จากกรณีที่อัยการสูงสุด มีคำสั่งฟ้องสองหน้าด้านนั่น ในความผิดตามกฎหมายอาญา ฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 80,83,84,90 และ 288
ได้มีโอกาสไปค้นข้อมูลฎีกาหลาย ๆ อย่าง เมื่อสมัยที่ดีเอสไอสั่งฟ้องใหม่ ๆ กระทู้นี้ จึงขอนำความรู้เรื่องกฎหมายอาญา ในมาตราดังกล่าว มาให้ทุกท่านได้ร่วมอภิปรายกัน โดยจะขอยกฎีกาแต่ละ case มาก่อน แล้วนำมาเทียบดูกับข้อหาของสองคนนั่น
-------------------------
คำพิพากษาฎีกาที่ 2745/2553
ป.อ. มาตรา 60, 80, 84, 288
ขณะ บ. ใช้อาวุธปืนเล็งไปที่ผู้ตาย จำเลยที่ 2 พูดกับ บ. ว่า ยิงเลยๆ แล้ว บ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการยุยงส่งเสริมให้ บ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย เมื่อ บ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตายและกระสุนปืนยังถูกผู้เสียหายได้รับอันตายสาหัส จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 และมาตรา 288, 80, 60 ประกอบมาตรา 84
ที่มา facebook ทบทวนหลักกฏหมายกับอาจารย์ประยุทธ
------------------------------------
(3) จำเลยใช้ก้อนหินขนาดโตเท่ากำปั้นขว้างกระจกหน้ารถยนต์บรรทุกที่ผู้เสียหายกำลังขับอยู่ กระจกแตก เศษกระจกกระเด็นถูกตาผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายขับรถส่ายไปมาและถูกรถยนต์ที่แล่นตามพุ่งชนท้าย แต่ผู้เสียหายสามารถควบคุมไม่ให้รถยนต์บรรทุกพลิกคว่ำลงข้างทางได้ จึงไม่ถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1178/2539 วินิจฉัยว่า จำเลยประสงค์ให้ผู้เสียหายเสียหลักในการขับรถและอาจขับรถและอาจขับรถพลิกคว่ำลงข้างทางหรือถูกรถยนต์คันอื่นที่ตามมาชนจนพลิกคว่ำหรือตกข้างทาง ซึ่งเมื่อเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นแล้ว จำเลยย่อมเล็งเห็นผลที่อาจเกิดขึ้นได้ว่า ผู้เสียหายอาจได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายได้ จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย การกระทำจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
ที่มา facebook ประเด็นขั้นเทพ อาจารย์พรณรงค์ บวรชัยธรรม
-----------------------------------------------------------------------------------
ประเด็นของข้อหาสองคนนั่น ... อาจจะมีผู้มาแย้งว่า ทั้งสองคน "ไม่ได้สั่งให้ยิงหรือฆ่า" ผู้ชุมนุม แต่โจทก์อาจจะแย้งกับศาล ฯ ได้ว่า ทั้งสองคนอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธสงคราม และกระสุนจริง ในการเข้าสลายชุมนุม รวมทั้งรถหุ้มเกราะด้วย จึงเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ
ทีนี้ ทั้งคดีการตายของประชาชนที่เกิดต่างกรรม ต่างวาระ นั้น ต้องพิจารณาถึงการใช้อำนาจที่เกินขอบเขต ไม่ว่าจะเป็นการยิงคนที่อยู่ในรถตู้ หรือ น้องอีซา ก็ตาม
เพราะจากคลิปวีดีโอต่าง ๆ ที่นำมาเสนอนั้น เห็นได้ชัดว่า เจ้าหน้าที่ทหาร "เล็งปืน" และ "ยิง" ไปยังผู้ชุมนุม โดยย่อมจะเห็นผลของการยิงอยู่แล้ว (ระยะหวังผลของ M-16 คือ 400 เมตร) เจ้าหน้าที่บางนายติดลำกล้องขยายกับปืนด้วย ย่อมให้เชื่อได้ว่า มีเจตนาที่จะยิงตรงจุดใดจุดหนึ่งของร่างกายผู้เสียหายทั้งหลาย (เข้าข่ายพยายามฆ่า)
