วันนี้ตื่นขึ้นมาพร้อมกับข่าวไม่สู้จะดีนัก คุณป้าของเราในวัย 72 ปี ล้ม ศีรษะกระแทกพื้น ตอนนี้อยู่ที่โรงพยาบาล และคุณแม่กำลังเดินทางไปเยี่ยม
การหกล้มในผู้ใหญ่ ถือเป็นเรื่องรุนแรง และหลายๆ ครั้ง นำไปสู่อาการบาดเจ็บหนักๆ เช่นข้อสะโพกหัก ข้อมือหัก หรือศีรษะกระแทกพื้นอย่างในกรณีของคุณป้าเรา
วันนี้ เลยอยากจะนำความรู้แบบคนที่ไม่ใช่หมอ มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง เพราะเชื่อว่าหลายๆ คนคงจะมีผู้ใหญ่อยู่รอบๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ คุณแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และความรู้ที่เรามี อาจจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ บ้าง
ต้องบอกก่อนว่า เราไม่เคยสนใจเรื่องของการล้มในผู้ใหญ่มาก่อนเลย จนคุณแม่ของเราเอง เริ่มมีอาการเซตอนเดิน เหมือนๆ จะล้มอยู่บ่อยๆ ซึ่งเราก็กังวล กลัวคุณแม่จะล้มเวลาเดินไปไหนคนเดียวเพราะคุณแม่เราเองก็อายุมากแล้ว จนเราได้รับคำแนะนำจากเพื่อนให้พาคุณแม่ไปพบคุณหมอกายภาพ เพื่อตรวจว่าเป็นอาการทางร่างกาย หรือมีอาการป่วยอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่
ตรวจค้นข้อมูลแล้วว่าใกล้ๆ บ้าน มีคลินิกกายภาพชื่อ DBC Spine Clinic and Gym ที่มีคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้อยู่ เลยโทรเข้าไป นัดพาคุณแม่เข้าไปตรวจ
คลินิก DBC Spine Clinic and Gym เป็นคลินิกเฉพาะทาง ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ตั้งอยู่ที่อาคารคิวเฮ้าส์ลุมพินี มีคุณหมอภาริส เป็นผู้อำนวยการ และเป็นคุณหมอที่ทำการตรวจคุณแม่ของเราเอง
จากที่ได้คุยกับคุณหมอ เราพอจะสรุปตามความเข้าใจของเราได้ตามนี้
1. ผู้ใหญ่ ในวัย 65 ปี ขึ้นไป มีความเสี่ยงมากขึ้น ต่อการล้ม โดยมีความเสี่ยง 15-30% ที่จะล้มในแต่ละปี และ เกือบ 10% เป็นการล้มที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บรุนแรง
2. การเดินเป็นปฏิกิริยาตอบสนอง การเดินได้ อาจจะไม่ได้หมายความว่าสามารถทรงตัวได้
3. การทรงตัวเป็นระบบอัตโนมัติ ที่สามารถฝึกได้
4. เมื่อคนเราอายุมากขึ้น เซลล์สมองบางส่วนที่ควบคุมการทรงตัว อาจจะเสื่อม และตายลง แต่เราสามารถฝึก เพื่อให้เซลล์สมองอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกใช้งาน ถูกพัฒนามาทำหน้าที่ทดแทนได้
5. การออกกำลังกายบางประเภทเช่น รำไทเก็ก แม้ไม่ใช่ทั้งหมด แต่สามารถช่วยพัฒนาการทรงตัวในผู้ใหญ่ได้ แต่อาจต้องระวังการเคลื่อนไหวประเภทการหมุน หรือการบิดตัว ที่อาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บตามข้อได้
หลังจากได้คุยกับคุณหมออยู่พักใหญ่ คุณหมอก็ทำการทดสอบการทรงตัวของคุณแม่เรา ทั้งให้ทดสอบการเดินในทิศทางต่างๆ การเหยียดแขน การโน้มตัว เข้าใจว่าเพื่อจะดูความสามารถในการทรงตัวในลักษณะต่างๆ ของคุณแม่เรา ซึ่งคุณหมอสรุปให้เราว่า คุณแม่ยังมีการทรงตัวที่ดีในระดับหนึ่ง แต่ด้วยวัย 68 ปี คุณหมอแนะนำให้พาคุณแม่เข้ามาทำการฝึกการทรงตัวเป็นระยะ โดยเครื่องมือที่คุณหมอพาเราไปดูก็เป็นลักษณะเหมือนสายพานวิ่งในฟิตเนส แต่มีราวจับ และสายเพื่อดึงรับน้ำหนักกันล้ม สำหรับผู้ฝึก
คุณหมออธิบายว่า เครื่องดังกล่าว จะใช้สำหรับการฝึกการทรงตัวด้วยการเดินในทิศทางต่างๆ ทั้งเดินหน้า ถอยหลัง และเดินข้างๆ ในจังหวะต่างๆ กัน ตามโปรแกรมการฟื้นฟู โดยการควบคุมอย่างใกล้ชิดของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้ฝึกสามารถพัฒนาการทรงตัวให้เป็นอัตโนมัติ ในการเดินในชีวิตประจำวัน ซึ่งคุณหมออธิบายว่าการฝึกดังกล่าวจะสามารถลดความเสี่ยงของการล้มในผู้ใหญ่ได้ถึง 90% เลยทีเดียว
สำหรับเราแล้ว นี่น่าจะเป็นคำตอบ ที่ช่วยให้เราอุ่นใจขึ้นได้มาก เพราะหลายๆ ครั้งที่คุณแม่ อยู่บ้านกับคุณพ่อ โดยที่ลูกๆ ไม่ได้อยู่ด้วย แถมคุณแม่เราก็ช่างขยันทำโน่น ทำนี่อยู่เป็นประจำ ถึงจะมีคนช่วยดูแล แต่ด้วยน้ำหนักของผู้ใหญ่แล้ว ถ้าเกิดล้มขึ้นมา คนที่ช่วยดูแลก็อาจประคองไว้ไม่ไหว และเราก็ไม่อยากเสี่ยงที่จะให้คุณแม่ล้ม ไม่ว่าการล้มนั้นจะรุนแรง หรือไม่ก็ตาม
สุดท้าย เราเลยอยากจะบอกเพื่อนๆ ว่าหลายๆ ครั้ง เราลืมนึกไป ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ใหญ่ในหลายๆ ด้าน และมารู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อได้เกิดอุบัติเหตุแล้ว อยากให้เพื่อนๆ ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมกันในเรื่องการล้มในผู้ใหญ่ และหาทางป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ เพราะการฟื้นตัวของผู้ใหญ่นั้น ไม่สามารถทำได้ดี และรวดเร็วเท่าวัยหนุ่มสาว และที่สำคัญ คงไม่มีใครอยากให้คนสำคัญในชีวิตของเราล้ม และบาดเจ็บ กันแน่ๆ
หกล้มในผู้ใหญ่ อันตรายกว่าที่คิด
การหกล้มในผู้ใหญ่ ถือเป็นเรื่องรุนแรง และหลายๆ ครั้ง นำไปสู่อาการบาดเจ็บหนักๆ เช่นข้อสะโพกหัก ข้อมือหัก หรือศีรษะกระแทกพื้นอย่างในกรณีของคุณป้าเรา
วันนี้ เลยอยากจะนำความรู้แบบคนที่ไม่ใช่หมอ มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง เพราะเชื่อว่าหลายๆ คนคงจะมีผู้ใหญ่อยู่รอบๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ คุณแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และความรู้ที่เรามี อาจจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ บ้าง
ต้องบอกก่อนว่า เราไม่เคยสนใจเรื่องของการล้มในผู้ใหญ่มาก่อนเลย จนคุณแม่ของเราเอง เริ่มมีอาการเซตอนเดิน เหมือนๆ จะล้มอยู่บ่อยๆ ซึ่งเราก็กังวล กลัวคุณแม่จะล้มเวลาเดินไปไหนคนเดียวเพราะคุณแม่เราเองก็อายุมากแล้ว จนเราได้รับคำแนะนำจากเพื่อนให้พาคุณแม่ไปพบคุณหมอกายภาพ เพื่อตรวจว่าเป็นอาการทางร่างกาย หรือมีอาการป่วยอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่
ตรวจค้นข้อมูลแล้วว่าใกล้ๆ บ้าน มีคลินิกกายภาพชื่อ DBC Spine Clinic and Gym ที่มีคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้อยู่ เลยโทรเข้าไป นัดพาคุณแม่เข้าไปตรวจ
คลินิก DBC Spine Clinic and Gym เป็นคลินิกเฉพาะทาง ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ตั้งอยู่ที่อาคารคิวเฮ้าส์ลุมพินี มีคุณหมอภาริส เป็นผู้อำนวยการ และเป็นคุณหมอที่ทำการตรวจคุณแม่ของเราเอง
