จีน ไปลาว เขมร มาเลย์เซีย
ส่วนญี่ปุ่น ไปฟิลิปปิน และล่าสุด ก็ไปอินโด
"ญี่ปุ่น" รุกฐาน "ลงทุนใหม่" ปั้น "อินโด" ฮับภูมิภาค
updated: 15 ม.ค. 2560 เวลา 13:30:14 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"ญี่ปุ่น" ประเทศผู้ลงทุนอันดับสองใน "อินโดนีเซีย" โดยญี่ปุ่นพยายามเข้ามามีส่วนร่วมให้หลาย ๆ โครงการ ดังนั้นความเคลื่อนไหวของนักลงทุนญี่ปุ่นจึงมีความสำคัญต่ออินโดนีเซียอยู่ไม่น้อย
นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และ ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด หรือ "โจโกวี" จะหารือถึงปัญหาที่ทำให้การค้าระหว่าง 2 ประเทศลดลง ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการเดินทางเยือน 4 ประเทศของอาเบะ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม
ที่น่าสนใจคือ การหารือกับ "อินโดนีเซีย" ซึ่งบริษัท Kroll หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบชั้นนำ ระบุว่า "อินโดนีเซียกำลังจะกลายเป็นฐานการลงทุนยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นในอาเซียน"
ปีที่ผ่านมาธุรกิจญี่ปุ่นเข้ามา "ควบรวมกิจการ" (M&A) ในแดนอิเหนา มีมูลค่าสูงถึง 2.9 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 17% ของการควบรวมกิจการที่เกิดขึ้นในภูมิภาค แต่ไทยยังครองสัดส่วนสูงที่สุด 44% ผู้เชี่ยวชาญมองว่า "ศักยภาพในอุตสาหกรรมการเงินของอินโดนีเซียยังสูง แต่มีการรุกที่ต่ำโดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการด้านประกันภัย"
ขณะที่ Fitch Ratings บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระบุว่า เกณฑ์การถือครองหุ้นของต่างชาติในอินโดนีเซีย ที่สูงถึง 80% ถือเป็นการเพิ่มอำนาจในการแข่งขันได้เมื่อเทียบกับประเทศอื่น
โดยการบริโภคภาคเอกชนของอินโดฯก็มีการเติบโตอย่างน่าสนใจ และมีสัดส่วนถึง 55% ของจีดีพี
ทั้ง 2 ประเทศหวังกระตุ้นกรอบความร่วมมือเดิม คือ "หุ้นส่วนเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-ญี่ปุ่น" (IJEPA) ที่บรรลุตั้งแต่ปี 2008 แต่ยังมีบทบาทที่น้อยมากให้ออกฤทธิ์มากขึ้น
จาการ์ตาโพสต์รายงานว่า การนำเข้าและการส่งออกของทั้ง 2 ประเทศลดลงต่อเนื่องราว 41% อยู่ที่ 31,270 ล้านดอลลาร์ในปี 2015 จากปี 2011 อยู่ที่ 53,140 ล้านดอลลาร์
"อีมาน ปัมบักโย" ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศกล่าวว่า อินโดนีเซียเตรียมเสนอต่อญี่ปุ่นเกี่ยวกับภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรและสินค้าประมงที่ปัจจุบันญี่ปุ่นจัดเก็บอยู่ที่ 10%
ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการให้อินโดนีเซียลดภาษีนำเข้ารถยนต์นั่งขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 3,000 ซีซี จาก 45% เป็น 20% ซึ่งที่ผ่านมาอินโดนีเซียตกลงที่จะลดภาษีจากระดับ 45% เหลือ 20% ภายในปี 2015 และเหลือ 5% ในปี 2016 ทว่า ปัจจุบันอินโดนีเซียยังคงเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์อยู่ที่ 22.5%
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังแสดงความสนใจที่จะลงทุนในธุรกิจพลังงานและก๊าซธรรมชาติในโปรเจ็กต์ Masela Block ในเขตทะเลอาราฟูรา, โครงการท่าเรือ Patimban ในชวาตะวันตก และโครงการรถไฟความเร็วสูง "จาการ์ตา-สุราบายา"
ทั้งนี้ "ยามาซากิ โนริโอะ" ที่ปรึกษาองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ (JICA) กล่าวว่า "การที่อินโดนีเซีย-ญี่ปุ่นมีกรอบความร่วมมือ IJEPA จะเพิ่มความมั่นใจว่าการค้าจะเติบโต การช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ เชื่อว่าอินโดนีเซียมีศักยภาพมากที่จะเติบโตไปพร้อมกับญี่ปุ่น"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1484406603
ทั้งจีน และ ญี่ปุ่น แย่งกันลงทุนประเทศเพื่อนบ้านไทย ไม่เห็นเขาจะมาลงทุนในไทยเพิ่มบ้าง?
