สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนปรารถนาความสุข มนุษยชาติต่างปรารถนาอยากให้โลกมีสันติสุข มีการเรียกร้องหาสันติภาพกันทั่วโลก แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า สันติภาพภายนอกต้องเริ่มมาจากสันติสุขภายใน และสันติสุขภายในต้องเริ่มจากการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง เว้นจากการปฏิบัติธรรมแล้ว ไม่มีวิธีอื่นใด ที่จะทำให้เราได้พบกับสันติสุขที่แท้จริง หากทุกๆ คนในโลกตั้งใจปฏิบัติธรรม ให้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน เมื่อนั้นจะซาบซึ้งว่า พระธรรมกายเป็นแหล่งกำเนิดของความสุขที่แท้จริง แล้วคนทั้งโลกจะหันมาแสวงหาสันติภาพอย่างถูกวิธี ด้วยการฝึกใจให้หยุดนิ่งพร้อมๆ กัน เมื่อถึงเวลานั้นสิ่งที่เป็นความปรารถนาร่วมกัน คือ สันติภาพโลก จะบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน วินัยปิฎก จุลลวรรค ความว่า
“สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห
สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ
สงฺฆํ สมคฺคํ กตฺวาน กปฺปํ สคฺคมฺหิ โมทติ
ความพร้อมเพรียงของหมู่ ให้เกิดสุข การสนับสนุนผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นเหตุแห่งความสุข บุคคลผู้ยินดีในความพร้อมเพรียง ตั้งมั่นอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ นรชนผู้สมานหมู่คณะ ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงในสุคติสวรรค์ตลอดกัป”
ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป็นคุณธรรมที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะใหญ่อย่างมีความสุข เป็นปราการด่านสำคัญที่สุด ในการที่จะทำให้สังคมประเทศชาติ มีความมั่นคงและปลอดภัย ไม่ถูกข้าศึกรุกราน หรือถูกแทรกแซงให้บ้านเมืองระสํ่าระสาย ความสามัคคีเป็นยิ่งกว่าป้อมปราการของบ้านเมือง ที่สูงตระหง่านเสียดฟ้า เพราะเป็นประดุจป้อมปราการ หรือกำแพงเมืองที่มีชีวิตจิตใจ ที่ทุกคนต่างมีความเข้มแข็ง พร้อมที่จะเสียสละรักษาประเทศชาติ แม้ข้าศึกจะมีพลังอำนาจ มีความสามารถมากมายเพียงไร แต่ก็ไม่สามารถทลายกำแพงแห่งความสามัคคีของหมู่คณะไปได้ ความสามัคคีของหมู่คณะจึงนำสุขมาให้ นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลาย จึงยินดีในสามัคคีธรรม และสนับสนุนให้หมู่คณะรู้รักสมัครสมาน หากขาดความสามัคคี นั่นเปรียบเสมือนลางร้ายว่า ความเสื่อมสลายกำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า
ดังเช่นในสมัยพุทธกาล มีแคว้นหนึ่งชื่อแคว้นวัชชี เป็นประเทศเล็กๆ ที่ปกครองตนเอง ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นของใคร ประชาชนชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุข แม้แคว้นวัชชีเป็นแคว้นเล็กๆ แต่ว่าแข็งแกร่งมาก เหมือนกลุ่มต้นไม้กลุ่มเดียวกลางท้องนาที่ไม่กลัวต่อพายุฝน แว่นแคว้นหรือเมืองใหญ่ๆ เห็นความอุดมสมบูรณ์ของแคว้นวัชชี ต่างอยากมายึดเป็นเมืองขึ้น แต่ก็โดนตีพ่ายย่อยยับกลับไปทุกครั้ง
* ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูราชาแห่งแคว้นมคธ มีพระประสงค์จะยกทัพไปตีเมืองวัชชี แต่ได้ยินกิตติศัพท์ว่า ไม่ใช่เมืองที่ใครๆ จะสามารถยึดเป็นเมืองขึ้นได้ง่ายๆ การทำสงครามต้องรู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งจึงจะชนะร้อยครั้ง พระราชาจึงมีรับสั่งให้วัสสการพราหมณ์ ในฐานะที่เป็นอำมาตย์ที่ปรึกษา ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลบอกถึงความประสงค์ที่จะยกทัพไปยึดแคว้นวัชชีว่า จะยึดเมืองนี้ได้อย่างไร
วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์รับคำสั่งแล้ว รีบไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ธรรมดาวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไม่ตรัสถ้อยคำที่นำมาซึ่งความแตกร้าว แต่ครั้นจะไม่ตรัสสิ่งใดก็ไม่สมควร จึงรับสั่งถามพระอานนท์ ซึ่งยืนถวายงานพัดอยู่ใกล้ๆ ว่า “อานนท์ เธอได้ยินบ้างไหมว่า ชาววัชชีนั้นหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์” เมื่อพระอานนท์กราบทูลยืนยันพระดำรัสนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “เมื่อใดที่ชาววัชชีหมั่นประชุมกัน เมื่อนั้นพึงหวังความเจริญได้อย่างแน่นอน”
พระพุทธองค์ทรงรับสั่งถามพระอานนท์ต่อว่า “อานนท์ เธอได้ยินข่าวหรือไม่ว่า เมื่อชาววัชชีจะประชุมกันก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกก็พร้อมเพรียงกันเลิก และสมัครสมานสามัคคีพร้อมเพรียงกันทำกิจที่ควรทำ” พระอานนท์ทูลว่า “เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า” “อานนท์เอ๋ย เมื่อชาววัชชีพร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่ควรทำ พึงหวังความเจริญได้ ไม่มีความเสื่อมแน่นอน”
พระพุทธองค์ทรงรับสั่งต่อไปว่า “ชาววัชชีจักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชาววัชชี ที่ได้ประพฤติปฏิบัติกันมาเป็นเวลายาวนาน เมื่อนั้น ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้อย่างแน่นอน และตราบใดชาววัชชียังสักการะ เคารพนับถือบูชาผู้ใหญ่ซึ่งมีคุณธรรม และให้ความสำคัญกับถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่า เป็นคำที่ควรเชื่อฟัง ควรปฏิบัติตามด้วยความเคารพ เมื่อนั้นชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่มีความเสื่อมเลย
ดูก่อนอานนท์ ถ้าชาววัชชีไม่ข่มเหงรังแกหญิงในตระกูล ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่มีความเสื่อมเลย” นี่เป็นอีกข้อหนึ่งที่เป็นการให้เกียรติสตรี ไม่ไปล่วงเกินสิทธิส่วนบุคคลของใคร พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า “อานนท์ ตราบใดที่ชาววัชชียังสักการะ เคารพนับถือบูชาเจดียสถานทั้งภายในและภายนอก ไม่ลบล้างประเพณีที่ดีงาม ซึ่งเคยปฏิบัติต่อเจดียสถานเหล่านั้น ตราบนั้นชาววัชชีก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง”
นี่เห็นไหมว่า ชาววัชชีมีความเคารพต่อสิ่งที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ไม่ดูถูกดูหมิ่นประเพณีที่ดีงาม ที่บรรพบุรุษได้สืบทอดกันมา และข้อสุดท้ายเป็นสิ่งที่สำคัญคือ "ตราบใดที่ชาววัชชียังถวายการอารักขา คุ้มครองป้องกันพระอรหันต์ และพระสงฆ์สาวกทั้งหลายเป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า พระอรหันต์และผู้ทรงศีลเหล่านั้น ที่ยังไม่มาสู่แว่นแคว้นก็ขอให้มา ที่มาแล้วก็ขอให้อยู่เป็นสุข ถ้าชาววัชชียังทำเช่นนี้อยู่ พึงหวังความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย"
