั่วโมงได้อีกแล้ว....สิ่งที่เขาทำได้ก็คงมีเพียงวิธีนี้
มันน่าชื่นชมมากครับ...ที่เขาต่อสู้ภายใต้ข้อจำกัดแบบนี้มาได้ช่วงนึง...ใช้เวลาไม่ถึง 2 ปีไต่อันดับขึ้นมาถึงท็อป 50
ใน ออสเตรเลียน โอเพน ปีนี้ เขาถึงกับสามารถเอาชนะ มือ 1 ของโลกได้
เขาพ่ายในรอบต่อมาต่อโรเจอร์...แต่ในเมื่อ โรเจอร์ เป็นแชมป์...เขาก็ได้ชื่อว่าแพ้คนที่เป็นแชมป์
ทั้งนักเทนนิสสูงอายุ และ นักเทนนิสที่ต้องสู้กับอาการบาดเจ็บไม่ว่าจะเป็นอาการบาดเจ็บหนัก บาดเจ็บเรื้อรัง บาดเจ็บถาวร....ทุกคนต่างยังคงลงแข่งด้วยเงื่อนไขร่างกายที่เสียเปรียบ
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพราะสูงอายุหรือบาดเจ็บ....ทุกคนล้วนต้องอาศัยความพยายามและพลังใจในการดูแลตนเองนอกสนามและแข่งในสนามที่มากกว่าตอนร่างกายยังพร้อม...
นักเทนนิสสูงอายุต้องพยายามหนักกว่าตอนยังหนุ่มเพื่อรักษาสภาพร่างกายให้ร่วงโรยไปตามวัยให้น้อยที่สุด
นักเทนนิสซึ่งผ่านการเจ็บหนักก็ต้องต่อสู้กับความท้อแท้...และพยายามอย่างหนักที่จะต้องเรียกความถดถอยที่สูญเสียไปจากอาการบาดเจ็บคืนมาให้ได้
นักเทนนิสซึ่งเจ็บเริ้อรังยิ่งต้องสู้กับความท้อแท้มากกว่า...แถมยังต้องทนเจ็บลงเล่นอยู่บ่อย ๆ
นักเทนนิสซึ่งเจ็บถาวร...หากใจยังไม่อยากเลิก...เขายิ่งต้องอาศัยพลังใจที่มากกว่าใคร ๆ
ขอคารวะเหล่านักเทนนิสผู้ไม่ยอมแพ้สังขารตนเองที่ต่างทำหน้าที่ได้ดีในทัวร์นาเมนต์นี้
ขอบคุณครับ