[หมายเหตุ: นี่คือมุมมองจากคนที่เป็นแฟนตัวยงของหนังสือเรื่องนี้นะครับ หากมีประเด็นที่ออกจะไปทางอวยโดยส่วนตัว ก็คงต้องขอเตือนด้วยความปราถนาดีว่า หากคุณไม่อยากจะอ่านบทวิจารณ์ใดๆที่เห็นดีเห็นงามต่อชะตากรรมที่เลวร้าย ก็ขอให้ปิดกระทู้นี้ไปซะ แล้วไปหากระทู้ที่สดใสจรรโลงใจกว่านี้อ่านจะดีกว่า...]
นี่คือซีรีส์ชุดจากเว็บสตรีมมิง Netflix ที่สร้างสรรค์จากวรรณกรรมเยาวชนแฟนตาซีชื่อดังของ แดเนียล แฮนด์เลอร์ ...ที่โลกรู้จักเขาในชื่อ เลโมนี สนิกเก็ต มากกว่าซะอีก
หลังจากดูครบทั้ง 4 Act ของซีซั่นแรก ก็สามารถสรุปได้เลยว่า แฟนๆหนังสือ จะได้เปรียบมากกว่าเยอะมากในการดูซีรีส์เรื่องนี้ จนรู้สึกได้เลยว่าซีรีย์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อคนอ่านมากกว่าคนดูซะอีก ซึ่งมันก็มีทั้งข้อดีและข้อด้อยตามๆกันมา อย่างเลี่ยงไม่ได้
ซีซั่นแรกมีทั้งหมด 8 ตอน จะประกอบไปด้วยเนื้อหาจากหนังสือ 4 เล่มแรก ได้แก่ The Bad Beginning (ลางร้ายเริ่มปรากฏ), The Reptile Room (ห้องอสรพิษชวนผวา), The Wide Window (บ้านประหลาด) และ The Miserable Mill (โรงงานเขย่าขวัญ) โดยจะแบ่งแต่ละเล่มออกเป็น 2 Chapter ..โดยสามเล่มแรก เคยถูกสร้างเป็นฉบับภาพยนต์มาแล้วเมื่อปี 2004 ซึ่งแม้ตัวหนังจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่มันก็ถือเป็นหนังดีที่ถ่ายทอดออกมาได้เยี่ยม และสร้างภาพจำได้ผู้ชมไม่น้อยเลย
แฟนๆหนังสือ คงจะทราบดีกว่า นิยายเรื่องนี้มี Motif มาจากอะไร? มันถูกเขียนโดยยึดใช้สไตส์การเล่าเรื่องแบบ "หนังซีเรียล (Serial Fims)" (ภาพยนต์ชุดที่จะเล่าเรื่องเป็นตอนๆฉายในโรงภาพยนต์ ที่เฟื่องฟูมากในศตวรรษก่อน ที่จะแบ่งเรื่องราวออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกจะจบลงในช่วงเวลาที่ตัวละคร กำลังเผชิญกับสถานการณ์ขับคัน เพื่อให้ผู้ชมกลับมาติดตามว่าตัวเอกจะเอาตัวรอดไปได้ยังไงในส่วนที่สอง อันเป็นต้นกำเนิดของซีรีย์ทางทีวี ในยุคต่อๆมา) มีการบรรยายเรื่องราวโดย Narrator อย่างชัดเจนแทบจะทุกนาทีของหนัง และการสไตส์การเล่าเรื่องที่ออกจะเวิ่นเว้อ จัดจ้าน อย่างมาก (ยกตัวอย่างก็ หนังเรื่อง Zombie in the Snow ที่ลุงมอนตี้พาเด็กๆไปดูนั่นแหละ)
สไตส์แบบนี้ คือส่วนสำคัญที่นิยายเรื่องนี้เอามาใช้ เพื่อเป็นการล้อขนบของความบันเทิงในศตวรรษก่อนไปในตัว เหมือนเอาความเฉิ่มของมันมาขยี้ให้มันกลายเป็นความ "อภิมหาเฉิ่มแหลกลานอย่างมีสไตส์" จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้หนังสือเล่มนี้ไม่เหมือนวรรณกรรมเยาวชนเรื่องไหนเลย
ฉะนั้นเอกลักษณ์ของหนังสือชุดนี้ มันก็คือการเล่าเรื่องอันแสนจะตลกร้าย อย่างแสบสันต์และบันเทิง ความมืดหม่นคือฉาบหน้าที่ซ่อนความหรรษาอย่างเจ็บปวดเอาไว้ภายใน อยู่กึ่งกลางระหว่างความมืดกับความหฤหรรษ์ ที่ไม่สามารถบอกได้ว่ามันกำลังเล่าเรื่องตลก หรือโศกนาฏกรรมอยู่กันแน่หนอ?