จากที่ได้คุยกับคุณหมอ เราพอจะสรุปตามความเข้าใจของเราได้ตามนี้
1. ผู้ใหญ่ ในวัย 65 ปี ขึ้นไป มีความเสี่ยงมากขึ้น ต่อการล้ม โดยมีความเสี่ยง 15-30% ที่จะล้มในแต่ละปี และ เกือบ 10% เป็นการล้มที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บรุนแรง
2. การเดินเป็นปฏิกิริยาตอบสนอง การเดินได้ อาจจะไม่ได้หมายความว่าสามารถทรงตัวได้
3. การทรงตัวเป็นระบบอัตโนมัติ ที่สามารถฝึกได้
4. เมื่อคนเราอายุมากขึ้น เซลล์สมองบางส่วนที่ควบคุมการทรงตัว อาจจะเสื่อม และตายลง แต่เราสามารถฝึก เพื่อให้เซลล์สมองอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกใช้งาน ถูกพัฒนามาทำหน้าที่ทดแทนได้
5. การออกกำลังกายบางประเภทเช่น รำไทเก็ก แม้ไม่ใช่ทั้งหมด แต่สามารถช่วยพัฒนาการทรงตัวในผู้ใหญ่ได้ แต่อาจต้องระวังการเคลื่อนไหวประเภทการหมุน หรือการบิดตัว ที่อาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บตามข้อได้
หลังจากได้คุยกับคุณหมออยู่พักใหญ่ คุณหมอก็ทำการทดสอบการทรงตัวของคุณแม่เรา ทั้งให้ทดสอบการเดินในทิศทางต่างๆ การเหยียดแขน การโน้มตัว เข้าใจว่าเพื่อจะดูความสามารถในการทรงตัวในลักษณะต่างๆ ของคุณแม่เรา ซึ่งคุณหมอสรุปให้เราว่า คุณแม่ยังมีการทรงตัวที่ดีในระดับหนึ่ง แต่ด้วยวัย 68 ปี คุณหมอแนะนำให้พาคุณแม่เข้ามาทำการฝึกการทรงตัวเป็นระยะ โดยเครื่องมือที่คุณหมอพาเราไปดูก็เป็นลักษณะเหมือนสายพานวิ่งในฟิตเนส แต่มีราวจับ และสายเพื่อดึงรับน้ำหนักกันล้ม สำหรับผู้ฝึก
คุณหมออธิบายว่า เครื่องดังกล่าว จะใช้สำหรับการฝึกการทรงตัวด้วยการเดินในทิศทางต่างๆ ทั้งเดินหน้า ถอยหลัง และเดินข้างๆ ในจังหวะต่างๆ กัน ตามโปรแกรมการฟื้นฟู โดยการควบคุมอย่างใกล้ชิดของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้ฝึกสามารถพัฒนาการทรงตัวให้เป็นอัตโนมัติ ในการเดินในชีวิตประจำวัน ซึ่งคุณหมออธิบายว่าการฝึกดังกล่าวจะสามารถลดความเสี่ยงของการล้มในผู้ใหญ่ได้ถึง 90% เลยทีเดียว
สำหรับเราแล้ว นี่น่าจะเป็นคำตอบ ที่ช่วยให้เราอุ่นใจขึ้นได้มาก เพราะหลายๆ ครั้งที่คุณแม่ อยู่บ้านกับคุณพ่อ โดยที่ลูกๆ ไม่ได้อยู่ด้วย แถมคุณแม่เราก็ช่างขยันทำโน่น ทำนี่อยู่เป็นประจำ ถึงจะมีคนช่วยดูแล แต่ด้วยน้ำหนักของผู้ใหญ่แล้ว ถ้าเกิดล้มขึ้นมา คนที่ช่วยดูแลก็อาจประคองไว้ไม่ไหว และเราก็ไม่อยากเสี่ยงที่จะให้คุณแม่ล้ม ไม่ว่าการล้มนั้นจะรุนแรง หรือไม่ก็ตาม
สุดท้าย เราเลยอยากจะบอกเพื่อนๆ ว่าหลายๆ ครั้ง เราลืมนึกไป ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ใหญ่ในหลายๆ ด้าน และมารู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อได้เกิดอุบัติเหตุแล้ว อยากให้เพื่อนๆ ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมกันในเรื่องการล้มในผู้ใหญ่ และหาทางป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ เพราะการฟื้นตัวของผู้ใหญ่นั้น ไม่สามารถทำได้ดี และรวดเร็วเท่าวัยหนุ่มสาว และที่สำคัญ คงไม่มีใครอยากให้คนสำคัญในชีวิตของเราล้ม และบาดเจ็บ กันแน่ๆ