นิทานเรื่องเทวดากินง้วนดิน เป็นนิทานแนวเทพปกรณัม
คือการให้กำเนิดของมนุษย์และการสร้างโลก
ซึ่งมีเนื้อหาโดยย่อดังนี้
ก็เมื่อกาลรังสรรค์นั้น โลกนี้มีดวงอาทิตย์อยู่ด้วยกันถึง7ดวง
โลกก็เลยร้อนบรรลัย เกิดเป็นไฟบรรลัยกัลป์เผาพลาญโลกจนหมกไหม้
ทีนี้ดวงอาทิตย์อีกหกดวงก็ดับ ฝนเลยตก
ฝนได้ตกลงมาติดต่อกันอยู่ถึง7วัน ไฟก็เลยดับไปหมด
และเมื่อดินไหม้ๆสัมผัสกับนั้าเข้าก็เลยเกิดกลายเป็นง้วนดินขึ้นมา(ดินเหนียวมั้ง)
ง้วนดินนั้นส่งกลิ่นหอมล่องลอยไปจนถึงสวรรค์ชั้นฟ้า
อันเป็นที่สิงสถิตย์ของเหล่าเทวดานางฟ้าทั้งหลาย
และเมื่อเหล่าเทวดาได้สูดกลิ่นหอมของง้วนดินเข้าไปแล้ว
ก็ต่างใคร่ลองชิมรสของง้วนดินนั้น
ก็เลยชักชวนกันเหาะลงมาจากสวรรค์ชั้นฟ้า
ซึ่งในตอนขาเหาะลงมานั้น ทุกองค์ก็ต่างมีรัศมีเรืองรองแลดูสง่างาม
แต่เมื่อกินง้วนดินเข้าไปแล้วก็กลับสูญเสียฤทธิ์เดชเหล่านั้นไป
และเมื่อประสงค์ที่จะกลับไปยังสรวงสวรรค์ก็เหาะไม่ขึ้นเหมือนดังแต่ก่อน
ที่นี้เหล่าเทวดาผู้เปื้อนอาจมก็เลยตัดสินใจใช้ชีวิตอาศัยอยู่บนโลกเสียเลย
และกลายเป็นบรรพบุรุษของเหล่ามนุษยชาติในปัจจุบัน
เรื่องนี้น่าจะเป็นนิทานปกรณัมของศาสนาพราห์ม แต่ศาสนาพุทธเองก็สืบทอดความเชื่อนี้มาด้วย
ซึ่งฟังดูแล้วก็ขัดกับความเชื่อและข้อเท็จจริงในสมัยปัจจุบัน
ที่ว่ามนุษย์ได้วิวัฒนาการมาจากพวกเอฟ(คล้ายๆลิง) จนเป็นสายพันธ์ของมนุษย์ในปัจจุบัน
ถึงแม้ว่าเนื้อหาของนิทานจะกล่าวไว้ผิดหรือถูกประการใดนั้น
แต่นิทานก็ยังมีความหมายและมีประโยชน์ต่อคติความเชื่อตามศาสนา
ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับความเชื่อตั้งแต่การกำเนิด การเป็นอยู่และเป็นไป
ตลอดจนถึงอุดมการณ์ของชีวิต
และเป็นสิ่งที่กำหนดวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม
ข้อนี้นับเป็นการศึกษาด้านวัฒนธรรมของอารยธรรมนี้ด้วย
นิทานที่เล่าไปแล้วนั้นเป็นเพียงเนื้อหาแค่ตอนหนึ่งเท่านั้น
โดยผมจะนำมาอภิปรายถึงนัยของข้อเท็จจริงที่ได้สอดแทรกเอาไว้ในนิทานตอนนี้
ซึ่งอาจจะเป็นการตีความที่ผิดพลาดของผมเองก็ได้
ผู้อ่านจึงควรใช้วิจรณญาณของตัวเองประกอบด้วย
กล่าวคือ ผมมองว่านิทานเรื่องนี้ไม่ได้เล่าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
และไม่ได้เป็นนิทานของเทพปกรณัมแต่อย่างใด
แต่ผมมองว่าโบราณท่านได้ชี้โลกุตรธรรมด้วยวิธีการอุปมาอุปไมยต่างหาก
