cnck.....สอนลูก.....ทำการค้า (4) ตอน กู้แบงค์ หรือ ใช้เงินตัวเอง

เขียนซีรีย์ สอนลูกทำการค้า ผ่านมา 3 ตอน เห็นมีคนตามอ่านพอสมควร

คิดถึงเรื่องนี้ทีไร ก็รู้สึกขอบคุณเพื่อนสมาชิก

ความเดิมทั้ง 3 ตอน

https://ppantip.com/topic/35911522

https://ppantip.com/topic/35924875

https://ppantip.com/topic/35996890


ในช่วงการสนทนาคืนนั้น มีปัญหาหนึ่งที่ลูกทั้งสองคนไม่ค่อยเห็นด้วยกับความคิด จขกท

ปัญหานั้นคือ "การลงทุนด้วยเงินส่วนตัว หรือ กู้สถาบันการเงิน"

ส่วนของลูก ไม่อยากกู้เงินธนาคาร เพราะกลัวการเป็นหนี้ และ กลัวเสียดอกเบี้ย

จึงเป็นหน้าที่ จขกท ในการชี้ผลได้ ผลเสีย ให้ฟัง


สมัยก่อนเมื่อประมาณ 50-60 ปีก่อน คนจีนยุคนั้น ส่วนใหญ่กลัวการเป็นหนี้ เวลาที่จะขยายกิจการ

มักจะใช้เงินตัวเองเป็นส่วนใหญ่  เพราะถือหลักว่า ทำการค้า ขอให้ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน

ต้องรวยแน่นอน จึงไม่ต้องหยิบยืมเงินใคร  ยอมเหนื่อยลำบากมากขึ้น ยอมใช้เวลาเพิ่มขึ้น

ก็จะประสบความสำเร็จได้


แนวคิดของคนยุคนั้น พูดตามหลักก็ถูก เหมาะกับสถานการณ์ช่วงนั้น เพราะทั้งสิ่งแวดล้อมมีการแข่งขัน

ที่ยังไม่รุนแรง เทคโนโลยี่ยังไม่นำสมัย ปลาใหญ่ มีไม่กี่ตัว ไม่สามารถกินปลาเล็กทั้งหมดได้


อีกแง่มุมหนึ่งคือ "กฏหมายยังไม่มีผลกระทบกับธุรกิจมากมายเหมือนตอนนี้"


แต่ในยุคปัจจุบันนี้ การทำธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง ลำพังแค่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน

ไม่ใช่ปัจจัยที่จะประสบความสำเร็จอีกต่อไป การค้าปัจจุบันนี้เต็มไปด้วยความเสี่ยงต่างๆ

ที่สามารถส่งผลกระทบกับธุรกิจเราได้ทันที และถ้าเราใช้เงินลงทุนของเราทั้งหมด

โอกาสประสบความขาดทุน  หรือ  หมดตัว ก็มีมาก


ตัวอย่างเช่น ยุคสมัยหนึ่ง ป้าย กท แท็กซี่ และสามล้อ มีราคาต่อป้าย ( เฉพาะป้าย)

ระหว่าง 500,000 - 800,000 บาท เพราะช่วงนั้น รัฐบาลจำกัดจำนวน แท็กซี่ และ สามล้อ

ในเขต กทม ไม่ให้เกิน 20,000 คัน คือ ป้ายทะเบียน 1 ท 2 ท (แท็กซี่) และ 1 ส 2 ส (สำหรับสามล้อ)

คนที่มีเงินในขณะนั้น จึงนิยมซื้อแท็กซี่ หรือ สามล้อ

มาให้เช่าครับ ซึ่งเฉลี่ยแล้วจะได้เงินลงทุนคืนในเวลา 2 ปีเศษ ซึ่งคำนวนย้อนกลับเป็นดอกเบี้ยประมาณ 20 % up


ต่อมา รัฐบาล อานันท์ ปันยารชุน ออกกฏหมายให้มี แท็กซี่เสรี ทำให้ป้ายทะเบียนที่มีราคาสูงถึง

800,000 บาท กลายเป็นไร้ค่าไปในทันที (มีคนรู้จักลงทุนซื้อป้ายมา 100 อัน หมดเงินไป 80,000,000

ถึงขั้นทำใจไม่ได้ สุดท้ายตรอมใจตาย)




ถามว่า คนซื้อป้ายช่วงสุดท้าย ทุกคนเป็นคนเลวหรือ ไม่ขยันหรือ ไม่ซื่อสัตย์หรือ ไม่อดทนหรือ

คำตอบคือ เปล่า แต่ที่พวกเขาพลาดคือ "ทุกคนใช้เงินตัวเองลงทุน"


ยิ่งยุคนี้ กฏหมายต่างๆ ถูกปรับปรุงให้ทันสมัย เป็นคุณกับผู้บริโภค และประชาชนมากขึ้น