ดูอีกฎีกาหนึ่ง
-------------
(5) จำเลยใช้ปืนยิงไปที่พื้นดินหนึ่งนัด ในขณะที่ผู้เสียหายกำลังเดินไปหาจำเลยและ
อยู่ห่างประมาณ 2 วา กระสุนปืนถูกขาผู้เสียหายบาดเจ็บ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำได้ว่ากระสุนปืน อาจถูกผู้เสียหายได้ต้องถือว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 234/2529)
ข้อสังเกต หากจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในระดับต่ำถูกบริเวณขาและน่องซ้ายของผู้เสียหาย แสดงว่าเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 223/2537) กรณีนี้ ถือว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายอันเป็นเจตนาประเภทประสงค์ต่อผล ข้อเท็จจริงเช่นนี้ ไม่ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า เพราะมิฉะนั้นคงเลือกยิงในตำแหน่งซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้โดยไม่ยาก (คำพิพากษาฎีกาที่ 223/2537) หรือจำเลยยิงไปที่ขาผู้เสียหาย เหนือตาตุ่ม ขณะนั้นจำเลยกับผู้เสียอยู่ห่างกันเพียงวาเศษ ถ้าจำเลยตั้งใจจะฆ่าผู้เสียหายแล้วก็คงยิงถูกร่างกายผู้เสียหายในที่สำคัญๆ ได้ จำเลยจึงไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 1006/2501)
ข้อสังเกต
ถ้าจำเลยชักปืนเล็งไปที่หน้าอกผู้เสียหายและขึ้นนกปืนจะยิงในระยะห่างประมาณ 1 เมตรเศษ มีผู้เข้าจับมือกดลงต่ำปืนลั่นกระสุนถูกผู้อื่นที่เท้า จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นด้วย(คำพิพากษาฎีกาที่ 870/2526) เหตุผลเพราะจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย (ด้วยการชัดปืนเล็งไปที่หน้าอก) เมื่อผลเกิดแก่ผู้อื่น เจตนาฆ่าที่จำเลยมีต่อผู้เสียหายก็ “โอน” ไปยังผู้อื่นด้วย จำเลยจึงผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยพลาดตามมาตรา 288, 60, 80
หากจำเลยมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย (ไม่ว่าจะเป็นเจตนาทำร้ายโดยเล็งเห็นผล ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 234/2529 ที่กล่าวข้างต้น หรือเจตนาทำร้ายโดยประสงค์ต่อผลตามคำพิพากษาฎีกาที่ 223/2537 และคำพิพากษาฎีกาที่ 1006/2501) หากผลไปเกิดแก่ผู้อื่นด้วย จำเลยก็มีเจตนาทำร้ายผู้อื่นโดยพลาด เพราะเจตนาทำร้ายที่จำเลยมีต่อผู้เสียหาย “โอน” ไปยังผู้อื่นด้วย จำเลยจึงมีความผิดต่อผู้อื่นตามมาตรา 295, 60 หรือ 297, 60 (แล้วแต่กรณี) หากผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำเลยก็ผิดมาตรา 290 ไม่ใช่มาตรา 288 เพราะเจตนาที่จำเลยมีต่อผู้เสียหายในตอนแรกเป็นเจตนาทำร้าย (โดยประสงค์ต่อผลหรือโดยเล็งเห็นผล) เท่านั้น
--------------------------------------------------------------------------
จากฎีกาข้างต้น จะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นนักข่าวแคนาดาที่ถูกยิงที่สวนลุม แล้วร้องตะโกนให้ช่วย แต่ถูกยิงซ้ำ (อันนี้เกินกว่าเหตุ) และคนที่เข้าไปช่วยก็ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ
หรือ กรณีช่างภาพเนชั่นถูกยิงที่ขา อันนี้เป็นเจตนาทำร้ายร่างกาย
คำถามคือ กรณีทั้งหลายแหล่นี้ จะสาวไปถึงผู้สั่งการได้หรือไม่
คำตอบก็คือ ได้..
เพราะในคำสั่ง ศอ.ฉ. ที่ลงนามโดยสุเทพ แม้จะระบุว่า ให้ใช้อาวุธเพื่อป้องกันตัวนั้น ความจริงฟังได้ว่า ไม่ได้มีไว้เพื่อป้องกันตัวแต่อย่างใด (อันนี้ถือว่าเกินกว่าเหตุ) และการที่ระบุว่า อาวุธ.. มีการนำอาวุธที่เป็นอาวุธราชการสงครามออกมาใช้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่เล็งเห็นผลของการกระทำ ว่า จะเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น
อย่าลืมอย่างหนึ่งว่า แม้จะมีการอ้างว่าเป็นการวิสามัญฆาตกรรม ...ถ้าตัดสินมาเป็นอย่างนั้น ก็ต้องถูกรับโทษอยู่ดี แต่รับเพียงสองในสามของโทษสูงสุดเท่านั้น
แล้วจะสุดซอยไปทำไม??
-----------
เพิ่มเติม...
ปมเรื่องการสุดซอย จะตั้งกระทู้ใหม่อีกรอบ เพราะเท่าที่พิจารณาดู ร่าง พรบ.นี้ จะถูกตีตกโดยศาล รธน. แน่นอน เนื่องจากเนื้อหาตามวาระ 2 มันผิดไปจากหลักการตามวาระ 1 เป็นการเขียนค่อนข้าง "baseless" ไร้ฐานอ้างอิงไปสักหน่อย ทีมกฎหมายเพื่อไทยต้องพิจารณาดูให้ดี
***ฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล (กระทู้กฎหมาย) **
ได้มีโอกาสไปค้นข้อมูลฎีกาหลาย ๆ อย่าง เมื่อสมัยที่ดีเอสไอสั่งฟ้องใหม่ ๆ กระทู้นี้ จึงขอนำความรู้เรื่องกฎหมายอาญา ในมาตราดังกล่าว มาให้ทุกท่านได้ร่วมอภิปรายกัน โดยจะขอยกฎีกาแต่ละ case มาก่อน แล้วนำมาเทียบดูกับข้อหาของสองคนนั่น
-------------------------
คำพิพากษาฎีกาที่ 2745/2553
ป.อ. มาตรา 60, 80, 84, 288
ขณะ บ. ใช้อาวุธปืนเล็งไปที่ผู้ตาย จำเลยที่ 2 พูดกับ บ. ว่า ยิงเลยๆ แล้ว บ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการยุยงส่งเสริมให้ บ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย เมื่อ บ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตายและกระสุนปืนยังถูกผู้เสียหายได้รับอันตายสาหัส จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 และมาตรา 288, 80, 60 ประกอบมาตรา 84
ที่มา facebook ทบทวนหลักกฏหมายกับอาจารย์ประยุทธ
------------------------------------
(3) จำเลยใช้ก้อนหินขนาดโตเท่ากำปั้นขว้างกระจกหน้ารถยนต์บรรทุกที่ผู้เสียหายกำลังขับอยู่ กระจกแตก เศษกระจกกระเด็นถูกตาผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายขับรถส่ายไปมาและถูกรถยนต์ที่แล่นตามพุ่งชนท้าย แต่ผู้เสียหายสามารถควบคุมไม่ให้รถยนต์บรรทุกพลิกคว่ำลงข้างทางได้ จึงไม่ถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1178/2539 วินิจฉัยว่า จำเลยประสงค์ให้ผู้เสียหายเสียหลักในการขับรถและอาจขับรถและอาจขับรถพลิกคว่ำลงข้างทางหรือถูกรถยนต์คันอื่นที่ตามมาชนจนพลิกคว่ำหรือตกข้างทาง ซึ่งเมื่อเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นแล้ว จำเลยย่อมเล็งเห็นผลที่อาจเกิดขึ้นได้ว่า ผู้เสียหายอาจได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายได้ จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย การกระทำจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
ที่มา facebook ประเด็นขั้นเทพ อาจารย์พรณรงค์ บวรชัยธรรม
-----------------------------------------------------------------------------------
ประเด็นของข้อหาสองคนนั่น ... อาจจะมีผู้มาแย้งว่า ทั้งสองคน "ไม่ได้สั่งให้ยิงหรือฆ่า" ผู้ชุมนุม แต่โจทก์อาจจะแย้งกับศาล ฯ ได้ว่า ทั้งสองคนอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธสงคราม และกระสุนจริง ในการเข้าสลายชุมนุม รวมทั้งรถหุ้มเกราะด้วย จึงเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ
ทีนี้ ทั้งคดีการตายของประชาชนที่เกิดต่างกรรม ต่างวาระ นั้น ต้องพิจารณาถึงการใช้อำนาจที่เกินขอบเขต ไม่ว่าจะเป็นการยิงคนที่อยู่ในรถตู้ หรือ น้องอีซา ก็ตาม
เพราะจากคลิปวีดีโอต่าง ๆ ที่นำมาเสนอนั้น เห็นได้ชัดว่า เจ้าหน้าที่ทหาร "เล็งปืน" และ "ยิง" ไปยังผู้ชุมนุม โดยย่อมจะเห็นผลของการยิงอยู่แล้ว (ระยะหวังผลของ M-16 คือ 400 เมตร) เจ้าหน้าที่บางนายติดลำกล้องขยายกับปืนด้วย ย่อมให้เชื่อได้ว่า มีเจตนาที่จะยิงตรงจุดใดจุดหนึ่งของร่างกายผู้เสียหายทั้งหลาย (เข้าข่ายพยายามฆ่า)
ดูอีกฎีกาหนึ่ง
-------------
(5) จำเลยใช้ปืนยิงไปที่พื้นดินหนึ่งนัด ในขณะที่ผู้เสียหายกำลังเดินไปหาจำเลยและอยู่ห่างประมาณ 2 วา กระสุนปืนถูกขาผู้เสียหายบาดเจ็บ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำได้ว่ากระสุนปืน อาจถูกผู้เสียหายได้ต้องถือว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 234/2529)
ข้อสังเกต หากจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในระดับต่ำถูกบริเวณขาและน่องซ้ายของผู้เสียหาย แสดงว่าเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 223/2537) กรณีนี้ ถือว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายอันเป็นเจตนาประเภทประสงค์ต่อผล ข้อเท็จจริงเช่นนี้ ไม่ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า เพราะมิฉะนั้นคงเลือกยิงในตำแหน่งซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้โดยไม่ยาก (คำพิพากษาฎีกาที่ 223/2537) หรือจำเลยยิงไปที่ขาผู้เสียหาย เหนือตาตุ่ม ขณะนั้นจำเลยกับผู้เสียอยู่ห่างกันเพียงวาเศษ ถ้าจำเลยตั้งใจจะฆ่าผู้เสียหายแล้วก็คงยิงถูกร่างกายผู้เสียหายในที่สำคัญๆ ได้ จำเลยจึงไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 1006/2501)
ข้อสังเกต ถ้าจำเลยชักปืนเล็งไปที่หน้าอกผู้เสียหายและขึ้นนกปืนจะยิงในระยะห่างประมาณ 1 เมตรเศษ มีผู้เข้าจับมือกดลงต่ำปืนลั่นกระสุนถูกผู้อื่นที่เท้า จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นด้วย(คำพิพากษาฎีกาที่ 870/2526) เหตุผลเพราะจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย (ด้วยการชัดปืนเล็งไปที่หน้าอก) เมื่อผลเกิดแก่ผู้อื่น เจตนาฆ่าที่จำเลยมีต่อผู้เสียหายก็ “โอน” ไปยังผู้อื่นด้วย จำเลยจึงผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยพลาดตามมาตรา 288, 60, 80
หากจำเลยมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย (ไม่ว่าจะเป็นเจตนาทำร้ายโดยเล็งเห็นผล ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 234/2529 ที่กล่าวข้างต้น หรือเจตนาทำร้ายโดยประสงค์ต่อผลตามคำพิพากษาฎีกาที่ 223/2537 และคำพิพากษาฎีกาที่ 1006/2501) หากผลไปเกิดแก่ผู้อื่นด้วย จำเลยก็มีเจตนาทำร้ายผู้อื่นโดยพลาด เพราะเจตนาทำร้ายที่จำเลยมีต่อผู้เสียหาย “โอน” ไปยังผู้อื่นด้วย จำเลยจึงมีความผิดต่อผู้อื่นตามมาตรา 295, 60 หรือ 297, 60 (แล้วแต่กรณี) หากผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำเลยก็ผิดมาตรา 290 ไม่ใช่มาตรา 288 เพราะเจตนาที่จำเลยมีต่อผู้เสียหายในตอนแรกเป็นเจตนาทำร้าย (โดยประสงค์ต่อผลหรือโดยเล็งเห็นผล) เท่านั้น
--------------------------------------------------------------------------
จากฎีกาข้างต้น จะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นนักข่าวแคนาดาที่ถูกยิงที่สวนลุม แล้วร้องตะโกนให้ช่วย แต่ถูกยิงซ้ำ (อันนี้เกินกว่าเหตุ) และคนที่เข้าไปช่วยก็ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ
หรือ กรณีช่างภาพเนชั่นถูกยิงที่ขา อันนี้เป็นเจตนาทำร้ายร่างกาย
คำถามคือ กรณีทั้งหลายแหล่นี้ จะสาวไปถึงผู้สั่งการได้หรือไม่
คำตอบก็คือ ได้..
เพราะในคำสั่ง ศอ.ฉ. ที่ลงนามโดยสุเทพ แม้จะระบุว่า ให้ใช้อาวุธเพื่อป้องกันตัวนั้น ความจริงฟังได้ว่า ไม่ได้มีไว้เพื่อป้องกันตัวแต่อย่างใด (อันนี้ถือว่าเกินกว่าเหตุ) และการที่ระบุว่า อาวุธ.. มีการนำอาวุธที่เป็นอาวุธราชการสงครามออกมาใช้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่เล็งเห็นผลของการกระทำ ว่า จะเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น
อย่าลืมอย่างหนึ่งว่า แม้จะมีการอ้างว่าเป็นการวิสามัญฆาตกรรม ...ถ้าตัดสินมาเป็นอย่างนั้น ก็ต้องถูกรับโทษอยู่ดี แต่รับเพียงสองในสามของโทษสูงสุดเท่านั้น
แล้วจะสุดซอยไปทำไม??
-----------
เพิ่มเติม...
ปมเรื่องการสุดซอย จะตั้งกระทู้ใหม่อีกรอบ เพราะเท่าที่พิจารณาดู ร่าง พรบ.นี้ จะถูกตีตกโดยศาล รธน. แน่นอน เนื่องจากเนื้อหาตามวาระ 2 มันผิดไปจากหลักการตามวาระ 1 เป็นการเขียนค่อนข้าง "baseless" ไร้ฐานอ้างอิงไปสักหน่อย ทีมกฎหมายเพื่อไทยต้องพิจารณาดูให้ดี