เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางในหลายจังหวัดภาคใต้ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในครั้งนี้ สาเหตุจากมรสุมที่มีมากกว่าปกติในภาคใต้ทำให้เกิดฝนตกหนัก มีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากจากเทือกเขาไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัย ชุมชน และพื้นที่ทำการเกษตร ประกอบกับการเจริญเติบโตของสังคมเมืองมีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ถนนหนทาง กีดขวางเส้นทางการระบายน้ำลงสู่ทะเล และน้ำทะเลหนุนทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงในรอบหลายสิบปี
ความเสียหายจากภัยธรรมชาติครั้งใหญ่แบบนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดมาแล้วเมื่อ พ.ศ. 2531 ที่ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และวาตภัยจากพายุเกย์ที่จังหวัดชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2532 สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร เหตุการณ์ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงห่วงในในความเป็นอยู่ของพสกนิกรในพระองค์เป็นยิ่งนัก ทรงมีพระราชดำรัส และพระราชทานพระบรมราโชวาท เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2532 โดยสรุปว่า ทรงห่วงใยในสภาพแวดล้อมของประเทศ ขอให้แก้ไขอย่างจริงจังด้วยการเผาให้น้อยลง และปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2484 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2532 พระราชกำหนดดังกล่าวนี้ได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอำนาจสั่งการให้สัมปทานป่าไม้สิ้นสุดลงทั้งแปลงได้ ได้สั่งการให้สัมปทานหวงห้ามทุกชนิด (เว้นสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน) ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง มีผลให้การทำไม้สัมปทาน จำนวน 276 ป่า เนื้อที่ 96,728,981 ไร่ ยุติลงโดยสิ้นเชิง จนทำให้รัฐบาลได้รับคำชมเชยจากนานาประเทศเป็นอย่างมาก เพราะการระงับการทำไม้ดังกล่าว มีส่วนโดยตรงในการสนับสนุนมาตรการป้องกันมลภาวะของโลก ภัยธรรมชาติถือเป็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญ
ต่อมากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กรมป่าไม้เดิม) ในสมัยนั้นสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ กษ 0709/382 ลงวันที่ 4 มกราคม 2533 เรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติให้วันที่ 14 มกราคมของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ และคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2533 กำหนดให้ วันที่ 14 มกราคมของทุกปีเป็นวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติสืบมา
วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ (๑๔ มกราคม ของทุกปี)
ความเสียหายจากภัยธรรมชาติครั้งใหญ่แบบนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดมาแล้วเมื่อ พ.ศ. 2531 ที่ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และวาตภัยจากพายุเกย์ที่จังหวัดชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2532 สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร เหตุการณ์ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงห่วงในในความเป็นอยู่ของพสกนิกรในพระองค์เป็นยิ่งนัก ทรงมีพระราชดำรัส และพระราชทานพระบรมราโชวาท เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2532 โดยสรุปว่า ทรงห่วงใยในสภาพแวดล้อมของประเทศ ขอให้แก้ไขอย่างจริงจังด้วยการเผาให้น้อยลง และปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2484 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2532 พระราชกำหนดดังกล่าวนี้ได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอำนาจสั่งการให้สัมปทานป่าไม้สิ้นสุดลงทั้งแปลงได้ ได้สั่งการให้สัมปทานหวงห้ามทุกชนิด (เว้นสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน) ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง มีผลให้การทำไม้สัมปทาน จำนวน 276 ป่า เนื้อที่ 96,728,981 ไร่ ยุติลงโดยสิ้นเชิง จนทำให้รัฐบาลได้รับคำชมเชยจากนานาประเทศเป็นอย่างมาก เพราะการระงับการทำไม้ดังกล่าว มีส่วนโดยตรงในการสนับสนุนมาตรการป้องกันมลภาวะของโลก ภัยธรรมชาติถือเป็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญ
ต่อมากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กรมป่าไม้เดิม) ในสมัยนั้นสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ กษ 0709/382 ลงวันที่ 4 มกราคม 2533 เรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติให้วันที่ 14 มกราคมของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ และคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2533 กำหนดให้ วันที่ 14 มกราคมของทุกปีเป็นวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติสืบมา