อัลลอฮ์กล่าวว่า
وَلَكُمْ فِي الْقِصَاصِ حَيَاةٌ يَا أُولِي الْأَلْبَابِ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
ความว่า :
และในการประหารฆาตกรให้ตายตามนั้น
คือการธำรงไว้ซึ่งชีวิตสำหรับพวกเจ้า โอ้ผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย!
เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง
(อัลบะกอเราะฮ์ : 179 )
ความผิดกิศ๊อศ
หมายถึงความผิดที่มีบทลงโทษสำหรับความผิดฐาน
ฆ่าคนตายโดยเจตนาและทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
ความผิดกิศ๊อศ
กิศ๊อศหมายถึงความเท่าเทียม ดังนั้นผู้กระทำผิดจะได้รับโทษเยี่ยงการกระทำของตนที่มีต่อผู้อื่น
ความผิดกิศ๊อศแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาและความผิดฐานทำร้ายร่างการผู้อื่นโดยเจตนา
ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
บทลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาคือประหารชีวิต
ดังที่นะบีมุฮัมมัด เคยประกาศว่าบทลงโทษของความผิดฐานฆาตกรรมคือประหารชีวิต
“ผู้ใดทำให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายโดยเจตนาจะต้องรับโทษกิศ๊อศ
กล่าวคือ เขาจะถูกประหารชีวิต ยกเว้นทายาทของผู้ตายได้อภัยโทษให้แก่เขา”
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าในสมัยของนะบีมุฮัมมัด มีชายชาวยิวปล้นเครื่องประดับของหญิงนางหนึ่ง
หลังจากนั้นเขาได้ฆ่าหญิงนั้นด้วยการทุบด้วยก้อนหินสองก้อนที่ศรีษะของนาง
นะบีมุฮัมมัด จึงได้สั่งให้ทุบหัวของผู้กระทำผิดด้วยก้อนหิน
และเอาหัวของเขาโขกกับก้อนหินสองก้อนจนเสียชีวิต
อนึ่ง ทายาทของผู้ตายเท่านั้นที่มีสิทธิให้อภัยและยกโทษกิศ๊อศแก่ผู้กระทำผิด
แม้ผู้ปกครองประเทศหรือผู้รับมอบอำนาจจากทายาท หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีอำนาจในการให้อภัยได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองประเทศสามารถยกโทษแก่ผู้กระทำความผิดด้วยความยินยอมของทายาทได้
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายหมายถึงการที่บุคคลหนึ่งทำให้ร่างกายผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ ได้รับอันตราย
ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้อ่อนแอ หรือทำให้ผู้อื่นสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือทำให้พิการ
กล่าวโดยสรุปคือ การทำให้ร่างกายผู้อื่นได้รับอันตราย แต่ไม่ถึงแก่ชีวิต
บทลงโทษของความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนาคือกิศ๊อศ หรือการลงโทษผู้กระทำความผิด
ด้วยการทำให้เขาได้รับบาดเจ็บในส่วนอวัยวะเดียวกับที่เขากระทำต่อผู้เสียหาย
ดังที่อัลกุรอานบัญญัติมีใจความว่า
“และตาด้วยตา และจมูกด้วยจมูก และหูด้วยหู และฟันด้วยฟัน
และบรรดาบาดแผลก็ให้มีการชดเชยเยี่ยงเดียวกัน
(อัลกุรอาน5:45)
และหากพวกเจ้าจะลงโทษ (ฝ่ายปรปักษ์) ก็จงลงโทษเยี่ยงที่พวกเจ้าได้รับโทษ
และหากพวกเจ้าอดทน แน่นอน มันเป็นการดียิ่งสำหรับบรรดาผู้อดทน
(อัลกุรอาน16:126)
เรียบเรียงโดย อ.มัสลัน มาหะมะ
การประหารฆาตกรให้ตายตามนั้น คือการธำรงไว้ซึ่งชีวิตสำหรับพวกเจ้า โอ้ผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย! เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง
وَلَكُمْ فِي الْقِصَاصِ حَيَاةٌ يَا أُولِي الْأَلْبَابِ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
ความว่า :
และในการประหารฆาตกรให้ตายตามนั้น
คือการธำรงไว้ซึ่งชีวิตสำหรับพวกเจ้า โอ้ผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย!
เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง
(อัลบะกอเราะฮ์ : 179 )
ความผิดกิศ๊อศ
หมายถึงความผิดที่มีบทลงโทษสำหรับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาและทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
ความผิดกิศ๊อศ
กิศ๊อศหมายถึงความเท่าเทียม ดังนั้นผู้กระทำผิดจะได้รับโทษเยี่ยงการกระทำของตนที่มีต่อผู้อื่น
ความผิดกิศ๊อศแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาและความผิดฐานทำร้ายร่างการผู้อื่นโดยเจตนา
ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
บทลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาคือประหารชีวิต
ดังที่นะบีมุฮัมมัด เคยประกาศว่าบทลงโทษของความผิดฐานฆาตกรรมคือประหารชีวิต
“ผู้ใดทำให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายโดยเจตนาจะต้องรับโทษกิศ๊อศ
กล่าวคือ เขาจะถูกประหารชีวิต ยกเว้นทายาทของผู้ตายได้อภัยโทษให้แก่เขา”
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าในสมัยของนะบีมุฮัมมัด มีชายชาวยิวปล้นเครื่องประดับของหญิงนางหนึ่ง
หลังจากนั้นเขาได้ฆ่าหญิงนั้นด้วยการทุบด้วยก้อนหินสองก้อนที่ศรีษะของนาง
นะบีมุฮัมมัด จึงได้สั่งให้ทุบหัวของผู้กระทำผิดด้วยก้อนหิน
และเอาหัวของเขาโขกกับก้อนหินสองก้อนจนเสียชีวิต
อนึ่ง ทายาทของผู้ตายเท่านั้นที่มีสิทธิให้อภัยและยกโทษกิศ๊อศแก่ผู้กระทำผิด
แม้ผู้ปกครองประเทศหรือผู้รับมอบอำนาจจากทายาท หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีอำนาจในการให้อภัยได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองประเทศสามารถยกโทษแก่ผู้กระทำความผิดด้วยความยินยอมของทายาทได้
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายหมายถึงการที่บุคคลหนึ่งทำให้ร่างกายผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ ได้รับอันตราย
ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้อ่อนแอ หรือทำให้ผู้อื่นสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือทำให้พิการ
กล่าวโดยสรุปคือ การทำให้ร่างกายผู้อื่นได้รับอันตราย แต่ไม่ถึงแก่ชีวิต
บทลงโทษของความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนาคือกิศ๊อศ หรือการลงโทษผู้กระทำความผิด
ด้วยการทำให้เขาได้รับบาดเจ็บในส่วนอวัยวะเดียวกับที่เขากระทำต่อผู้เสียหาย
ดังที่อัลกุรอานบัญญัติมีใจความว่า
“และตาด้วยตา และจมูกด้วยจมูก และหูด้วยหู และฟันด้วยฟัน
และบรรดาบาดแผลก็ให้มีการชดเชยเยี่ยงเดียวกัน
(อัลกุรอาน5:45)
และหากพวกเจ้าจะลงโทษ (ฝ่ายปรปักษ์) ก็จงลงโทษเยี่ยงที่พวกเจ้าได้รับโทษ
และหากพวกเจ้าอดทน แน่นอน มันเป็นการดียิ่งสำหรับบรรดาผู้อดทน
(อัลกุรอาน16:126)
เรียบเรียงโดย อ.มัสลัน มาหะมะ