สำหรับซีรีส์ ถ้าเทียบกับเวอร์ชั่นหนังแล้ว ในเวอร์ชั่นหนัง มันจะมีการดัดแปลงที่เอื้อเฟื้อต่อคนดูหนังมากกว่า มีการดัดแปลงวิธีการเล่าเรื่องที่ดูมีความเป็นภาพยนต์มากขึ้น แต่ยังคงการกำกับศิลป์ที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ จากหนังสือเอาไว้อยู่ (นี่เป็นหนึ่งในนิยายที่มี "ภาพ" ให้เห็นชัดเจนมากอีกเรื่อง ด้วยภาพประกอบนิยายจากลายเส้นดินสอของ เบรท เฮลควิสท์ อันงดงามชวนติดตา ฉะนั้นทีมสร้างแทบไม่ต้องจินตนการอะไรใหม่มากมาย อยู่ที่ว่าจะสร้างสรรค์ให้ "ภาพ" เหล่านั้น ให้ชีวีตบนจอกันอย่างไร ...อย่างในเวอร์ชั่นซีรีส์ ไม่ต้องพิจารณาโดยรวม แค่เห็น "หนวด" ของลุงมอนตี้ก็เพียงพอแล้ว... ฮา)
แต่ในซีรีส์ เราจะเห็นกลิ่นอายการเล่าเรื่องที่ "ทำตัวเฉิ่ม" ตั้งแต่ฉากเปิดแรกของเรื่องเลย (ที่มีการเอาชื่อของ Chapter จากหนังสือมาเปิดเรื่อง ให้อารมณ์เหมือนกำลังชมภาพยนต์ซีเรียลมาก) การเอา เลโมนี สนิกเก็ต มารับบทผู้บรรยายที่ปรากฏตัวอย่างโจ่งแจ้งภายในเรื่องนั้น เป็นไอเดียที่ดี เพราะอย่างที่รู้ว่า สนิกเก็ตเป็นเจ้าของเรื่องนี้อย่างแท้จริง เขาคือตัวละครตัวหนึ่งที่มีหน้าที่ติดตามโชคชะตาอันเลวร้ายของเด็กๆโบดแลร์ และจะยิ่งมีความสำคัญต่อเรื่องมากกว่านี้ในอนาคต (แต่ยังไม่ขอพูดถึงละกัน ไม่งั้นมันจะสปอยล์มาก) ...แต่โดยส่วนตัว ก็ยังชอบการตีความของฉบับภาพยนต์ (ที่เลโมนี สนิกเก็ต เวอร์ชั่นนั้นรับบทโดบ จู๊ด ลอว์) เหมือนเดิม ที่ให้เลโมนีมีบทแค่ในเงามืด แต่มันอาจจะใช้ไม่ได้กับซีรีย์ที่ตั้งใจจะถ่ายทอดเนื้อหาไปจนจบ
นีล แพททริค แฮร์ริส เป็นเคาท์โอลาฟที่ดี ถ้าเทียบกับ จิม แคร์รี แน่นอนว่าเคาท์โอลาฟเวอร์ชั่นนี้ไม่ได้ส่อแววความชั่วร้ายอย่างโจ่งแจ้งขนาดนั้น แต่ก็ถือว่าสมเหตุสมผลในฐานะวายร้ายที่เราจะได้เจอเข้าไปอีกหลายตอน ที่เคาท์โอลาฟจะค่อยๆเผยความชั่วร้ายในอีกหลายแง่มุมของตัวเองไปเรื่อยๆ (ต้องใช้คำว่า "ความชั่วร้ายในหลายๆแง่มุม" จริงๆ) ต้องขอบอกว่าวายร้ายคนนี้คือ ตัวร้ายจากวรรณกรรมที่มีสีสันมากที่สุดคนหนึ่งในโลกแล้ว สำหรับเวอร์ชั่นซีรีส์ ก็ถือว่าทำออกมาได้ดีใช้ได้ เหมาะที่จะให้คนดูได้ค่อยๆเห็น และสำรวจความชั่วร้ายในอีกหลายแง่มุมของตัวละครตัวนี้ไปเรื่อยๆ อย่างไม่เร่งเร้ามาก ...ซึ่งแฮร์ริสก็ได้โชว์ทักษะการแสดงโอเวอร์แอ็คติ้งแบบละครเวทีตัวเองในบทเคาท์โอลาฟอย่างเต็มที่
