พุทธศาสนิกชนชาวไทยมักประพฤติปฏิบัติตามๆ กัน เพราะความไม่รู้ เป็นความศรัทธาทางพระพุทธศาสนาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เพราะส่วนใหญ่เข้าใจว่าการทำบุญบูชาด้วยสิ่งของและประกอบพิธีกรรมเท่านั้น
วามไม่รู้ (อวิชชา) เป็น “จุดอ่อน” ของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทยเป็นเหตุที่นำไปสู่ความประพฤติและการปฏิบัติอย่างผิดๆ ไม่ถูกต้องตรงตามหลักธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องจากไม่ได้ให้ความสำคัญและสนใจศึกษาพระธรรม ซึ่งมีคุณอันประเสริฐทั้งในทางโลกและทางธรรม
สิ่งที่เห็นเด่นชัด คือ พุทธศาสนิกชนชาวไทยมักประพฤติปฏิบัติตามๆ กัน เพราะความไม่รู้ ซึ่งเป็นความศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า การทำบุญทางพระพุทธศาสนามีเพียงแต่การบูชาด้วย “สิ่งของ” (อามิสบูชา) และประกอบแต่พิธีกรรมเท่านั้น
แท้ที่จริงแล้ว
การทำบุญทางพระพุทธศาสนา มี 10 ประการ ซึ่งเรียกว่า
“บุญกิริยาวัตถุ 10” และยังมีการทำกุศลในทางพระพุทธศาสนา 10 ประการ ซึ่งเรียกว่า
“กุศลกรรมบถ 10”
“บุญกิริยาวัตถุ 10” คือ ที่ตั้งแห่งการทำบุญ ทางทำความดี ในทางพระพุทธศาสนามี 10 ประการ ได้แก่
1. ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ (ทานมัย)
2. ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี (สีลมัย)
3. ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ (ภาวนามัย)
4. ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม (อปจายนมัย)
5. ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ (เวยยาวัจจมัย)
6. ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น (ปัตติทานมัย)
7. ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น (ปัตตานุโมทนามัย)
8. ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ (ธัมมัสสวนมัย)
9. ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ (ธัมมเทสนามัย)
10. ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐุชุกัมม์)
“กุศลกรรมบถ 10” คือ ทางแห่งกุศลกรรมหรือทางทำความดี ในทางพระพุทธศาสนามี 10 ประการ ได้แก่
1. เว้นจากปลงชีวิต (ปาณาติปาตา เวรมณี)
2. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้โดยอาการขโมย (อทินนาทานา เวรมณี)
3. เว้นจากประพฤติผิดในกาม (กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี)
4. เว้นจากพูดเท็จ (มุสาวาทา เวรมณี)
5. เว้นจากพูดส่อเสียด (ปิสุณาย วาจาย เวรมณี)
6. เว้นจากพูดคำหยาบ (ผรุสาย วาจาย เวรมณี)
7. เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปา เวรมณี)
8. ความไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขา (อนภิชฌ)
9. ความไม่คิดร้ายผู้อื่น (อพยาบาท)
10. ความเห็นชอบ ถูกต้องตามคลองธรรม (สัมมาทิฐิ)
ปีใหม่ 2560 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ขอให้เป็น
“จุดเริ่มต้น” ของพุทธศาสนิกชนที่จะได้ให้ความใส่ใจกับการศึกษาพระธรรมโดยการอ่านหนังสือธรรมะและฟังธรรมะที่ถูกต้องตรงตาม
“พระไตรปิฎก” ซึ่งจะส่งผลให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทางพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องเป็นผู้มีความเห็นถูก (สัมมาทิฐิ) อันเป็นเหตุที่จะนำไปสู่ประโยชน์สุขแก่ชีวิตทั้งในทางโลกและทางธรรม
ความไม่รู้ที่มีอยู่จะถูกละคลายลงไปเป็นลำดับ ไม่เป็นผู้เชื่อง่าย ไม่เป็นผู้ตื่นมงคล ไม่เป็นผู้งมงาย ขอให้หมั่นเพียรรักษากาย วาจาและใจให้สุจริตเป็นนิจ การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลก็จะเป็นปกติสุขตามอัตภาพ ครอบครัวไทย สังคมไทยและบ้านเมืองก็จะมีความร่มเย็นสงบสุขตามที่ทุกคนอยากจะให้เป็น.
