หลังจากที่เกริ่นบทความเรื่องวอลุ่มไปตอนที่แล้ว เราจะมาเข้ารายละเอียดคือการลงไปในรูปแบบของการเกิดวอลุ่มแต่ละลักษณะ เพื่อเป็นการไม่น่าบื่อและมีเนื้อหาที่ยาวเกินไป ผมจะแบ่งเป็นตอนๆ ทะยอยๆลงนะครับ
รูปแบบเหล่านี้ผมได้มาจากหนังสือรวมเข้ากับที่ได้พบเจอมาจากประสบการณ์ส่วนตัว แล้วก็นำมาวาดเป็นตารางเพื่อที่จะได้ระลึกถึง เมื่อนำไปใช้จริงก็ใช้ได้โดยง่าย โดยการอ่านวอลุ่มนั้นมันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์เราคงไม่สามารถที่จะ บอกมันได้เป๊ะๆเหมือนสูตรทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ใช่ว่าจะคาดการณ์อะไรไม่ได้เลย หากเราทำการศึกษาย้อนหลังไปในประวัติศาสตร์ เราก็จะพบว่า มันก็เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกจริงๆ
วอลุ่มเปรียบเสมือน “พลังงานของหุ้น” ราคาหุ้นจะไปในทิศทางนั้นๆได้ดีต้องมี “แรงส่ง” จากวอลุ่มมาช่วยยืนยัน การดูเพียงแค่ price movement อาจไม่เพียงพอเพราะเราไม่ได้วิเคราะห์ demand-supply ที่เข้ามาในตัวหุ้นนั่นเอง รูปแบบแรกนี้คือลักษณะทั่วๆไปของ volume ที่ดี นั่นคือ เมื่อหุ้นวิ่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งแล้วมีปริมาณวอลุ่มเข้ามาสนับสนุน การเคลื่อนตัวของราคาต้องมาพร้อมวอลุ่มนั่นเอง มันสื่อได้ว่าหุ้นได้รับความนิยมจากตลาดเกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันคึกคัก บรรดาเทรดเดอร์จะชอบมากเป็นพิเศษเพราะมีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง วอลุ่มที่เกิดขึ้นนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมากขึ้นเรื่อยๆตามการขยับขึ้นหรือลงของราคา แต่เมื่อหุ้นมันได้เลือกทิศทางใดทิศทางหนึ่งแล้วควรจะมีวอลุ่ม “โป่ง” ขึ้นมาเพื่อยืนยันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการ BO ออกจากเบสด้วย high vol. ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นขาขึ้นหรือขาลงของหุ้นนั่นเอง หรือแม้กระทั่งการพักตัวของหุ้นแบบไม่มีวอลุ่มก็เช่นกัน…
หุ้นขึ้นวอลุ่มหายคือคำพูดติดหูคนเล่นหุ้นเป็นอย่างมาก แต่หลายๆคนยังมีความสงสัยกันอยู่ หัวใจของการเกิดกรณีนี้มักจะเกิดในระยะเวลาหลายเดือนจนถึงปีหรือตลอดการเป็น major bull mkt. ลักษณะของมันคือ ราคาหุ้นยิ่งขยับสูงขึ้นไปๆแต่วอลุ่มเฉลี่ยที่เทรดกันต่อวันกลับมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แน่นอนนั่นหมายความว่าวอลุ่มของวันล่าสุดจะมีแนวโน้มที่น้อยกว่าวันก่อนหน้าลงไปเรื่อยๆ หากสังเกตดูก็จะเห็นว่าวอลุ่มทางซ้ายมือสุดของการเริ่มเหตุการณ์นี้จะสูงที่สุด นั่นก็เพราะว่ามันมักจะมีอาการของการเกิด Selling Climax ก่อนการเกิดกรณีนี้ แล้วหุ้นก็ค่อยๆไต่ขึ้นไปๆ ซัพพลาย(ปริมาณหุ้น)ถูกดูดออกไปจากตลาดเรื่อยๆ หรือฝั่ง buyer นั้นทั้งดูดทั้งสะสมหุ้นไปเก็บเข้าปี๊บอย่างที่เสี่ยยักษ์ว่าไว้ การที่ผู้ที่ทำการสะสมหุ้นไปจำนวนมหาศาลแล้วไม่ปล่อยหุ้นออกมาหมุนเวียนในตลาดเลย สันนิษฐานได้ว่า
1.เขามีมุมมองที่ bullish เป็นอย่างมากต่อหุ้นตัวนั้น
2. เขาเป็น major player ที่มีอำนาจในการซื้อสูง
ความสุดยอดของการเกิดเหตุการณ์นี้คือ หุ้นจะสามารถค่อยๆขยับขึ้นไปได้อย่างมาก สร้างผลตอบแทนได้ดีสุดๆ แต่ความน่าสะพรึงกลัวของแพตเทิร์นนี้คือ ? ลองคิดดูสิว่ามันคืออะไร ซึ่งเสี่ยยักษ์ไม่ได้พูดไว้ในบทสัมภาษณ์
ไม่มีอะไรมากไปกว่า “ความอ่อนแรง” ของ demand ที่มีต่อตัวหุ้นที่กำลังอยู่ในช่วงที่เป็นขาขึ้น จากหลักการพื้นฐานของวอลุ่มทั่วไปคือ
1. วอลุ่มกระทิง(Bullish volume) คือ ราคาขยับขึ้นวอลุ่มเพิ่ม ราคาขยับลงวอลุ่มลด
2. วอลุ่มหมี(Bearish volume) อาการก็จะสลับกันกับกรณีแรกนั่นเอง
ราคาหุ้นมันขยับขึ้นไปเรื่อยๆอาจก่อให้เกิดภาวะหุ้นขึ้นวอลุ่มหายได้ แต่ในกรณีนั้นมันคือการเกิดใน period ที่จะยาวนานกว่าจนเราสังเกตเห็นการแสดงตนออกมาชัดเจนแล้ว แต่ในกรณีจะแตกต่างกันตรงที่เรามองในช่วงเวลาที่สั้นกว่า... เราพยายามฟังเสียง “ฝีเท้า” รายใหญ่ที่สามารถชี้นำทิศทางตลาดได้มากกว่าพวกนักวิเคราะห์เสียอีก เมื่อมองไปยังกราฟเทคนิควอลุ่มจึงเป็นคำตอบสำหรับเรา การที่หุ้นพยายามขยับขึ้นไปแบบชั่วคราวด้วยวอลุ่มเบาบางนั้น นั่นก็อาจเป็นเพราะว่าการขึ้นที่ว่านี้นั้น “major player” ไม่แสดงความสนใจในการเข้าร่วมวงด้วยใน higher price level นั่นเอง ซึ่งพวกเขาอาจจะเห็นว่าเป็น weak market อยู่ก็เป็นได้...