เด็กๆโบดแลร์ ไม่รู้ว่าเพราะภาพของทีมนักแสดงชุดเดิมนั้นมีสเน่ห์ ติดตาเกินไปหรือเปล่า ถึงได้รู้สึกว่าเด็กๆเวอร์ชั่นซีรีส์ ออกมาเรียบไปนิด ไม่ค่อยมีสเน่ห์เท่า ....แต่ถ้าไม่เทียบกับเวอร์ชั่นหนัง เด็กๆเวอร์ชั่นนี้ก็ทำหน้าที่ตัวเองได้ดีทุกตำแหน่ง ไวโอเล็ตมีความเป็นสาวน้อยที่ฉลาดและมีวิจารณญาณแบบผู้ใหญ่ (แม้อิมเมจของน้องจะแอบซ้อนกับ เอมิลี บราวนิง ที่รับบทเป็นไวโอเล็ตในภาพยนต์อยู่บ้างเนืองๆ), เคลาส์เป็นเด็กชายที่มีความแข็งกร้าวและขบถในตัว ซึ่งก็แสดงออกมาอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น ส่วนน้องเล็กซันนี่ก็มีความไร้เดียงสาเป็นความน่ารักที่ใครเห็นก็ต้องหลงรัก ซึ่งเด็กๆก็ทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี พอจะมองเห็นศักยภาพของการแสดงที่จะโตขึ้นเรื่อยๆ เตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความโชคร้ายอีกมายมาย ในซีซั่นต่อๆไปได้
ส่วนตัวละครแวดล้อมอื่นๆ ก็มีความโดดเด่นกันคนละแบบ แต่ต้องยอมรับจริงๆว่า บรรดาตัวละครสมบทนั้น ในเวอร์ชันภาพยนต์ ประกอบไปด้วยดารารุ่นใหญ่มากฝีมือมากมาย ที่สร้างภาพจำให้กับคนดูไว้มากอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะบท ป้าโจเซฟีน ของ เมอริล สตีฟ ในฉบับภาพยนต์ ที่สลัดออกไปจากความทรงจำได้ยากจริงๆ แต่ถ้าไม่เทียบกัน เหล่านักแสดงสมทบในซีรีย์ก็ทำหน้าที่ของตัวเองกันได้ดีทุกตำแหน่ง ซึ่งส่วนตัวผม โอเคกับความอิหลักอิเหลื่อในการแสดงของตัวละครสมทบทั้งหลายอยู่ เพราะในโลกของหนังสือชุด A Series of Unfortunate Events นี่คือโลกที่เด็กๆจะต้องเผชิญหน้ากับบรรดาผู้ใหญ่ไร้สติ ในโลกที่บิดเบี้ยวอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลก หากคนดูจะรู้สึกว่า พวกเด็กๆโบดแลร์จะดูไม่มีสีสันเท่าบรรดาผู้ใหญ่
แต่เพราะมันเดินตามรอยหนังสือมากเกือบ 70% มันเลยอาจจะยังดูแปลกๆไปซักหน่อย สำหรับการเล่าเรื่องในแบบภาพยนต์ เพราะตัวซีรีส์แทบจะไม่ได้นำเสนอมิติโดยลึกของตัวละครเลย ไม่ว่าจะเป็นความโศกเศร้าที่เจือปนอยู่รอบตัวเด็กๆโบดแลร์ แต่นั่นก็คงเพราะเหตุผลเดียวกัน เพราะในหนังสือ กว่าที่เรื่องราวจะเข้มข้นจริงๆ ก็ปาเข้าไปเล่มที่ 5-6 นู่นแล้ว เล่ม 1-4 เป็นเหมือนการปูพื้นโลกของหนังสือให้คนอ่านได้คุ้นเคยและเข้าใจ ในตรรกะเพี้ยนๆของมันเท่านั้น ถ้าผ่านช่วงนี้ไป ความเข้มข้นในการเล่าเรื่อง และการนำเสนอตัวละครในแง่มุมที่ลึกขึ้น ก็จะตามมา