การดูแลคุ้มครองผู้ทรงศีล เป็นการคุ้มครองเนื้อนาบุญ ให้ผู้มีบุญได้มีโอกาสทำบุญ ถือเป็นบุญลาภใหญ่หลวงของชาวเมืองที่จะได้บุญใหญ่ อานิสงส์ของบุญนี้จะช่วยคุ้มครองถึงประเทศชาติ แต่ถ้าทำตรงกันข้าม ย่อมเกิดผลตรงกันข้ามเช่นกัน บ้านเมืองจะวุ่นวาย ให้จดจำกันให้ดี
หลังจากนั้น พระพุทธองค์ทรงสรุปอปริหานิยธรรมทั้งเจ็ดประการว่า ถ้าชาววัชชีหรือใครก็ตามปฏิบัติตนตามหลักธรรมนี้ จะไม่มีความเสื่อมแน่นอน วัสสการพราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลเสริมว่า “อย่าว่าแต่ทำทั้งเจ็ดข้อเลย เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ก็ทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขเเล้ว พระเจ้าข้า”
ขณะเดียวกันนั้นเอง วัสสการพราหมณ์ฉุกคิดวิธีที่จะเอาชนะชาววัชชีได้ คือจะต้องให้ชาววัชชีแตกความสามัคคีกันให้ได้ จึงไปทูลปรึกษางานกับพระเจ้าอชาตศัตรู และเริ่มดำเนินตามแผนทันที พระเจ้าอชาตศัตรูทรงรับสั่งให้โบยตีวัสสการพราหมณ์ แล้วเนรเทศออกจากแคว้นมคธ พราหมณ์จึงทำทีเดินทางระหกระเหินไปขอพึ่งเจ้าวัชชี และเนื่องจากพราหมณ์เป็นผู้มีปัญญามาก ทำให้เจ้าวัชชีรับไว้ใช้งาน
ในช่วงแรกๆ ท่านตั้งใจสนองงานอย่างดี จนเป็นที่ไว้วางใจของเจ้าวัชชี เมื่อได้รับความไว้วางใจแล้ว จึงเริ่มแผนยุแหย่เจ้าวัชชี สร้างความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน จากที่เคยปฏิบัติหัวข้อธรรมทั้งเจ็ดประการ ก็ย่อหย่อนลงทุกวันๆ จากชาววัชชีที่สามัคคีกัน ก็ทะเลาะวิวาทกันเป็นประจำ ที่เคยเข้มแข็งก็อ่อนแอลง เมื่อภายในแตกร้าว ภายนอกก็เปราะบาง พราหมณ์จึงส่งข่าวไปถึงพระเจ้าอชาตศัตรู ให้ยกทัพมาได้แล้ว กองทัพของแคว้นมคธจึงยกทัพมาตีแคว้นวัชชี และสามารถยึดครองเมืองวัชชีได้อย่างง่ายดาย
เพราะฉะนั้น การแตกความสามัคคี จึงเป็นสัญญาณของความหายนะ การทะเลาะวิวาทกัน เป็นปากทางแห่งความเสื่อม บัณฑิตจึงสนับสนุนความพร้อมเพรียงกันของหมู่คณะ ความสามัคคีค้ำจุนประเทศชาติและโลกนี้ทีเดียว ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ถ้าประเทศใดไม่เห็นความสำคัญของอปริหานิยธรรม ดังที่กล่าวมาแล้ว ความวัฒนาถาวรของประเทศชาติก็อยู่ได้ไม่นาน
ดังนั้น ถ้าเราปรารถนาความเจริญในชีวิต ขอให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักอปริหานิยธรรม ถ้าทุกๆ คนในโลก เริ่มหันหน้ามาพูดคุยกันด้วยน้ำใสใจจริง มีสามัญสำนึกของความเป็นเจ้าของโลกใบนี้ แล้วแสวงจุดร่วมสมานจุดต่าง มีใจเป็นหนึ่งเดียวกัน มีสามัคคีธรรม เมื่อนั้น ความใฝ่ฝันร่วมกันของทุกคน ที่จะเห็นโลกมีสันติสุขอย่างแท้จริง จะสำเร็จสมปรารถนาอย่างง่ายดาย เป็นความเจริญถ้วนหน้าทั้งทางวัตถุ และจิตใจที่ไปพร้อมๆ กัน ไม่ขัดแย้งกัน ให้ทุกๆ ท่านสามัคคีปรองดองประสานใจกันให้เป็นหนึ่ง ปฏิบัติธรรมกันให้ได้ทุกๆ วัน จะได้ช่วยกันทำโลกนี้ให้เป็นโลกแก้ว โลกในอุดมคติของมวลมนุษยชาติ ที่ทุกคนมีธรรมะเป็นอาภรณ์กันทุกคน
พระธรรมเทศนาโดย: พระเทพญาณมหามุนี
จากหนังสือธรรมะเพื่อประชาชนฉบับสารธรรม2