Wedging up pattern นี้ ส่อเจตนาร้ายคล้ายๆ V-shape ที่มักเป็นได้แค่การ price recovery to new-high รูปแบบนี้มักเกิดขึ้นหลังจากหุ้นได้ทำ peak ไปแล้ว โดยมากจะเกิดขึ้นหลังจากที่หุ้นได้เกิดลักษณะของ Climax Top ซึ่งหุ้นจะจบแรงจบหนัก การเกิดอาการนี้เกิดได้บ่อยทีเดียว มันมักถูก “ออกแบบ” มาเพื่อเป็น “trap” ของการให้ความหวังผู้ที่ติดหุ้นอยู่ที่ peak ล่าสุด แต่แล้วความหวังนั้นก็เดินจากไป.. หากสังเกตดูจาก shape ของพวกมันจะพบว่า ฝั่งซ้ายของ bottom นั้นจะลงเร็วกว่าฝั่งขวาของ bottom ซึ่งเป็นการ slow recovery ของราคาหุ้น แต่ทุกๆการขยับขึ้นของมัน วอลุ่มจะค่อยๆลดลงๆ.. เราสามารถอนุมานได้ว่าอุปสงค์ในตัวหุ้นนั้นมันน้อยมากหรือไม่มีนั่นเอง ถ้ามีก็เป็นแค่เพียงมาจากผู้เล่นรายย่อยเท่านั้น แม้มันดูเหมือนจะไม่มีพิษสงอะไรมากมายแต่เมื่อมันเกิดขึ้นมันจะทำให้คนมีหุ้นอยู่นั้นรู้สึก “ลังเล” ไม่กล้าที่จะขายหุ้นออกมาเพราะยังคงคิดว่า “อะไรๆก็ยังดูดี” การพยายามฟื้นตัวขึ้นไปด้วยวอลุ่มที่เบาบาง มักจะไปได้อย่างมากแค่ prev. high เท่านั้น เพราะหุ้นยัง weakness อยู่มากนั่นเอง...
ป.ล. ผมไม่ได้เอาตัวอย่างในแต่ละเคสลงนะครับ ท่านต้องไปคิดค้นพบกันดูเอง ถือว่าเป็นการทำ workshop ไปในตัวเด้อออ
โปรดติดตามต่อตอนหน้า ^^
=======================================
█ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃ ▂ บทเรียนที่ 1 : Volume Investor (VI) ▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █
Link :
https://ppantip.com/topic/36037787
█ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃ ▂ บทเรียนที่ 2 : Volume Spread Analysis for Dummies ▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █
Link :
https://ppantip.com/topic/36037830
█ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃ ▂ บทเรียนที่ 3 : Volume Spread Analysis for Dummies ▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █
Link :
https://ppantip.com/topic/36037852
█ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃ ▂ บทเรียนที่ 4 : Volume Spread Analysis for Dummies ▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █
Link :
https://ppantip.com/topic/36038456
Credit :
https://goo.gl/ND4uEp ,
https://goo.gl/1X4lXv ,
https://goo.gl/kJFN9E ,
https://goo.gl/tD1fXx
=======================================
█ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃ ▂ บทเรียนที่ 2 : Volume Spread Analysis for Dummies ▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █
รูปแบบเหล่านี้ผมได้มาจากหนังสือรวมเข้ากับที่ได้พบเจอมาจากประสบการณ์ส่วนตัว แล้วก็นำมาวาดเป็นตารางเพื่อที่จะได้ระลึกถึง เมื่อนำไปใช้จริงก็ใช้ได้โดยง่าย โดยการอ่านวอลุ่มนั้นมันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์เราคงไม่สามารถที่จะ บอกมันได้เป๊ะๆเหมือนสูตรทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ใช่ว่าจะคาดการณ์อะไรไม่ได้เลย หากเราทำการศึกษาย้อนหลังไปในประวัติศาสตร์ เราก็จะพบว่า มันก็เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกจริงๆ
วอลุ่มเปรียบเสมือน “พลังงานของหุ้น” ราคาหุ้นจะไปในทิศทางนั้นๆได้ดีต้องมี “แรงส่ง” จากวอลุ่มมาช่วยยืนยัน การดูเพียงแค่ price movement อาจไม่เพียงพอเพราะเราไม่ได้วิเคราะห์ demand-supply ที่เข้ามาในตัวหุ้นนั่นเอง รูปแบบแรกนี้คือลักษณะทั่วๆไปของ volume ที่ดี นั่นคือ เมื่อหุ้นวิ่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งแล้วมีปริมาณวอลุ่มเข้ามาสนับสนุน การเคลื่อนตัวของราคาต้องมาพร้อมวอลุ่มนั่นเอง มันสื่อได้ว่าหุ้นได้รับความนิยมจากตลาดเกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันคึกคัก บรรดาเทรดเดอร์จะชอบมากเป็นพิเศษเพราะมีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง วอลุ่มที่เกิดขึ้นนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมากขึ้นเรื่อยๆตามการขยับขึ้นหรือลงของราคา แต่เมื่อหุ้นมันได้เลือกทิศทางใดทิศทางหนึ่งแล้วควรจะมีวอลุ่ม “โป่ง” ขึ้นมาเพื่อยืนยันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการ BO ออกจากเบสด้วย high vol. ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นขาขึ้นหรือขาลงของหุ้นนั่นเอง หรือแม้กระทั่งการพักตัวของหุ้นแบบไม่มีวอลุ่มก็เช่นกัน…
หุ้นขึ้นวอลุ่มหายคือคำพูดติดหูคนเล่นหุ้นเป็นอย่างมาก แต่หลายๆคนยังมีความสงสัยกันอยู่ หัวใจของการเกิดกรณีนี้มักจะเกิดในระยะเวลาหลายเดือนจนถึงปีหรือตลอดการเป็น major bull mkt. ลักษณะของมันคือ ราคาหุ้นยิ่งขยับสูงขึ้นไปๆแต่วอลุ่มเฉลี่ยที่เทรดกันต่อวันกลับมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แน่นอนนั่นหมายความว่าวอลุ่มของวันล่าสุดจะมีแนวโน้มที่น้อยกว่าวันก่อนหน้าลงไปเรื่อยๆ หากสังเกตดูก็จะเห็นว่าวอลุ่มทางซ้ายมือสุดของการเริ่มเหตุการณ์นี้จะสูงที่สุด นั่นก็เพราะว่ามันมักจะมีอาการของการเกิด Selling Climax ก่อนการเกิดกรณีนี้ แล้วหุ้นก็ค่อยๆไต่ขึ้นไปๆ ซัพพลาย(ปริมาณหุ้น)ถูกดูดออกไปจากตลาดเรื่อยๆ หรือฝั่ง buyer นั้นทั้งดูดทั้งสะสมหุ้นไปเก็บเข้าปี๊บอย่างที่เสี่ยยักษ์ว่าไว้ การที่ผู้ที่ทำการสะสมหุ้นไปจำนวนมหาศาลแล้วไม่ปล่อยหุ้นออกมาหมุนเวียนในตลาดเลย สันนิษฐานได้ว่า
1.เขามีมุมมองที่ bullish เป็นอย่างมากต่อหุ้นตัวนั้น
2. เขาเป็น major player ที่มีอำนาจในการซื้อสูง
ความสุดยอดของการเกิดเหตุการณ์นี้คือ หุ้นจะสามารถค่อยๆขยับขึ้นไปได้อย่างมาก สร้างผลตอบแทนได้ดีสุดๆ แต่ความน่าสะพรึงกลัวของแพตเทิร์นนี้คือ ? ลองคิดดูสิว่ามันคืออะไร ซึ่งเสี่ยยักษ์ไม่ได้พูดไว้ในบทสัมภาษณ์
ไม่มีอะไรมากไปกว่า “ความอ่อนแรง” ของ demand ที่มีต่อตัวหุ้นที่กำลังอยู่ในช่วงที่เป็นขาขึ้น จากหลักการพื้นฐานของวอลุ่มทั่วไปคือ
1. วอลุ่มกระทิง(Bullish volume) คือ ราคาขยับขึ้นวอลุ่มเพิ่ม ราคาขยับลงวอลุ่มลด
2. วอลุ่มหมี(Bearish volume) อาการก็จะสลับกันกับกรณีแรกนั่นเอง
ราคาหุ้นมันขยับขึ้นไปเรื่อยๆอาจก่อให้เกิดภาวะหุ้นขึ้นวอลุ่มหายได้ แต่ในกรณีนั้นมันคือการเกิดใน period ที่จะยาวนานกว่าจนเราสังเกตเห็นการแสดงตนออกมาชัดเจนแล้ว แต่ในกรณีจะแตกต่างกันตรงที่เรามองในช่วงเวลาที่สั้นกว่า... เราพยายามฟังเสียง “ฝีเท้า” รายใหญ่ที่สามารถชี้นำทิศทางตลาดได้มากกว่าพวกนักวิเคราะห์เสียอีก เมื่อมองไปยังกราฟเทคนิควอลุ่มจึงเป็นคำตอบสำหรับเรา การที่หุ้นพยายามขยับขึ้นไปแบบชั่วคราวด้วยวอลุ่มเบาบางนั้น นั่นก็อาจเป็นเพราะว่าการขึ้นที่ว่านี้นั้น “major player” ไม่แสดงความสนใจในการเข้าร่วมวงด้วยใน higher price level นั่นเอง ซึ่งพวกเขาอาจจะเห็นว่าเป็น weak market อยู่ก็เป็นได้...