ฉะนั้นสำหรับซีซั่นแรก มันจึงเป็นเพียงแค่อารัมภบทเท่านั้น เปรียบได้กับ "คำเตือน" จากใจของ เลโมนี สนิกเก็ต ที่คอยเตือนท่านอยู่เสมอว่า คุณควรจะหยุดเสียตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนจะได้พบกับโชคชะตาอันโหดร้าย ของเด็กๆโบดแลร์ต่อไป... แต่หากคุณยังดื้อดึงที่จะชมต่อ ก็จะได้พบกับเรื่องราวที่เข้มข้นและตรากตรำกว่าเดิม ในตอนต่อๆไปแน่นอน
"แด่ มิสเตอร์สนิกเก็ต
หากการค้นคว้าของคุณอยู่รอดมาจนถึงตอนนี้
ขอให้รู้ว่ามันกำลังถูกเล่าโดยทีมสร้างภาพยนต์
ที่ประกอบไปด้วยคนเก่งๆมากมาย
ที่ชวนให้ติดตามเหลือเกิน...
ซึ่งคุณคงไม่ดีใจแน่ๆ"
[REVIEW] Lemony Snicket's A Series of Unfortunate Events (Netflix Original Series) - "นี่แค่อารัมภบทเองนะ"
นี่คือซีรีส์ชุดจากเว็บสตรีมมิง Netflix ที่สร้างสรรค์จากวรรณกรรมเยาวชนแฟนตาซีชื่อดังของ แดเนียล แฮนด์เลอร์ ...ที่โลกรู้จักเขาในชื่อ เลโมนี สนิกเก็ต มากกว่าซะอีก
หลังจากดูครบทั้ง 4 Act ของซีซั่นแรก ก็สามารถสรุปได้เลยว่า แฟนๆหนังสือ จะได้เปรียบมากกว่าเยอะมากในการดูซีรีส์เรื่องนี้ จนรู้สึกได้เลยว่าซีรีย์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อคนอ่านมากกว่าคนดูซะอีก ซึ่งมันก็มีทั้งข้อดีและข้อด้อยตามๆกันมา อย่างเลี่ยงไม่ได้
ซีซั่นแรกมีทั้งหมด 8 ตอน จะประกอบไปด้วยเนื้อหาจากหนังสือ 4 เล่มแรก ได้แก่ The Bad Beginning (ลางร้ายเริ่มปรากฏ), The Reptile Room (ห้องอสรพิษชวนผวา), The Wide Window (บ้านประหลาด) และ The Miserable Mill (โรงงานเขย่าขวัญ) โดยจะแบ่งแต่ละเล่มออกเป็น 2 Chapter ..โดยสามเล่มแรก เคยถูกสร้างเป็นฉบับภาพยนต์มาแล้วเมื่อปี 2004 ซึ่งแม้ตัวหนังจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่มันก็ถือเป็นหนังดีที่ถ่ายทอดออกมาได้เยี่ยม และสร้างภาพจำได้ผู้ชมไม่น้อยเลย
