อธิบายก่อนนะครับว่า GI คือ สินค้าที่มีชื่อเรียกตามแหล่งกำเนิดนั้นๆ มี 3 ประเภท คือ สินค้าเกษตรกรรม สินค้าหัตถกรรม และสินค้าอุตสาหกรรม
ข้าว GI นั้นเป็นข้าวธรรมดาๆ ที่มีข้อพิเศษตรงที่ว่าชื่อและลักษณะสามารถบ่งชี้ถึงถิ่นกำเนิดทางภูมิศาสตร์ได้ เป็นข้าวที่มีชื่อ หรือเครื่องหมายใดๆ ที่ใช้กับแหล่งผลิตที่เป็นต้นกำเนิดของสิ้นค้านั้นๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่น่าภาคภูมิใจที่มีข้าวไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้วกว่า 9 รายการ และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น
1. ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง พื้นที่เพาะปลูกอยู่ในเขตพัทลุง ข้าวกล้องมีสีแดงจนถึงแดงเข้มในเมล็ดเดียวกัน ส่วนข้าวสารเป็นข้าวที่มีเมล็ดสีขาวปนแดง หรือชมพู รูปร่างเรียวเล็ก เมื่อขัดสีจะมีสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
2. ข้าวเจ็กเชยเสาไห้ พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเสาไห้ อำเภอเมือง อำเภอหนองแซง อำเภอวิหารแดง อำเภอหนองแค อำเภอหนองโดน และกิ่งอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี เมล็ดข้าวจะมีขนาดเล็กเรียวยาว เป็นข้าวพื้นแข็ง เมื่อหุงสุกข้าวจะร่วนเป็นตัว ไม่เกาะเป็นก้อน หุงขึ้นหม้อ
3. ข้าวก่ำล้านนา พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน ต้องเป็นข้าวที่เมล็ดข้าวที่มีสีม่วงหรือสีดำ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
4. ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่ปลูกข้าวอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ (เฉพาะตำบลนาโก และตำบลหนองห้าง) กิ่งอำเภอนาคู (เฉพาะตำบลนาคู และตำบลบ่อแก้ว) จังหวัดกาฬสินธุ์ ข้าวเปลือกเป็นข้าวมีเปลือกสีน้ำตาล ข้าวสารมีสีขาวนวลเป็นข้าวเหนียว
5. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 5 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคามและร้อยเอ็ด ต้องมีเมล็ดที่ยาวเรียว และไม่มีหางข้าว เมล็ดที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก
6. ข้าวเหลืองประทิวชุมพร พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ข้าวเปลือกมีเปลือกสีเหลือง ข้าวกล้องมีสีเหลืองอ่อน ยาวเรียว ข้าวสารมีสีขาว เป็นข้าวที่มีไนอะซินสูง
7. ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เมล็ดพันธุ์ข้าวต้องเป็นข้าวดอกมะลิ 105 หรือพันธุ์ กข มีความหอมตั้งแต่เริ่มแทงดอกจนกระทั่งหุงสุกเป็นข้าวสวย มีลักษณะความขาวใส เลื่อมมันสวยของเมล็ดข้าว เมื่อหุงสุกจะเป็นข้าวสวยที่มีสีขาวและมีเนื้ออ่อนนุ่ม
8. ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอวารัชภูมิ อำเภอพังโคน และอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ข้าวกล้องมีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลคล้ำ หรือเหลืองทอง เมล็ดจะมีกลิ่นหอม เรียว แกร่ง ใส
9. ข้าวไร่ลืมผัวเพชรบูรณ์ พื้นที่ปลูกข้าวจะอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นข้าวหนียวดำพันธุ์ลืมผัว สีเปลือกเมล็ดสีฟางแถบดำ ข้าวกล้องสีม่วงดำรูปร่างค่อนข้างป้อม เมื่อหุงสุกจะมีรสชาติอร่อย หนุ่บๆกรอบนอกนุ่มใน มีกลิ่นหอม
ข้าว GI (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย
ข้าว GI นั้นเป็นข้าวธรรมดาๆ ที่มีข้อพิเศษตรงที่ว่าชื่อและลักษณะสามารถบ่งชี้ถึงถิ่นกำเนิดทางภูมิศาสตร์ได้ เป็นข้าวที่มีชื่อ หรือเครื่องหมายใดๆ ที่ใช้กับแหล่งผลิตที่เป็นต้นกำเนิดของสิ้นค้านั้นๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่น่าภาคภูมิใจที่มีข้าวไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้วกว่า 9 รายการ และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น
1. ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง พื้นที่เพาะปลูกอยู่ในเขตพัทลุง ข้าวกล้องมีสีแดงจนถึงแดงเข้มในเมล็ดเดียวกัน ส่วนข้าวสารเป็นข้าวที่มีเมล็ดสีขาวปนแดง หรือชมพู รูปร่างเรียวเล็ก เมื่อขัดสีจะมีสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
2. ข้าวเจ็กเชยเสาไห้ พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเสาไห้ อำเภอเมือง อำเภอหนองแซง อำเภอวิหารแดง อำเภอหนองแค อำเภอหนองโดน และกิ่งอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี เมล็ดข้าวจะมีขนาดเล็กเรียวยาว เป็นข้าวพื้นแข็ง เมื่อหุงสุกข้าวจะร่วนเป็นตัว ไม่เกาะเป็นก้อน หุงขึ้นหม้อ
3. ข้าวก่ำล้านนา พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน ต้องเป็นข้าวที่เมล็ดข้าวที่มีสีม่วงหรือสีดำ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
4. ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่ปลูกข้าวอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ (เฉพาะตำบลนาโก และตำบลหนองห้าง) กิ่งอำเภอนาคู (เฉพาะตำบลนาคู และตำบลบ่อแก้ว) จังหวัดกาฬสินธุ์ ข้าวเปลือกเป็นข้าวมีเปลือกสีน้ำตาล ข้าวสารมีสีขาวนวลเป็นข้าวเหนียว
5. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 5 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคามและร้อยเอ็ด ต้องมีเมล็ดที่ยาวเรียว และไม่มีหางข้าว เมล็ดที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก
6. ข้าวเหลืองประทิวชุมพร พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ข้าวเปลือกมีเปลือกสีเหลือง ข้าวกล้องมีสีเหลืองอ่อน ยาวเรียว ข้าวสารมีสีขาว เป็นข้าวที่มีไนอะซินสูง
7. ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เมล็ดพันธุ์ข้าวต้องเป็นข้าวดอกมะลิ 105 หรือพันธุ์ กข มีความหอมตั้งแต่เริ่มแทงดอกจนกระทั่งหุงสุกเป็นข้าวสวย มีลักษณะความขาวใส เลื่อมมันสวยของเมล็ดข้าว เมื่อหุงสุกจะเป็นข้าวสวยที่มีสีขาวและมีเนื้ออ่อนนุ่ม
8. ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี พื้นที่เพาะปลูกต้องอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอวารัชภูมิ อำเภอพังโคน และอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ข้าวกล้องมีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลคล้ำ หรือเหลืองทอง เมล็ดจะมีกลิ่นหอม เรียว แกร่ง ใส
9. ข้าวไร่ลืมผัวเพชรบูรณ์ พื้นที่ปลูกข้าวจะอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นข้าวหนียวดำพันธุ์ลืมผัว สีเปลือกเมล็ดสีฟางแถบดำ ข้าวกล้องสีม่วงดำรูปร่างค่อนข้างป้อม เมื่อหุงสุกจะมีรสชาติอร่อย หนุ่บๆกรอบนอกนุ่มใน มีกลิ่นหอม