Wedging up pattern นี้ ส่อเจตนาร้ายคล้ายๆ V-shape ที่มักเป็นได้แค่การ price recovery to new-high รูปแบบนี้มักเกิดขึ้นหลังจากหุ้นได้ทำ peak ไปแล้ว โดยมากจะเกิดขึ้นหลังจากที่หุ้นได้เกิดลักษณะของ Climax Top ซึ่งหุ้นจะจบแรงจบหนัก การเกิดอาการนี้เกิดได้บ่อยทีเดียว มันมักถูก “ออกแบบ” มาเพื่อเป็น “trap” ของการให้ความหวังผู้ที่ติดหุ้นอยู่ที่ peak ล่าสุด แต่แล้วความหวังนั้นก็เดินจากไป.. หากสังเกตดูจาก shape ของพวกมันจะพบว่า ฝั่งซ้ายของ bottom นั้นจะลงเร็วกว่าฝั่งขวาของ bottom ซึ่งเป็นการ slow recovery ของราคาหุ้น แต่ทุกๆการขยับขึ้นของมัน วอลุ่มจะค่อยๆลดลงๆ.. เราสามารถอนุมานได้ว่าอุปสงค์ในตัวหุ้นนั้นมันน้อยมากหรือไม่มีนั่นเอง ถ้ามีก็เป็นแค่เพียงมาจากผู้เล่นรายย่อยเท่านั้น แม้มันดูเหมือนจะไม่มีพิษสงอะไรมากมายแต่เมื่อมันเกิดขึ้นมันจะทำให้คนมีหุ้นอยู่นั้นรู้สึก “ลังเล” ไม่กล้าที่จะขายหุ้นออกมาเพราะยังคงคิดว่า “อะไรๆก็ยังดูดี” การพยายามฟื้นตัวขึ้นไปด้วยวอลุ่มที่เบาบาง มักจะไปได้อย่างมากแค่ prev. high เท่านั้น เพราะหุ้นยัง weakness อยู่มากนั่นเอง...
ป.ล. ผมไม่ได้เอาตัวอย่างในแต่ละเคสลงนะครับ ท่านต้องไปคิดค้นพบกันดูเอง ถือว่าเป็นการทำ workshop ไปในตัวเด้อออ
โปรดติดตามต่อตอนหน้า ^^
=======================================
█ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃ ▂ บทเรียนที่ 1 : Volume Investor (VI) ▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █
Link : https://ppantip.com/topic/36037787
█ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃ ▂ บทเรียนที่ 2 : Volume Spread Analysis for Dummies ▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █
Link : https://ppantip.com/topic/36037830
█ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃ ▂ บทเรียนที่ 3 : Volume Spread Analysis for Dummies ▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █
Link : https://ppantip.com/topic/36037852
█ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃ ▂ บทเรียนที่ 4 : Volume Spread Analysis for Dummies ▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █
Link : https://ppantip.com/topic/36038456
Credit : https://goo.gl/ND4uEp , https://goo.gl/1X4lXv , https://goo.gl/kJFN9E , https://goo.gl/tD1fXx
=======================================