รูปแบบกองไฟที่ดีที่สุด




บทสรุป :

กองไฟที่ดีที่สุด คือ กองไม้ด้านสูงเท่ากับกองไม้ด้านกว้างที่ฐาน
ทุกคนที่ใช้ไฟจากกองไฟต่างมักจะใช้หลักการเบื้องต้นนี้
มาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ที่มนุษยชาติเป็นเจ้าของไฟ
และเดินทางไปรอบโลกพร้อมกับกองไฟ

ในรายงาน Nature Scientific Reports
Adrian Bejan ศาตราจารย์ภาควิชาวิศวเครื่องกล
ได้สรุปหลักการการก่อกองไฟที่ดีที่สุด
คือ กองไม้ด้านสูงเท่ากับกองไม้ด้านกว้างตรงฐาน
รูปร่างแบบนี้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
สำหรับการไหลเวียนถ่ายเทของอากาศและความร้อน

ทั้งนี้ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ที่
ชาวอียิปต์โบราณใช้ย่างชิ้นเนื้อ
ติดกับมหาพีระมิดแห่งกิซ่า
ลูกเสือเรียนรู้ที่จะก่อกองไฟในค่ายพักแรม
เราทุกคนต่างก่อกองไฟที่มีรูปร่าง/แบบเดียวกัน

ตอนนี้เรารู้ว่าเพราะเหตุผลอะไร

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์เผยแพร่ใน
Nature Scientific Reports on June 8 https://goo.gl/MSUGvO
Adrian Bejan ศาตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ที่ Duke University ได้ให้เหตุผลว่า
ตัวแปรอื่นทั้งหมดที่เท่าเทียมกัน
กองไฟที่ดีที่สุดคือ กองไม้ด้านสูงเท่ากองไม้ด้านกว้างที่ฐาน
นี่คือ เหตุผลที่มนุษย์ทุกคนได้ก่อกองไฟขึ้นมา
ในลักษณะแบบเดียวกัน/เหมือนกัน
ตั้งแต่ยุคแรกของมนุษย์ที่รู้จักใช้ไฟ

มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยต่างใช้รูปแบบ/การก่อกองไฟแบบนี้
เหตุผลก็คือ รูปร่างแบบนี้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
สำหรับการไหลถ่ายเทหมุนเวียนของอากาศและความร้อน
มนุษยชาติประสบความสำเร็จในการสร้างไฟขึ้นมา
ทำให้กลายเป็นเรื่องที่มนุษย์ทำได้และใช้งานได้
รวมทั้งเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับบรรดามนุษย์
ในการเดินทางอพยพย้ายถิ่นฐานไปทั่วโลก
ความร้อนจากกองไฟที่เผาไหม้ได้อำนวยความสะดวก
ในการเดินทางและการแพร่หลายของเผ่าพันธุ์มนุษย์
ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของ Constructal Law

Constructal Law ถูกเขียนโดย Adrian Bejan ในปี 1996  
เกี่ยวกับสมมุติฐานว่าด้วยการเคลื่อนไหว - หรือ การไหล
ระบบหลายอย่าง เช่น ต้นไม้ แม่น้ำ หรือกระแสอากาศ
ต่างมีวิวัฒนาการในการกำหนดค่า/รูปแบบ
ที่จะทำให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นและง่ายต่อการไหลเวียน
ตอนนี้เริ่มได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสากล
มีการใช้งานในการปรับปรุงการออกแบบ
และการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา


" กองไฟของมนุษย์จะมีรูปร่าง
เป็นแบบกรวยและ/หรือแบบปิรามิด
ที่มีกองไม้สูงเท่ากองไม้ที่กว้างตรงฐาน
พวกมันจะมีลักษณะแบบเดียวกัน
ตั้งแต่กองฟืนที่จะก่อไฟในเตาผิง
กองไฟในการละเล่นงานเลี้ยงในมหาวิทยาลัย
การก่อกองถ่านเพื่อใช้ไฟย่างเนื้อ
ตอนนี้เรารู้เหตุผลแล้วว่าทำไม