ซึ่งผมได้สรุปจากการพิสูจน์ด้วยตัวเอง
ดังนี้
โลกุตรธรรมจะว่าไปแล้วก็หมายถึงสภาพความเป็นปกติธรรมดานี่เอง
ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ว่างจากการปรุงแต่งของจิตใจ
เพราะฉะนั้นผมจึงหมายเหตุ"โลกุตระ"ว่า ในขณะที่ปรุงแต่งนั้นไม่ใช่โลกุตระ
ซึ่งกล่าวตามตรงก็คือความคิดวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องต่างๆนั่นเอง
และคำวิพากษ์วิจารณ์ในใจเหล่านั้นจะส่งผลต่อการกระทำด้วย
โดยเดินตามสิ่งที่เราคิดว่าถูกต้องเหมาะสม(ต่อเหตุ-ผล)แก่เรื่องนั้นๆ
แต่นั่นกลับเป็นสิ่งที่จะทำให้เราต้องเศร้าหมองทั้งในเบื้องต้นและเบื้องปลาย
และเป็นสิ่งที่ไม่มีสภาพอิสระ หรือที่เรียกว่าโลกีย์วิสัยนั่นเอง
ดังนั้นเมื่อผมนำเนื้อความของโลกุตรธรรมตามความเข้าใจดังข้างต้น
มาเทียบกับนิทานเรื่องเทวดากินง้วนดินแล้ว
ผมรู้สึกว่า click เลย ใช่แน่แล้วที่เป็นนัยของนิทานเรื่องนี้
ความว่า ความบริสุทธิ์จริงแท้นั้นเป็นของเดิมและเป็นโลกุตระ
และเมื่อได้สัมผัสกับวัตถุอารมณ์อันเป็นเรื่องราวทางโลก
หรือจะเรียกว่าเป็นความรู้จากสิ่งแวดล้อมทางสังคมก็ได้
และเมื่อแปรเป็นความต้องการหรือความมุ่งหมายส่วนตัวแล้วก็มีปัญหาตามมาอีกมากมาย
ซึ่งก็คือโลกีย์และโลกีย์มันก็ต้องร้อนกระวนกระวายนั้นเอง
เมื่อนำใจความของนิทานมาเปรียบเทียบแล้วจึงได้ลักษณะที่ตรงกันอยู่บางประการคือ
ธรรมชาติดั้งเดิมนั้นบริสุทธิ์คนก็เท่ากับเป็นเทวดา
แต่เมื่อจิตคลาดจากธรรมมาสัมผัสมาชื่นชมมาตำหนิวิพากษ์วิจารณ์โลก นั้น
เปรียบอาการประหนึ่งเสมอด้วยการกิน นั่นคือการกินง้วนดินของเหล่าเทวดา
จิตก็เลยเศร้าหมองไปดั่งเหล่าเทวดาได้แปดเปื้อนอาจม
จากนั้นจึงหมดสง่าราศรีหมดรัศมีผ่องใสตามสไตล์เทวดา
ก็มีโทสะมีกามเกิดขึ้น เพราะโลกนี้นั้นมีส่วนสองของดีเลวและการยินดียินร้ายอยู่ด้วย
จึงเป็นการชี้ว่าหากต้องการกลับโลกุตระก็ให้ทิ้งการปรุงแต่งเสีย
จะว่าง่ายๆก็คือออกจากความคิดปรุงแต่งเสียก็จบ และพบกับความเป็นปกติ
โดยมองว่าสิ่งเหล่านั้นจะนำไปสู่การกระทำที่ไม่ถูกต้องต่อไป
ดังนั้นเราอาจจะสรุปได้อีกประการหนึ่งว่า
โลกีย์นั้นเป็นอนริยะ ส่วนโลกุตระนั้นเป็นอริยะ
เหล่านี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผมนะ
ส่วนคนอื่นจะว่ายังไง ก็ว่ากันไป
ภาพจาก กูรู้ gooru.in.th
เนื้อหานิทานจาก พรรณาลิลิตโองการแช่งน้ำ โดย ประจักษ์ ฉายแสง 2559