แฟนๆหนังสือ คงจะทราบดีกว่า นิยายเรื่องนี้มี Motif มาจากอะไร? มันถูกเขียนโดยยึดใช้สไตส์การเล่าเรื่องแบบ "หนังซีเรียล (Serial Fims)" (ภาพยนต์ชุดที่จะเล่าเรื่องเป็นตอนๆฉายในโรงภาพยนต์ ที่เฟื่องฟูมากในศตวรรษก่อน ที่จะแบ่งเรื่องราวออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกจะจบลงในช่วงเวลาที่ตัวละคร กำลังเผชิญกับสถานการณ์ขับคัน เพื่อให้ผู้ชมกลับมาติดตามว่าตัวเอกจะเอาตัวรอดไปได้ยังไงในส่วนที่สอง อันเป็นต้นกำเนิดของซีรีย์ทางทีวี ในยุคต่อๆมา) มีการบรรยายเรื่องราวโดย Narrator อย่างชัดเจนแทบจะทุกนาทีของหนัง และการสไตส์การเล่าเรื่องที่ออกจะเวิ่นเว้อ จัดจ้าน อย่างมาก (ยกตัวอย่างก็ หนังเรื่อง Zombie in the Snow ที่ลุงมอนตี้พาเด็กๆไปดูนั่นแหละ)
สไตส์แบบนี้ คือส่วนสำคัญที่นิยายเรื่องนี้เอามาใช้ เพื่อเป็นการล้อขนบของความบันเทิงในศตวรรษก่อนไปในตัว เหมือนเอาความเฉิ่มของมันมาขยี้ให้มันกลายเป็นความ "อภิมหาเฉิ่มแหลกลานอย่างมีสไตส์" จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้หนังสือเล่มนี้ไม่เหมือนวรรณกรรมเยาวชนเรื่องไหนเลย
ฉะนั้นเอกลักษณ์ของหนังสือชุดนี้ มันก็คือการเล่าเรื่องอันแสนจะตลกร้าย อย่างแสบสันต์และบันเทิง ความมืดหม่นคือฉาบหน้าที่ซ่อนความหรรษาอย่างเจ็บปวดเอาไว้ภายใน อยู่กึ่งกลางระหว่างความมืดกับความหฤหรรษ์ ที่ไม่สามารถบอกได้ว่ามันกำลังเล่าเรื่องตลก หรือโศกนาฏกรรมอยู่กันแน่หนอ?
สำหรับซีรีส์ ถ้าเทียบกับเวอร์ชั่นหนังแล้ว ในเวอร์ชั่นหนัง มันจะมีการดัดแปลงที่เอื้อเฟื้อต่อคนดูหนังมากกว่า มีการดัดแปลงวิธีการเล่าเรื่องที่ดูมีความเป็นภาพยนต์มากขึ้น แต่ยังคงการกำกับศิลป์ที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ จากหนังสือเอาไว้อยู่ (นี่เป็นหนึ่งในนิยายที่มี "ภาพ" ให้เห็นชัดเจนมากอีกเรื่อง ด้วยภาพประกอบนิยายจากลายเส้นดินสอของ เบรท เฮลควิสท์ อันงดงามชวนติดตา ฉะนั้นทีมสร้างแทบไม่ต้องจินตนการอะไรใหม่มากมาย อยู่ที่ว่าจะสร้างสรรค์ให้ "ภาพ" เหล่านั้น ให้ชีวีตบนจอกันอย่างไร ...อย่างในเวอร์ชั่นซีรีส์ ไม่ต้องพิจารณาโดยรวม แค่เห็น "หนวด" ของลุงมอนตี้ก็เพียงพอแล้ว... ฮา)
แต่ในซีรีส์ เราจะเห็นกลิ่นอายการเล่าเรื่องที่ "ทำตัวเฉิ่ม" ตั้งแต่ฉากเปิดแรกของเรื่องเลย (ที่มีการเอาชื่อของ Chapter จากหนังสือมาเปิดเรื่อง ให้อารมณ์เหมือนกำลังชมภาพยนต์ซีเรียลมาก) การเอา เลโมนี สนิกเก็ต มารับบทผู้บรรยายที่ปรากฏตัวอย่างโจ่งแจ้งภายในเรื่องนั้น เป็นไอเดียที่ดี เพราะอย่างที่รู้ว่า สนิกเก็ตเป็นเจ้าของเรื่องนี้อย่างแท้จริง เขาคือตัวละครตัวหนึ่งที่มีหน้าที่ติดตามโชคชะตาอันเลวร้ายของเด็กๆโบดแลร์ และจะยิ่งมีความสำคัญต่อเรื่องมากกว่านี้ในอนาคต (แต่ยังไม่ขอพูดถึงละกัน ไม่งั้นมันจะสปอยล์มาก) ...แต่โดยส่วนตัว ก็ยังชอบการตีความของฉบับภาพยนต์ (ที่เลโมนี สนิกเก็ต เวอร์ชั่นนั้นรับบทโดบ จู๊ด ลอว์) เหมือนเดิม ที่ให้เลโมนีมีบทแค่ในเงามืด แต่มันอาจจะใช้ไม่ได้กับซีรีย์ที่ตั้งใจจะถ่ายทอดเนื้อหาไปจนจบ
นีล แพททริค แฮร์ริส เป็นเคาท์โอลาฟที่ดี ถ้าเทียบกับ จิม แคร์รี แน่นอนว่าเคาท์โอลาฟเวอร์ชั่นนี้ไม่ได้ส่อแววความชั่วร้ายอย่างโจ่งแจ้งขนาดนั้น แต่ก็ถือว่าสมเหตุสมผลในฐานะวายร้ายที่เราจะได้เจอเข้าไปอีกหลายตอน ที่เคาท์โอลาฟจะค่อยๆเผยความชั่วร้ายในอีกหลายแง่มุมของตัวเองไปเรื่อยๆ (ต้องใช้คำว่า "ความชั่วร้ายในหลายๆแง่มุม" จริงๆ) ต้องขอบอกว่าวายร้ายคนนี้คือ ตัวร้ายจากวรรณกรรมที่มีสีสันมากที่สุดคนหนึ่งในโลกแล้ว สำหรับเวอร์ชั่นซีรีส์ ก็ถือว่าทำออกมาได้ดีใช้ได้ เหมาะที่จะให้คนดูได้ค่อยๆเห็น และสำรวจความชั่วร้ายในอีกหลายแง่มุมของตัวละครตัวนี้ไปเรื่อยๆ อย่างไม่เร่งเร้ามาก ...ซึ่งแฮร์ริสก็ได้โชว์ทักษะการแสดงโอเวอร์แอ็คติ้งแบบละครเวทีตัวเองในบทเคาท์โอลาฟอย่างเต็มที่
เด็กๆโบดแลร์ ไม่รู้ว่าเพราะภาพของทีมนักแสดงชุดเดิมนั้นมีสเน่ห์ ติดตาเกินไปหรือเปล่า ถึงได้รู้สึกว่าเด็กๆเวอร์ชั่นซีรีส์ ออกมาเรียบไปนิด ไม่ค่อยมีสเน่ห์เท่า ....แต่ถ้าไม่เทียบกับเวอร์ชั่นหนัง เด็กๆเวอร์ชั่นนี้ก็ทำหน้าที่ตัวเองได้ดีทุกตำแหน่ง ไวโอเล็ตมีความเป็นสาวน้อยที่ฉลาดและมีวิจารณญาณแบบผู้ใหญ่ (แม้อิมเมจของน้องจะแอบซ้อนกับ เอมิลี บราวนิง ที่รับบทเป็นไวโอเล็ตในภาพยนต์อยู่บ้างเนืองๆ), เคลาส์เป็นเด็กชายที่มีความแข็งกร้าวและขบถในตัว ซึ่งก็แสดงออกมาอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น ส่วนน้องเล็กซันนี่ก็มีความไร้เดียงสาเป็นความน่ารักที่ใครเห็นก็ต้องหลงรัก ซึ่งเด็กๆก็ทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี พอจะมองเห็นศักยภาพของการแสดงที่จะโตขึ้นเรื่อยๆ เตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความโชคร้ายอีกมายมาย ในซีซั่นต่อๆไปได้
ส่วนตัวละครแวดล้อมอื่นๆ ก็มีความโดดเด่นกันคนละแบบ แต่ต้องยอมรับจริงๆว่า บรรดาตัวละครสมบทนั้น ในเวอร์ชันภาพยนต์ ประกอบไปด้วยดารารุ่นใหญ่มากฝีมือมากมาย ที่สร้างภาพจำให้กับคนดูไว้มากอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะบท ป้าโจเซฟีน ของ เมอริล สตีฟ ในฉบับภาพยนต์ ที่สลัดออกไปจากความทรงจำได้ยากจริงๆ แต่ถ้าไม่เทียบกัน เหล่านักแสดงสมทบในซีรีย์ก็ทำหน้าที่ของตัวเองกันได้ดีทุกตำแหน่ง ซึ่งส่วนตัวผม โอเคกับความอิหลักอิเหลื่อในการแสดงของตัวละครสมทบทั้งหลายอยู่ เพราะในโลกของหนังสือชุด A Series of Unfortunate Events นี่คือโลกที่เด็กๆจะต้องเผชิญหน้ากับบรรดาผู้ใหญ่ไร้สติ ในโลกที่บิดเบี้ยวอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลก หากคนดูจะรู้สึกว่า พวกเด็กๆโบดแลร์จะดูไม่มีสีสันเท่าบรรดาผู้ใหญ่
แต่เพราะมันเดินตามรอยหนังสือมากเกือบ 70% มันเลยอาจจะยังดูแปลกๆไปซักหน่อย สำหรับการเล่าเรื่องในแบบภาพยนต์ เพราะตัวซีรีส์แทบจะไม่ได้นำเสนอมิติโดยลึกของตัวละครเลย ไม่ว่าจะเป็นความโศกเศร้าที่เจือปนอยู่รอบตัวเด็กๆโบดแลร์ แต่นั่นก็คงเพราะเหตุผลเดียวกัน เพราะในหนังสือ กว่าที่เรื่องราวจะเข้มข้นจริงๆ ก็ปาเข้าไปเล่มที่ 5-6 นู่นแล้ว เล่ม 1-4 เป็นเหมือนการปูพื้นโลกของหนังสือให้คนอ่านได้คุ้นเคยและเข้าใจ ในตรรกะเพี้ยนๆของมันเท่านั้น ถ้าผ่านช่วงนี้ไป ความเข้มข้นในการเล่าเรื่อง และการนำเสนอตัวละครในแง่มุมที่ลึกขึ้น ก็จะตามมา
ฉะนั้นสำหรับซีซั่นแรก มันจึงเป็นเพียงแค่อารัมภบทเท่านั้น เปรียบได้กับ "คำเตือน" จากใจของ เลโมนี สนิกเก็ต ที่คอยเตือนท่านอยู่เสมอว่า คุณควรจะหยุดเสียตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนจะได้พบกับโชคชะตาอันโหดร้าย ของเด็กๆโบดแลร์ต่อไป... แต่หากคุณยังดื้อดึงที่จะชมต่อ ก็จะได้พบกับเรื่องราวที่เข้มข้นและตรากตรำกว่าเดิม ในตอนต่อๆไปแน่นอน
หากการค้นคว้าของคุณอยู่รอดมาจนถึงตอนนี้
ขอให้รู้ว่ามันกำลังถูกเล่าโดยทีมสร้างภาพยนต์
ที่ประกอบไปด้วยคนเก่งๆมากมาย
ที่ชวนให้ติดตามเหลือเกิน...
ซึ่งคุณคงไม่ดีใจแน่ๆ"