ดังนั้นครั้งต่อไป ถ้าคุณออกไปตั้งแคมป์
และต้องการที่จะก่อกองไฟ
ที่สามารถติดไฟไหม้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ตอนนี้คุณรู้แล้วว่ามีรูปร่าง
กองไฟแบบทั่วไปที่ควรใช้เป็นแบบไหน "
Adrian Bejan  ให้สัมภาษณ์

เรียบเรียง/ที่มา

https://goo.gl/MSUGvO
https://goo.gl/iJ2mBc




Constructal Law

http://www.hydrol-earth-syst-sci.net/11/753/2007/hess-11-753-2007.pdf
http://home.uevora.pt/~ahr/E.pdf
http://www.ijee.ie/articles/Vol22-1/IJEE1726.pdf
https://en.wikipedia.org/wiki/Constructal_law
https://www.sciencedaily.com/terms/constructal_theory.htm







เรื่องเดิม https://ppantip.com/topic/35963551  ก่อกองไฟที่ลมพัดแรงแบบอินเดียนแดง








Constructal Law เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการไหลของ
สิ่งต่างๆ ในธรรมชาติอันนำไปสู่การสร้าง
หรือรังสรรสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
กฏของการไหลของข้อมูล วัสดุ ปัจจัยต่าง ๆ นั้น
บังคับให้การเกิดขึ้นของสิ่งต่าง ๆ มีรูปแบบออกมา
เช่น รูปร่างของต้นไม้ การไหลของแม่น้ำ รูปร่างของปอด
การจราจร ระบบการไหลเวียนของโลหิต เป็นต้น

ทฤษฎีและโมเดลทางคณิตศาสตร์ของ Constructal Theory
ถ้านำมาพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น
การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่
จะพบว่าเมื่อเทคโนโลยีเกิดขึ้นใหม่ ๆ คนยังไม่รู้จัก
มันก็จะเหมือนของไหลที่ต้องผ่านทางแคบ ๆ
และค่อย ๆ เจาะเข้าไปในดินแดนที่ยังไม่มีการไหลเข้าไป

ซึ่งเหมือนช่วงต้นของ S-curve
ที่จะมีการเติบโตค่อนข้างช้า
เมื่อคนเริ่มรู้จักเทคโนโลยีนั้นแล้ว
จะมีการใช้กันอย่างกว้างขวาง
มีการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาด

เปรียบเสมือนการไหลผ่านแม่น้ำสายหลัก
ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีนั้นเริ่มอิ่มตัว
และต้องการเข้าไปสู่ผู้ใช้อื่น ๆ
ที่ยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยีนี้
มันก็จะเริ่มเจาะเข้าไปในตลาดได้ช้าลง

ซึ่งก็คือช่วงปลาย S-curve นั่นเอง
เสมือนน้ำในแม่น้ำสายหลัก
ที่พยายามไหลเข้าไปในคลองเล็กคลองน้อย
ซึ่งปลายก็จะค่อย ๆ ตีบลงเรื่อย ๆ
ซึ่งเป็นจุดที่เทคโนโลยีอิ่มตัว
ไม่สามารถสร้างตลาดใหม่ได้อีก
และอีกไม่นาน ก็จะมีสิ่งใหม่มาแทนที่

Credit : ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ (Teerakiat Kerdcharoen)

ที่มา  https://goo.gl/TwWyJK




Adrian Bejan  ยังเป็นผู้ทำนายคนแรกในสหรัฐอเมริกาว่า
Donald  Trump จะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2016 ด้วยหลักการพื้นฐานของ
ทฤษฏี S-curve จากกฏของ Constructal Law ในฟิสิกค์
ที่ Figure 8.1, หน้า 157 ในหนังสือ  The Physics of Life
ที่มา https://constructal.org/



คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Prof Bejan predicted that Donald Trump would win the US Presidential Election
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่