ส่วนญี่ปุ่น ไปฟิลิปปิน และล่าสุด ก็ไปอินโด
"ญี่ปุ่น" รุกฐาน "ลงทุนใหม่" ปั้น "อินโด" ฮับภูมิภาค
updated: 15 ม.ค. 2560 เวลา 13:30:14 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"ญี่ปุ่น" ประเทศผู้ลงทุนอันดับสองใน "อินโดนีเซีย" โดยญี่ปุ่นพยายามเข้ามามีส่วนร่วมให้หลาย ๆ โครงการ ดังนั้นความเคลื่อนไหวของนักลงทุนญี่ปุ่นจึงมีความสำคัญต่ออินโดนีเซียอยู่ไม่น้อย
นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และ ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด หรือ "โจโกวี" จะหารือถึงปัญหาที่ทำให้การค้าระหว่าง 2 ประเทศลดลง ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการเดินทางเยือน 4 ประเทศของอาเบะ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม
ที่น่าสนใจคือ การหารือกับ "อินโดนีเซีย" ซึ่งบริษัท Kroll หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบชั้นนำ ระบุว่า "อินโดนีเซียกำลังจะกลายเป็นฐานการลงทุนยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นในอาเซียน"
ปีที่ผ่านมาธุรกิจญี่ปุ่นเข้ามา "ควบรวมกิจการ" (M&A) ในแดนอิเหนา มีมูลค่าสูงถึง 2.9 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 17% ของการควบรวมกิจการที่เกิดขึ้นในภูมิภาค แต่ไทยยังครองสัดส่วนสูงที่สุด 44% ผู้เชี่ยวชาญมองว่า "ศักยภาพในอุตสาหกรรมการเงินของอินโดนีเซียยังสูง แต่มีการรุกที่ต่ำโดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการด้านประกันภัย"
ขณะที่ Fitch Ratings บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระบุว่า เกณฑ์การถือครองหุ้นของต่างชาติในอินโดนีเซีย ที่สูงถึง 80% ถือเป็นการเพิ่มอำนาจในการแข่งขันได้เมื่อเทียบกับประเทศอื่น
โดยการบริโภคภาคเอกชนของอินโดฯก็มีการเติบโตอย่างน่าสนใจ และมีสัดส่วนถึง 55% ของจีดีพี
ทั้ง 2 ประเทศหวังกระตุ้นกรอบความร่วมมือเดิม คือ "หุ้นส่วนเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-ญี่ปุ่น" (IJEPA) ที่บรรลุตั้งแต่ปี 2008 แต่ยังมีบทบาทที่น้อยมากให้ออกฤทธิ์มากขึ้น
จาการ์ตาโพสต์รายงานว่า การนำเข้าและการส่งออกของทั้ง 2 ประเทศลดลงต่อเนื่องราว 41% อยู่ที่ 31,270 ล้านดอลลาร์ในปี 2015 จากปี 2011 อยู่ที่ 53,140 ล้านดอลลาร์
"อีมาน ปัมบักโย" ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศกล่าวว่า อินโดนีเซียเตรียมเสนอต่อญี่ปุ่นเกี่ยวกับภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรและสินค้าประมงที่ปัจจุบันญี่ปุ่นจัดเก็บอยู่ที่ 10%
ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการให้อินโดนีเซียลดภาษีนำเข้ารถยนต์นั่งขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 3,000 ซีซี จาก 45% เป็น 20% ซึ่งที่ผ่านมาอินโดนีเซียตกลงที่จะลดภาษีจากระดับ 45% เหลือ 20% ภายในปี 2015 และเหลือ 5% ในปี 2016 ทว่า ปัจจุบันอินโดนีเซียยังคงเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์อยู่ที่ 22.5%
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังแสดงความสนใจที่จะลงทุนในธุรกิจพลังงานและก๊าซธรรมชาติในโปรเจ็กต์ Masela Block ในเขตทะเลอาราฟูรา, โครงการท่าเรือ Patimban ในชวาตะวันตก และโครงการรถไฟความเร็วสูง "จาการ์ตา-สุราบายา"
ทั้งนี้ "ยามาซากิ โนริโอะ" ที่ปรึกษาองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ (JICA) กล่าวว่า "การที่อินโดนีเซีย-ญี่ปุ่นมีกรอบความร่วมมือ IJEPA จะเพิ่มความมั่นใจว่าการค้าจะเติบโต การช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ เชื่อว่าอินโดนีเซียมีศักยภาพมากที่จะเติบโตไปพร้อมกับญี่ปุ่น"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1484406603