สามัคคีธรรม : อปริหานิยธรรม
สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนปรารถนาความสุข มนุษยชาติต่างปรารถนาอยากให้โลกมีสันติสุข มีการเรียกร้องหาสันติภาพกันทั่วโลก แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า สันติภาพภายนอกต้องเริ่มมาจากสันติสุขภายใน และสันติสุขภายในต้องเริ่มจากการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง เว้นจากการปฏิบัติธรรมแล้ว ไม่มีวิธีอื่นใด ที่จะทำให้เราได้พบกับสันติสุขที่แท้จริง หากทุกๆ คนในโลกตั้งใจปฏิบัติธรรม ให้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน เมื่อนั้นจะซาบซึ้งว่า พระธรรมกายเป็นแหล่งกำเนิดของความสุขที่แท้จริง แล้วคนทั้งโลกจะหันมาแสวงหาสันติภาพอย่างถูกวิธี ด้วยการฝึกใจให้หยุดนิ่งพร้อมๆ กัน เมื่อถึงเวลานั้นสิ่งที่เป็นความปรารถนาร่วมกัน คือ สันติภาพโลก จะบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน วินัยปิฎก จุลลวรรค ความว่า
“สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห
สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ
สงฺฆํ สมคฺคํ กตฺวาน กปฺปํ สคฺคมฺหิ โมทติ
ความพร้อมเพรียงของหมู่ ให้เกิดสุข การสนับสนุนผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นเหตุแห่งความสุข บุคคลผู้ยินดีในความพร้อมเพรียง ตั้งมั่นอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ นรชนผู้สมานหมู่คณะ ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงในสุคติสวรรค์ตลอดกัป”
ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป็นคุณธรรมที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะใหญ่อย่างมีความสุข เป็นปราการด่านสำคัญที่สุด ในการที่จะทำให้สังคมประเทศชาติ มีความมั่นคงและปลอดภัย ไม่ถูกข้าศึกรุกราน หรือถูกแทรกแซงให้บ้านเมืองระสํ่าระสาย ความสามัคคีเป็นยิ่งกว่าป้อมปราการของบ้านเมือง ที่สูงตระหง่านเสียดฟ้า เพราะเป็นประดุจป้อมปราการ หรือกำแพงเมืองที่มีชีวิตจิตใจ ที่ทุกคนต่างมีความเข้มแข็ง พร้อมที่จะเสียสละรักษาประเทศชาติ แม้ข้าศึกจะมีพลังอำนาจ มีความสามารถมากมายเพียงไร แต่ก็ไม่สามารถทลายกำแพงแห่งความสามัคคีของหมู่คณะไปได้ ความสามัคคีของหมู่คณะจึงนำสุขมาให้ นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลาย จึงยินดีในสามัคคีธรรม และสนับสนุนให้หมู่คณะรู้รักสมัครสมาน หากขาดความสามัคคี นั่นเปรียบเสมือนลางร้ายว่า ความเสื่อมสลายกำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า
ดังเช่นในสมัยพุทธกาล มีแคว้นหนึ่งชื่อแคว้นวัชชี เป็นประเทศเล็กๆ ที่ปกครองตนเอง ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นของใคร ประชาชนชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุข แม้แคว้นวัชชีเป็นแคว้นเล็กๆ แต่ว่าแข็งแกร่งมาก เหมือนกลุ่มต้นไม้กลุ่มเดียวกลางท้องนาที่ไม่กลัวต่อพายุฝน แว่นแคว้นหรือเมืองใหญ่ๆ เห็นความอุดมสมบูรณ์ของแคว้นวัชชี ต่างอยากมายึดเป็นเมืองขึ้น แต่ก็โดนตีพ่ายย่อยยับกลับไปทุกครั้ง
* ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูราชาแห่งแคว้นมคธ มีพระประสงค์จะยกทัพไปตีเมืองวัชชี แต่ได้ยินกิตติศัพท์ว่า ไม่ใช่เมืองที่ใครๆ จะสามารถยึดเป็นเมืองขึ้นได้ง่ายๆ การทำสงครามต้องรู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งจึงจะชนะร้อยครั้ง พระราชาจึงมีรับสั่งให้วัสสการพราหมณ์ ในฐานะที่เป็นอำมาตย์ที่ปรึกษา ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลบอกถึงความประสงค์ที่จะยกทัพไปยึดแคว้นวัชชีว่า จะยึดเมืองนี้ได้อย่างไร
วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์รับคำสั่งแล้ว รีบไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ธรรมดาวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไม่ตรัสถ้อยคำที่นำมาซึ่งความแตกร้าว แต่ครั้นจะไม่ตรัสสิ่งใดก็ไม่สมควร จึงรับสั่งถามพระอานนท์ ซึ่งยืนถวายงานพัดอยู่ใกล้ๆ ว่า “อานนท์ เธอได้ยินบ้างไหมว่า ชาววัชชีนั้นหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์” เมื่อพระอานนท์กราบทูลยืนยันพระดำรัสนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “เมื่อใดที่ชาววัชชีหมั่นประชุมกัน เมื่อนั้นพึงหวังความเจริญได้อย่างแน่นอน”
พระพุทธองค์ทรงรับสั่งถามพระอานนท์ต่อว่า “อานนท์ เธอได้ยินข่าวหรือไม่ว่า เมื่อชาววัชชีจะประชุมกันก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกก็พร้อมเพรียงกันเลิก และสมัครสมานสามัคคีพร้อมเพรียงกันทำกิจที่ควรทำ” พระอานนท์ทูลว่า “เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า” “อานนท์เอ๋ย เมื่อชาววัชชีพร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่ควรทำ พึงหวังความเจริญได้ ไม่มีความเสื่อมแน่นอน”
พระพุทธองค์ทรงรับสั่งต่อไปว่า “ชาววัชชีจักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชาววัชชี ที่ได้ประพฤติปฏิบัติกันมาเป็นเวลายาวนาน เมื่อนั้น ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้อย่างแน่นอน และตราบใดชาววัชชียังสักการะ เคารพนับถือบูชาผู้ใหญ่ซึ่งมีคุณธรรม และให้ความสำคัญกับถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่า เป็นคำที่ควรเชื่อฟัง ควรปฏิบัติตามด้วยความเคารพ เมื่อนั้นชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่มีความเสื่อมเลย
ดูก่อนอานนท์ ถ้าชาววัชชีไม่ข่มเหงรังแกหญิงในตระกูล ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่มีความเสื่อมเลย” นี่เป็นอีกข้อหนึ่งที่เป็นการให้เกียรติสตรี ไม่ไปล่วงเกินสิทธิส่วนบุคคลของใคร พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า “อานนท์ ตราบใดที่ชาววัชชียังสักการะ เคารพนับถือบูชาเจดียสถานทั้งภายในและภายนอก ไม่ลบล้างประเพณีที่ดีงาม ซึ่งเคยปฏิบัติต่อเจดียสถานเหล่านั้น ตราบนั้นชาววัชชีก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง”
นี่เห็นไหมว่า ชาววัชชีมีความเคารพต่อสิ่งที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ไม่ดูถูกดูหมิ่นประเพณีที่ดีงาม ที่บรรพบุรุษได้สืบทอดกันมา และข้อสุดท้ายเป็นสิ่งที่สำคัญคือ "ตราบใดที่ชาววัชชียังถวายการอารักขา คุ้มครองป้องกันพระอรหันต์ และพระสงฆ์สาวกทั้งหลายเป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า พระอรหันต์และผู้ทรงศีลเหล่านั้น ที่ยังไม่มาสู่แว่นแคว้นก็ขอให้มา ที่มาแล้วก็ขอให้อยู่เป็นสุข ถ้าชาววัชชียังทำเช่นนี้อยู่ พึงหวังความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย"