คอลัมน์ : ว่ายทวนน้ำ
โดย “ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล” อ่านต่อที่ :
http://www.dailynews.co.th/article/545671
ทำบุญอย่างมี "ปัญญา" เตรียมตัวก่อนไปทำบุญฉลองปีใหม่กัน
วามไม่รู้ (อวิชชา) เป็น “จุดอ่อน” ของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทยเป็นเหตุที่นำไปสู่ความประพฤติและการปฏิบัติอย่างผิดๆ ไม่ถูกต้องตรงตามหลักธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องจากไม่ได้ให้ความสำคัญและสนใจศึกษาพระธรรม ซึ่งมีคุณอันประเสริฐทั้งในทางโลกและทางธรรม
สิ่งที่เห็นเด่นชัด คือ พุทธศาสนิกชนชาวไทยมักประพฤติปฏิบัติตามๆ กัน เพราะความไม่รู้ ซึ่งเป็นความศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า การทำบุญทางพระพุทธศาสนามีเพียงแต่การบูชาด้วย “สิ่งของ” (อามิสบูชา) และประกอบแต่พิธีกรรมเท่านั้น
แท้ที่จริงแล้ว การทำบุญทางพระพุทธศาสนา มี 10 ประการ ซึ่งเรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ 10” และยังมีการทำกุศลในทางพระพุทธศาสนา 10 ประการ ซึ่งเรียกว่า “กุศลกรรมบถ 10”
“บุญกิริยาวัตถุ 10” คือ ที่ตั้งแห่งการทำบุญ ทางทำความดี ในทางพระพุทธศาสนามี 10 ประการ ได้แก่
1. ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ (ทานมัย)
2. ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี (สีลมัย)
3. ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ (ภาวนามัย)
4. ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม (อปจายนมัย)
5. ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ (เวยยาวัจจมัย)
6. ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น (ปัตติทานมัย)
7. ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น (ปัตตานุโมทนามัย)
8. ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ (ธัมมัสสวนมัย)
9. ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ (ธัมมเทสนามัย)
10. ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐุชุกัมม์)
“กุศลกรรมบถ 10” คือ ทางแห่งกุศลกรรมหรือทางทำความดี ในทางพระพุทธศาสนามี 10 ประการ ได้แก่
1. เว้นจากปลงชีวิต (ปาณาติปาตา เวรมณี)
2. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้โดยอาการขโมย (อทินนาทานา เวรมณี)
3. เว้นจากประพฤติผิดในกาม (กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี)
4. เว้นจากพูดเท็จ (มุสาวาทา เวรมณี)
5. เว้นจากพูดส่อเสียด (ปิสุณาย วาจาย เวรมณี)
6. เว้นจากพูดคำหยาบ (ผรุสาย วาจาย เวรมณี)
7. เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปา เวรมณี)
8. ความไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขา (อนภิชฌ)
9. ความไม่คิดร้ายผู้อื่น (อพยาบาท)
10. ความเห็นชอบ ถูกต้องตามคลองธรรม (สัมมาทิฐิ)
ปีใหม่ 2560 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ขอให้เป็น “จุดเริ่มต้น” ของพุทธศาสนิกชนที่จะได้ให้ความใส่ใจกับการศึกษาพระธรรมโดยการอ่านหนังสือธรรมะและฟังธรรมะที่ถูกต้องตรงตาม “พระไตรปิฎก” ซึ่งจะส่งผลให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทางพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องเป็นผู้มีความเห็นถูก (สัมมาทิฐิ) อันเป็นเหตุที่จะนำไปสู่ประโยชน์สุขแก่ชีวิตทั้งในทางโลกและทางธรรม
ความไม่รู้ที่มีอยู่จะถูกละคลายลงไปเป็นลำดับ ไม่เป็นผู้เชื่อง่าย ไม่เป็นผู้ตื่นมงคล ไม่เป็นผู้งมงาย ขอให้หมั่นเพียรรักษากาย วาจาและใจให้สุจริตเป็นนิจ การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลก็จะเป็นปกติสุขตามอัตภาพ ครอบครัวไทย สังคมไทยและบ้านเมืองก็จะมีความร่มเย็นสงบสุขตามที่ทุกคนอยากจะให้เป็น.
คอลัมน์ : ว่ายทวนน้ำ
โดย “ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล” อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/article/545671