หากว่าการปล่อยวางคือความหลุดพ้นก็จะขอเล่านิทาน
คือการให้กำเนิดของมนุษย์และการสร้างโลก
ซึ่งมีเนื้อหาโดยย่อดังนี้
ก็เมื่อกาลรังสรรค์นั้น โลกนี้มีดวงอาทิตย์อยู่ด้วยกันถึง7ดวง
โลกก็เลยร้อนบรรลัย เกิดเป็นไฟบรรลัยกัลป์เผาพลาญโลกจนหมกไหม้
ทีนี้ดวงอาทิตย์อีกหกดวงก็ดับ ฝนเลยตก
ฝนได้ตกลงมาติดต่อกันอยู่ถึง7วัน ไฟก็เลยดับไปหมด
และเมื่อดินไหม้ๆสัมผัสกับนั้าเข้าก็เลยเกิดกลายเป็นง้วนดินขึ้นมา(ดินเหนียวมั้ง)
ง้วนดินนั้นส่งกลิ่นหอมล่องลอยไปจนถึงสวรรค์ชั้นฟ้า
อันเป็นที่สิงสถิตย์ของเหล่าเทวดานางฟ้าทั้งหลาย
และเมื่อเหล่าเทวดาได้สูดกลิ่นหอมของง้วนดินเข้าไปแล้ว
ก็ต่างใคร่ลองชิมรสของง้วนดินนั้น
ก็เลยชักชวนกันเหาะลงมาจากสวรรค์ชั้นฟ้า
ซึ่งในตอนขาเหาะลงมานั้น ทุกองค์ก็ต่างมีรัศมีเรืองรองแลดูสง่างาม
แต่เมื่อกินง้วนดินเข้าไปแล้วก็กลับสูญเสียฤทธิ์เดชเหล่านั้นไป
และเมื่อประสงค์ที่จะกลับไปยังสรวงสวรรค์ก็เหาะไม่ขึ้นเหมือนดังแต่ก่อน
ที่นี้เหล่าเทวดาผู้เปื้อนอาจมก็เลยตัดสินใจใช้ชีวิตอาศัยอยู่บนโลกเสียเลย
และกลายเป็นบรรพบุรุษของเหล่ามนุษยชาติในปัจจุบัน
เรื่องนี้น่าจะเป็นนิทานปกรณัมของศาสนาพราห์ม แต่ศาสนาพุทธเองก็สืบทอดความเชื่อนี้มาด้วย
ซึ่งฟังดูแล้วก็ขัดกับความเชื่อและข้อเท็จจริงในสมัยปัจจุบัน
ที่ว่ามนุษย์ได้วิวัฒนาการมาจากพวกเอฟ(คล้ายๆลิง) จนเป็นสายพันธ์ของมนุษย์ในปัจจุบัน
ถึงแม้ว่าเนื้อหาของนิทานจะกล่าวไว้ผิดหรือถูกประการใดนั้น
แต่นิทานก็ยังมีความหมายและมีประโยชน์ต่อคติความเชื่อตามศาสนา
ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับความเชื่อตั้งแต่การกำเนิด การเป็นอยู่และเป็นไป
ตลอดจนถึงอุดมการณ์ของชีวิต
และเป็นสิ่งที่กำหนดวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม
ข้อนี้นับเป็นการศึกษาด้านวัฒนธรรมของอารยธรรมนี้ด้วย
นิทานที่เล่าไปแล้วนั้นเป็นเพียงเนื้อหาแค่ตอนหนึ่งเท่านั้น
โดยผมจะนำมาอภิปรายถึงนัยของข้อเท็จจริงที่ได้สอดแทรกเอาไว้ในนิทานตอนนี้
ซึ่งอาจจะเป็นการตีความที่ผิดพลาดของผมเองก็ได้
ผู้อ่านจึงควรใช้วิจรณญาณของตัวเองประกอบด้วย
กล่าวคือ ผมมองว่านิทานเรื่องนี้ไม่ได้เล่าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
และไม่ได้เป็นนิทานของเทพปกรณัมแต่อย่างใด
แต่ผมมองว่าโบราณท่านได้ชี้โลกุตรธรรมด้วยวิธีการอุปมาอุปไมยต่างหาก
ซึ่งผมได้สรุปจากการพิสูจน์ด้วยตัวเอง
ดังนี้
โลกุตรธรรมจะว่าไปแล้วก็หมายถึงสภาพความเป็นปกติธรรมดานี่เอง
ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ว่างจากการปรุงแต่งของจิตใจ
เพราะฉะนั้นผมจึงหมายเหตุ"โลกุตระ"ว่า ในขณะที่ปรุงแต่งนั้นไม่ใช่โลกุตระ
ซึ่งกล่าวตามตรงก็คือความคิดวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องต่างๆนั่นเอง
และคำวิพากษ์วิจารณ์ในใจเหล่านั้นจะส่งผลต่อการกระทำด้วย
โดยเดินตามสิ่งที่เราคิดว่าถูกต้องเหมาะสม(ต่อเหตุ-ผล)แก่เรื่องนั้นๆ
แต่นั่นกลับเป็นสิ่งที่จะทำให้เราต้องเศร้าหมองทั้งในเบื้องต้นและเบื้องปลาย
และเป็นสิ่งที่ไม่มีสภาพอิสระ หรือที่เรียกว่าโลกีย์วิสัยนั่นเอง
ดังนั้นเมื่อผมนำเนื้อความของโลกุตรธรรมตามความเข้าใจดังข้างต้น
มาเทียบกับนิทานเรื่องเทวดากินง้วนดินแล้ว
ผมรู้สึกว่า click เลย ใช่แน่แล้วที่เป็นนัยของนิทานเรื่องนี้
ความว่า ความบริสุทธิ์จริงแท้นั้นเป็นของเดิมและเป็นโลกุตระ
และเมื่อได้สัมผัสกับวัตถุอารมณ์อันเป็นเรื่องราวทางโลก
หรือจะเรียกว่าเป็นความรู้จากสิ่งแวดล้อมทางสังคมก็ได้
และเมื่อแปรเป็นความต้องการหรือความมุ่งหมายส่วนตัวแล้วก็มีปัญหาตามมาอีกมากมาย
ซึ่งก็คือโลกีย์และโลกีย์มันก็ต้องร้อนกระวนกระวายนั้นเอง
เมื่อนำใจความของนิทานมาเปรียบเทียบแล้วจึงได้ลักษณะที่ตรงกันอยู่บางประการคือ
ธรรมชาติดั้งเดิมนั้นบริสุทธิ์คนก็เท่ากับเป็นเทวดา
แต่เมื่อจิตคลาดจากธรรมมาสัมผัสมาชื่นชมมาตำหนิวิพากษ์วิจารณ์โลก นั้น
เปรียบอาการประหนึ่งเสมอด้วยการกิน นั่นคือการกินง้วนดินของเหล่าเทวดา
จิตก็เลยเศร้าหมองไปดั่งเหล่าเทวดาได้แปดเปื้อนอาจม
จากนั้นจึงหมดสง่าราศรีหมดรัศมีผ่องใสตามสไตล์เทวดา
ก็มีโทสะมีกามเกิดขึ้น เพราะโลกนี้นั้นมีส่วนสองของดีเลวและการยินดียินร้ายอยู่ด้วย
จึงเป็นการชี้ว่าหากต้องการกลับโลกุตระก็ให้ทิ้งการปรุงแต่งเสีย
จะว่าง่ายๆก็คือออกจากความคิดปรุงแต่งเสียก็จบ และพบกับความเป็นปกติ
โดยมองว่าสิ่งเหล่านั้นจะนำไปสู่การกระทำที่ไม่ถูกต้องต่อไป
ดังนั้นเราอาจจะสรุปได้อีกประการหนึ่งว่า
โลกีย์นั้นเป็นอนริยะ ส่วนโลกุตระนั้นเป็นอริยะ
เหล่านี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผมนะ
ส่วนคนอื่นจะว่ายังไง ก็ว่ากันไป
ภาพจาก กูรู้ gooru.in.th
เนื้อหานิทานจาก พรรณาลิลิตโองการแช่งน้ำ โดย ประจักษ์ ฉายแสง 2559