Kung Fu Yoga - โยคะสู้ฟัด “เรื่องนี้มีที่มา”

เปิดปี 2017 มาแค่เดือนเดียว แฟนหนังจีนโดยเฉพาะแฟนคลับของ “เฉินหลง” ก็แฮปปี้ฝุดๆ เมื่อหนังของเฮีย มีมาให้ชมกันชนิดหายใจรดต้นคอกันเลย … หลังจาก RailRoad Tigers ที่เพิ่งออกฉายไปเมื่อช่วงปีใหม่ เรื่องต่อมาก็คือ Kung Fu Yoga หรือชื่อไทย โยคะสู้ฟัด ของค่ายใบโพธิ์ หนังเฉินหลงที่ได้โลเกชั่นแปลกตาทั้ง จีน, อินเดีย, ดูไบ และ ไอซ์แลนด์ รวมไปถึงนักแสดง ที่เป็นการผสมผสานทั้ง จีน และ อินเดีย มาร่วมงานกันในครั้งนี้

                                               
Kung Fu Yoga ได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริงในประวัติศาสตร์ โดยอิงเรื่องจริงของทูตจีนที่เดินทางไปอินเดียสมัยราชวงศ์ถัง เรื่องราวของ หว่างซ่วน  ทูตประจำราชวงศ์ถังที่ถูกส่งไปเทียนจู๋โดยจักพรรดิถังไท่จง สมัยนั้นอินเดียรู้จักกันในชื่อว่า เทียนจู๋ (ชมพูทวีป) หลังจากที่ท่านทูตข้ามชายแดนไป กองทัพหลวงและสมบัติหลวงหายไปอย่างไร้ร่องรอย

พระภิกษุในตำนานอย่าง พระเสวียนจั๋ง (พระถังซัมจั๋ง ในนิยายเรื่อง ไซอิ๋ว) เป็นบุคคลแรกที่ได้เผยแพร่วัฒนธรรมจีนสู่อินเดีย ทำให้ท่านกลายเป็นภิกษุในศาสนาพุทธที่ได้รับความเคารพเป็นอย่างยิ่ง

                                                          
ทศวรรษต่อมา ในฐานะราชทูตประจำราชวงศ์ถัง หว่างซ่วน  ออกเดินทางไปยังอินเดียเพื่อแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ในการปกครองของจักพรรดิถังไท่จง

ราชาแห่งชมพูทวีปจัดให้จีนเป็นพันธมิตรคนสำคัญและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาตลอด อย่างไรก็ตามภารกิจครั้งที่สองของหว่างซ่วน เกิดขึ้นในสองปีต่อมา ทว่าคราวนี้ขบวนคาราวานของเขาถูกโจมตีโดยกองพันทหารช้างท้องถิ่น ทำให้เขาสูญเสียทีมงานไปเป็นสิบคน

หว่างซ่วน และผู้ช่วยของของเขา เจียงชือเหริน หลบหนีมาได้อย่างหวุดหวิดด้วยความช่วยเหลือของเจ้าหญิงชมพูทวีป เธออธิบายให้ฟังว่า "ราชาแห่งเทียนจู๋" เสียชีวิตไปแล้วหลังจากที่ หว่างซ่วน ได้มาเยี่ยมครั้งล่าสุด ผู้นำแห่งแคว้นคชสารตั้งตนเป็นใหญ่ครองบัลลังก์และเล็งว่าจะตัดสัมพันธ์ระหว่างจีนและอินเดียโดยการลอบสังหารคนของ หว่างซ่วน หว่างไม่ได้รีบกลับจีนทันที เขาขอความช่วยเหลือจากเจ้าหญิงหวู่เชิง ที่สมรสกับราชาแห่งทิเบต เมื่อได้กองทัพทิเบตมาร่วมมือหว่างเอาชนะพวกกบฏในเทียนจู๋ได้ จับตัวหัวหน้าและพากลับไปประเทศจีน และเรื่องราวเหล่านี้แหละคือตัวจุดประกายให้ สแตนลีย์ ตง กลั่นเป็น Kung Fu Yoga ออกมา

                                              
เมื่อรวม กังฟู และ โยคะ เข้าด้วยกัน นั่นหมายถึงการนำส่วนประกอบและความเชื่อแบบโยคะมาผสมกับกังฟู ในการปะทะกันของวัฒนธรรมจีนและอินดีย โยคะ เชื่อในความเป็นหนึ่งเดียว ฝึกปรือเพื่อพัฒนาให้กายและจิตใจเป็นหนึ่งเดียวกัน พฤติกรรมเดียว ไลฟ์สไตล์เดียว มันไม่ใช่แค่การทำท่ายากๆ เท่านั้น แต่มันคือการพัฒนาอารมณ์และฝึกนิสัยให้คงที่ด้วย

                                                                        
เมื่อคนที่มีพื้นฐานศิลปะการต่อสู้เรียนโยคะ การฝึกด้านจิตใจต้องเป็นไปพร้อมกับร่างกายเพื่อให้ความแข็งแกร่งถูกถ่ายทอดออกมาให้เป็นหนึ่งเดียว กังฟู และ โยคะ เติมเต็มกันและกัน เมื่อผู้ฝึกโยคะเรียน ไท้เก็ก หรือ หย่งชุน การฝึกกังฟู ก็สามารถเพิ่มสมดุลและความมั่นคงของร่างกายได้เช่นเดียวกัน

เมื่อผู้ฝึกกังฟูเรียนโยคะ เขาสามารถเรียนได้เร็วกว่าคนธรรมดา สิ่งที่ กังฟู และ โยคะ สอนคล้ายๆ กัน คือ วิธีทำสมาธิ ทำให้ร่างกายและจิตใจสมดุลกัน ทั้งสองวิชามีเป้าหมายเพื่อให้จิตใจสงบเพื่อรับรู้ถึงความสุขที่แท้จริงข้างใน ปกป้องจิตใจจากสิ่งรบกวนภายนอก

                                          คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

เรียกว่าเป็นหนังเฉินหลงที่ผสมผสานวัฒนธรรมเอเชียที่ดูจะแตกต่างให้เข้ารวมกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ
26 มกราคม รอพิสูจน์กัน ต้อนรับตรุษจีน ในโรงภาพยนตร์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่