ทำให้บางกิจการอาจจะต้องล้มไปในคราวเดียวเหมือนอย่างกรณี "ป้ายทะเบียนแท็กซี่"


ตัวอย่างง่ายๆสำหรับเรื่องนี้คือ

เมื่อปีที่แล้ว จีน ได้ออกกฏหมายควบคุม มลภาวะและสิ่งแวดล้อม ฉบับใหม่

เมื่อมีผลบังคับใช้ ปรากฏว่าส่งผลกระทบกับกิจการ "โรงรีดเหล็ก โรงชุบโลหะ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

ต้องปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก SME ของจีน หมดตัวต้องปิดตัวลงมากมาย "


ในอนาคตอันใกล้ รัฐบาลไทย ก็ต้องออกกฏหมายแนวนี้เหมือนกัน และถ้ามีการบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกันแล้ว

จะส่งผลให้เกิดการปรับตัวอย่างรุนแรงในภาคธุรกิจ เมื่อนั้น ผู้ที่ปรับตัวไม่ได้ ก็จะพบจุดจบ




อีกปัญหาหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ "การตรวจสอบภาษีโดยหน่วยงานรัฐ เช่น สรรพากร ศุลกากร"

ซึ่งนับวันจะเข้มงวด และบีบผู้ประกอบการ มากขึ้นทุกปี" กฏหมายที่ออกจะเพิ่มโทษขึ้นเรื่อยๆ

ถึงจุดหนึ่ง ถ้าบังเอิญผู้ประกอบการ ที่อาจไม่ตั้งใจหลบเลี่ยง แต่ถูกหน่วยงานรัฐลงโทษ

ให้ถึงขั้นปิดกิจการลงก็เป็นไปได้



เมื่อปัจจัยเสี่ยงมีหลายประการแล้ว ทางที่จะหลีกเลี่ยงภาวะที่จะเกิดขึ้นอย่างที่คาดไม่ถึง

ก็คือ "การลงทุนโดยใช้เงินคนอื่น" ซึ่งในที่นี่หมายถึงสถาบันการเงินนั่นเอง

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


มาถึงตรงนี้ ลูกสองคน เริ่มคล้อยตาม แต่ยังกังวลเรื่อง ดอกเบี้ย ซึ่งดูเผินๆเหมือนกับ

เป็นการเพิ่ม ค่าใช้จ่ายให้กับบริษัท จขกท จึงอธิบายเพิ่มเติมว่า

ถ้าการกู้เงิน แล้วนำไปใช้เพื่อความฟุ่มเฟือย เช่น ซื้อรถ ซื้อของแบรนด์เนม เหล่านี้ไม่สมควรกู้

แต่ถ้าการกู้เงินเป็นการนำไปลงทุนจริงๆแล้ว ต้องตอบตัวเองว่า

"สิ่งที่ไปลงทุนให้ผลตอบแทนคุ้มหรือไม่ ? " ถ้าคำตอบออกมาว่า "ใช่" ก็ควรกู้


การทำธุรกิจ ถ้าใช้แต่เงินตัวเอง แล้วได้กำไร ถึงแม้จะน่าดีใจ แต่ยังไม่สามารถเรียกว่า "สุดยอดฝีมือ"

สำหรับ จขกท แล้ว ถ้าต้นทุนเป็น "ค่าแรง เจ้าของกิจการ +ค่าเช่า (ถึงแม้จะไม่มีก็ต้องสมมุติว่าเช่า)

+ดอกเบี้ยธนาคาร +ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน) ถ้าผลประกอบการยังมีกำไร นั่นแหละความภูมิใจ


สรุป เนื้อหาตอนนี้คือ "ถ้ามีช่องทาง อย่าใช้เงินส่วนตัวในการทำธุรกิจ"

ป.ล ตอนหน้า จะเป็นประสบการณ์ส่วนตัว ในการขอสินเชื่อธนาคาร

ป.ล 2 ไม่ได้บอกให้โกงธนาคาร แต่แนะนำว่า ควรใช้เงินของธนาคารป้องกันความเสี่ยง

ป.ล 3 ในช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรือง  การเจรจากับ ธนาคาร เป็นเรื่องอะไรที่ง่าย

ป.ล 4 ช่วงนี้ อาจจะเข้าถึงสถาบันการเงินลำบาก แต่ยังพอมีช่องทาง ถ้าเราเตรียมข้อมูลและแผนการให้ดี

ป.ล 5 ในอนาคตอันใกล้ เชื่อว่า สถาบันการเงิน จะปล่อยกู้ จากความสามารถในการชำระเงิน

ของผู้กู้ มากกว่า ปล่อยโดยพิจารณาจาก หลักทรัพย์ที่วาง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่