การดูแลคุ้มครองผู้ทรงศีล เป็นการคุ้มครองเนื้อนาบุญ ให้ผู้มีบุญได้มีโอกาสทำบุญ ถือเป็นบุญลาภใหญ่หลวงของชาวเมืองที่จะได้บุญใหญ่ อานิสงส์ของบุญนี้จะช่วยคุ้มครองถึงประเทศชาติ แต่ถ้าทำตรงกันข้าม ย่อมเกิดผลตรงกันข้ามเช่นกัน บ้านเมืองจะวุ่นวาย ให้จดจำกันให้ดี
หลังจากนั้น พระพุทธองค์ทรงสรุปอปริหานิยธรรมทั้งเจ็ดประการว่า ถ้าชาววัชชีหรือใครก็ตามปฏิบัติตนตามหลักธรรมนี้ จะไม่มีความเสื่อมแน่นอน วัสสการพราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลเสริมว่า “อย่าว่าแต่ทำทั้งเจ็ดข้อเลย เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ก็ทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขเเล้ว พระเจ้าข้า”
ขณะเดียวกันนั้นเอง วัสสการพราหมณ์ฉุกคิดวิธีที่จะเอาชนะชาววัชชีได้ คือจะต้องให้ชาววัชชีแตกความสามัคคีกันให้ได้ จึงไปทูลปรึกษางานกับพระเจ้าอชาตศัตรู และเริ่มดำเนินตามแผนทันที พระเจ้าอชาตศัตรูทรงรับสั่งให้โบยตีวัสสการพราหมณ์ แล้วเนรเทศออกจากแคว้นมคธ พราหมณ์จึงทำทีเดินทางระหกระเหินไปขอพึ่งเจ้าวัชชี และเนื่องจากพราหมณ์เป็นผู้มีปัญญามาก ทำให้เจ้าวัชชีรับไว้ใช้งาน
ในช่วงแรกๆ ท่านตั้งใจสนองงานอย่างดี จนเป็นที่ไว้วางใจของเจ้าวัชชี เมื่อได้รับความไว้วางใจแล้ว จึงเริ่มแผนยุแหย่เจ้าวัชชี สร้างความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน จากที่เคยปฏิบัติหัวข้อธรรมทั้งเจ็ดประการ ก็ย่อหย่อนลงทุกวันๆ จากชาววัชชีที่สามัคคีกัน ก็ทะเลาะวิวาทกันเป็นประจำ ที่เคยเข้มแข็งก็อ่อนแอลง เมื่อภายในแตกร้าว ภายนอกก็เปราะบาง พราหมณ์จึงส่งข่าวไปถึงพระเจ้าอชาตศัตรู ให้ยกทัพมาได้แล้ว กองทัพของแคว้นมคธจึงยกทัพมาตีแคว้นวัชชี และสามารถยึดครองเมืองวัชชีได้อย่างง่ายดาย
เพราะฉะนั้น การแตกความสามัคคี จึงเป็นสัญญาณของความหายนะ การทะเลาะวิวาทกัน เป็นปากทางแห่งความเสื่อม บัณฑิตจึงสนับสนุนความพร้อมเพรียงกันของหมู่คณะ ความสามัคคีค้ำจุนประเทศชาติและโลกนี้ทีเดียว ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ถ้าประเทศใดไม่เห็นความสำคัญของอปริหานิยธรรม ดังที่กล่าวมาแล้ว ความวัฒนาถาวรของประเทศชาติก็อยู่ได้ไม่นาน
ดังนั้น ถ้าเราปรารถนาความเจริญในชีวิต ขอให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักอปริหานิยธรรม ถ้าทุกๆ คนในโลก เริ่มหันหน้ามาพูดคุยกันด้วยน้ำใสใจจริง มีสามัญสำนึกของความเป็นเจ้าของโลกใบนี้ แล้วแสวงจุดร่วมสมานจุดต่าง มีใจเป็นหนึ่งเดียวกัน มีสามัคคีธรรม เมื่อนั้น ความใฝ่ฝันร่วมกันของทุกคน ที่จะเห็นโลกมีสันติสุขอย่างแท้จริง จะสำเร็จสมปรารถนาอย่างง่ายดาย เป็นความเจริญถ้วนหน้าทั้งทางวัตถุ และจิตใจที่ไปพร้อมๆ กัน ไม่ขัดแย้งกัน ให้ทุกๆ ท่านสามัคคีปรองดองประสานใจกันให้เป็นหนึ่ง ปฏิบัติธรรมกันให้ได้ทุกๆ วัน จะได้ช่วยกันทำโลกนี้ให้เป็นโลกแก้ว โลกในอุดมคติของมวลมนุษยชาติ ที่ทุกคนมีธรรมะเป็นอาภรณ์กันทุกคน
พระธรรมเทศนาโดย: พระเทพญาณมหามุนี
จากหนังสือธรรมะเพื่อประชาชนฉบับสารธรรม2